รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก สถานีสวางคนิวาส)
รถไฟฟ้าเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา สาย 1
BTS-Logo.svg
Bangkok Skytrain 2011.jpg
ข้อมูลทั่วไป
ชื่ออื่น
  • รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท
  • รถไฟฟ้าสายสีเขียวอ่อน
สถานะเปิดให้บริการ
เจ้าของสำนักการจราจรและขนส่ง กรุงเทพมหานคร
ที่ตั้งปทุมธานี, กรุงเทพมหานคร และสมุทรปราการ
ปลายทาง
จำนวนสถานี56 (ทั้งหมด)
47 (เปิดให้บริการ)
9 (โครงการ)
การดำเนินงาน
รูปแบบระบบขนส่งมวลชนเร็ว
ระบบระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร[1], รถไฟฟ้าบีทีเอส
ผู้ดำเนินงานบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด (ผู้ดำเนินงานส่วนต่อขยาย)
บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (ผู้ดำเนินงานส่วนหมอชิต-อ่อนนุช สัมปทานถึง พ.ศ. 2572 และผู้เดินรถทั้งเส้นทาง)
ศูนย์ซ่อมบำรุงศูนย์ซ่อมบำรุงบางปู (สมุทรปราการ)
ศูนย์ซ่อมบำรุงหมอชิต
ศูนย์ซ่อมบำรุงสายไหม (คูคต)
ขบวนรถซีเมนส์ โมดูลาร์ เมโทร
(EMU-A1) : 35 ขบวน : หมายเลข 1-35
ซีเมนส์ โบซันคายา
(EMU-A2) : 22 ขบวน : หมายเลข 53-74
ซีเอ็นอาร์ ฉางชุน
(EMU-B1) : 12 ขบวน : หมายเลข 36-47
ซีเอ็นอาร์ ฉางชุน
(EMU-B2) : 5 ขบวน : หมายเลข 48-52
ซีอาร์อาร์ซี ฉางชุน
(EMU-B3) : 24 ขบวน : หมายเลข 75-98
ประวัติ
เปิดเมื่อ5 ธันวาคม พ.ศ. 2542 (23 ปีก่อน)
ส่วนต่อขยายล่าสุด16 ธันวาคม พ.ศ. 2563 (2 ปีก่อน) (สถานีพหลโยธิน 59 - สถานีคูคต)
ข้อมูลทางเทคนิค
ระยะทาง53.58 กิโลเมตร
จำนวนทางวิ่ง2
ลักษณะทางวิ่งทางยกระดับ
รางกว้าง1,435 mm (4 ft 8 12 in) สแตนดาร์ดเกจ
ระบบจ่ายไฟรางที่สาม 750VDC
ความเร็วสูงสุด 80 กิโลเมตร/ชั่วโมง
แผนที่เส้นทาง

 สายสุขุมวิท 
(N28
วงแหวน-ลำลูกกา)
(N27
คลองห้า)
(N26
คลองสี่)
(N25
คลองสาม)
N24
คูคต
Depot
ศูนย์ซ่อมบำรุงย่อยคูคต
N23
แยก คปอ.
N22
พิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศ
N21
โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช
N20
สะพานใหม่
N19
สายหยุด
N18
พหลโยธิน 59
N17
วัดพระศรีมหาธาตุ
( PK )
N16
กรมทหารราบที่ 11
N15
บางบัว
N14
กรมป่าไม้
N13
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
N12
เสนานิคม
N11
รัชโยธิน
N10
พหลโยธิน 24
N9
ห้าแยกลาดพร้าว
 BL 
Depot
ศูนย์ซ่อมบำรุงหมอชิต
N8
หมอชิต
 BL 
N7
สะพานควาย
(N6
เสนาร่วม)
N5
อารีย์
N4
สนามเป้า
N3
อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
 สายสีลม 
( DR )
(ยศเส
W2)
N2
พญาไท
 A1  ( LR )
สนามกีฬาแห่งชาติ
W1
N1
ราชเทวี
เรือโดยสารคลองแสนแสบ ( OR )
( OR )
สยาม
CEN
CEN
สยาม
( OR )
ราชดำริ
S1
E1
ชิดลม
( OR )
 BL 
ศาลาแดง
S2
E2
เพลินจิต
( GS )  BRT 
ช่องนนทรี
S3
E3
นานา
เซนต์หลุยส์
S4
E4
อโศก
 BL 
สุรศักดิ์
S5
E5
พร้อมพงษ์
เรือด่วนเจ้าพระยา
สะพานตากสิน
S6
E6
ทองหล่อ
( GN )
E7
เอกมัย
 GL 
กรุงธนบุรี
S7
E8
พระโขนง
( GS )
( PP   DR )
วงเวียนใหญ่
S8
E9
อ่อนนุช
(ตลิ่งชัน)
S18
E9
อ่อนนุช
E10
บางจาก ( GS 
E11
ปุณณวิถี
E12
อุดมสุข
( SL )
E13
บางนา
( SL )
E14
แบริ่ง
E15
สำโรง
( YL )
E16
ปู่เจ้า
E17
ช้างเอราวัณ
E18
โรงเรียนนายเรือ
E19
ปากน้ำ
E20
ศรีนครินทร์
E21
แพรกษา
E22
สายลวด
E23
เคหะฯ
Depot
ศูนย์ซ่อมบำรุงย่อยบางบิ้ง
(E24
สวางคนิวาส)
(E25
เมืองโบราณ)
(E26
ศรีจันทร์ฯ)
(E27
บางปู)

