ความไม่สงบทางการเมืองในประเทศไทย เมษายน พ.ศ. 2552

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาพสรุปเหตุการณ์วิกฤตการณ์การเมืองในประเทศไทย
ภาพสรุปเหตุการณ์วิกฤตการณ์การเมืองในประเทศไทย

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งหรือเกี่ยวข้องกับ
วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2548–2553

การเมืองไทยประวัติศาสตร์ไทย

ความไม่สงบทางการเมืองในประเทศไทย เมษายน พ.ศ. 2552 หรือ สงกรานต์เลือด เป็นเหตุการณ์การเดินขบวนทางการเมือง และความไม่สงบตามมาตั้งแต่วันที่ 7 เมษายน ถึง 24 เมษายน พ.ศ. 2552 ในกรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา เพื่อขับไล่รัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และมีการสลายการชุมนุมด้วยทหารตามมา ช่วงที่การประท้วงถึงขีดสุด มีผู้ประท้วงมากถึง 100,000 คน ชุมนุมในกรุงเทพมหานครตอนกลาง

การชุมนุมดังกล่าวยืดเยื้อและทวีความรุนแรงมากขึ้น จนรัฐบาลอภิสิทธิ์ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ในวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2552ในพื้นที่จังหวัดชลบุรี และยกเลิกประกาศดังกล่าวในวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2552[1]ต่อมาในวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2552[2]รัฐบาลได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี อำเภอเมืองสมุทรปราการ อำเภอบางพลี อำเภอพระประแดง อำเภอบางบ่อ อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ อำเภอธัญบุรี อำเภอลาดหลุมแก้ว อำเภอสามโคก อำเภอลำลูกกา อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม และอำเภอวังน้อย อำเภอบางปะอิน อำเภอบางไทร อำเภอลาดบัวหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพื่อควบคุมสถานการณ์ความไม่สงบ และมีการปะทะกันระหว่างเจ้าหน้าที่ตำรวจ-ทหารกับกลุ่มผู้ชุมนุมกับบ่อยครั้ง จากนั้นเมื่อเหตุการณ์สงบลง รัฐบาลอภิสิทธิ์ประกาศยกเลิกสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าว เมื่อวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2552[3]

เบื้องหลัง[แก้]

วันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2551 อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี หลังศาลรัฐธรรมนูญตัดสิทธิ์ทางการเมือง สมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรีขณะนั้น เป็นเวลาห้าปี เดือนมีนาคม พ.ศ. 2552 พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร อ้างผ่านการแพร่ภาพวิดีโอว่า ประธานองคมนตรี พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ อยู่เบื้องหลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 และว่า พล.อ. เปรม และองคมนตรี พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ และ ชาญชัย ลิขิตจิตถะ สมคบกับกองทัพเพื่อประกันให้อภิสิทธิ์ได้เป็นนายกรัฐมนตรี แม้อภิสิทธิ์จะปฏิเสธการกล่าวหาดังกล่าว ก็มีผู้ประท้วงหลายพันคนในกรุงเทพมหานครเมื่อต้นเดือนเมษายน เรียกร้องให้อภิสิทธิ์ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และ พล.อ. เปรม พล.อ. สุรยุทธ์ และ ชาญชัย ลิขิตจิตถะ ลาออกจากการเป็นองคมนตรี[4] พ.ต.ท. ทักษิณเรียกร้อง "การปฏิวัติของประชาชน" เพื่อเอาชนะอิทธิพลอำมาตยาธิปไตยของรัฐบาลอภิสิทธิ์ตามคำอ้าง การประท้วง นำโดย แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) หรือกลุ่มคนเสื้อแดง ขยายไปยังพัทยา ที่ประชุมการประชุมสุดยอดผู้นำเอเชียตะวันออกครั้งที่สี่ การปะทะกันรุนแรงเกิดขึ้นระหว่าง นปช. กับผู้สนับสนุนรัฐบาลกลุ่มคนเสื้อน้ำเงินที่ภักดีต่อเนวิน ชิดชอบ[5] การประท้วงเป็นเหตุให้การประชุมสุดยอดถูกยกเลิก ทำให้อภิสิทธิ์ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในจังหวัดชลบุรี ณ วันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2552[6]

