สำนักข่าวไทย
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
สำนักข่าวไทย (อังกฤษ: Thai News Agency ชื่อย่อ : สขท.; TNA) เป็นหน่วยงานประกอบกิจการข่าวสารของอสมท จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2520 ถือเป็นสำนักข่าวแห่งแรกของประเทศไทย
สำนักข่าวไทยมีหน้าที่รับผิดชอบหลักในการผลิต รวบรวม จัดเก็บ วิเคราะห์ และรายงานข่าวเพื่อนำเสนอออกอากาศ ทั้งทางวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ และสื่ออื่นๆ เช่น อินเทอร์เน็ต สื่อทางคอมพิวเตอร์ออนไลน์ และโทรศัพท์เคลื่อนที่ ตลอดจนนำข้อมูลข่าวสารเพื่อใช้แลกเปลี่ยน กับกลุ่มความร่วมมือในต่างประเทศ และเป็นหนึ่งเพื่อใช้แลกเปลี่ยน กับกลุ่มความร่วมมือในต่างประเทศ และเป็นหนึ่งในศูนย์กลางการแลกเปลี่ยน และนำเสนอข่าวในประเทศไทย ไปสู่นานาประเทศทั่วโลก ทั้งนี้ ยังเปิดศูนย์ข่าวในส่วนภูมิภาคอีก 4 แห่งคือ ศูนย์ข่าวเชียงใหม่ ศูนย์ข่าวขอนแก่น ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ และศูนย์ข่าวระยอง
สื่อที่ให้บริการ[แก้]
สำนักข่าวไทยให้บริการข่าวสาร ผ่านสื่อชนิดต่างๆ คือ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และอินเทอร์เน็ต
วิทยุกระจายเสียง[แก้]
สำนักข่าวไทยดำเนินการผลิตรายการสดประเภทรายงานข่าว เพื่อส่งกระจายเสียงทางสถานีวิทยุ อสมท เครือข่ายทั่วประเทศ ทุกต้นชั่วโมงตามที่กำหนด, บริหารและผลิตรายการหลัก เพื่อส่งกระจายเสียงทางคลื่นความถี่เอฟเอ็ม 100.5 เมกะเฮิร์ตซ์ (100.5 MCOT News Network) รวมไปถึงจัดหา และผลิตรายการข่าวภาคภาษาอังกฤษ เพื่อส่งกระจายเสียงทางคลื่นความถี่เอฟเอ็ม 107.0 เมกะเฮิร์ตซ์
วิทยุโทรทัศน์[แก้]
สำนักข่าวไทยดำเนินการผลิตรายการสดประเภทรายงานข่าว เพื่อแพร่ภาพทางสถานีโทรทัศน์เอ็มคอตเอชดี (ช่อง 30) ได้แก่ เช้าชวนคุย(มีสถานะเทียบเท่าข่าวเช้า), ข่าวเที่ยง, ข่าวค่ำ, ข่าวต้นชั่วโมง และแถบอักษรข่าววิ่ง นอกจากนี้ สขท.ยังผลิตรายการประเภทรายงานข่าวเศรษฐกิจ รายงานข่าวบันเทิง การวิเคราะห์ข่าวในและต่างประเทศ เพื่อออกอากาศทางเอ็มคอตเอชดี ได้แก่รายการ คุยโขมงบ่าย 3 โมง, คับข่าวครบประเด็น, ไนน์เอ็นเตอร์เทน เป็นต้น นอกเหนือจากนี้ยังผลิตรายการร่วมกับ สถานีโทรทัศน์เอ็มคอตแฟมิลี่ (ช่อง 14) ซึ่งเป็นสถานีโทรทัศน์พี่น้องกับ บมจ.อสมท เช่น Econ Live (อีค่อนไลฟ์)
อินเทอร์เน็ต[แก้]
สำนักข่าวไทยให้บริการข้อมูลข่าวสารต่างๆ ทางเว็บเพจในเว็บไซต์ของ บมจ.อสมท ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ตลอดจนวิดีทัศน์และสื่อบันทึกเสียง ของการรายงานข่าวต่างๆ ที่แพร่ภาพทางช่อง 9 MCOT HD และ 100.5 MCOT News Network มาแล้ว ทาง www.tnamcot.com ตลอดจนไปถึง Facebook LINE Twitter
การผลิตข่าว[แก้]
อสมท มีนโยบายให้สำนักข่าวไทยนำเสนอข่าวในประเทศและข่าวต่างประเทศ ในสัดส่วนทัดเทียมกัน โดยที่ข่าวในประเทศ สำนักข่าวไทยจัดหาโดยใช้วิธีการหลักคือรายงานข่าวที่สำนักข่าวไทย เป็นผู้ผลิตหรือจัดหาเอง กับรายงานข่าวที่จัดหา รายงาน หรือเขียนขึ้นโดยผู้สื่อข่าวอิสระ โดยมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 80:20 ในขณะที่การจัดหาข่าวต่างประเทศ โดยทั่วไปมีที่มาจากสำนักข่าวต่างประเทศเป็นหลัก แต่ในกรณีเหตุการณ์สำคัญๆ ซึ่งประชาชนให้ความสนใจเป็นพิเศษ สำนักข่าวไทยจะจัดส่งผู้สื่อข่าวในสังกัดให้เดินทางไปจัดทำข่าวนั้นด้วยตนเอง[ต้องการอ้างอิง]
รายการข่าว (ระยะเวลาออกอากาศ)[แก้]
ช่อง 9 MCOT HD (30)[แก้]