รถไฟฟ้าเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา สาย 1 หรือ รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท หรือ รถไฟฟ้าสายสีเขียวอ่อน เป็นส่วนหนึ่งของแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางราง ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยจะครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพมหานคร, จังหวัดปทุมธานี และจังหวัดสมุทรปราการ เปิดให้บริการครั้งแรกในปี พ.ศ. 2542 ระยะทาง 17 กิโลเมตร จากสถานีหมอชิต ถึงสถานีอ่อนนุชต่อมาในปี พ.ศ. 2554 ได้เปิดใช้งานส่วนต่อขยาย อ่อนนุช-แบริ่ง พ.ศ. 2560-2561 ได้เปิดใช้งานส่วนต่อขยายจากแบริ่งไปจนถึงเคหะสมุทรปราการ และปี พ.ศ. 2562-2563 ได้เปิดใช้งานส่วนต่อขยายจากหมอชิตไปจนถึงคูคต สามารถเชื่อมต่อกับสายสีลม ที่สถานีสยาม

ภาพรวม[แก้]

รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท เป็นระบบรถไฟฟ้าที่มีโครงสร้างเป็นทางยกระดับเหนือพื้นดินตลอดโครงการ มีแนวเส้นทางเป็นแนวเหนือ-ตะวันออก พาดผ่านพื้นที่สามจังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร, จ.ปทุมธานี และ จ.สมุทรปราการ เริ่มต้นเส้นทางจากบริเวณย่านลำลูกกา จ.ปทุมธานี วิ่งไปตามแนวถนนลำลูกกา จากนั้นเบี่ยงซ้ายเข้าถนนเลียบเส้นทางกับกรมควบคุมการปฏิบัติทางอากาศของกองทัพอากาศ เข้าสู่เขตกรุงเทพมหานคร วิ่งผ่านพื้นที่สำคัญหลายแห่ง อาทิ กองทัพอากาศ, กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์, ม.ศรีปทุม, ม.เกษตรศาสตร์ จากนั้นเข้าสู่พื้นที่กรุงเทพมหานครชั้นในที่บริเวณแยกรัชโยธิน วิ่งมาจนถึงปากทางห้าแยกลาดพร้าว ยกระดับข้ามดอนเมืองโทลล์เวย์ เข้าถนนพหลโยธิน ผ่านอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เมื่อถึงแยกปทุมวันแนวเส้นทางจะเลี้ยวซ้ายเข้าถนนพระรามที่ 1 และมุ่งตรงไปยังถนนเพลินจิต และถนนสุขุมวิท เพื่อเข้าเขตจังหวัดสมุทรปราการ ผ่านพื้นที่สำคัญของจังหวัดสมุทรปราการอีกหลายแห่ง อาทิ พิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ, โรงเรียนนายเรือ, ศาลากลางจังหวัดสมุทรปราการ และสิ้นสุดเส้นทางทั้งโครงการที่ย่านบางปู บริเวณสถานตากอากาศบางปู จังหวัดสมุทรปราการ รวมระยะทางทั้งสิ้น 53.58 กิโลเมตร นับเป็นเส้นทางระบบขนส่งมวลชนเร็วที่ยาวที่สุดในกรุงเทพมหานคร แนวเส้นทางจะเน้นขนส่งผู้โดยสารจากชานเมืองทั้งฝั่งเหนือและฝั่งตะวันออกให้เข้าสู่พื้นที่ใจกลางกรุงเทพมหานคร พื้นที่ท่องเที่ยว, สถานบันเทิง และเขตเศรษฐกิจชั้นในตามแนวถนนสุขุมวิทได้อย่างรวดเร็ว

รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท ส่วนแรกสุดในเส้นทางหมอชิต-อ่อนนุช ดำเนินการโดยบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (บีทีเอสซี) ซึ่งได้รับสัมปทานโครงการเป็นระยะเวลา 30 ปีจากกรุงเทพมหานคร ถึง พ.ศ. 2572 ส่วนเส้นทางส่วนต่อขยายที่เหลือดำเนินการโดยบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด[2] โดยยังมีบีทีเอสซีเป็นผู้ให้บริการเดินรถตลอดทั้งเส้นทาง

พื้นที่เส้นทางผ่าน[แก้]

แขวง/ตำบล เขต/อำเภอ จังหวัด
คูคต ลำลูกกา ปทุมธานี
สนามบิน ดอนเมือง กรุงเทพมหานคร
คลองถนน, สายไหม สายไหม
อนุสาวรีย์ บางเขน
ลาดยาว, เสนานิคม, จันทรเกษม, จตุจักร, จอมพล จตุจักร
สามเสนใน, พญาไท พญาไท
ถนนพญาไท, ทุ่งพญาไท, ถนนเพชรบุรี ราชเทวี
ปทุมวัน, ลุมพินี ปทุมวัน
คลองเตย, คลองตัน, พระโขนง คลองเตย
คลองเตยเหนือ, คลองตันเหนือ, พระโขนงเหนือ วัฒนา
พระโขนงใต้, บางจาก พระโขนง
บางนาเหนือ, บางนาใต้ บางนา
สำโรงเหนือ, เทพารักษ์, ปากน้ำ, ท้ายบ้านใหม่, บางปูใหม่ เมืองสมุทรปราการ สมุทรปราการ