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ สรุปผู้บาดเจ็บ 135 ราย[7]ในจำนวนนี้บาดเจ็บสาหัส 45 ราย รักษาที่หน่วยอภิบาล 4 ราย ทราบชื่อ 3 ราย ได้แก่ นาย สนอง พานทอง[8] นาย วิเชียร ขีดกลาง และ นาย ไสว ทองอ้ม เสียชีวิต 2 ราย ได้แก่ นาย ป้อม ผลพันพัว นาย ยุทธการ จ้อยช้อยชด เสียชีวิตที่ตลาดนางเลิ้ง ส่วน นาย ชัยพร กันทัง และ นาย ณัฐพงศ์ ปองดี[9]นั้นตำรวจสัณนิษฐานว่าเป็นการฆาตกรรมระหว่างการชุมนุมไม่เกี่ยวข้องกับเหตุชุมนุมทางการเมืองโดยตรง

รายชื่อผู้บาดเจ็บสาหัสอาทิ จ่าสิบเอก ชนินทร์ สิงห์เล็ก ร.ต.วิชาญ นามประเทือง พ.ต.ปกรณ์ สมพานต์ อนุภาพ คำแหง จ.ส.อ.นิด กะจันทร์ พลทหาร ชาลีรุธ พอตเตอร์ พลทหาร นฤพล รอดเจริญ พลทหาร พนมรุ้ง จิตเสนาะ พลทหาร ทรงยศ ก้อนทอง พลทหาร สุชาติ สีดา พลทหาร สถิต จันนาทอง[10] [11]วิเชียร ขีดกลาง วีระชัย บทมาตย์ วุฒิพงษ์ ดรน้อย ฐิติกร แฉ่งขำโฉม อนุภาส พูนสวัสดิ์ ธัชชัย เปลี่ยนชื่น เอกณรงค์ เมฆลอย [12] ผู้ทุพพลภาพได้แก่ จ.ส.อ.สุบินทร์ สิงห์เรือง และ นาย ไสว ทองอ้ม[13]

ต่อมา นายไสว ทองอ้ม และ นาย สนอง พานทอง ได้ทำการฟ้องร้อง สำนักนายกรัฐมนตรี ทั้งสองรายแพ้คดีในชั้นศาลฎีกาจึงต้องจ่ายค่าฤชาธรรมเนียม และ ค่าทนายความจำเลย จำนวนเงินทั้งสิ้น 212,114 บาท[14]ให้แก่ สำนักนายกรัฐมนตรี

ลำดับเหตุการณ์[แก้]

26 มีนาคม[แก้]

7 เมษายน[แก้]

  • กลุ่มคนเสื้อแดงเข้าปิดล้อมรถยนต์ของอภิสิทธิ์ และ สุเทพ เทือกสุบรรณ ขณะเคลื่อนขบวนผ่านถนนภายในเมืองพัทยา โดยนำรถมอเตอร์ไซต์จอดขวาง แล้วเข้าไปตะโกนด่าทอ พร้อมทั้งขว้างหมวกกันน็อค ใส่กระจกด้านหลังรถจนแตกเสียหาย และใช้ท่อนไม้ทุบกระจกหน้ารถ[15] ต่อมาตำรวจตั้งข้อหาแก่ผู้ก่อเหตุว่า พยายามฆ่าบุคคลทั้งสอง

8 เมษายน[แก้]

  1. พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ และ ชาญชัย ลิขิตจิตถะ ต้องพิจารณาตัวเอง ด้วยการลาออกจากตำแหน่งองคมนตรี
  2. อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ต้องลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
  3. การบริหารราชการแผ่นดินดำเนินไปตามครรลอง ของระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข การปรับปรุงใด ๆ ให้ดีขึ้นตามหลักสากล ต้องมีการปรึกษาหารือกัน ระหว่างนักประชาธิปไตยผู้มีประวัติ และพฤติกรรม เชิดชูระบอบประชาธิปไตยเป็นที่ประจักษ์

ซึ่งในแถลงการณ์กำหนดเวลาที่ 24 ชั่วโมง หากไม่มีการปฏิบัติตามข้อเรียกร้อง หลังจากนั้นแกนนำจะประกาศมาตรการยกระดับการชุมนุม[16]

10 เมษายน[แก้]

