โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ระวังสับสนกับ สถานีโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช ที่เป็นสถานีรถไฟฟ้าในเส้นทาง รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท
โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช
กรมแพทย์ทหารอากาศ
Bhumibol Adulyadej Hospital RTAF
โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช1.jpg
ประเภทโรงพยาบาลรัฐบาล
โรงพยาบาลทหาร
ที่ตั้งถนนพหลโยธิน แขวงคลองถนน เขตสายไหม กรุงเทพมหานคร
ข้อมูลทั่วไป
ก่อตั้ง27 มีนาคม พ.ศ. 2492
สังกัดกองทัพอากาศ
กองบัญชาการกองทัพไทย
กระทรวงกลาโหม
กรมแพทย์ทหารอากาศ
วิทยาลัยพยาบาลทหารอากาศ
ผู้อำนวยการพล.อ.ต.หญิง อิศรญา สุขเจริญ
จำนวนเตียง619 เตียง[1]
แพทย์212 คน
บุคลากร2720 คน
เว็บไซต์http://www.bhumibolhospital.rtaf.mi.th

พิกัดภูมิศาสตร์: 13°54′32″N 100°37′05″E / 13.9088743817°N 100.617934937°E / 13.9088743817; 100.617934937

โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช เป็นโรงพยาบาลภายใต้สังกัดกรมแพทย์ทหารอากาศ เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2492 ตั้งอยู่ ณ เลขที่ 171 ถนนพหลโยธิน แขวงคลองถนน เขตสายไหม กรุงเทพมหานคร 10220 นอกจากให้บริการด้านสาธารณสุขแก่ข้าราชการ ลูกจ้าง ครอบครัวของกองทัพอากาศ และประชาชนทั่วไปแล้ว ยังเป็นสถานที่จัดการเรียนการสอนระดับชั้นคลินิกของนิสิตแพทย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในโครงการร่วมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-กองทัพอากาศ และจัดการเรียนการสอนให้กับนักเรียนพยาบาลวิทยาลัยพยาบาลทหารอากาศซึ่งตั้งอยู่ใกล้กันอีกด้วย[2] ปัจจุบันมี พล.อ.ต.​หญิง อิศรญา สุขเจริญ เป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาล

ปัจจุบัน โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดชสามารถเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิทที่สถานีโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช โดยสถานีนี้เปิดให้บริการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2563

ประวัติ[แก้]

โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดชเปิดให้บริการครั้งแรกในวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2492 โดยชื่อโรงพยาบาลมีพระนามมาจากพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในตอนแรกมี 88 เตียง และขยายสิ่งก่อสร้างสำหรับการแพทย์เฉพาะทาง เช่น รังสีวิทยา, โสตศอนาสิกวิทยา และรวมอาคารแยกแผนกอายุรศาสตร์และศัลยกรรมสำหรับผู้ป่วยชายหญิง[3]

การแบ่งส่วนราชการ[แก้]

กองแพทยศาสตรศึกษา โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช[แก้]

กองแพทยศาสตรศึกษา
โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช
ข้อมูลทั่วไป
ชื่อกองแพทยศาสตรศึกษา
โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช
ชื่ออังกฤษBhumibol Adulyadej Hospital
Medical Education Center
ผู้อำนวยการพลอากาศตรีศรีชัย ชัยพฤกษ์
สัญลักษณ์สัญลักษณ์โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช
วารสารเวชสารโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช
สถานปฏิบัติการโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช
ที่อยู่ถนนพหลโยธิน แขวงคลองถนน เขตสายไหม กรุงเทพมหานคร 10220 โทรศัพท์.0-2534-7000

กองแพทยศาสตรศึกษา โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช เป็นกองแพทยศาสตรศึกษา สังกัดโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช กรมแพทย์ทหารอากาศ กองบัญชาการสนับสนุนทหารอากาศ กองทัพอากาศ และเป็นสถาบันร่วมผลิตแพทย์กับคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ประวัติ[แก้]

กองแพทยศาสตรศึกษา โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช เป็นหน่วยงานที่ดูแลไว้ในโครงการความร่วมมือของ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กับ โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช กรมแพทย์ทหารอากาศ กองทัพอากาศ ในการร่วมผลิตแพทย์เพิ่มให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 5 ของไทย

ซึ่งโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช เป็นโรงพยาบาลขนาดใหญ่มีอาจารย์แพทย์ผู้เชี่ยวชาญในทุกสาขาวิชา มีความพร้อมด้านบุคลากรและอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ทันสมัยจำนวนมาก มีปริมาณผู้ป่วยเพียงพอสำหรับการศึกษาในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ตามเกณฑ์แพทยสภา จึงได้ทำความร่วมมือกันเมื่อวันที่ 27 พ.ศ. 2531 โดยในขณะนั้นมี พลอากาศเอกวรนาถ อภิจารี ผู้บัญชาการทหารอากาศ และ ศาสตราจารย์นายแพทย์จรัส สุวรรณเวลา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ร่วมลงนาม

โดยความร่วมมือในการร่วมผลิตแพทย์ได้พัฒนาเรื่อยมาตามโครงการต่างๆ ของคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จนถึงปัจจุบัน

หลักสูตรการศึกษา[แก้]

ปัจจุบัน กองแพทยศาสตรศึกษา โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช จัดการเรียนการสอนในระดับชั้นคลินิก ตามหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตของคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ใน 1 หลักสูตร คือ

ปริญญาตรี
สถาบันอุดมศึกษา
  • หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต

ระยะเวลาในการศึกษา[แก้]

ใช้ระยะเวลาในการศึกษาตลอดหลักสูตรรวม 6 ปี ดังนี้

ระดับชั้น
สถานที่ศึกษา
  • ระดับชั้นเตรียมแพทยศาสตร์และชั้นปรีคลินิก (ชั้นปี 1 - 3)
  • ระดับชั้นคลินิก (ชั้นปี 4 - 6)

การรับบุคคลเข้าศึกษาในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต[แก้]

กองแพทยศาสตรศึกษา โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช รับสมัครบุคคลเข้าศึกษาในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ผ่านทางคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในระบบรับตรงประจำปีตามประกาศจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

อ้างอิง[แก้]

  1. http://gishealth.moph.go.th/healthmap/infoequip.php?maincode=11482&id=123843[ลิงก์เสีย]
  2. "View contents". Bhumibolhospital.rtaf.mi.th. สืบค้นเมื่อ 9 January 2019.
  3. "เกี่ยวกับ ร.พ.ภูมิพลอดุลยเดช". Bhumibolhospital.rtaf.mi.th. สืบค้นเมื่อ 9 January 2019.

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]