แนวเส้นทาง[แก้]

ทางวิ่งรถไฟฟ้าบีทีเอส ช่วงยกระดับเหนือถนนเพลินจิต

แนวเส้นทางเป็นเส้นทางยกระดับทั้งโครงการในแนวเหนือ-ตะวันออก ผ่านกรุงเทพมหานคร จังหวัดสมุทรปราการ และจังหวัดปทุมธานี มีจุดเริ่มต้นของทั้งโครงการที่สถานีสยาม ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม รวมระยะทางทั้งสิ้น 52.65 กิโลเมตร นับเป็นเส้นทางรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนที่ยาวที่สุดในกรุงเทพมหานคร

ในแนวเหนือ เส้นทางจะเริ่มจากสถานีสยามไปทางทิศตะวันตกตามแนวถนนพระรามที่ 1 ก่อนเลี้ยวขวาที่สี่แยกปทุมวัน วิ่งขึ้นไปทางทิศเหนือตามแนวถนนพญาไท เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้มที่สถานีราชเทวี รวมทั้งรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและทางรถไฟสายตะวันออกที่สถานีพญาไท จากนั้นหักโค้งผ่านอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิและตรงเข้าสู่ถนนพหลโยธิน ข้ามทางพิเศษศรีรัช เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ที่สถานีหมอชิต จากนั้นยกระดับข้ามทางยกระดับอุตราภิมุขที่ความสูง 26 เมตร แล้วเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคลอีกครั้งที่สถานีห้าแยกลาดพร้าว รวมทั้งรถไฟฟ้าสายสีเหลืองที่สถานีพหลโยธิน 24, รถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลที่สถานีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และรถไฟฟ้าสายสีชมพูที่สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ จากนั้นผ่านกองทัพอากาศและท่าอากาศยานดอนเมือง ก่อนเบี่ยงเข้าสู่ถนนตัดใหม่ ข้ามคลองหกวาเข้าสู่จังหวัดปทุมธานี แล้ววิ่งเข้าถนนลำลูกกา และไปสิ้นสุดในแนวเหนือที่สถานีคูคต

ในแนวตะวันออก เส้นทางจะเริ่มจากสถานีสยามไปทางทิศตะวันออกตามแนวถนนพระรามที่ 1 และถนนเพลินจิต ข้ามทางพิเศษเฉลิมมหานคร ก่อนเข้าสู่พื้นที่เศรษฐกิจตามแนวถนนสุขุมวิท โดยจะไปเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคลอีกครั้งที่สถานีอโศก และเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเทาที่สถานีทองหล่อและสถานีพระโขนง จากนั้นข้ามคลองพระโขนง ลอดใต้ทางพิเศษฉลองรัช เข้าสู่พื้นที่ชานเมืองฝั่งตะวันออก เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเงินที่สถานีบางนา ลอดใต้ทางพิเศษบูรพาวิถี มุ่งหน้าตรงเข้าสู่จังหวัดสมุทรปราการ เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเหลืองอีกครั้งที่สถานีสำโรง จากนั้นวิ่งต่อไปตามแนวถนนสุขุมวิท ข้ามถนนกาญจนาภิเษกฝั่งใต้ (ทางพิเศษบางพลี-สุขสวัสดิ์) ที่ความสูง 28 เมตร แล้วมุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ตามแนวถนนสุขุมวิท และสิ้นสุดเส้นทางทั้งระบบที่สถานีเคหะฯ

สถานีที่เปิดให้บริการในปัจจุบัน[แก้]