ไฟล์:UDD Asean.JPEG
บานกระจกแตกเสียหาย ขณะที่คนเสื้อแดงประจันหน้ากับกำลังทหาร ที่ประตูอาคารโรงแรมรอยัล คลีฟ บีช รีสอร์ท เมื่อวันที่ 11 เมษายน
  • ผู้ชุมนุมนำโดยกลุ่มผู้ขับรถแท็กซี่ ปิดถนนตามแยกสำคัญต่าง ๆ ภายในกรุงเทพมหานคร และขู่ว่าจะก่อจลาจลในสถานที่ต่าง ๆ ส่วนรัฐบาลอภิสิทธิ์ ประกาศให้วันที่ 10 เมษายน เป็นวันหยุดราชการ
  • อริสมันต์ พงษ์เรืองรอง นำผู้ชุมนุมจากกรุงเทพมหานครไปชุมนุมที่เมืองพัทยา โดยเจรจากับผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี เพื่อขอยื่นหนังสือกับตัวแทน สำนักงานเลขาธิการอาเซียน แล้วจะเดินทางกลับ โดยยืนยันจะไม่ขัดขวาง การประชุมในวันที่ 11 เมษายน
  • เกียรติกร พากเพียรศิลป์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคประชาธิปัตย์ และนาย สิระ พิมพ์กลาง หัวหน้าพรรคเพื่อนไทย กล่าวปราศัยที่หน้าทำเนียบรัฐบาล เรียกร้องให้ นาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ยุบสภา[20]

11 เมษายน[แก้]

  • กลุ่มผู้ชุมนุมจากหน้าทำเนียบรัฐบาล และในจังหวัดชลบุรี นำโดย อริสมันต์ พงศ์เรืองรอง เคลื่อนขบวนไปที่โรงแรมรอยัล คลิฟ บีช รีสอร์ท เมืองพัทยา ซึ่งเป็นสถานที่จัดการประชุมสุดยอดผู้นำเอเชียตะวันออก เพื่อต่อต้านอภิสิทธิ์ แต่มีกลุ่มคนเสื้อน้ำเงินเข้าประจันหน้า จึงเกิดการปะทะกัน โดยหลังจากนั้นมีการเจรจาโดยตำรวจ นำไปสู่การยุติการปะทะ กลุ่มคนเสื้อแดงจึงเดินเท้าเข้าไปชุมนุมหน้าโรงแรมได้ โดยเข้าไปในศูนย์สื่อมวลชน และมีการแถลงข่าวโดยอริสมันต์ ถึงสาเหตุที่ต้องเข้ามาภายในโรงแรม โดยกล่าวว่ามีคนเสื้อแดงถูกคนเสื้อน้ำเงินยิงได้รับบาดเจ็บ รวมทั้งเรียกร้องให้อภิสิทธิ์ ดำเนินการหาตัวผู้กระทำผิด ภายใน 1 ชั่วโมง
  • ทว่ารัฐบาลไม่ดำเนินการตามที่เรียกร้อง ผู้ชุมนุมจึงเคลื่อนเข้าไปค้นหาตัวอภิสิทธิ์ ภายในอาคารของโรงแรม และระหว่างนี้เกิดความเสียหายโดยเห็นชัดจากคลิปวิดีโอว่าเกิดจากฝ่ายใด[21] เป็นเหตุให้รัฐบาลอภิสิทธิ์ประกาศเลื่อน การประชุมนานาชาติของอาเซียนคราวนี้ออกไปก่อน พร้อมทั้งประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ในเขตพื้นที่เมืองพัทยา และจังหวัดชลบุรี[22]แต่งตั้งนาย สุเทพ เทือกสุบรรณ เป็นผู้กำกับการปฏิบัติงานของหัวหน้าผู้รับผิดชอบ[23] จนกระทั่งส่งผู้นำต่างประเทศกลับเสร็จสิ้น จึงยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน
  • ต่อมาเวลา 21:00 น. พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี โฟนอินเข้าไปยังการชุมนุมของคนเสื้อแดง โดยกล่าวว่ากลุ่มเสื้อน้ำเงิน รับเงินมาทำร้ายคนเสื้อแดง[24] และกล่าวขอบคุณเพื่อนข้าราชการตำรวจทหารที่เป็นสุภาพบุรุษ เข้าใจการเรียกร้องของกลุ่มเสื้อแดง เพราะการขัดขวางกลุ่มเสื้อแดง ก็เสมือนกับไม่ต้องการให้ประเทศเจริญ และกล่าวเพิ่มเติมว่า เนื่องจากมีการใช้อำนาจนอกระบอบประชาธิปไตย ดังนั้นจึงถึงเวลาที่คนเสื้อแดงต้องไขว่คว้าหาประชาธิปไตยที่แท้จริง โดยต้องเปลี่ยนรัฐบาลที่เป็นมือเป็นไม้ให้ระบอบอำมาตย์ให้ได้ก่อน และพร้อมเปิดรับคนที่เคยมีความเห็นต่างให้เข้ามาร่วมกัน

