ข้ามไปเนื้อหา

จ่ามงกุฎ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

จ่ามงกุฎ เป็นชื่อขนมไทยชนิดหนึ่ง มีลักษณะคล้ายกะละแมสีขาว[1] ไม่ใส่สี ทำจากแป้งข้าวเจ้าหรือแป้งข้าวเหนียวนวดผสมกับแป้งถั่วเขียว นำไปกวนกับกะทิและน้ำตาลทรายขาวจนเหนียว โรยเมล็ดถั่วลิสงคั่วซอยหรือเมล็ดแตงโมกะเทาะเปลือกเป็นไส้ในตัวขนม (สูตรโบราณจะโรยแป้งทอดตัดเป็นชิ้นเล็ก ๆ เท่าเมล็ดข้าวสุก ซึ่งใช้เวลาทำนานกว่า)[2] จากนั้นตัดขนมเป็นก้อนพอคำ ห่อด้วยตองกล้วยเพสลาด[3] ที่นาบไว้แล้ว

จ่ามงกุฎเป็นขนมชนิดหนึ่งที่ได้รับการกล่าวถึงในกาพย์เห่เรือชมเครื่องคาวหวานและงานนักขัตฤกษ์ซึ่งเป็นพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โดยเป็นตำรับดั้งเดิมในสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี[2]

อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบัน หลายคนนำชื่อขนมนี้ไปเรียกขนมไทยอีกชนิดนึงที่มีลักษณะ​คล้ายมงกุฎ​ นั้นก็คือขนมดาราทองหรือทองเอกกระจัง[4]

เชิงอรรถและอ้างอิง

[แก้]
  1. ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2556, หน้า 317.
  2. 2.0 2.1 แม่กลองทูเดย์ดอตคอม. "ขนมจ่ามงกุฎ ขนมไทยในวรรณคดี." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.maeklongtoday.com/otop/jamongkud.htm เก็บถาวร 2013-07-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. [ม.ป.ป.]. สืบค้น 10 กุมภาพันธ์ 2559.
  3. อ่านว่า [เพ-สะ-หฺลาด] แปลว่า ไม่อ่อนไม่แก่ มักใช้แก่ใบไม้บางชนิดที่ใช้เป็นอาหารและยา เช่น ใบชะพลู ใบทองหลาง ใบขี้เหล็ก ใบฝรั่ง
  4. สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. "จ่ามงกุฎ." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.royin.go.th/?knowledges-category=thai-language-use&paged=36. [ม.ป.ป.]. สืบค้น 1 กุมภาพันธ์ 2559.