ชื่อและสีของสถานี รหัสสถานี จุดเปลี่ยนเส้นทาง วันที่เปิดให้บริการ ที่ตั้ง
คูคต BTS N24.svg 16 ธันวาคม พ.ศ. 2563 ปทุมธานี
แยก คปอ. BTS N23.svg กรุงเทพมหานคร
พิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศ BTS N22.svg รถเวียนภายในท่าอากาศยานดอนเมือง
โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช BTS N21.svg
สะพานใหม่ BTS N20.svg
สายหยุด BTS N19.svg
พหลโยธิน 59 BTS N18.svg
วัดพระศรีมหาธาตุ BTS N17.svg  สายสีชมพู  (สถานีร่วม) (กำลังก่อสร้าง) 5 มิถุนายน พ.ศ. 2563
กรมทหารราบที่ 11 BTS N16.svg
บางบัว BTS N15.svg
กรมป่าไม้ BTS N14.svg
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ BTS N13.svg  สายสีน้ำตาล  สถานีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประตู 1 (โครงการ) 4 ธันวาคม พ.ศ. 2562
เสนานิคม BTS N12.svg
รัชโยธิน BTS N11.svg
พหลโยธิน 24 BTS N10.svg
ห้าแยกลาดพร้าว BTS N9.svg  สายเฉลิมรัชมงคล  สถานีพหลโยธิน 9 สิงหาคม พ.ศ. 2562
หมอชิต BTS N8.svg  สายเฉลิมรัชมงคล  สถานีสวนจตุจักร 5 ธันวาคม พ.ศ. 2542
สะพานควาย BTS N7.svg
เสนาร่วม BTS N6 opaque.png พ.ศ. 2566
อารีย์ BTS N5.svg 5 ธันวาคม พ.ศ. 2542
สนามเป้า BTS N4.svg
อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ BTS N3.svg
พญาไท BTS N2.svg  สายซิตี้  สถานีพญาไท
 สายนครวิถี  สถานีพญาไท (โครงการ)
ราชเทวี BTS N1.svg  สายสีส้ม  สถานีราชเทวี (โครงการ)
 เรือโดยสารคลองแสนแสบ  ท่าสะพานหัวช้าง
สยาม BTS CEN.svg  สายสีลม  (สถานีร่วม)
 สายสีส้ม  สถานีประตูน้ำ (โครงการ)
ชิดลม BTS E1.svg  สายสีส้ม  สถานีประตูน้ำ (โครงการ)
เพลินจิต BTS E2.svg  สายนครวิถี  สถานีเพลินจิต (โครงการ)
นานา BTS E3.svg
อโศก BTS E4.svg  สายเฉลิมรัชมงคล  สถานีสุขุมวิท
พร้อมพงษ์ BTS E5.svg
ทองหล่อ BTS E6.svg  สายสีเทา  สถานีทองหล่อ (โครงการ)
เอกมัย BTS E7.svg
พระโขนง BTS E8.svg  สายสีเทา  สถานีพระโขนง (โครงการ)
อ่อนนุช BTS E9.svg
บางจาก BTS E10.svg 12 สิงหาคม พ.ศ. 2554
ปุณณวิถี BTS E11.svg
อุดมสุข BTS E12.svg  สายสีเงิน  สถานีบางนา (โครงการ)
บางนา BTS E13.svg
แบริ่ง BTS E14.svg
สำโรง BTS E15.svg  สายสีเหลือง  สถานีสำโรง (กำลังก่อสร้าง) 3 เมษายน พ.ศ. 2560 สมุทรปราการ
ปู่เจ้า BTS E16.svg 6 ธันวาคม พ.ศ. 2561
ช้างเอราวัณ BTS E17.svg
โรงเรียนนายเรือ BTS E18.svg
ปากน้ำ BTS E19.svg
ศรีนครินทร์ BTS E20.svg
แพรกษา BTS E21.svg
สายลวด BTS E22.svg
เคหะฯ BTS E23.svg

การเชื่อมต่อ[แก้]

รถไฟฟ้าบีทีเอส และระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร[แก้]

ผู้โดยสารสามารถเปลี่ยนเส้นทางไปยังเส้นทางอื่นๆ ในระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร ได้ที่สถานีดังต่อไปนี้

รถไฟฟ้ามหานคร[แก้]

อาคารเชื่อมต่อระหว่างสถานีอโศก (บีทีเอส) และสถานีสุขุมวิท (เอ็มอาร์ที)

ผู้โดยสารสามารถเปลี่ยนไปใช้บริการรถไฟฟ้ามหานครได้ที่

รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ[แก้]

ผู้โดยสารสามารถเปลี่ยนไปใช้รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิหรือแอร์พอร์ตลิงก์ ได้ที่สถานีพญาไท โดยทางการรถไฟแห่งประเทศไทยได้สร้างทางเชื่อมต่อโดยตรงจากสถานีพญาไทของโครงการแอร์พอร์ทลิงก์มายังสถานีพญาไทของรถไฟฟ้าบีทีเอส ซึ่งสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสได้ติดตั้งประตูเครื่องตรวจตั๋วโดยสารอัตโนมัติเพิ่มเติมบริเวณกลางสถานี ทำให้พื้นที่ที่ผ่านเครื่องตรวจตั๋วโดยสารแล้ว (paid area) ถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วนในลักษณะเดียวกันกับสถานีสยาม เพื่อเพิ่มความสะดวกสำหรับผู้ที่จะต่อรถเดินทางไปยังท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

เส้นทางสายรองอื่นๆ[แก้]

ผู้โดยสารสามารถเปลี่ยนไปใช้รถไฟฟ้าเส้นทางสายรองอื่น ๆ ได้ที่

รถบริการรับส่ง[แก้]

ในบางสถานีผู้โดยสารสามารถเดินทางจากสถานีไปยังอาคารต่างๆ ด้วยบริการรถรับส่งจากสถานี ดังต่อไปนี้

บริการรถรับส่งดังกล่าวทั้งหมดไม่เสียค่าบริการ ยกเว้นเส้นทางหมอชิต–อิมแพ็ค เมืองทองธานี ที่เก็บค่าโดยสาร 30 บาทต่อเที่ยว

ทางเดินเข้าอาคาร[แก้]

ทางเชื่อมจากสถานีเอกมัย เข้าสู่เกตเวย์ เอกมัย

ในบางสถานีผู้โดยสารสามารถเดินจากสถานีไปยังอาคารต่างๆ ในบริเวณใกล้เคียงได้ดังนี้ (ตัวเอน หมายถึงกำลังก่อสร้าง)

แผนที่แสดงการเชื่อมต่อกับระบบขนส่งมวลชนอื่น[แก้]

รูปแบบของโครงการ[แก้]

