เจ้าพระยารามราฆพ (หม่อมหลวงเฟื้อ พึ่งบุญ)
บทความนี้อาศัยการอ้างอิงจากแหล่งข้อมูลปฐมภูมิมากเกินไป |
พลเอก เจ้าพระยารามราฆพ (หม่อมหลวงเฟื้อ พึ่งบุญ) ร.ว., ป.จ., ม.ป.ช., ม.ว.ม., ม.ร., ว.ม.ล. | |
---|---|
![]() | |
สมุหราชองครักษ์ | |
ดำรงตำแหน่ง 10 พฤศจิกายน 2460 – 1 เมษายน 2469 | |
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว |
ก่อนหน้า | นายพลโท พระยาเทพอรชุน |
ถัดไป | นายพลตรี หม่อมเจ้าอมรทัต |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 5 ตุลาคม พ.ศ. 2433 เมืองพระนคร ประเทศสยาม |
เสียชีวิต | 21 ตุลาคม พ.ศ. 2510 (77 ปี) จังหวัดพระนคร ประเทศไทย |
คู่สมรส | 6 คน |
บุตร | 34 คน |
พลเอก เจ้าพระยารามราฆพ (5 ตุลาคม พ.ศ. 2433 - 21 ตุลาคม พ.ศ. 2510) เป็นขุนนางชาวไทย เคยดำรงตำแหน่ง เช่น องคมนตรี สมุหราชองครักษ์ สมุหพระราชวัง[1] ประธานกรรมการพระราชสำนัก นายกเทศมนตรีเทศบาลนครกรุงเทพฯ และนายกสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์
ประวัติ[แก้]
ปฐมวัย[แก้]
เจ้าพระยารามราฆพ เดิมชื่อว่า หม่อมหลวงเฟื้อ พึ่งบุญ เกิดเมื่อวันอาทิตย์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2433 ตรงกับแรม 7 ค่ำ เดือน 10 ปีขาล ร.ศ. 109 ที่บ้านถนนจักรเพชร จังหวัดพระนคร เป็นบุตร พระยาประสิทธิ์ศุภการ (หม่อมราชวงศ์ละม้าย พึ่งบุญ)[2]กับพระนมทัด (พระนมของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว) มีพี่ น้องร่วมมารดา 3 คนด้วยกัน คือ
- ท้าวอินทรสุริยา (เชื้อ พึ่งบุญ) พนักงานภูษามาลา[3]
- ท่านเจ้าพระยารามราฆพ
- มหาเสวกเอก พลตรี พระยาอนิรุทธเทวา (หม่อมหลวงฟื้น พึ่งบุญ)
เข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนวัดบพิตรพิมุข และโรงเรียนข้าราชการพลเรือน (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) เมื่อ พ.ศ. 2448 และได้ถวายตัวเข้ารับราชการในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2451 ครั้นในงานบรมราชาภิเษกเป็นพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อปี พ.ศ. 2453 ก็ได้มีหน้าที่เชิญพระแสงขรรค์ชัยศรี ยืนหลังที่ประทับตลอดพระราชพิธี ด้วยเหตุนี้เมื่อทรงจัดตั้งกองเสือป่า จึงพระราชทานธงประจำตัวกองเสือป่า ให้ท่าน เป็นรูปเทพยดา เชิญพระแสงขรรค์ชัยศรี ขนพื้นสีแดง (ถ้าไม่มีเชื้อราชตระกูล ใช้รูปมานพ) ตลอดเวลาที่รับราชการ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ถวายงานใกล้ชิด โปรดให้เป็นหัวหน้าห้องพระบรรทม นั่งร่วมโต๊ะเสวยทั้งมื้อกลางวันและกลางคืนตลอดรัชกาล และตามเสด็จโดยลำพัง
ยศ[แก้]
- 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2454 - นายกองโท[4]
- 30 กันยายน พ.ศ. 2454 - นายกองเอก[5]
- 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2454 - นายร้อยเอก ในกรมทหารรักษาวัง[6]
- 8 กันยายน พ.ศ. 2455 - จางวางตรี[7]
- 28 ธันวาคม พ.ศ. 2456 - จางวางโท[8]
- 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2456 - นายพันเอก ในกรมทหารรักษาวัง[9]