รายการ | เวลาออกอากาศ |
---|---|
เช้าชวนคุย | (จ.-ศ.) 07:00 - 08:00 น. |
เจาะลึกทั่วไทย | (จ.-ศ.) 08:00 - 09:30 น. |
นาทีลงทุน | (จ.-ศ.) 09:30 - 10:00 น. |
ข่าวเที่ยง สำนักข่าวไทย | (จ.-ศ.) 11:30 - 12:30 น. |
คู่ข่าวเสาร์-อาทิตย์ | (ส.-อา.) 11:30 - 13:00 น. |
เรื่องพลบค่ำ | (จ.-ศ.) 16:45 - 18:00 น. |
คลุกข่าวเล่าประเด็น | (วันศุกร์) 18:30 - 19:30 น. |
ข่าวค่ำ สำนักข่าวไทย | (จ.-ส.) 19:30 - 20:50 น. (อา.) 19:45 - 20:30 น. |
คับข่าวครบประเด็น | (จ.-ศ.) 21:50 - 22:30 น. |
เรื่องง่ายใกล้ตัว | (จ.-ศ.) 20:50 - 21:00 น. |
ข่าวต้นชั่วโมง | (จ.-อา.) ทุกๆต้นชั่วโมง |
รายการข่าว (ผู้ประกาศข่าว)[แก้]
ช่อง 9 MCOT HD (30)[แก้]
รายการ | ผู้ประกาศข่าว |
---|---|
เช้าชวนคุย | รัชนีย์ สุทธิธรรม กำภู ภูริภูวดล |
เจาะลึกทั่วไทย | อมรรัตน์ มหิทธิรุกข์ ดนัย เอกมหาสวัสดิ์ |
นาทีลงทุน | ธันยมัย อนันตกรณีวัฒน์ โศภณ นวรัตนาพงษ์ |
ข่าวเที่ยง สำนักข่าวไทย | ธีรวัฒน์ พึ่งทอง วรรณศิริ ศิริวรรณ ณัฏฐ์อาภา ผ่องทิพาภรณ์ |
คู่ข่าวเสาร์-อาทิตย์ | รัชนีย์ สุทธิธรรม กำภู ภูริภูวดล |
คุยโขมงบ่าย 3 โมง | สุวิช สุทธิประภา นีรชา หลิมสมบูรณ์ |
เรื่องพลบค่ำ | รัชนีย์ สุทธิธรรม กำภู ภูริภูวดล |
ข่าวค่ำ สำนักข่าวไทย | วรรณศิริ ศิริวรรณ สุทิวัส หงส์พูนพิพัฒน์ (หลัก) ธีรวัฒน์ พึ่งทอง ชุติมา พึ่งความสุข ดารากาญจน์ ทองลิ่ม (ข่าวในพระราชสำนัก) |
ฟังหูไว้หู | ชุติมา พึ่งความสุข วีระ ธีรภัทร |
คับข่าวครบประเด็น | เพ็ญพรรณ แหลมหลวง จามร กิจเสาวภาคย์ |
ข่าวต้นชั่วโมง | ภีมณพัชญ์ ธนชาญวิศิษฐ์ ณัฏฐ์อาภา ผ่องทิพาภรณ์ |
เรื่องง่ายใกล้ตัว |
อดีตผู้ประกาศและพิธีกรข่าว[แก้]
รายการ | ผู้ประกาศข่าว |
---|---|
สำนักข่าวไทย | ภรภัทร นีลพัธน์ (คุยโขมงข่าวเช้า/พระราม9ข่าวเช้า/คุยโขมงบ่ายสามโมง; 25XX - 31 ธันวาคม พ.ศ. 2563) โศภณ นวรัตนาพงษ์ (เช้าข่าวข้นคนข่าวเช้า/คุยโขมงข่าวเช้า/ข่าวเที่ยง/ข่าวค่ำ/คลุกวงข่าว/คับข่าวครบประเด็น/คลุกข่าวเล่าประเด็น/9เศรษฐกิจ/นาทีลงทุน/อีคอนไลฟ์; 25XX - 30 ธันวาคม พ.ศ. 2563) ภิญญาพัชญ์ ด่านอุตรา (ข่าวเที่ยง/คลุกวงข่าว/คุยโขมงข่าวเช้า/Biztime/ข่าวค่ำ; 2553 - 30 กรกฎาคม 2561)- ปัจจุบันเป็นผู้ประกาศข่าวช่อง 7 HD สวิตต์ ลีละพงศ์วัฒนา (เกาะข่าว9/9ข่าวร้อน/ข่าวล/9SpeedNews/ลมฟ้าจราจร/ลมฟ้าอากาศ พระราม9ข่าวเช้า/คุยโขมงหน้า 1/คุยข่าวเสาร์-อาทิตย์/รวมข่าวเสาร์-อาทิตย์/เช้าชวนคุย/ข่าวค่ำ; 1 มกราคม 2555 - 31 พฤษภาคม 2561) - ปัจจุบันเป็นผู้ประกาศข่าวช่อง 7 HD บัญชา ชุมชัยเวทย์ (สดจากห้องค้า; พ.ศ. 2547-2549) - ปัจจุบันเป็นผู้ประกาศข่าวเศรษฐกิจทางช่อง 3 เอชดี กิตติ สิงหาปัด (ข่าวค่ำ; 23 กรกฎาคม 2550-31 กรกฎาคม 2551) - ปัจจุบันอยู่ช่อง 3 เอชดี ธีระ ธัญญอนันต์ผล (ข่าวค่ำ; พ.ศ. 2551-2552) - ปัจจุบันอยู่ช่อง 8 เจก รัตนตั้งตระกูล (ข่าวเที่ยง, คัดข่าวเด่น) - ปัจจุบันอยู่ช่องทีเอ็นเอ็น16 พงศ์เกษม สัตยาประเสริฐ (ข่าวค่ำ, ลมฟ้าอากาศ, เกาะข่าว 9) - ยุติการทำหน้าที่แล้ว อรชุน รินทรวิฑูรย์ (ข่าวต้นชั่วโมง) - ปัจจุบันอยู่ช่อง 3 เอชดีและTCNN Networks กุณฑีรา ปัจฉิมสวัสดิ์ (ข่าวต้นชั่วโมง) - ปัจจุบันยุติทำหน้าที่แล้ว ฤทธิกร การะเวก (ข่าวกีฬาภาคค่ำ) - ปัจจุบันอยู่ช่องTNN 16 ณัฐ เสตะจันทร์ (ข่าวกีฬาภาคเที่ยง, ข่าวกีฬาภาคค่ำ) - ปัจจุบันอยู่ช่องเอ็นบีที 2 เอชดี ลลิตา มั่งสูงเนิน (ข่าวเที่ยง, ข่าวค่ำ, 