  • เป็นระบบรถไฟฟ้าขนาดหนัก (heavy rail transit)
  • ทางวิ่งยกระดับที่ความสูง 12 เมตรตลอดทั้งโครงการ ยกเว้น ช่วงข้ามทางพิเศษศรีรัช และทางพิเศษเฉลิมมหานครมีความสูง 17 เมตร ช่วงข้ามทางพิเศษบางพลี-สุขสวัสดิ์ (ถนนกาญจนาภิเษกด้านใต้) มีความสูง 27.40 เมตร และช่วงข้ามทางยกระดับอุตราภิมุขและถนนพหลโยธินกับถนนวิภาวดีรังสิตมีความสูง 27.96 เมตร[4]
  • ขนาดราง 1.435 เมตร (European standard guage) โดยมีรางที่ 3 ขนานไปกับรางวิ่งสำหรับจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับตัวรถ
  • ตัวรถเป็นรถปรับอากาศขนาดกว้าง 3.2 เมตร ยาว 20-24 เมตร สูงประมาณ 3.7 เมตร ความจุ 320 คนต่อคัน ต่อพวงได้ 3-6 คันต่อขบวน ใช้ไฟฟ้ากระแสตรง 750 โวลท์ ป้อนระบบขับเคลื่อนรถ สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 50,000 คนต่อชั่วโมงต่อทิศทาง
  • ใช้ระบบอาณัติสัญญาณเดินรถด้วยระบบอัตโนมัติจากศูนย์ควบคุมการเดินรถ และใช้ระบบเก็บค่าโดยสารอัตโนมัติ

ศูนย์ซ่อมบำรุงและศูนย์ควบคุมการเดินรถ[แก้]

เส้นทางช่วงหมอชิต-แบริ่ง จะใช้ศูนย์ซ่อมบำรุงใหญ่หมอชิต (ที่ทำการ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ในปัจจุบัน) ร่วมกับสายสีเขียวอ่อน ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ จะใช้ศูนย์ซ่อมบำรุงย่อยสมุทรปราการ (บางปิ้ง) และช่วงหมอชิต-คูคต จะใช้ศูนย์ซ่อมบำรุงย่อยสายไหม ระบบเดินรถทั้งระบบมีศูนย์ควบคุมการเดินรถกลางอยู่ที่ศูนย์ซ่อมบำรุงใหญ่หมอชิต และมีระบบเดินรถสำรองอยู่ที่ศูนย์บำรุงย่อยสายไหม

สิ่งอำนวยความสะดวก[แก้]

ลานจอดรถติดกับศูนย์ซ่อมบำรุงใหญ่หมอชิต

โครงการมีจุดจอดแล้วจร (park and ride) ทั้งหมดสี่แห่ง ได้แก่ ที่สถานีหมอชิตบริเวณพื้นที่ของโครงการบางกอกเทอร์มินัล หรือสถานีขนส่งหมอชิตเดิม อันเป็นพื้นที่ของกรมธนารักษ์, สถานีเคหะฯ (สถานีปลายทาง) โดยจะเป็นลานจอดรถเช่นเดียวกัน นอกจากนี้มีอาคารจอดรถจำนวน 2 แห่งที่ สถานีคูคต (สถานีต้นทาง) 1 แห่ง และ สถานีแยก คปอ. 1 แห่ง

สถานี[แก้]

มีทั้งหมด 55 สถานี เป็นสถานียกระดับทั้งหมด

รูปแบบสถานี

สถานีมีความยาวประมาณ 150 เมตร มีประตูชานชาลา (platform screen door) ความสูงแบบ Half-Height ในบางสถานี ออกแบบให้หลบเลี่ยงสาธารณูปโภคใต้ดินและบนดิน และรักษาสภาพผิวจราจรบนถนนมากที่สุด และมีเสายึดสถานีอยู่บริเวณเกาะกลางถนน

ขบวนรถโดยสาร[แก้]

รถไฟฟ้าซีเมนส์ โมดูลาร์ เมโทร สองขบวน ที่ประแจทางแยกเข้าศูนย์ซ่อมบำรุงหมอชิต

ซีเมนส์ โมดูลาร์ เมโทร (EMU-A1)[แก้]

ดูบทความหลักที่: ซีเมนส์ โมดูลาร์ เมโทร

สถานะ : ให้บริการตั้งแต่ขบวนหมายเลข 1 ถึง 35

  • ความยาว 4 ตู้ต่อ 1 ขบวน
  • จำนวน 35 ขบวน

ในระบบรถไฟฟ้าบีทีเอสขบวนซีเมนส์ โมดูลาร์เมโทร รุ่น EMU-A1 มีเพียงแค่เอ-คาร์และซี-คาร์เท่านั้น โดยใน 1 ขบวนจะมีเอ-คาร์อยู่ที่หัวและท้ายขบวนจำนวน 2 ตู้ และมีซี-คาร์อยู่กลางขบวนรถ 2 ตู้ สามารถต่อพ่วงเพิ่มได้สูงสุดถึง 6 ตู้ต่อ 1 ขบวน มีความยาวอยู่ที่ 65.30 เมตร และมีความกว้าง 3.20 เมตร มีประตูเลื่อนกว้าง 1.40 เมตร จำนวน 32 บานต่อ 1 ขบวน ตัวถังรถทำจากเหล็กปลอดสนิม ติดตั้งระบบปรับอากาศ พร้อมหน้าต่างชนิดกันแสง รถไฟฟ้าสามารถขับเคลื่อนได้โดยใช้แรงดันไฟฟ้า 750 Vdc โดยรับจากรางส่งที่ 3

ซีเมนส์ โบซันคายา (EMU-A2)[แก้]