- 7 มีนาคม พ.ศ. 2456 - มหาเสวกโท[10]
- 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2458 - นายพลตรี[11]
- 3 มิถุนายน พ.ศ. 2458 - นายพลเสือป่า[12]
- 1 มกราคม พ.ศ. 2459 - จางวางเอก[13]
- 2 มกราคม พ.ศ. 2459 - มหาเสวกเอก[14]
- 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2460 - พระตำรวจตรี[15]
- 20 เมษายน พ.ศ. 2461 - นายพลโท[16]
- 9 ธันวาคม พ.ศ. 2461 - นายนาวาเอกพิเศษ[17]
- 29 มิถุนายน พ.ศ. 2467 - นายพลเอก[18]
- 10 ธันวาคม พ.ศ. 2467 - พลเรือโทพิเศษ[19]
- 4 มีนาคม พ.ศ. 2498 - พลเรือเอก[20]
บรรดาศักดิ์[แก้]
- 30 ธันวาคม พ.ศ. 2453 เป็น นายขัน มหาดเล็กหุ้มแพรต้นเชือกเวรเดช ถือศักดินา ๕๐๐ [21] (อายุ 20 ปี)
- 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2454 เป็น นายจ่ายง มหาดเล็กเวรศักดิ์ ถือศักดินา ๖๐๐[22](อายุ 20 ปี)
- 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2454 เป็นเจ้าหมื่นสรรเพธภักดี หัวหมื่นมหาดเล็กต้นเชือกเวรศักดิ์ถือศักดินา ๑๐๐๐[23](อายุ 21 ปี)
- 27 ธันวาคม พ.ศ. 2455 เป็นพระยาประสิทธิ์ศุภการ จางวางมหาดเล็ก ถือศักดินา ๓๐๐๐ [24](อายุ 22 ปี)
ต่อมาวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2464 ขณะอายุได้ 31 ปี มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาพระยาประสิทธิ์ศุภการ ขึ้นเป็นเจ้าพระยารามราฆพ มีสมญาจารึกในสุพรรณบัฎว่า "เจ้าพระยารามราฆพ พัชรพัลลภมหาสวามิภักดิ์ สมัครพลวโรปนายก สุรเสวกวิศิษฏ์คุณ พึ่งบุญพงศ์บริพัตร นฤปรัตนราชสุปรีย์ ศรีรัตนไตรสรณธาดา เมตตาภิรัตมัทวสมาจาร สัตยวิธานอาชวาธยาศัย อภัยพิริยบรากรมพาหุ คชนาม "มีศักดินา 10000[25] กล่าวกันว่าเจ้าพระยารามราฆพเป็นเจ้าพระยาที่มีอายุน้อยที่สุดในประวัติศาสตร์การแต่งตั้งของกรุงรัตนโกสินทร์
ตำแหน่งในราชการ และความสำคัญอื่น ๆ[แก้]
- 15 สิงหาคม พ.ศ. 2456 เป็นราชองครักษ์พิเศษ[26]
- 19 ธันวาคม พ.ศ. 2456 เป็นรองอธิบดีกรมมหาดเล็ก[27]
- 15 กันยายน พ.ศ. 2457 เป็นผู้ช่วยจเรกรมทหารรักษาวัง[28]
- 1 ตุลาคม พ.ศ. 2457 เป็นผู้ช่วยราชการกระทรวงวัง[29]
- 1 มกราคม พ.ศ. 2457 เป็นอธิบดีกรมมหาดเล็ก[30]
- 15 มิถุนายน พ.ศ. 2462 เป็นผู้สำเร็จราชการมหาดเล็ก [31]
- 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2458 เป็นผู้ช่วยสมุหราชองครักษ์ [32]
- พ.ศ. 2458 เป็นองคมนตรี[33]
- 8 เมษายน พ.ศ. 2459 แทนจางวางกรมเรือยนต์หลวง[34]
- 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2459 เป็นผู้กำกับราชการกรมเรือยนต์หลวง[35]
- 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2460 เป็นสมุหราชองครักษ์[36]
- 2 ตุลาคม พ.ศ. 2463 เป็นผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว[37]
- 10 ธันวาคม พ.ศ. 2460 เป็นจเรกรมทหารรักษาวังของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว[38]
- 10 สิงหาคม พ.ศ. 2460 เป็นอุปนายกเสือป่า[39]
- ราชเลขานุการพิเศษ ในพระองค์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