9 SPEED NEWS, รอบวันข่าว, คุยข่าวเสาร์-อาทิตย์) - ปัจจุบันอยู่ช่องเนชั่นทีวี อรการ จิวะเกียรติ (ข่าวเที่ยง, ข่าวค่ำ) - ปัจจุบันอยู่เนชั่นทีวี อำไพรัตน์ เตชะภูวภัทร (ข่าวค่ำ, ลมฟ้าอากาศ, พิธีกรรายการเอ็มคอตแฟมิลีนิวส์) - ปัจจุบันทำรายการของ Happy Shopping ภูริภัทร บุญนิล : ผู้สื่อข่าว - ปัจจุบันอยู่ไทยรัฐทีวี มินดา นิตยวรรธนะ (ข่าวค่ำ) - ปัจจุบันทำรายการ 22 อาสา ช่องเนชั่นทีวี รินทร์ ยงวัฒนา (ข่าวค่ำ) - ปัจจุบันอยู่ทีเอ็นเอ็น 16 ศุภโชค โอภาสะคุณ (ข่าวต้นชั่วโมง) - ปัจจุบันอยู่อมรินทร์ทีวี โศธิดา โชติวิจิตร (ข่าวต้นชั่วโมง) - ปัจจุบันอยู่ช่อง 3 และช่อง 33 มนุชา เจอมูล : ผู้สื่อข่าว - ปัจจุบันอยู่JKN-CNBC ธันย์ชนก จงยศยิ่ง (ข่าวต้นชั่วโมง) - ปัจจุบันอยู่ทีเอ็นเอ็น16 ไอลดา สุโง๊ะ (เอ็มคอตแฟมิลีนิวส์) - ปัจจุบันอยู่ช่อง เวิร์คพอยท์ นฤมล รัตนาภิบาล (ข่าวในพระราชสำนัก) - ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว ชัยนันท์ สันติวาสะ (ข่าวในพระราชสำนัก) - ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถานีในช่องเดียวกัน ประชา เทพาหุดี (ข่าวกีฬาภาคค่ำ) - ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว สุนทร สุจริตฉันท์ - ปัจจุบันเป็นสื่อมวลชนอิสระและนักธุรกิจส่วนตัว อรุณโรจน์ เลี่ยมทอง (ข่าวรับอรุณ) - ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว นิรมล เมธีสุวกุล : ผู้ประกาศข่าวและผู้สื่อข่าว - ปัจจุบันอยู่ช่อง 3 เอชดี วิทวัจน์ สุนทรวิเนตร์ (ข่าวพยากรณ์อากาศ) - ปัจจุบันเป็นผู้บริหารบริษัท 2020 เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด พิธีกรรายการตีสิบเดย์ ทางช่อง 3 เอชดี กรรณิกา ธรรมเกษร (ข่าวภาคค่ำ) - ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว พิภู พุ่มแก้ว (ข่าวเที่ยง, ข่าวค่ำ) - ปัจจุบันอยู่เนชั่นทีวี ชลธิชา อัศวาณิชย์ - ปัจจุบันอยู่ช่อง TNN16 และ ทรูโฟร์ยู อารตี คุโรปการนันท์ - ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว พิสิทธิ์ กีรติการกุล - ปัจจุบันเหลือแค่การทำงานยังอยู่กับช่อง 7 เอชดี รวมไปถึงพิธีกรรายการคดีเด็ด สมเกียรติ อ่อนวิมล - ปัจจุบันเป็นสื่อมวลชนอิสระ ศศิธร ลิ้มศรีมณี : ผู้สื่อข่าว - ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว สุรชา บุญเปี่ยม : ผู้สื่อข่าว - ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว ศัตฉัน วิสัยจร : ผู้สื่อข่าว - ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว สกาวรัตน สยามวาลา - ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว ศรีอาภา เรือนนาค - ปัจจุบันเป็นนักพากย์ |
ถึงลูกถึงคนกับคุยคุ้ยข่าว ของ บริษัท ไร่ส้ม จำกัด | สรยุทธ สุทัศนะจินดา - ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่ทั้งหมดแล้ว หลังจากได้รับคำพิพากษาจากศาล เมื่อปี พ.ศ. 2559 จากกรณีบริษัท ไร่ส้ม จำกัด กนก รัตน์วงศ์สกุล - ปัจจุบันเหลือแค่การทำงานยังอยู่กับท็อปนิวส์ ณัฐธีร์ โกศลพิศิษฐ์ - ปัจจุบันยุติทำหน้าที่แล้ว |
9 ร่วมใจ คนไทยไม่ทิ้งกัน | ไชยวัฒน์ อนุตระกูลชัย - ปัจจุบันเป็นพิธีกรรายการ ม.ปลายสายเก่ง ทางช่องไทยรัฐทีวี ธันย์ชนก จงยศยิ่ง - ปัจจุบันอยู่ทีเอ็นเอ็น 16 ถวัลย์ ไชยรัตน์ - ปัจจุบันยุติหน้าที่พิธีกรแล้ว วันชัย สอนศิริ - ปัจจุบันเป็นสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ |
ข่าวข้นคนข่าวกับเช้าข่าวข้นคนข่าวเช้า ของ บริษัท เนชั่น บรอดแคสติ้ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) | กนก รัตน์วงศ์สกุล - ปัจจุบันอยู่ท็อปนิวส์ ธีระ ธัญไพบูลย์ - ปัจจุบันอยู่ช่อง 3 เอชดี เฉพาะรายการเรื่องเด่นเย็นนี้ และท็อปนิวส์ จอมขวัญ หลาวเพ็ชร์ - ปัจจุบันยุติทำหน้าที่แล้ว |
คลุกวงข่าว | ภาคภูมิ พันธุ์สถิตย์ - ปัจจุบันอยู่ไทยรัฐทีวี ชนิตร์นันทน์ ปุณณะนิธิ - ปัจจุบันอยู่ช่อง8 สลิลาทิพย์ ทิพยไกรศร - ปัจจุบันอยู่ทีเอ็นเอ็น 16 |
เทคโนโลยีการผลิตรายการ[แก้]
บมจ.อสมท มีนโยบายส่งเสริมให้สำนักข่าวไทย ใช้เทคโนโลยีเข้าส่งเสริมการผลิตรายการประเภทรายงานข่าว เพื่อเพิ่มความสวยงามและน่าสนใจ โดยมีเครื่องมือหลายชนิด ประกอบด้วย
การแสดงภาพในห้องส่งข่าว[แก้]
- 9 เมษายน พ.ศ. 2552 - 24 เมษายน พ.ศ. 2555 / ใช้เทคโนโลยีกราฟิกสามมิติจากวิซอาร์ที (Vizrt) เข้าช่วยให้เข้าใจง่าย และเห็นภาพชัดเจน ส่วนมากจะใช้แสดงข้อมูลสถิติ หรือแผนที่ ประกอบข่าวต่างๆ
- 25 เมษายน พ.ศ. 2555 - 15 มกราคม พ.ศ. 2557 / ใช้เทคโนโลยีวิดีโอวอลล์ ขนาดความยาว 20 เมตร ความกว้าง 3 เมตร จำนวนรวม 9 จอ กับการรายงานข่าว ในช่วงเวลาต่างๆ แต่มีการยกเลิกสัญญาเช่า อย่างกะทันหัน โดยไม่ทราบสาเหตุ พร้อมระบบกราฟิกสามมิติจากวิซอาร์ที (Vizrt)
- 16 มกราคม - 30 มิถุนายน พ.ศ. 2557 / ใช้เทคโนโลยีฉากเสมือนจริงในโรงถ่าย (Virtual Studio) ด้วยระบบโมนาร์ก เวอร์ชุโอโซ (Monarch Virtuoso) แต่เดิมมีการใช้เทคโนโลยีกล้องเสมือน (Virtual Camera) ในการควบคุมฉาก ก่อนจะเปลี่ยนมาใช้กล้องจริงแทนในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2557 ในรายการข่าวเที่ยง
- 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 - 14 ธันวาคม พ.ศ. 2559 / ใช้ฉากรายการที่ออกแบบและสร้างขึ้นมาใหม่ ลักษณะพื้นที่เป็นทรงเหลี่ยม ประกอบกับการใช้เทคโนโลยีวิดีโอวอลล์ขนาด 12 cube ช่วยในการนำเสนอ ภายหลังมีการนำเทคโนโลยีกราฟิกสามมิติจากโมนาร์ก เวอร์ชุโอโซ (Monarch Virtuoso) มาใช้ในการรายงานข่าวบางช่วง เช่นข่าวกีฬา, ข่าวต้นชั่วโมง (9 Speed News)
- 7 เมษายน พ.ศ. 2560 - ปัจจุบัน / มีการจัดซื้อด้วยวิธีพิเศษ เทคโนโลยีวิดีโอวอลล์จำนวน 12 จอ, เทคโนโลยีกราฟิกสามมิติ, เทคโนโลยีฉากเสมือนจริงในโรงถ่าย (Virtual Studio) จากวิซอาร์ที (Vizrt) มูลค่า 101,500,000 บาท แต่ต่อมาไม่ได้นำมาใช้จริง เนื่องจากต้นทุนสูงมาก
ข่าวสารอิเล็กทรอนิกส์[แก้]
เป็นเทคโนโลยี การนำเสนอข่าวในรูปแบบตัวอักษรบนหน้าจอทีวี เรียกว่า Teletext ในรายการ ข่าวสารอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งจะออกอากาศในช่วงบ่าย เวลา 13.00 - 15.00 น. ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2520 - 2538 รูปแบบการออกอากาศ จะแสดงหัวข้อข่าว และ เนื้อหาของข่าว ขึ้นหน้าจอทีวี พื้นหลังสีน้ำเงิน และ แถบสีแดงข้างล่าง แสดงข้อความรณรงค์ หรือ คำขวัญประจำรายการ
แถบอักษรข่าววิ่ง[แก้]

เป็นเทคโนโลยี การนำเสนอเนื้อหาข่าวอย่างสั้น ในรูปแบบอักษรวิ่ง โดยนับเป็นสถานีโทรทัศน์แห่งแรกของไทย ที่นำเสนอในลักษณะดังกล่าว โดยตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2545 ข่าวที่อยู่ในแถบ จะแสดงต่อเนื่องกัน โดยแต่ละข่าวจะเว้นช่องว่างเป็นช่วงกว้าง ต่อมาเปลี่ยนเป็นใช้ตราสัญลักษณ์ สขท.คั่นระหว่างข่าว และเพิ่มตัวอักษร "สำนักข่าวไทย" บนแถบฝั่งซ้ายมือ โดยให้อักษรวิ่งหายเข้าไปในแถบดังกล่าว ครั้งหลังสุด เปลี่ยนรูปแบบเป็น แสดงครั้งละหนึ่งข่าว ตั้งแต่วันพฤหัสบดีที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2552
ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2554 แถบอักษรข่าวจะแสดงครั้งละประโยคข่าวโดยไม่มีการเลื่อนไปทางซ้ายของจอ เช่นเดียวกับเนชั่นแชนแนล แต่การแสดงหัวข้อข่าว ใช้แบบ ซีเอ็นเอ็น คือข่าวหนึ่งจะเลื่อนขึ้นเป็นอีกข่าวหนึ่ง แต่ต่อมาข่าวในแถบตัวอักษรวิ่งเริ่มกลับมามีการเลื่อนไปทางซ้ายของจอ เนื่องจากหัวข้อข่าวบางชิ้นมีลักษณะยาว จึงต้องบีบอัดตัวอักษร ทำให้อ่านยากขึ้น
ในวันที่ 25 เมษายน 2555 แถบอักษรข่าวจะแสดงครั้งละประโยคข่าวโดยมีการเลื่อนจากด้านขวาอย่างรวดเร็ว และเลื่อนไปทางซ้ายอย่างช้า และเลื่อนไปทางซ้ายอย่างเร็ว โดยทางด้านซ้ายจะมีคำว่า "สำนักข่าวไทย" และ "Thai News Agency" โดยให้อักษรวิ่งหายเข้าไปในแถบดังกล่าว ซึ่งทั้ง 2 คำนี้จะมีการแสดงสลับกันในแต่ละหัวข้อข่าว ต่อมาจึงเปลี่ยนเป็นคำว่า "สำนักข่าวไทย อสมท" เพียงคำเดียว
ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2557 สถานีฯ ก็กลับไปใช้แถบวิ่งตามรูปแบบเมื่อปลายปี 2545 โดยจะมีตราสัญลักษณ์ สขท.คั่นระหว่างข่าว (ในก่อนหน้านั้นมีการเพิ่มตัวอักษร "สำนักข่าวไทย" บนแถบฝั่งซ้ายมือ โดยให้อักษรวิ่งหายเข้าไปในแถบดังกล่าว)
นอกจากในข่าวทุกช่วงแล้ว ยังมีการแสดงแถบอักษรข่าววิ่งในรายการอื่นๆที่มิใช่รายการข่าวอีกด้วย เช่นเดียวกับ ททบ.5 และ สทท. 11 แต่เปลี่ยนบริเวณที่เป็นคำว่า "สำนักข่าวไทย อสมท" เป็นสัญลักษณ์ของ คลื่นข่าว 100.5 แถบตัววิ่งข่าว 9 Speed เริ่มใช้ครั้งแรกเมื่อเดือน มกราคม พ.ศ. 2556 เป็นการแสดงแถบตัววิ่งข่าวเมื่อเหตุการณ์ด่วนสำคัญที่ขึ้นบนหน้าจอของ ช่อง 9 เอ็มคอตเอชดี
แถบข้อมูลตลาดหลักทรัพย์[แก้]
เป็นเทคโนโลยี การนำเสนอข้อมูลการซื้อขายตลาดหลักทรัพย์ ในรูปแบบอักษรวิ่ง (ภายหลังพัฒนาเป็นการใช้อักษรเลื่อนขึ้นร่วมด้วย) โดยในปีพ.ศ. 2533 ไทยทีวีสีช่อง 9 อ.ส.ม.ท. นับเป็นสถานีโทรทัศน์ ที่เริ่มใช้แถบรายงานดังกล่าว เป็นครั้งแรกของประเทศไทย[ต้องการอ้างอิง] (ก่อนหน้านั้นคือสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 แต่เป็นรูปแบบตัวเลื่อนขึ้นบน)ต่อมา ตั้งแต่วันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2547 โมเดิร์นไนน์ทีวี ปรับปรุงรูปแบบการนำเสนอข่าวเศรษฐกิจ โดยมีรายการเศรษฐกิจ ในช่วงเวลาประมาณ 08.30-16.30 น. พร้อมทั้งใช้กราฟิก ประกอบรายงานข่าวเศรษฐกิจ โดยใช้ชื่อว่า "สถานีหุ้น โมเดิร์นไนน์ทีวี" ซึ่งในสมัยนั้นมี 2 ชั้น
นับจากวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2556 แถบข้อมูลหุ้นได้ลดลงเหลือเพียงชั้นเดียว และเปลี่ยนสีเป็นสีม่วง ต่อมาก็เปลี่ยนเป็นสีน้ำเงินซึ่งเป็นสีเมื่อแรกใช้ในสมัยที่แถบวิ่งมี 2 ชั้น เมื่อวันที่ 21 มกราคมปีเดียวกัน
นับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2557 โมเดิร์นไนน์ทีวีได้เริ่มออกอากาศคู่ขนานผ่านระบบโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัลภาพคมชัดสูง ในนาม MCOT HD (ปัจจุบันเป็น ช่อง 9 MCOT HD 30) โดยระยะแรกอาจมีการปรากฏแถบข้อมูลหุ้นในบางครั้ง จนกระทั่งเมื่อรายการทั้งหมดพร้อมออกอากาศในระบบภาพคมชัดสูง ก็ไม่มีการปรากฏของแถบข้อมูลหุ้น ส่งผลให้ผู้ที่รับชมเอ็มคอตเอชดีผ่านโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัล ช่อง 30 และผ่านดาวเทียมและโทรทัศน์เคเบิล Must Carry ช่อง 40 ในขณะนั้น