12 เมษายน[แก้]

  • กลุ่มผู้ชุมนุมกลับมารวมตัวที่กรุงเทพมหานคร และมีการปิดถนนสายสำคัญ โดยเริ่มจากขบวนแท็กซี่ปิดถนนรอบวงเวียนอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เช้าวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2552 แกนนำปราศรัยบนเวทีว่า อริสมันต์ถูกจับกุมตัว จากเหตุการณ์ไม่สงบที่เมืองพัทยาแล้ว พร้อมทั้งกล่าวชวนคนเสื้อแดง ให้ไปชุมนุมขัดขวางอภิสิทธิ์ ซึ่งกำลังจะออกโทรทัศน์ เพื่อประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่กระทรวงมหาดไทย
  • ที่กระทรวงมหาดไทยในสายวันนั้น กลุ่มคนเสื้อแดงเข้าไปภายในกระทรวงมหาดไทย เพื่อตามหาตัวอภิสิทธิ์ โดยพยายามปิดกั้นรถยนต์ซึ่งอภิสิทธิ์โดยสาร จนเกิดความวุ่นวายขึ้น กระทั่งเจ้าหน้าที่อารักขานายกรัฐมนตรี ต้องยิงปืนเพื่อปรามให้เหตุการณ์ยุติ ผู้ชุมนุมเข้าไปแย่งปืนจากเจ้าหน้าที่นายหนึ่ง โดยเจ้าหน้าที่ได้รับบาดเจ็บ ผู้ชุมนุมใช้ท่อนไม้และของแข็งรุมเข้าทุบไปยัง รถยนต์คันที่ผู้ชุมนุมเชื่อว่าอภิสิทธิ์นั่งอยู่ภายใน จนต้องวิ่งไปโดยรอบ ภายในบริเวณกระทรวงมหาดไทย ขณะที่ผู้ชุมนุมติดตามรุมทุบรถอย่างต่อเนื่อง นอกจากนั้น ยังมีการทุบรถยนต์ซึ่ง นิพนธ์ พร้อมพันธุ์ เลขาธิการของอภิสิทธิ์โดยสารอยู่ด้วย กระทั่งนิพนธ์ก็บาดเจ็บ ต้องมีผู้นำส่งโรงพยาบาล ในขณะที่รถยนต์ซึ่งเชื่อว่าอภิสิทธิ์โดยสาร พยายามวิ่งหาทางออก ซึ่งในที่สุดก็ออกมา จากประตูของกระทรวงได้สำเร็จ[25][26][27] ต่อมา เสกสกล อัตถาวงศ์ แกนนำซึ่งไปชุมนุมหน้ากระทรวงมหาดไทย กล่าวบนเวทีชุมนุมว่า มีคนเสื้อแดงเสียชีวิต 2 คน มีการนำตัวเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของนายกรัฐมนตรี มายังหน้าเวทีและแสดงอาวุธปืน ซึ่งเชื่อว่ามีการใช้ยิง ขณะเกิดความวุ่นวาย ต่อมาในวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2552 พล.ต.ท.วรพงษ์ ชิวปรีชา ผบช.น.ตั้งข้อหาพยายามฆ่า และมีรางวัลนำจับ ให้ประชาชนที่แจ้งเบาะแสผู้ต้องหา รายละ 50,000 บาท ซึ่งในจำนวนผู้ต้องหาทั้งหมด 20 ราย มี เสกสกล อัตถาวงศ์ รวมอยู่ด้วย[28]ต่อมาอัยการได้ฟ้องร้องต่อศาลในคดีหมายดำที่ อ.598/2557[29]ต่อมาวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2559 ศาลมีคำสั่งให้จำคุก นายชัยวัฒน์ ทองมูล และ นายอรุณ ฉายาจันทร์[30]เป็นเวลา 2 ปี 4 เดือนไม่รอลงอาญา
  • รัฐบาลอภิสิทธิ์ ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี อำเภอเมืองสมุทรปราการ อำเภอบางพลี อำเภอพระประแดง อำเภอบางบ่อ อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ อำเภอธัญบุรี อำเภอลาดหลุมแก้ว อำเภอสามโคก อำเภอลำลูกกา อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม และอำเภอวังน้อย อำเภอบางปะอิน อำเภอบางไทร อำเภอลาดบัวหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