สถานะ : ให้บริการตั้งแต่ขบวนหมายเลข 53-74

  • ความยาว 4 ตู้ต่อ 1 ขบวน
  • จำนวน 22 ขบวน

ในระบบรถไฟฟ้าบีทีเอสขบวนซีเมนส์ โบซันคาย่าดีไซน์ บีทีเอสโมเดล รุ่น EMU-A2 จะประกอบไปด้วย Mc-Car และ T-Car โดย Mc-Car จะอยู่ด้านหัวและท้ายขบวน 2 ตู้ และ T-Car จะอยู่กลางขบวน 2 ตู้ สามารถต่อพ่วงได้สูงสุด 6 ตู้ต่อ 1 ขบวน มีความยาวอยู่ที่ 65.30 เมตรและมีความกว้าง 3.12 เมตร มีประตูเลื่อนกว้าง 1.40 เมตร จำนวน 32 บานต่อ 1 ขบวน ตัวถังของขบวนรถทำจากเหล็กปลอดสนิม ติดตั้งระบบปรับอากาศแบบอินเวอร์เตอร์พร้อมระบบกรองอากาศทั้งหมด 8 ยูนิต พร้อมหน้าต่างชนิดกันแสง และมีระบบแผนที่นำทางหรือ Dynamic Route Map ซึ่งทำงานพร้อมกับระบบอาณัติสัญญาณ ติดตั้งอยู่เหนือประตูทุกบาน มีกล้องวงจรปิดสำหรับบันทึกและสอดส่องผู้โดยสาร และประหยัดพลังงานกว่ารถไฟฟ้าซีเมนส์รุ่นเดิมที่ใช้งานอยู่ รถไฟฟ้าสามารถขับเคลื่อนได้โดยใช้แรงดันไฟฟ้า 750 Vdc โดยรับจากรางส่งที่ 3

ซีเอ็นอาร์ ฉางชุน (EMU-B1 , EMU-B2)[แก้]

สถานะ : ให้บริการตั้งแต่ขบวนหมายเลข 36 ถึง 52

  • ความยาว 4 ตู้ต่อ 1 ขบวน
  • จำนวน EMU-B1 12 ขบวน และ EMU-B2 5 ขบวน

ในระบบรถไฟฟ้าบีทีเอสขบวนซีเอ็นอาร์ ฉางชุน รุ่น EMU-B1 และ EMU-B2 จะประกอบไปด้วย Tc-Car และ M-Car โดย Tc-Car จะอยู่ด้านหัวและท้ายขบวน 2 ตู้ และ M-Car จะอยู่กลางขบวน 2 ตู้ สามารถต่อพ่วงได้สูงสุด 6 ตู้ต่อ 1 ขบวน มีความยาวอยู่ที่ 65.30 เมตรและมีความกว้าง 3.2 เมตร มีประตูเลื่อนกว้าง 1.40 เมตร จำนวน 32 บานต่อ 1 ขบวน ตัวถังของขบวนรถทำเหล็กปลอดสนิมและอะลูมิเนียม ติดตั้งระบบปรับอากาศทั้งหมด 8 ยูนิต พร้อมหน้าต่างชนิดกันแสง และมีระบบแสดงผลสถานะรถ Dynamic Route Map ซึ่งทำงานพร้อมกับระบบอาณัติสัญญาณ ติดตั้งอยู่เหนือประตูทุกบาน รถไฟฟ้าสามารถขับเคลื่อนได้โดยใช้แรงดันไฟฟ้า 750 Vdc โดยรับจากรางส่งที่ 3

ซีอาร์อาร์ซี ฉางชุน (EMU-B3)[แก้]

สถานะ : รับมอบครบทุกขบวนแล้ว โดยขบวนหมายเลข 75-91,93-98 ออกให้บริการแล้ว ในสายสีลม และสายสุขุมวิท (ขบวนหมายเลข 92 อยู่ระหว่างการทดสอบระบบ)

ในระบบรถไฟฟ้าบีทีเอสที่ให้บริการในปัจจุบัน จะประกอบไปด้วย Mc-Car และ T-Car โดย Mc-Car เป็นตู้โดยสารที่มีระบบขับเคลื่อน และมีห้องคนขับ จะอยู่ด้านหัวและท้ายขบวน 2 ตู้ (ตู้หมายเลข 18XX และ 19XX) และ T-Car เป็นตู้โดยสารไม่มีระบบขับเคลื่อน และไม่มีห้องคนขับ จะอยู่กลางขบวน 2 ตู้ (ตู้หมายเลข 28XX และ 29XX) โดยมีรูปแบบการจัดขบวนเป็น [ Mc ] - [ T ] - [ T ] - [ Mc ] สามารถต่อพ่วงได้สูงสุด 6 ตู้ต่อ 1 ขบวน ตัวถังของขบวนรถทำเหล็กปลอดสนิมและอะลูมิเนียม ติดตั้งระบบปรับอากาศทั้งหมด 8 ยูนิต พร้อมหน้าต่างชนิดกันแสง และมีระบบแสดงสถานะรถ Dynamic Route Map (LCD-DRM) ซึ่งทำงานพร้อมกับระบบอาณัติสัญญาณ ติดตั้งอยู่เหนือประตูทุกบาน

ส่วนต่อขยาย[แก้]

ส่วนต่อขยายสายสุขุมวิท[แก้]

เคหะสมุทรปราการ - บางปู[แก้]