ไม่สามารถรับชมแถบข้อมูลหุ้นได้พร้อมกับผู้ชมในระบบแอนะล็อก วีเอชเอฟ ช่อง 9 และผ่านดาวเทียมไทยคม 5 ระบบซี-แบนด์ ทำให้ต่อมาในช่วงประมาณเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2558 มีการปรับปรุงแถบข้อมูลหุ้นเพื่อให้ผู้ชมในระบบแอนะล็อกและดิจิทัลสามารถรับชมได้พร้อมกัน โดยเพิ่มแถบแยกประเภทหลักทรัพย์ในช่วงที่มีการแสดงข้อมูลหลักทรัพย์รายตัว(แถบสีเหลือง)โดยให้ตัววิ่งหายไปเมื่อวิ่งเข้าสู่แถบนี้แล้วจะเลื่อนขึ้นเมื่อเข้าสู่หมวดธุรกิจ (Sector) ถัดไป และปรับขนาดให้ยาวขึ้น รองรับอัตราส่วนภาพ 16:9
ช่วงปลายเดือน พฤษภาคม - มิถุนายน พ.ศ. 2560 มีการทดลองระบบแถบข้อมูลตลาดหุ้นแบบใหม่ล่าสุด ซึ่งพบว่าส่วนที่แสดงดัชนีที่เป็นอักษรเลื่อนขึ้น เกิดความไม่ต่อเนื่องกัน คือหลังจากแสดงดัชนีใหม่แล้ว มีการปล่อยแถบดัชนีว่างประมาณ 2 วินาที และขึ้นดัชนีใหม่ ส่งผลให้ต้องกลับไปใช้แถบข้อมูลตลาดหุ้นแบบเดิม (ในระหว่างปรับปรุงระบบแถบข้อมูลหุ้นแถบใหม่) หลังจากนั้นไม่นาน กลับมาใช้แถบข้อมูลนี้อีกครั้ง
ส่วนระยะเวลาการแสดงข้อมูลนั้น จะแสดงเฉพาะทุกวันจันทร์ถึงวันศุกร์ซึ่งเป็นวันทำการตลาดหลักทรัพย์ฯ ยกเว้นวันหยุดทำการ เริ่มแสดงเวลา 10.00 น. จบการแสดงเวลา 16.50 น.
อนึ่ง เมื่อมีการไว้ทุกข์ถวายพระราชวงศ์ที่สิ้นพระชนม์ลงแล้ว โดยเฉพาะสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์เมื่อปี พ.ศ. 2551, สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายกเมื่อปี พ.ศ. 2556 และล่าสุด พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พ.ศ. 2559 ก็จะเปลี่ยนสีเป็นสีเทาเพื่อแสดงความไว้อาลัย และก่อนช่วงปี พ.ศ. 2550 โมเดิร์นไนน์ทีวี ได้แสดงตัววิ่งรายงานข่าวเศรษฐกิจหรือข้อมูลการเงินต่างประเทศ ประกบแถบข้อมูลตลาดหุ้นอีกด้วย ซึ่งจะขึ้นต้นคำว่า "สำนักข่าวไทย-เศรษฐกิจ" เป็นหัวหลัก (โดยเฉพาะรายการสดเกี่ยวกับข่าวเศรษฐกิจ เช่น จับเงินชนทอง และรายการวิเคราะห์หุ้น เช่น สดจากห้องค้า , วิพากษ์หุ้น) ถ้ามีการถ่ายทอดสดหรือประกาศต่าง ๆ จากโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย ในช่วงที่มีการแสดงแถบข้อมูลหุ้น ทางสถานีจะทำการปิดการแสดงแถบข้อมูลหุ้นไว้ชั่วคราว และจะเปิดการแสดงแถบข้อมูลหุ้นอีกครั้งหลังจากการถ่ายทอดสดหรือประกาศนั้น ๆ จบลง
แถบข้อความทวิตเตอร์[แก้]
สำนักข่าวไทย ได้นำแถบข้อความทวิตเตอร์ ในลักษณะแถบยาว เช่นเดียวกับแถบอักษรข่าววิ่ง (แตกต่างจากเนชั่นทีวี ซึ่งจะปรากฏในลักษณะแถบขนาดใหญ่ ทีละข้อความจากผู้ติดต่อ และไม่มีการเลื่อนตัวอักษรไปทางแนวนอน) มาปรากฏบนหน้าจอโทรทัศน์ เฉพาะรายการคุยโขมงข่าวเช้า , คุยโขมงบ่าย 3 โมง, และคลุกวงข่าว(ปัจจุบันคือรายการคับข่าวครบประเด็น) โดยปรากฏครั้งแรกตั้งแต่เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2555 ทางสถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ทีวี ซึ่งติดต่อได้ทาง Twitter ที่@tnamcot ชึ่งจะมีการเปิดโอกาสให้ผู้ติดต่อสามารถติดแท็ก(#:tags)พร้อมคำศัพท์ ตามที่รายการฯได้เสนอคำศัพท์ไว้ด้วย (ปัจจุบันยกเลิกการเผยแพร่แถบข้อความแบบนี้แล้ว)
ภาษามือ[แก้]
ปุจฉา-วิสัชนา[แก้]

ช่วง ปุจฉา-วิสัชนา ออกอากาศคั่นระหว่างข่าวภาคค่ำทางช่อง 9 อ.ส.ม.ท. กับภาพยนตร์โฆษณาทางโทรทัศน์, วันละสองชุดคำถามและคำตอบ, โดยแบ่งเป็นสองช่วง เริ่มแพร่ภาพเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2536 จนถึงราวปี พ.ศ. 2539