- ผู้บัญชาการโรงเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์
- พ.ศ. 2456 เป็นผู้บัญชาการกรมมหรสพ (สำนักการสังคีต กรมศิลปากร)[40]
- 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 เป็นผู้ช่วยราชการกระทรวงทหารเรือ[41]
- 4 เมษายน พ.ศ. 2469 เป็น องคมนตรี ในสมัยรัชกาลที่7[42]
- 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2480 เป็นนายกเทศมนตรีเทศบาลกรุงเทพมหานคร (องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น) [43]
- อุปนายกผู้อำนวยการ โรงพยาบาลวชิระ (คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล)
- 1 เมษายน พ.ศ. 2456 เป็นกรรมการผู้จัดการแบงก์ลีฟอเทีย (ธนาคารออมสิน)[44]
- กรรมการที่ปรึกษาสำหรับเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี[45]
- กรรมการที่ปรึกษาสภากาชาดสยาม[46]
- กรรมการที่ปรึกษาในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ผู้ช่วยสภานายกราชนาวีสมาคมแห่งกรุงสยาม
- สภานายกและกรรมการคณะฟุตบอลแห่งสยาม[47]
- สภานายกราชตฤณมัย แห่งสยาม
- นายกสมาคมราชยานยนต์สมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์[48]
หลังการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อถวายพระเพลิงพระบรมศพแล้ว เจ้าพระยารามราฆพ จึงออกไปศึกษาต่อที่ประเทศอังกฤษ จนเปลี่ยนแปลงการปกครอง ถึง พ.ศ. 2477 จึงเดินทางกลับประเทศไทย ได้พำนักอยู่ที่บ้านบุญญาศรัย ถนนราชดำริ 1 ปี จึงมาพำนักที่บ้านนรสิงห์ ถึงปี พ.ศ. 2484 ขายบ้านนรสิงห์ให้รัฐบาล แล้วย้ายไปพำนักที่บ้านท่าเกษม ตำบลบางขุนพรหม ถึงปี พ.ศ. 2505 จึงขายบ้านท่าเกษมให้กับธนาคารแห่งประเทศไทย (เป็นโรงพิมพ์ธนบัตร ในปัจจุบันนี้) ท้ายที่สุด ในรัชกาลที่ 9 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานบ้านให้พำนัก ที่ถนนเจริญนคร ฝั่งธนบุรี ท่านขนานนามบ้านนี้ว่า "บ้านพระขรรค์ชัยศรี" และพำนัก ณ ที่นี้จนถึงอสัญกรรม
ด้านการเมือง ท่านได้รับแต่งตั้งเป็นนายกเทศมนตรีเทศบาลนครกรุงเทพฯ คนแรก เมื่อปี พ.ศ. 2480 โดยมีพระยาภะรตราชา (หม่อมหลวงทศทิศ อิศรเสนา) เป็นปลัดเทศบาลนครกรุงเทพฯ คนแรก
เมื่อพ้นจากตำแหน่งนายกเทศมนตรีแล้ว เจ้าพระยารามราฆพคงเป็นข้าราชการบำนาญและเป็นที่ปรึกษาราชการในพระราชสำนักต่อมาจนถึงสมัยหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ใน พ.ศ. 2506 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ 9) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดระเบียบสำนักพระราชวัง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยารามราฆพ รับราชการในหน้าที่ สมุหพระราชวัง และ ประธานกรรมการพระราชสำนัก นอกจากนั้นท่านยังได้สนองพระเดชพระคุณในหน้าที่ต่าง ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวอีกหลายหน้าที่ เช่น เป็นสภานายกสภาลูกเสือแห่งชาติ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิและอุปนายกในคณะกรรมการอำนวยการวชิราวุธวิทยาลัย กับยังเป็นประธานกรรมการ ในบริษัทเอกชนอีกหลายบริษัท ที่สำคัญคือ เป็นผู้ริเริ่มจัดตั้งธนาคารกรุงเทพ จำกัด[49]