รายชื่อสถานี[แก้]
รหัสสถานี ชื่อสถานี จุดเปลี่ยนเส้นทาง
BTS E23.svg สถานีเคหะฯ (Kheha)
BTS E24 opaque.png สถานีสวางคนิวาส (Sawangkhaniwat)
BTS E25 opaque.png สถานีเมืองโบราณ (Mueang Boran)
BTS E26 opaque.png สถานีศรีจันทร์ประดิษฐ์ (Si Chan Pradit)
BTS E27 opaque.png สถานีบางปู (Bang Pu)

ส่วนต่อขยายสายพหลโยธิน[แก้]

คูคต - วงแหวนรอบนอกตะวันออก[แก้]

รายชื่อสถานี[แก้]
รหัสสถานี ชื่อสถานี จุดเปลี่ยนเส้นทาง
BTS N24.svg สถานีคูคต (Khu Khot)
BTS N25 opaque.png สถานีคลองสาม (Khlong Sam)
BTS N26 opaque.png สถานีคลองสี่ (Khlong Si)
BTS N27 opaque.png สถานีคลองห้า (Khlong Ha)
BTS N28 opaque.png สถานีวงแหวน-ลำลูกกา (Wongwaen-Lam Luk Ka)

สถานีโครงการในอนาคต[แก้]

รหัส ชื่อสถานี จุดเชื่อมต่อ สถานะในปัจจุบัน
BTS N6 opaque.png เสนาร่วม (Sena Ruam) วางแผนก่อสร้างอย่างเป็นทางการใน พ.ศ. 2563 เพื่อแบ่งเบาภาระของสถานีอารีย์ และสถานีสะพานควาย
เนื่องจากปัจจุบันพื้นที่โดยรอบสถานีเป็นอาคารสำนักงานและคอนโดมิเนียม และมีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่น.
แต่สถานะล่าสุด (พ.ศ. 2564) มีแนวโน้มที่จะเลื่อนการก่อสร้างออกไปอย่างไม่มีกำหนด
อันเนื่องมาจากสถานการณ์การแพร่ระบาด ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)

ส่วนต่อขยายของโครงการที่ถูกยกเลิก[แก้]

ส่วนต่อขยายอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ - ลำลูกกาคลอง 7 [5][แก้]

  • หน่วยงานที่รับผิดชอบ: สำนักการจราจรและขนส่ง กรุงเทพมหานคร
  • พื้นที่ที่เส้นทางผ่าน : เขตราชเทวี, เขตพญาไท, เขตดินแดง, เขตห้วยขวาง, เขตลาดพร้าว, เขตบางเขน, เขตดอนเมือง, เขตสายไหม กรุงเทพมหานคร, อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี
  • เส้นทาง : แนวเส้นทางเริ่มต้นจากปลายสายที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิเลี้ยวขวาเข้าถนนราชวิถีผ่านสามเหลียมดินแดงเข้าถนนดินแดงวิ่งตามถนนดินแดงและถนนอโศก-ดินแดงไปจนถึงแยกพระราม 9 เพื่อเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน จากนั้นวิ่งต่อไปจนถึงแยกประดิษฐ์มนูธรรมแล้วเลี้ยวซ้ายเข้าถนนประดิษฐ์มนูธรรม เลี้ยวซ้ายอีกครั้งที่แยกประดิษฐ์มนูธรรม-ลาดพร้าวเพื่อเข้าถนนลาดพร้าว และเลี้ยวขวาเข้าถนนลาดพร้าว-วังหิน เพื่อออกสู่ถนนลาดปลาเค้าและถนนประเสริฐมนูกิจ จากนั้นเบี่ยงซ้ายตามถนนผลาสินธุ์ออกสู่ถนนพหลโยธิน แล้วเลี้ยวขวาเข้าสู่ถนนลำลูกกา เพื่อสิ้นสุดเส้นทางที่ย่านลำลูกกาคลอง 7 อย่างไรก็ดีแผนส่วนต่อขยายนี้ไม่ได้ถูกนำมาดำเนินการจริง เนื่องจากมีการปรับเปลี่ยนที่ตั้งของศูนย์ซ่อมบำรุงมาอยู่ย่านหมอชิต รวมถึงสภาพเศรษฐกิจในขณะนั้น และปัจจุบันแนวศึกษาของโครงการมีเส้นทางรถไฟฟ้าทดแทนหลายเส้นทาง เช่น ช่วงแยกผังเมือง - ประดิษฐ์มนูธรรม เป็นส่วนหนึ่งของรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงประดิษฐ์มนูธรรม - ลาดพร้าว 80 เป็นส่วนหนึ่งของรถไฟฟ้าสายสีเทา ช่วงลาดพร้าว 80 - ลาดพร้าว-วังหิน เป็นส่วนหนึ่งของรถไฟฟ้าสายสีเหลือง และช่วงบางบัว - ลำลูกกา เป็นส่วนหนึ่งของส่วนต่อขยายสายสุขุมวิท ช่วงหมอชิต - สะพานใหม่ - คูคตในปัจจุบัน

ส่วนต่อขยายสุขุมวิท - ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ[แก้]