13 เมษายน[แก้]

รถแก๊สแอลพีจีที่มีการอ้างว่ากลุ่มคนเสื้อแดงนำไปจอดไว้ที่หน้าแฟลตดินแดง (13 เม.ย. 52)
โครงรถโดยสารประจำทางปรับอากาศ ขสมก สาย 503 ซึ่งถูกเพลิงไหม้
บริเวณถนนพิษณุโลก ข้างทำเนียบรัฐบาล หลังมีการประกาศยุติการชุมนุม (14 เม.ย. 52)
  • กำลังทหารและตำรวจใช้แก๊สน้ำตา กระสุนจริงและกระสุนฝึกหัด เข้าสลายการชุมนุมที่บริเวณแยกดินแดง จนมีผู้ได้รับบาดเจ็บ 70 คน[31][32] และมีรายงานโดยกลุ่มผู้ชุมนุมเองว่า มีผู้เสียชีวิตจากการเข้าสลายการชุมนุมด้วย[33] ซึ่งกองทัพได้ออกมากล่าวในภายหลังว่ามีการยิงกระสุนจริงขึ้นฟ้าแต่ไม่ได้ยิงเข้าใส่ผู้ชุมนุม แต่องค์กรสิทธิมนุษยชนสากล อย่างฮิวแมนไรต์วอตช์ยืนยันว่า มีการยิงกระสุนจริงเข้าใส่ทั้งจากกลุ่มผู้ชุมนุมและทหาร[34]
  • เวลาประมาณ 12:00 น.สุชน ชาลีเครือ อดีตประธานวุฒิสภา พร้อมด้วยคำนวณ ชโลปถัมภ์ อดีตนายกสภาทนายความ เข้ายื่นหนังสือถึงราชเลขาธิการ เรื่อง ขอพระราชทานกราบบังคมทูลทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท ที่สำนักพระราชวัง วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยมีอินทร์จันทร์ บุราพันธ์ รองเลขาสำนักราชเลขาธิการ เป็นผู้รับหนังสือแทน[35]ที่ ทัณฑสถานบำบัดพิเศษกลาง มีคนร้ายร่วมกันวางเพลิงเผาทรัพย์โดยใช้เศษผ้ามัดติดกับวัสดุติดไฟแล้วจุดไฟจนวัสดุดังกล่าวติดไฟแล้วขว้างปาเข้าไปในที่ทำการของเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ฝ่ายปกครองแดน8 [36]
  • มีการยึดรถโดยสารประจำทางหลายคัน มาจอดขวางตามถนนต่าง ๆ ทั่วกรุงเทพมหานคร โดยมีบางคันถูกทำลาย และมีการจุดไฟเผาหลายคัน
  • เวลาประมาณ 16:00 น. สัญญาณภาพจากช่องสถานีประชาธิปไตย ของกลุ่มคนเสื้อแดง ซึ่งถ่ายทอดการชุมนุมโดยตลอด มีข้อความแสดงบนหน้าจอโทรทัศน์แทนที่ว่า "ขออภัย ทางสถานีดาวเทียมไทยคม มีความจำเป็นต้องตัดสัญญาณ D-Station ตามคำสั่งของรัฐบาลในพ.ร.ก.ฉุกเฉิน[37]
  • เวลาประมาณ 21:30 น.เกิดเหตุปะทะกันระหว่างผู้ชุมนุม กับชาวบ้านหลายกลุ่มในตลาดนางเลิ้ง ที่พยายามปกป้องชุมชนของตนเอง จนมีผู้เสียชีวิต 2 ราย[38]ได้แก่ นาย ป้อม ผลพันพัว อายุ 53 ปี ถูกยิงเข้าหน้าอกซ้ายและขวา ต้นแขนขวา 2 นัด และ นาย ยุทธการ จ้อยช้อยชด อาย 18 ปี ส่วนผู้ได้รับบาดเจ็บสาหัส ได้แก่ นาย ธัชชัย เปลี่ยนชื่น ที่ถูกยิงบริเวณขาหนีบจนได้รับบาดเจ็บ[39] และ นาย เอกณรงค์ เมฆลอย ถูกยิงอาการสาหัส[40]
  • รัฐบาล จัดตั้งกองอำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (กอฉ.)ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 98/2552 ให้ พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นที่ปรึกษาผู้อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน และ พลเอก ทรงกิตติ จักกาบาตร์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นผู้อำนวยการกองอำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน[41]ผู้ปฏิบัติงานในกองอำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน มี 15 ราย(ไม่รวมข้าราชการตำรวจทหารที่ได้รับคำสั่งจากผู้อำนวยการกอฉ.) รายชื่อสำคัญเช่น พลเรือเอก กำธร พุ่มหิรัญ ผู้บัญชาการทหารเรือ พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก พลอกาศเอก อิทธพร ศุภวงศ์ ผู้บัญชาการทหารอากาศ พลตำรวจเอก พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กิตติพงษ์ กิตยารักษ์ ปลัดกระทรวงยุติธรรม พลเอก รัชกฤต กาญจนวัฒน์ เสนาธิการทหาร พลโท ประยุทธ์ จันทร์โอชา เสนาธิการทหารบก พลเรือโท รพล คำล้าย เสนาธิการทหารเรือ พลอากาศโท มานิต สพันธุพงษ์ เสนาธิการทหารอากาศ[42] วิชัย ศรีขวัญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย วีระศักดิ์ ฟูตระกูล ปลัดกระทรวงต่างประเทศ อดุลย์ กอวัฒนา ผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ

14 เมษายน[แก้]

จนกระทั่ง 24 เมษายน พ.ศ. 2552 ได้มีการยกเลิก พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน จากนั้นเวลาเย็นวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2552 แกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติรุ่นที่สอง นำโดยสมยศ พฤกษาเกษมสุข เป็นผู้นำกลุ่มคนเสื้อแดงชุมนุมบริเวณท้องสนามหลวง และนัดเดินสาย 5 จังหวัด ก่อนรวมพลใหญ่ที่กรุงเทพมหานครอีกครั้ง โดยใช้ฤกษ์พฤษภาทมิฬ 17-20 พ.ค. [46]

17 เมษายน[แก้]

21 เมษายน[แก้]

  • พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผบ.ตร.มีคำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติที่ 166/2552 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริง กรณีเกิดเหตุวุ่นวายที่ประชุมอาเซียนซัมมิต ที่โรงแรมรอยัล คลิฟ บีช รีสอร์ท เมืองพัทยา จ.ชลบุรี โดยให้ พล.ต.อ.ปทีป ตันประเสริฐ จเรตำรวจแห่งชาติ เป็นประธานกรรมการ พล.ต.ท.วีระยุทธ สิทธิมาลิก ผู้บัญชาการประจำสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ทำหน้าที่หัวหน้างานด้านอำนวยการ) เป็นกรรมการ พล.ต.ต.สุรพล อยู่นุช ผู้บังคับการประจำสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เป็นกรรมการ พ.ต.อ.ชัยพร วรรณประภา รองผู้บังคับการกองวินัย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เป็นกรรมการและเลขานุการ พ.ต.ท.วิญญู ฉายอรุณ สารวัตรงานคดีวินัยฝ่ายอำนวยการ 4 กองบังคับการอำนวยการ สำนักงานนิติวิทยาศาสตร์ตำรวจ เป็นผู้ช่วยเลขานุการ พ.ต.ท.รณภพ มั่นวิเชียร สารวัตรกลุ่มงานนิติกรด้านสอบสวนและพิจารณาโทษ กองวินัย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เป็นผู้ช่วยเลขานุการ[48]

16 พฤษภาคม[แก้]

ผลกระทบ[แก้]