ครอบครัว[แก้]
ด้านชีวิตครอบครัว เจ้าพระยารามราฆพได้รับพระมหากรุณาธิคุณสมรสพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว กับคุณหญิงประจวบ รามราฆพ ต.จ. ธิดาของมหาอำมาตย์นายก เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) และท่านผู้หญิงตลับ (สกุลเดิม ณ ป้อมเพ็ชร) ณ พระที่นั่งบรมพิมาน เมื่อ วันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2467 และสมรสกับภรรยาท่านอื่น ๆ รวมมีบุตร-ธิดา 34 ท่าน ดังนี้
- มีบุตร-ธิดา 2 ท่าน กับคุณหญิงประจวบ รามราฆพ (สมรสพระราชทาน) ดังรายนามต่อไปนี้
- คุณรุจิรา อมาตยกุล
- คุณมานน พึ่งบุญ ณ อยุธยา
- มีบุตร-ธิดา 7 ท่าน กับคุณนงคราญ พึ่งบุญ ณ อยุธยา ดังรายนามต่อไปนี้
- คุณสุรางค์
- คุณโสภางค์พึงพิศ
- คุณจิตอนงค์
- คุณบุษบงรำไพ
- คุณอนงค์ในวัฒนา
- คุณปิยานงราม
- คุณความจำนงค์
- มีบุตร-ธิดา 9 ท่าน กับคุณบุญเรือน พึ่งบุญ ณ อยุธยา ดังรายนามต่อไปนี้
- คุณพัฒนา
- คุณบุษบานงเยาว์
- คุณเชาวน์ชาญบุรุษ
- คุณพิสุทธิอาภรณ์
- คุณบทจรพายัพทิศ
- คุณจักร์กฤษณ์กุมารา
- คุณวนิดาบุญญาวาศ
- คุณพรหมาศนารายณ์
- คุณเจ้าสาย
- มีบุตร-ธิดา 7 ท่าน กับคุณพิศวาส พึ่งบุญ ณ อยุธยา ดังรายนามต่อไปนี้
- คุณศิริโสภา
- คุณดวงสุดาผ่องศรี
- คุณกุมารีหริลักษณ์
- คุณทรงจักรวรภัณฑ์
- คุณรามจันทร์วรพงษ์
- คุณภุชงค์บรรจถรณ์
- คุณจันทรรัศมี
- มีบุตร-ธิดา 6 ท่าน กับคุณถนอม พึ่งบุญ ณ อยุธยา ดังรายนามต่อไปนี้
- คุณระฆุวงศ์
- คุณนีละพงษ์อำไพ
- คุณไกรกรีกูร
- คุณประยูรกาฬวรรณ
- คุณนวลจันทร์ธิดาราม
- คุณโสมยามส่องฟ้า
- มีบุตร-ธิดา 3 ท่าน กับคุณพยุงวดี พึ่งบุญ ณ อยุธยา ดังรายนามต่อไปนี้
- คุณสู่นคเรศ
- คุณทักษิณีเขตจรดล
- คุณอำพลปนัดดา
ปั้นปลายชีวิต[แก้]
ในบั้นปลายชีวิต นอกจากการรับราชการแล้ว เจ้าพระยารามราฆพ ก็ใช้ชีวิตอยู่กับบ้าน มีกิจวัตรประจำวันคือการจดบันทึก ซึ่งทำมาตั้งแต่อยู่ในมัธยมวัยจนถึงอสัญกรรม นอกจากนี้ก็เพลิดเพลินอยู่กับการบำรุงดูแลเรือ ทั้งเรือยนต์และเรือกล อันเป็นของชอบของท่านตั้งแต่ยังรับราชการ และไปพักตากอากาศที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ทุก ๆ ปี
พลเอก เจ้าพระยารามราฆพ ถึงแก่อสัญกรรมในวันเสาร์ ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2510 เวลา 22.15 น. ด้วยเส้นโลหิตแตก สิริอายุได้ 77 ปี 16 วัน ณ ตึกธนาคารกรุงเทพ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ซึ่ง พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้เสด็จพระราชดำเนินไปในการพระราชทานเพลิงศพ พลเอก พลเรือเอก เจ้าพระยารามราฆพ ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส เมื่อบ่ายวันอังคารที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2510 [50]
อนึ่ง ในขณะที่เจ้าพระยารามราฆพ ป่วยอยู่ที่โรงพยาบาล พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้ทรงพระมหากรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้เป็นคนไข้ในพระบรมราชานุเคราะห์
