ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Tongacerz3 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Tongacerz3 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 8: บรรทัด 8:
| ประเภท = [[สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ]]
| ประเภท = [[สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ]]
| head_label = นายกสภามหาวิทยาลัย
| head_label = นายกสภามหาวิทยาลัย
| head = [[อาภรณ์ แก่นวงศ์|อาภรณ์ แก่นวงศ์]]
| head = [[พินิติ รตะนานุกูล|รศ.ดร.พินิติ รตะนานุกูล]]
| นายกสภามหาวิทยาลัย = [[รศ.ดร.พินิติ รตะนานุกูล]]
| นายกสภามหาวิทยาลัย = [[รศ.ดร.พินิติ รตะนานุกูล]]
| อธิการบดี = [[นพพร โฆสิระโยธิน|ผศ. นพพร โฆสิระโยธิน]] (รักษาการอธิการบดี)
| อธิการบดี = [[นพพร โฆสิระโยธิน|ผศ. นพพร โฆสิระโยธิน]] (รักษาการอธิการบดี)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 10:34, 1 ตุลาคม 2558

มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
ไฟล์:มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์.png
คติพจน์ภูมิความรู้สร้างคุณค่า ภูมิปัญญาสร้างสังคม
ประเภทสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ
สถาปนา9 กันยายน พ.ศ. 2558
นายกสภาฯรศ.ดร.พินิติ รตะนานุกูล
อธิการบดีผศ. นพพร โฆสิระโยธิน (รักษาการอธิการบดี)
อธิการบดีผศ. นพพร โฆสิระโยธิน (รักษาการอธิการบดี)
นายกสภามหาวิทยาลัยอาภรณ์ แก่นวงศ์
ที่ตั้ง
พื้นที่นามน 13 หมู่ 14 ตำบลสงเปลือย อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์ 46230 พื้นที่ดงปอ 62/1 ต.กาฬสินธุ์ อ.เมืองกาฬสินธุ์ จ.กาฬสินธุ์ 46000
เว็บไซต์www.ksu.ac.th

มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ (อังกฤษ: Kalasin University) คือสถาบันอุดมศึกษาของรัฐตั้งอยู่ในจังหวัดกาฬสินธุ์

ประวัติ

มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์จัดตั้งขึ้นตาม "พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ พ.ศ. 2558"[1] เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2558 โดยเกิดจากการควบรวมมหาวิทยาลัยในจังหวัดกาฬสินธุ์ 2 แห่งคือ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์เข้าด้วยกัน

การควบรวมมหาวิทยาลัย

ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2554 คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบ "ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ พ.ศ. ..." ซึ่งจะเป็นการควบรวมมหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์ กับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์เข้าด้วยกัน[2][3] เป็นมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ โดยการผลักดันของนายเดชา ตันติยวรงค์ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ และนางบุญรื่น ศรีธเรศ อดีต ส.ส.กาฬสินธุ์ เขต 1 อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และนางรัชฎาภรณ์ แก้วสนิท อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งมีทั้งกลุ่มผู้เห็นด้วยและกลุ่มผู้คัดค้าน โดยให้เหตุผลการคัดค้านว่าจะทำให้สถานที่ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเดิมถูกทิ้งร้างไป ส่งผลกระทบต่อธุรกิจหอพักที่เกิดขึ้นโดยรอบมหาวิทยาลัย

เมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2558 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบ "ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ พ.ศ. ..." เพื่อลดความซ้ำซ้อนของสถาบันอุดมศึกษาที่ตั้งอยู่ในจังหวัดเดียวกัน[4]ซึ่งต่อมาในวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2558 สภานิติบัญญัติแห่งชาติได้ลงมติในวาระ 3 เห็นชอบให้ "ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ พ.ศ. ..." ด้วยคะแนน 173-1 เสียง

เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2558 ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ "พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ พ.ศ. 2558" มีผลให้มหาวิทยาลัยราชภัฎกาฬสินธุ์และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์ สิ้นสุดสถานะความเป็นสถาบันอุดมศึกษาในวันถัดจากวันที่ประกาศราชกิจจานุเบกษา และเป็นการจัดตั้งมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ขึ้นในวันเดียวกัน

การศึกษา

มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ ปัจจุบันประกอบด้วยส่วนงานทางวิชาการที่จัดการเรียนการสอนทั้งสิ้น 9 คณะ ดังนี้

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น