ทางรัฐบาลได้ออกมาประมาณตัวเลขผู้ได้รับบาดเจ็บจากเหตุการณ์ดังกล่าวอยู่ที่ 120 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มคนเสื้อแดง[50] ทั้งนี้ กลุ่มคนเสื้อแดงได้อ้างว่า มีผู้เสียชีวิตถึง 6 คนจากการชุมนุมดังกล่าว[51] ทั้งนี้ ศพคนเสื้อแดง 2 ศพที่ถูกพบว่าลอยอยู่เหนือแม่น้ำเจ้าพระยา ทางตำรวจได้สรุปว่าเป็นการฆาตกรรมที่มีเหตุจูงใจมาจากการเมือง[52]

มีการตั้งข้อสังเกตว่ารถแก๊สแอลพีจีของ บริษัท สยามแก๊ส แอนดูปิโตรเคมีคัลส์ จำกัด นั้น ที่สามารถยึดได้โดยง่ายเนื่องจาก พลเอก ชัยสิทธิ์ ชินวัตร เป็นประธานกรรมการบริษัทในขณะนั้น

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ประกาศยกเลิกสถานการณ์ฉุกเฉิน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 126 ตอนพิเศษ 54 ง หน้า 1 วันที่ 11 เมษายน 2552
  2. ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 126 ตอนพิเศษ 55 ง หน้า 1 วันที่ 14 เมษายน 2552
  3. ประกาศยกเลิกสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าว เมื่อวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2552
  4. The Telegraph, Thai protesters bring Bangkok to a halt, 8 April 2009
  5. Nirmal Ghosh, "Live: Flashpoint Pattaya," Straits Times, 11 April 2009
  6. ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในจังหวัดชลบุรี ณ วันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2552
  7. สธ.สรุปยอดผู้บาดเจ็บเหตุปะทะล่าสุด มี 135 ราย ขณะนี้นอนโรงพยาบาล 50 ราย อยู่ไอซียู 4 ราย[ลิงก์เสีย]
  8. ศาลสั่งยึดทรัพย์เหยื่อกระสุนปี 52 ขายทอดตลาดชดใช้แทนกองทัพ
  9. 2รปภ.ลอยอืด! หลังไปม็อบแดง
  10. พม.มอบเงินเยียวยาฯ เหยื่อสงกรานต์เลือดรอบ 2 อีก 40 ราย
  11. พม.มอบเงินช่วยทหารบาดเจ็บเหยื่อ “หางแดง” โดนทั้งลูกปืน-อิฐ-แท็กซี่ชน เหตุสลายม็อบป่วนที่ดินแดง[ลิงก์เสีย]
  12. สรุปตัวเลขล่าสุดบาดเจ็บ 123 ราย นอนรพ. 50 ราย สาหัส 2 ราย
  13. เปิดรายชื่อผู้เสียชีวิต-ทุพพลภาพ-บาดเจ็บ มีสิทธิรับเงินเยียวยาจาก รบ.1-4 แสน[ลิงก์เสีย]
  14. “ไสว ทองอ้ม” เหยื่อกระสุนสลายชุมนุม ปี 52 บุกกลาโหม ทวงถามมนุษยธรรม
  15. ขบวนรถ ‘อภิสิทธิ์’ ชนมอเตอร์ไซค์เสื้อแดง ผู้ชุมนุมตามด่า-ทุบรถ แต่ขับหนีได้สำเร็จ ประชาไท 8 เมษายน 2552
  16. คมชัดลึก. แถลงการณ์เสื้อแดงจี้"เปรม-สุรยุทธ์-ชาญชัย-มาร์ค"ลาออกทันที เก็บถาวร 2016-03-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  17. UPDATE 4-Anti-govt rally in Bangkok, PM says Asia summit on."Reuters". April 8, 2009
  18. UDD Demonstration, Victory Monument, Bangkok. 9th April 2009.
  19. คมชัดลึกแม้วปลุกเสื้อแดง3วันสู้นำปชต.กลับบ้าน เก็บถาวร 2009-04-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  20. ส.ส.ปชป.โดดขึ้นเวทีคนเสื้อแดง
  21. คมชัดลึก. เสื้อแดงบุกรร.ที่ประชุมอาเซียน เก็บถาวร 2009-04-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  22. คมชัดลึก. ประกาศพรก.ฉุกเฉินฯเมืองพัทยา เก็บถาวร 2009-04-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  23. แต่งตั้งนาย สุเทพ เทือกสุบรรณ เป็นผู้กำกับการปฏิบัติงานของหัวหน้าผู้รับผิดชอบ
  24. "ทักษิณปลื้มเสื้อแดงล้มถกอาเซียน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-04-14. สืบค้นเมื่อ 2022-02-10.