ต่อมาในปี พ.ศ. 2557 มีการเผยแพร่ข้อมูลในลักษณะเดียวกัน ผ่านทางสถานีวิทยุ อสมท เอฟเอ็ม 95.0 เมกะเฮิร์ตซ์ ลูกทุ่งมหานคร ก่อนและหลังเวลา เข้าสู่ข่าวต้นชั่วโมง หรือหลังจากบรรเลงเพลงประจำสถานีฯ
ไตเติ้ลเปิดรายการข่าว[แก้]
![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
เพลงประกอบรายการข่าว[แก้]
![]() |
|
หากมีปัญหาในการเล่นไฟล์นี้ ดูที่ วิธีใช้สื่อ |
- พ.ศ. 2520-2525 เพลงมาร์ช (ไม่ทราบชื่อ)
- พ.ศ. 2525-2538 เพลงซิมโฟนี (ข่าวร่วม ช่อง 3 และ ช่อง 9 อ.ส.ม.ท. ปัจจุบันเป็นเพลงประกอบรายการ ก้าวทันข่าว ของโมเดิร์นเรดิโอ)
- พ.ศ. 2530-ไม่ทราบข้อมูล เพลงประกอบชุด Tar Sequence (แบบที่ใช้โดยสถานีโทรทัศน์ ช่อง 9 ประเทศออสเตรเลีย ตั้งแต่ พ.ศ. 2526 จนถึง พ.ศ. 2543) (ใช้ในช่วงข่าวทันโลก)
- พ.ศ. 2538-2545 เพลงของ บรูซ แกสตัน และวงฟองน้ำ (ไม่ทราบชื่อ; ปัจจุบัน ใช้เป็นเพลงเปิด รายงานข่าวต้นชั่วโมง ของโมเดิร์นเรดิโอ)
- พ.ศ. 2538-2545 เพลงเขมรคราม ของ บรูซ แกสตัน และวงฟองน้ำ เป็นเพลงปิดรายการรายงานข่าว 9 อ.ส.ม.ท.ภาคค่ำ
- พ.ศ. 2545-2550 เพลงที่ สขท.จัดทำเอง (ไม่ทราบชื่อ)
- พ.ศ. 2550-2552 เพลงที่ สขท.จัดทำเอง (ไม่ทราบชื่อ)
- พ.ศ. 2552-ปัจจุบัน เพลงที่ สขท.จัดทำเอง (ไม่ทราบชื่อ)
- พ.ศ. 2554-2555 เพลงประกอบชุด Nightly ของ Opuzz (ใช้ในช่วงข่าวเที่ยงคืน) Corporate Headlines ของ Opuzz(ใช้ในช่วงข่าวด่วนและรายงานพิเศษ)
- พ.ศ. 2557-2560 เพลงประกอบจากสถานีโทรทัศน์ N24 ประเทศเยอรมนี (ใช้ในช่วง 9 Speed)
- พ.ศ. 2557-ปัจจุบัน เพลงประกอบจากสถานีโทรทัศน์ TF1 ประเทศฝรั่งเศส (ใช้เป็นเพลงประกอบตราสัญลักษณ์ของสำนักข่าวไทยช่วงจบรายการข่าวทุกช่วง และสปอตแนะนำประเด็นข่าวที่จะเสนอในข่าวภาคค่ำประจำวัน)
- พ.ศ. 2559-ปัจจุบัน เพลงประกอบจากสถานีโทรทัศน์ RTL 4 ประเทศเนเธอร์แลนด์ (ใช้ในช่วงรอบวันข่าว)
- พ.ศ. 2560-ปัจจุบัน เพลงประกอบจากสถานีโทรทัศน์ France 2 ประเทศฝรั่งเศส (ใช้ในช่วงข่าวต้นชั่วโมง)
ความร่วมมือกับสำนักข่าวต่างประเทศ[แก้]
สำนักข่าวไทย ขยายความร่วมมือกับสำนักข่าว และสื่อต่างประเทศสำคัญๆ ของโลก เป็นจำนวนมาก ได้แก่
สถานีโทรทัศน์ ได้แก่
- ซีเอ็นเอ็น (สหรัฐอเมริกา)
- ซีซีทีวี (สาธารณรัฐประชาชนจีน)
- เอ็นเอชเค (ประเทศญี่ปุ่น)
- ทีวี 5 (สาธารณรัฐฝรั่งเศส)
- เด ดุบเบลอเว (สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี)
- อาร์เอไอ (สาธารณรัฐอิตาลี)
- เอสเออาร์เอฟที (สาธารณรัฐประชาชนจีน)
- สำนักข่าวเวียดนาม (สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม)
สถานีวิทยุ ได้แก่
- เอบีซี (เครือรัฐออสเตรเลีย)
- บีบีซี (สหราชอาณาจักร)
- วีโอเอ (สหรัฐอเมริกา)
- ซีเอ็นเอ็นเรดิโอ (สหรัฐอเมริกา)
กลุ่มองค์กรความร่วมมือ ได้แก่
- สำนักข่าวแห่งเอเชียและแปซิฟิก (OANA) ซึ่งมีสมาชิก 37 สำนักข่าว จาก 30 ประเทศ
- เครือข่ายแลกเปลี่ยนข่าวโทรทัศน์ ในเอเชียแปซิฟิก (Asia Vision) ซึ่งมีสถานีโทรทัศน์ใน 16 ประเทศเป็นสมาชิก และร่วมมือกับสหภาพการกระจายเสียงและแพร่ภาพแห่งเอเชีย (Asian Broadcasting Union: ABU)
ตราสัญลักษณ์[แก้]
พ.ศ. 2520-พ.ศ. 2545[แก้]
ตราสัญลักษณ์แรก เป็นภาพกลุ่มวงกลมสีชมพูเข้ม ซ้อนกันเป็นรูปคลื่นกระจายสัญญาณ มีรูปสามเหลี่ยมคล้ายลำโพงอยู่ทางซ้าย
พ.ศ. 2546-30 มิถุนายน พ.ศ. 2557[แก้]
ตราสัญลักษณ์ที่สอง ใช้ตราจากสถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ เป็นสัญลักษณ์ประจำหน่วยงาน พร้อมกันกับ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)