บ้านนรสิงห์[แก้]
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างบ้านนรสิงห์ พระราชทานแก่พระยาประสิทธิ์ศุภการ ซึ่งต่อมาในปี พ.ศ. 2484 ท่านได้เสนอขายบ้านนี้ให้แก่รัฐบาล เนื่องจากไม่สามารถรับภาระการดูแลบำรุงรักษาได้ ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2484 จอมพล แปลก พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี เห็นว่าควรซื้อบ้านนรสิงห์เพื่อทำเป็นสถานที่รับรองแขกเมือง รัฐบาลได้ให้สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เป็นผู้ซื้อบ้านหลังนี้ มอบให้สำนักนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ดูแล ใช้เป็นสถานที่สำหรับรับรองแขกเมืองและย้ายสำนักนายกรัฐมนตรี จากวังสวนกุหลาบ มาอยู่ที่นี่
บ้านนรสิงห์ เปลี่ยนชื่อเป็น "ทำเนียบสามัคคีชัย" เมื่อ พ.ศ. 2484 และต่อมาในปี พ.ศ. 2512 ได้ซื้อขายโอนกรรมสิทธิ์ จากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เป็นของสำนักนายกรัฐมนตรี และเปลี่ยนชื่อเป็น "ทำเนียบรัฐบาล"
ท่านเจ้าพระยาฯ ขายบ้านนรสิงห์ให้รัฐบาล และย้ายมาพำนักที่บ้านท่าเกษม ตำบลบางขุนพรหม จนถึงปี พ.ศ. 2505 ได้ขายบ้านท่าเกษมให้กับธนาคารแห่งประเทศไทย
สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศสยาม[แก้]
ในวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2458 มีประกาศราชกิจจานุเบกษาว่าด้วยการจัดตั้ง "สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์[51]" โดยมีพระยาประสิทธิ์ศุภการเป็นสภานายกสมาคมฯ คนแรกของวงการลูกหนังไทย และคณะสภากรรมการส่วนใหญ่ คือกรรมการคณะฟุตบอลแห่งสยาม พระยาประสิทธิ์ศุภการดำรงตำแหน่งนายกสมาคมฟุตบอลถึง พ.ศ. 2462 จึงลาออกจากตำแหน่ง
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2454 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์รัตนวราภรณ์ (ร.ว.) (ฝ่ายหน้า)[52]
- พ.ศ. 2464 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 1 ปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.) (ฝ่ายหน้า)[53]
- พ.ศ. 2463 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[54]
- พ.ศ. 2461 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[55]
- พ.ศ. 2461 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี ชั้นที่ 2 มหาโยธิน (ม.ร.)[56]
- พ.ศ. 2454 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์วชิรมาลา (ว.ม.ล.)[57]
- พ.ศ. 2460 –
เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา (ร.ด.ม.(ศ))[58]
- พ.ศ. 2504 –
เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 1[59]
- พ.ศ. 2459 –
เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6 ชั้นที่ 1 (ว.ป.ร.1)[60]
- พ.ศ. 2489 –
เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 8 ชั้นที่ 2 (อ.ป.ร.2)[61]
- พ.ศ. 2496 –
เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 2 (ภ.ป.ร.2)[62]
- พ.ศ. 2454 –
เหรียญราชรุจิทอง รัชกาลที่ 6 (ร.จ.ท.6)[63]
ลำดับสาแหรก[แก้]
พงศาวลีของเจ้าพระยารามราฆพ (หม่อมหลวงเฟื้อ พึ่งบุญ) | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง[แก้]
![]() |
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: เจ้าพระยารามราฆพ (หม่อมหลวงเฟื้อ พึ่งบุญ) |
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ตั้งสมุหพระราชวัง ประธานกรรมการพระราชสำนัก
- ↑ พระราชทานเพลิงศพ
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรกองเสือป่า
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรกองเสือป่า
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรทหารบก
- ↑ แจ้งความกรมมหาดเล็ก เรื่อง เลื่อนยศหัวหมื่นขึ้นเป็นชั้นจางวางตรี
- ↑ ประกาศกรมมหาดเล็ก
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรยศนายทหาร
- ↑ แจ้งความกระทรวงวัง
- ↑ พระราชทานยศนายทหารบก
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรยศนายพลเสือป่า
- ↑ พระราชทานยศ (หน้า ๒๗๔๘)
- ↑ พระราชทานยศ
- ↑ ประกาศกระทรวงวัง เรื่องพระราชทานยศตำรวจพิเศษ
- ↑ พระราชทานยศนายทหารบก
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรยศทหารเรือ
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรยศทหารบก
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรยศทหารเรือ (หน้า ๓๐๕๓)
- ↑ ประกาศสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรขุนนาง (หน้า ๒๓๘๕)
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรขุนนาง (หน้า ๒๘๖)
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์ (หน้า ๑๘๙๖)
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ เลื่อนกรมตั้งพระองค์เจ้าและตั้งเจ้าพระยา (หน้า ๔๒๖)
- ↑ แจ้งความกระทรวงกลาโหม เรื่อง ตั้งราชองครักษ์พิเศษ
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งผู้ทำการแทนอธิบดีและรองอธิบดีกรมมหาดเล็ก
- ↑ ประกาศกระทรวงวัง
- ↑ ประกาศตั้งตำแหน่งผู้ช่วยราชการกระทรวงวัง
- ↑ แจ้งความกรมมหาดเล็ก เรื่อง ให้จางวางโท พระยาประสิทธิ์ศุภการ เป็นอธิบดีกรมมหาดเล็ก
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งผู้สำเร็จราชการมหาดเล็ก
- ↑ บรรจุตำแหน่งผู้ช่วยสมุหราชองครักษ์
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2458/D/114.PDF
- ↑ ประกาศกรมมหาดเล็ก (หน้า ๑๒๗)
- ↑ ประกาศกรมมหาดเล็ก
- ↑ ประกาศพระบรมราชโองการ ตั้งจเรทัพบกและการปืนเล็กปืนกล และสมุหราชองครักษ์
- ↑ แจ้งความกระทรวงกลาโหม เรื่อง ตั้งและย้ายนายทหารรับราชการ
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งจเรและผู้ช่วยจเรกรมทหารรักษาวังของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งตำแหน่งอุปนายกเสือป่า
- ↑ https://www.finearts.go.th/performing/categorie/history
- ↑ แจ้งความกระทรวงทหารเรือ
- ↑ "Product Listing -". sale62.eurseree.com.