  • หน่วยงานที่รับผิดชอบ: สำนักการจราจรและขนส่ง กรุงเทพมหานคร
  • พื้นที่ที่เส้นทางผ่าน : เขตวัฒนา, เขตสวนหลวง, เขตประเวศ, เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร, อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ
  • เส้นทาง : แนวเส้นทางนี้ปรากฏขึ้นครั้งแรกในแผนการขยายแนวเส้นทางระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร ตามมติการประชุมร่วมกับคณะกรรมการจัดการจราจรทางบก (คจร.) เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2547 ที่คจร. มีมติให้กรุงเทพมหานครศึกษาแนวทางเพิ่มเติมเพื่อต่อขยายสายทางภายใน พ.ศ. 2552 โดยแนวเส้นทางจะต่อขยายจากสถานีอ่อนนุช แล้วเลี้ยวขวาเข้าถนนอ่อนนุช ผ่านแยกศรีนุช แยกพัฒนาการ เข้าสู่ถนนลาดกระบัง จากนั้นเลี้ยวขวาเข้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิในแนวเดียวกับถนนสุวรรณภูมิ 1 เพื่อสิ้นสุดทั้งโครงการที่สถานีท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ซึ่งจะยกระดับอยู่ด้านหน้าอาคารผู้โดยสารหลัก รวมระยะทาง 20 กิโลเมตร แต่เนื่องจากแนวเส้นทางส่วนใหญ่เป็นแนวคู่ขนานกับ รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ช่วงรามคำแหง - สุวรรณภูมิ ถึงแม้จะเป็นการช่วยแบ่งเบาภาระให้กับโครงการ รวมถึงขนส่งผู้โดยสารออกไปตามแนวถนนอ่อนนุช และถนนลาดกระบัง แต่ด้วยข้อกังขาเรื่องการลงทุน กรุงเทพมหานครจึงไม่ได้เสนอส่วนต่อขยายนี้ให้คณะรัฐมนตรีพิจารณา[6]

ส่วนต่อขยายอ่อนนุช - บางนา - ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ[แก้]

  • หน่วยงานที่รับผิดชอบ : สำนักการจราจรและขนส่ง กรุงเทพมหานคร
  • พื้นที่ที่เส้นทางผ่าน : เขตบางนา กรุงเทพมหานคร
  • เส้นทาง : แนวเส้นทางนี้ปรากฏขึ้นครั้งแรกในแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2537 (MTMP) และแผนแม่บทเพื่อการปฏิบัติจริง พ.ศ. 2539 (CTMP) โดยแนวเส้นทางจะต่อขยายจากสถานีอ่อนนุชไปยังสถานีอุดมสุข แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าถนนบางนา-บางปะกง มุ่งหน้าไปทางจังหวัดชลบุรีจนถึงกิโลเมตรที่ 16 แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าพื้นที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิด้านใต้ แต่ด้วยสภาวะเศรษฐกิจที่ไม่ฟื้นฟูดีในการปรับปรุงแผนแม่บทเมื่อครั้ง พ.ศ. 2543 (URMAP) จึงได้ยกเลิกเส้นทางดังกล่าวไป ต่อมาในการประชุมร่วมกับคณะกรรมการจัดการจราจรทางบก (คจร.) เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2547 คจร. มีมติให้กรุงเทพมหานครศึกษาแนวทางเพิ่มเติมเพื่อต่อขยายสายทางภายใน พ.ศ. 2552 กรุงเทพมหานครจึงหยิบเอาแนวเส้นทางดังกล่าวกลับมาพิจารณา โดยลดระยะทางเหลือเพียงกิโลเมตรที่ 4 บริเวณวัดศรีเอี่ยม รวมระยะทาง (จากสถานีอุดมสุข) 4.4 กิโลเมตร แต่เนื่องจากแนวเส้นทางเป็นเส้นทางระยะสั้น จึงไม่คุ้มค่าต่อการลงทุน ประกอบกับเส้นทางช่วงอ่อนนุช - สุวรรณภูมิไม่ได้ถูกนำเสนอเข้าพิจารณา กรุงเทพมหานครจึงมีแนวคิดในการต่อขยายเส้นทางจากวัดศรีเอี่ยมออกไปอีก 12 กิโลเมตร เพื่อสิ้นสุดที่บริเวณอาคารผู้โดยสารฝั่งใต้ของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิตามแผนแม่บทเดิมเมื่อ พ.ศ. 2539 ก่อนแยกโครงการออกมาดำเนินการต่างหากในชื่อ รถไฟฟ้าสายสีเงิน และลดระดับโครงการจากรถไฟฟ้ารางหนักเป็นรถไฟฟ้ารางเบา

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) (31 มีนาคม พ.ศ. 2560). ข้อมูลที่สำคัญอื่น - แบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี (แบบ 56-1) สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีสิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2560 บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิงส์ จำกัด (มหาชน). สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2560. {{cite book}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)[ลิงก์เสีย]
  2. "ด้านระบบขนส่งมวลชน". บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด. สืบค้นเมื่อ 17 February 2021.
  3. คนใช้น้อย! กทม.ปรับเส้นทาง “BMA FEEDER” สาย B2 ดินแดง-BTS สนามเป้า
  4. BTS Insight จุดสูงสุดของรางรถไฟฟ้าบีทีเอสมีความสูงเทียบเท่าตึก 8 ชั้น
  5. [2bangkok.com/2bangkok-skytrain-btsarch00.html] 2bangkok.com สืบค้นเมื่อ 23-10-2563.
  6. โครงการศึกษาแนวทางการพัฒนาโครงการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานครส่วนต่อขยายโดยรวม

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]