  25. โพสต์ทูเดย์เสื้อแดงทุบรถนายกฯ เก็บถาวร 2009-04-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  26. "ให้ไปชุมนุมขัดขวางอภิสิทธิ์ ซึ่งกำลังจะออกโทรทัศน์ เพื่อประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2022-01-13.
  27. เลขาธิการของอภิสิทธิ์โดยสารอยู่ด้วย กระทั่งนิพนธ์ก็บาดเจ็บ
  28. คมชัดลึกตั้งข้อหาพยายามฆ่า"อภิสิทธิ์"20เสื้อแดง เก็บถาวร 2009-04-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  29. "บริการค้นข้อมูลคดี ศาลอาญา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-05-18. สืบค้นเมื่อ 2018-05-31.
  30. 2นปช.จำคุก2ปี4เดือน
  31. Abhisit Vejjajiva won the media battle but the hardest job is yet to come. The Times. April 14, 2009
  32. Thai troops open fire on protesters in Bangkok. The Times. April 13, 2009
  33. ทหารตรึงกำลังเข้มคุมสถานการณ์ตามจุดสำคัญ เก็บถาวร 2009-04-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ข่าวจากสำนักข่าวไทย
  34. Human Rights Watch calls for Thailand inquiry after riots. The Telegraph. April 16, 2009
  35. "กลุ่มอดีตสมาชิกวุฒิสภา ยื่นถวายฎีกา"ในหลวง" ด้าน"สมเจตน์"อัดเจตนาป้องเสื้อแดง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-04-15. สืบค้นเมื่อ 2009-06-22.
  36. "บริการค้นหาข้อมูลคดี ศาลอาญา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-05-18. สืบค้นเมื่อ 2018-06-04.
  37. "ไทยคมตัดสัญญาณโทรทัศน์D-Stationแล้ว". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-05-04. สืบค้นเมื่อ 2009-07-18.
  38. "คนชุมชนนางเลิ้งปะทะเสื้อแดงดับ2". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-04-25. สืบค้นเมื่อ 2009-04-14.
  39. กก.สอบเหตุนางเลิ้ง ฟันธง “แดงถ่อย” ยิงชาวบ้านตาย
  40. โจรแดงเหิมยิง ชาวบ้านนางเลิ้งตาย 2 เจ็บนับ 10
  41. ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นผู้อำนวยการกองอำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน
  42. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องให้นายทหารรับราชการ
  43. Thailand issues Thaksin arrest warrant over Bangkok violence. The Guardian. April 14, 2009
  44. ASTVผู้จัดการออนไลน์3 แกนนำโจรแดงโวย!!ไม่ได้รับประกันตัว-ถูกแยกขังเดี่ยว เก็บถาวร 2012-10-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  45. สำนักข่าวไทยการส่งผู้ชุมนุมกลับภูมิลำเนาเป็นไปอย่างเรียบร้อย เก็บถาวร 2009-04-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  46. ส.ส.พท.เล่นเกม"ศพทหาร" เผา"หลอก" "ม็อบแดง"ยังชุมนุมหนาตา ถือฤกษ์พ.ค.ทมิฬลุยรอบใหม่ เก็บถาวร 2020-11-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนมติชนรายวัน วันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11369
  47. คนดีผีคุ้ม! “สนธิ” กระสุนโดนศีรษะ รอดตายปาฏิหาริย์
  48. ตร.ตั้ง “ปทีป” ส่องเหตุม็อบแดงถ่อย! ล้มอาเซียนซัมมิต[ลิงก์เสีย]
  49. นปช.จัดกิจกรรม รำลึก17ปีพฤษภา โจมตีพล.ต.จำลอง
  50. Army pressure ends Thai protest. April 14, 2009
  51. It Begins. Bangkok Pundit. April 13, 2009
  52. Police probe 'Red Shirt' deaths. The Straits Times. April 16, 2009

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]