ตราสัญลักษณ์สำหรับการออกอากาศภาพคมชัดสูง 1 เมษายน พ.ศ. 2557-30 มิถุนายน พ.ศ. 2557[แก้]
ตราสัญลักษณ์ที่ใช้กับการออกอากาศข่าว ในระบบดิจิทัลภาพคมชัดสูง ทางช่องเอ็มคอตเอชดี เป็นภาพตัวอักษร "TNA NEWS HD สำนักข่าวไทย" มีลูกโลกสีส้มใต้ตัวอักษร "T"
1 กรกฎาคม พ.ศ. 2557-ปัจจุบัน[แก้]
ตราสัญลักษณ์ที่สาม จะมี 2 แบบ คือ แบบภาษาอังกฤษ จะมีคำว่า "Thai News Agency" โดยคำว่า Thai จะเป็นสีแดง และคำว่า News Agency เป็นสีขาว อยู่ในวงกลมสีน้ำเงิน และด้านล่างวงกลมสีน้ำเงินนั้น มีคำว่า "สำนักข่าวไทย" กำกับอยู่ด้วย ซึ่งเริ่มใช้ในวันที่ 1 กรกฎาคม 2557 (ปัจจุบันยังมีให้เห็นในเว็บไซต์สำนักข่าวไทยและบนยานพาหนะที่ใช้ทำข่าวนอกสถานที่) และแบบภาษาไทย จะมีคำว่า "สำนักข่าวไทย" โดยคำว่า สำนัก จะเป็นสีแดง และคำว่า ข่าวไทย เป็นสีขาว อยู่ในวงกลมสีน้ำเงิน และด้านล่างวงกลมสีน้ำเงินนั้น มีคำว่า "Thai News Agency" กำกับอยู่ด้วย ซึ่งแบบภาษาไทย เริ่มใช้ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2557
ตราสัญลักษณ์ที่มิได้ใช้จริง[แก้]
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2555 บมจ.อสมท แถลงข่าวว่าจะเปลี่ยนแปลงตราสัญลักษณ์ ที่ใช้กับการนำเสนอข่าวทางโทรทัศน์ของสำนักข่าวไทย โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 25 เมษายน เป็นต้นไป ภายใต้แนวคิดดังนี้[1]
- เส้นที่วิ่งรอบจุดศูนย์กลาง แสดงถึงเนื้อหาที่ครอบคลุมทั่วโลก การเดินทางรอบโลกอย่างรวดเร็ว ภายใต้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต ที่เข้าไปสัมพันธ์ ตั้งแต่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นรอบโลก ไปจนถึงในชีวิตประจำวัน และความสนใจของแต่ละบุคคล
- ภาพที่นำมาใช้กับเส้นรอบโลก เป็นได้ทั้งภาพจักรวาล ท้องฟ้า เมือง ธรรมชาติ สัตว์ป่า ใต้ทะเลลึก เซลล์อะตอม หรือแม้แต่ หน่วยที่เล็กที่สุดในร่างกาย
- จุดศูนย์กลางที่แทนความหมายของโลก ทั้งที่เป็นดาวเคราะห์ดวงหนึ่งในจักรวาล เป็นสถานที่รวมเหตุการณ์ต่างๆ รวมทั้งเป็นโลกของคนที่มีความสนใจแตกต่างกันไป
- สีของจุดศูนย์กลาง สามารถใช้สีต่างๆ โดยเปลี่ยนไปตามเรื่องราว แต่สีหลักเป็นสีฟ้า ตามสีของโลก
- ในพื้นที่ว่าง ระหว่างเส้นรอบโลกกับลูกโลก มีรูปร่างเป็นเลข 9 แทนลักษณะการนำเสนอเนื้อหา ที่มองจากมุมที่แตกต่าง ในแง่ที่คนทั่วไปยังไม่ตระหนักถึง
- ช่องส่วนปลายของเลข 9 ที่เจาะทะลุ เป็นช่องที่เปิดผ่านเปลือกนอก เข้าไปสู่แก่นแท้ สื่อถึงความเข้าใจในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และวิเคราะห์ถึงประเด็นหลักที่แท้จริง
อนึ่ง สำนักข่าวไทยมิได้นำตราสัญลักษณ์นี้มาใช้จริง เนื่องจากมีกระแสโจมตีโดยฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองและประชาชนบางกลุ่ม
ดูเพิ่ม[แก้]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ "จักรพันธุ์" แจงปรับโลโก้ใหม่ อสมท, กรุงเทพธุรกิจออนไลน์, 2 มีนาคม พ.ศ. 2555
- บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน), แบบแสดงรายการข้อมูล ประจำปี พ.ศ. 2549
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
- เว็บเพจสำนักข่าวไทย ภาษาไทย ในเว็บไซต์ บมจ.อสมท
- เว็บเพจสำนักข่าวไทย ภาษาอังกฤษ ในเว็บไซต์ บมจ.อสมท
- เว็บเพจ บริการสำนักข่าวไทยออนไลน์ ในเว็บไซต์ บมจ.อสมท
- https://www.youtube.com/channel/UC3SaG2jCoWuI50eC41OJ53Q ช่อง Youtube สำนักข่าวไทย บมจ.อสมท