สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3
พระเจ้ากรุงศรีอยุธยา (ครั้งที่ 1)
ครองราชย์พ.ศ. 1999 - พ.ศ. 2018 (19 ปี)
ก่อนหน้าสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
ถัดไปสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
พระมหาอุปราชพระเอกสัตราช
พระเจ้ากรุงศรีอยุธยา (ครั้งที่ 2)
ครองราชย์พ.ศ. 2032 - พ.ศ. 2034 (2 ปี)
ก่อนหน้าสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
ถัดไปสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2
พระราชสมภพพ.ศ. 2005
สวรรคตพ.ศ. 2034 (29 พรรษา)
ราชวงศ์สุพรรณภูมิ
พระราชบิดาสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ

สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3[1] พระนามเดิมว่าพระบรมราชา ทรงเป็นพระเจ้ากรุงศรีอยุธยา แห่งราชวงศ์สุพรรณภูมิ เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ และเป็นพระเชษฐาต่างพระมารดาของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2

แม้พระราชพงศาวดาร ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) จะระบุว่าสมเด็จพระบรมราชาธิราชเป็นพระองค์เดียวกับสมเด็จพระรามาธิบดี[2] ส่วนพระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา ระบุว่าเป็นสมเด็จพระอินทราชาธิราชที่ 2 แต่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ อธิบายว่าที่ถูกควรเรียกว่าสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3[3]

พระราชประวัติ[แก้]

สมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้า หรือ สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3 พระราชสมภพเมื่อปี พ.ศ. 2005 มีพระนามเดิมว่าพระบรมราชา เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ พระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ ระบุว่าในปี พ.ศ. 2006 สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงย้ายไปเสวยราชสมบัติเมืองพิษณุโลก จึงให้พระบรมราชาเสวยราชสมบัติกรุงศรีอยุธยาแทน ทรงพระนามว่าสมเด็จพระบรมราชาธิราช ในปีนั้นพระเจ้าติโลกราชยกทัพมาตีเมืองสุโขทัย สมเด็จพระบรมราชาธิราชจึงตามเสด็จและสามารถตีทัพพระยายุทธิษเฐียรแตก[4] และในปี พ.ศ. 2009 ทรงผนวช[5]

ในช่วงว่างจากราชการสงครามได้เสด็จฯ ไปวังช้างที่ตำบลไทรย้อยในปี พ.ศ. 2026 และที่ตำบลสำฤทธีบุรณในปี พ.ศ. 2029 ถึงปี พ.ศ. 2032 ทรงตีได้เมืองทวายแต่เกิดอาเพศหลายประการคือ มีโคตกลูกตัวหนึ่งมี 8 เท้า มีไข่ไก่ออกเป็นตัวมี 4 เท้า ไก่ฟักไข่สามฟองแต่ออกมาเป็น 6 ตัว มีข้าวสารงอกใบ แล้วพระราชบิดาก็สวรรคตในปีนั้น และพระราชกิจสำคัญอย่างสุดท้ายคือโปรดให้ก่อกำแพงเมืองพิชัยในปี พ.ศ. 2033[4]

สมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้า เสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 2034 สมเด็จพระเชษฐาธิราชเจ้าเมืองพิษณุโลกจึงเสด็จลงมาสืบราชสมบัติกรุงศรีอยุธยา ทรงพระนามว่าสมเด็จพระรามาธิบดี[4]

พงศาวลี[แก้]

อ้างอิง[แก้]

เชิงอรรถ
  1. ราชกิจจานุเบกษา, รายนามแลพระนามผู้ที่ทำลับแลไฟ ทรงพระราชอุทิศในพระเจ้าแผ่นดิน ในพระราชกุศลบรรจบรอบเถลิงถวัลยราชสมบัติรอบ ๒๕ ปี, เล่ม ๑๐ ตอนที่ ๓๐ หน้า ๓๑๙, ๒๒ ตุลาคม ๑๑๒
  2. พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม), หน้า 57
  3. นามานุกรมพระมหากษัตริย์ไทย, หน้า 78
  4. 4.0 4.1 4.2 พระโหราธิบดี (ขึ้น 12 ค่ำ เดือน 5 จ.ศ.1072). "พระราชพงศาวดารกรุงเก่าฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์". วิกิซอร์ซ. สืบค้นเมื่อ 18 สิงหาคม 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  5. พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม), หน้า 55
บรรณานุกรม
  • พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และเอกสารอื่น. นนทบุรี : ศรีปัญญา, 2553. 800 หน้า. ISBN 978-616-7146-08-9
  • มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา. นามานุกรมพระมหากษัตริย์ไทย. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา, 2554. 264 หน้า. ISBN 978-616-7308-25-8

ดูเพิ่ม[แก้]

ก่อนหน้า สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3 ถัดไป
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
พ.ศ. 1991 - 2006

พระเจ้ากรุงศรีอยุธยา
(พ.ศ. 2006 - 2034)
สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2
พ.ศ. 2034 - 2072