ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มหาวิทยาลัยซีเอ็มเคแอล"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Rameshe999 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: เครื่องมือแก้ไขต้นฉบับปี 2560
บรรทัด 2: บรรทัด 2:
{{กล่องข้อมูล มหาวิทยาลัย
{{กล่องข้อมูล มหาวิทยาลัย
| ชื่อ = มหาวิทยาลัยซีเอ็มเคแอล
| ชื่อ = มหาวิทยาลัยซีเอ็มเคแอล
| ภาพ = [[ไฟล์:CMKL University Logo.png|180px]]
| ภาพ =
| ชื่ออังกฤษ = CMKL University
| ชื่ออังกฤษ = CMKL University
| ชื่อย่อ = CMKL U
| ชื่อย่อ = CMKL U

รุ่นแก้ไขเมื่อ 19:59, 5 กุมภาพันธ์ 2564

มหาวิทยาลัยซีเอ็มเคแอล
ชื่อย่อCMKL U
ประเภทสถาบันอุดมศึกษาที่มีศักยภาพสูงจากต่างประเทศ
สถาปนา25 ตุลาคม พ.ศ. 2560 (6 ปี)
อธิการบดีรศ.ดร.สุพันธุ์ ตั้งจิตกุศลมั่น
อธิการบดีรศ.ดร.สุพันธุ์ ตั้งจิตกุศลมั่น
ที่ตั้ง
เลขที่ 1 ซอยฉลองกรุง 1 แขวงลาดกระบัง เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร 10520

13°43′52″N 100°46′34″E / 13.7310333°N 100.7762009°E / 13.7310333; 100.7762009
สี████ ส้ม แดงเลือดหมู
เว็บไซต์www.cmkl.ac.th

มหาวิทยาลัยซีเอ็มเคแอล (อังกฤษ: CMKL University) เป็นสถาบันอุดมศึกษาที่มีศักยภาพสูงจากต่างประเทศ แบบสถาบันร่วมระหว่างมหาวิทยาลัยคาร์เนกีเมลลอน กับสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

ประวัติ

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) มีการดำเนินการเกี่ยวกับการจัดการศึกษาของสถาบัน อุดมศึกษานอกพื้นที่ และการส่งเสริมสนับสนุนการจัดการศึกษาโดยสถาบันอุดมศึกษาที่มีศักยภาพสูงจากต่างประเทศ ซึ่งมหาวิทยาลัยคาร์เนกีเมลลอน (Carnegie Mellon University) ได้เข้ามาจัดการศึกษาในประเทศไทยร่วมกับสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ในรูปแบบสถาบันร่วม (Joint Institute) ภายใต้ชื่อมหาวิทยาลัยซีเอ็มเคแอล (CMKL University) โดยเปิดรับสมัครนักศึกษารุ่นแรกในปีการศึกษา 2561

การจัดการศึกษา

  • ใช้แนวทางการจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยคาร์เนกีเมลลอนเป็นหลัก ตั้งแต่ระบบการรับนักศึกษา การจัดการเรียนการสอน การกำกับดูแลงานวิจัยรวมถึงการกำหนดเกณฑ์การสำเร็จการศึกษา นักศึกษาอาจจะต้องไปศึกษาบางส่วนในสหรัฐอเมริกา
  • การเรียนการสอนในประเทศไทย จะใช้คณาจารย์จากมหาวิทยาลัยคาร์เนกีเมลลอน ซึ่งมาทำวิจัยในประเทศไทยหรือผ่านระบบการเรียนการสอนทางไกลร่วมกับคณาจารย์ของไทยที่ได้ผ่านการรับรองจากมหาวิทยาลัยคาร์เนกีเมลลอน โดยจะต้องไปร่วมจัดการศึกษาและทำวิจัยกับคณาจารย์ของมหาวิทยาลัยคาร์เนกีเมลลอน ในสหรัฐอเมริกาจนได้รับการรับรอง
  • การกำกับดูแลด้านการวิจัย จะดำเนินการผ่านคณะกรรมการที่ปรึกษาซึ่งประกอบด้วยคณาจารย์ของมหาวิทยาลัยคาร์เนกีเมลลอน และภาคเอกชนผู้สนับสนุนโครงการ
  • กระบวนการรับนักศึกษามหาวิทยาลัยคาร์เนกีเมลลอน จะเป็นหน่วยงานหลักที่ดูแลในเรื่องของการรับนักศึกษาโดยใช้เกณฑ์และมาตรฐานเดียวกับในสหรัฐอเมริกา นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาจะได้รับปริญญาจากมหาวิทยาลัยคาร์เนกีเมลลอน และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

หลักสูตร

หลักสูตรที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัยซีเอ็มเคแอล[1]
ระดับปริญญาตรี ระดับปริญญาโท ระดับปริญญาเอก
  • สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์
  • สาขาวิชานวัตกรรมบันเทิง
  • สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น