- ↑ https://apps.bangkok.go.th/info/m.info/bmahistory/nakornbma.html
- ↑ https://www.gsb.or.th/about/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%B2/
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2461/A/183.PDF
- ↑ http://www.satriwit3.ac.th/files/1906162020501227_1907110991129.pdf
- ↑ https://www.siamfootball.com/index.php/2017-07-18-12-23-04/63-2017-07-30-11-28-45
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-10-15. สืบค้นเมื่อ 2019-10-15.
- ↑ digi.library.tu.ac.th/thesis/ec/0815/15ภาคผนวกก.pdf
- ↑ ข่าวในพระราชสำนัก
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-02-23. สืบค้นเมื่อ 2018-03-01.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๒๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๐๓๓, ๕ สิงหาคม ๑๓๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๓๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๔๗๒, ๑๑ พฤศจิกายน ๒๔๖๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๓๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๗๒๒, ๖ กุมภาพันธ์ ๒๔๖๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๓๕ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๘๔๘, ๑๙ มกราคม ๒๔๖๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี, เล่ม ๓๕ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๙๘๑, ๒๘ กรกฎาคม ๒๔๖๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานตราวชิรมาลา, เล่ม ๒๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๔๑๘, ๔ มิถุนายน ๑๓๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา, เล่ม ๓๔ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๓๒๓, ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๔๖๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง พระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี, เล่ม ๗๘ ตอนที่ ๘๙ ง หน้า ๒๒๗๗, ๓๑ ตุลาคม ๒๕๐๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๓๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๗๐๘, ๘ ตุลาคม ๒๔๕๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๖๓ ตอนที่ ๒๗ ง หน้า ๖๗๓, ๘ พฤษภาคม ๒๔๘๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๗๐ ตอนที่ ๔๘ ง หน้า ๒๖๐๘, ๒๑ กรกฎาคม ๒๔๙๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญราชรุจิ, เล่ม ๒๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๗๐๗, ๙ กรกฎาคม ๑๓๐
- ที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพ พล.อ. พล.ร.อ.เจ้าพระยารามราฆพ (ม.ล.เฟื้อ พึ่งบุญ) ณ เมรุหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส วันอังคารที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2510
- พลเอก เจ้าพระยารามราฆพ สภานายกสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศสยามฯ คนแรก เก็บถาวร 2007-11-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน siamfootball.com
- เรื่องราวของเจ้าพระยารามราฆพ กระทู้ในพันทิบ.คอม
- เจ้าพระยามราฆพ,พระยาอนิรุทเทวา,ม.ล.เฟื้อ พึ่งบุญ หลัง ร.6 สวรรคต
ก่อนหน้า | เจ้าพระยารามราฆพ (หม่อมหลวงเฟื้อ พึ่งบุญ) | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
- | ![]() |
นายกสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศสยาม (พ.ศ. 2458-2462) |
![]() |
หม่อมเจ้าชัชวลิต เกษมสันต์ |
- บทความที่ใช้แหล่งอ้างอิงปฐมภูมิเป็นหลัก
- บทความทั้งหมดที่ใช้แหล่งอ้างอิงปฐมภูมิเป็นหลัก
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2433
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2510
- บรรดาศักดิ์ชั้นเจ้าพระยา
- องคมนตรีในรัชกาลที่ 6
- หม่อมหลวง
- ราชสกุลพึ่งบุญ
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.จ. (ฝ่ายหน้า)
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ร.ว.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ร.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ว.ภ.
- ผู้ได้รับเหรียญ ร.ด.ม.(ศ)
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ อ.ป.ร.2
- ทหารบกชาวไทย
- ทหารเรือชาวไทย
- ราชองครักษ์
- สมาชิกกองเสือป่า
- ผู้ได้รับเหรียญจักรมาลา
- นายกเทศมนตรีนครกรุงเทพฯ
- บุคคลในประวัติศาสตร์กรุงรัตนโกสินทร์