อิทธพร ศุภวงศ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อิทธพร ศุภวงศ์
สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
เริ่มดำรงตำแหน่ง
31 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
ผู้บัญชาการทหารอากาศ
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม พ.ศ. 2551 – 30 กันยายน พ.ศ. 2555
ก่อนหน้าพลอากาศชลิต พุกผาสุข
ถัดไปพลอากาศประจิน จั่นตอง
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด6 มกราคม พ.ศ. 2495 (72 ปี)
อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา

พลอากาศเอก อิทธพร ศุภวงศ์ อดีตราชองครักษ์พิเศษ [1] ปัจจุบันเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เขาเป็นผู้ปฏิบัติงานในกองอำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (กอฉ.)ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 98/2552 ในเหตุการณ์ ความไม่สงบทางการเมืองในประเทศไทย เมษายน พ.ศ. 2552[2] และที่ปรึกษาคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และอดีตผู้บัญชาการทหารอากาศ

ประวัติ[แก้]

พล.อ.อ.อิทธพร ศุภวงศ์ เกิดเมื่อวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2495 เป็นบุตรของ นาวาอากาศเอก จำรัส ศุภวงศ์ และ เผ่าทอง เริงรุกปัจจามิตร์ (ญ.) , ธิดาของ สอาด เริงรุกปัจจามิตร์ (ญ.) กับ พันเอก พระเริงรุกปัจจามิตร์ (ทอง รักสงบ) , เป็นผู้สืบสายสกุล “ณ ราชสีมา” ชั้น 7 สาย "เจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอินทร์ ณ ราชสีมา)" [3][4]

จบการศึกษาจากโรงเรียนเซนต์คาเบรียล รุ่นปี พ.ศ. 2510 จากโรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 11 และโรงเรียนนายเรืออากาศ รุ่นที่ 18 นอกจานั้นยังได้เข้ารับการศึกษาอบรมที่โรงเรียนเสนาธิการทหารอากาศ รุ่นที่ 31 วิทยาลัยการทัพอากาศ รุ่นที่ 34 และวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 47

ชีวิตส่วนตัว พล.อ.อ.อิทธพร มีชื่อเล่นว่า "เฟื่อง" โดยมาจากชื่อจริงในอดีตว่า "เฟื่องฟู" แต่ต่อมาบิดาได้ขอพระราชทานชื่อใหม่จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็น "อิทธพร" ตั้งแต่อายุ 12 จึงใช้ชื่อนี้เป็นชื่อเล่นมาโดยตลอด[5] ทำให้บางครั้งสื่อมวลชนจะเรียกฉายาว่า "บิ๊กเฟื่อง" ชีวิตครอบครัวสมรสกับ นางนภาพร ศุภวงศ์ (นามสกุลเดิม สถิตพิทยายุทธ์) มีบุตรด้วยกัน 2 คน

การทำงาน[แก้]

พล.อ.อ.อิทธพร เข้ารับราชการในสังกัดกองทัพอากาศ เคยเป็นผู้บังคับฝูงบิน 103 กองบิน 1 ในปี พ.ศ. 2531 เป็นเสนาธิการกองบิน 1 ปี พ.ศ. 2534 และได้รับแต่งตั้งในตำแหน่งที่สูงขึ้นเรื่อยมาจนในปี พ.ศ. 2538 ได้รับตำแหน่งผู้บังคับการกองบิน 21 เป็นเจ้ากรมยุทธการทหารอากาศ พ.ศ. 2547 เป็นผู้ช่วยเสนาธิการทหารอากาศฝ่ายยุทธการ พ.ศ. 2549 เป็นรองเสนาธิการทหารอากาศ พ.ศ. 2550 และเป็นเสนาธิการทหารอากาศในปีเดียวกัน

กระทั่งในปี พ.ศ. 2551 ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้บัญชาการทหารอากาศ จนเกษียณอายุราชการในปี พ.ศ. 2555

พล.อ.อ.อิทธพร ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารอากาศจาก พล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุข ผู้บัญชาการทหารอากาศคนก่อนและเป็นหนึ่งในสมาชิกคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ซึ่งทาง พล.อ.อ.ชลิต ได้กล่าวถึง พล.อ.อ.อิทธพรว่า เป็นทหารของประชาชนโดยขนานแท้

ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุม พล.ต.จำลอง ศรีเมือง แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยไปในระหว่างการชุมนุม 193 วัน นั้น พล.อ.อ.อิทธพร ได้กล่าวแสดงความคิดเห็นว่า อย่าเลือกปฏิบัติ[6] หากมีการออกมาเรียกร้องให้มีการดำเนินการต่าง ๆ ซึ่งต้องทำอย่างเสมอภาค ถ้าเห็นว่า มีการเลือกปฏิบัติ หรือถูกกระทำเพียงฝ่ายเดียว ต้องระวัง เพราะจะเป็นตัวเร่ง อาจจะตกหลุมพรางในสิ่งที่คาดไม่ถึงได้ หากกฎหมายเป็นกฎหมาย และถูกปฏิบัติเหมือนกันทั้งสองฝ่าย คงไม่มีเหตุการณ์ที่รุนแรงเกิดขึ้น

ในปี พ.ศ. 2557 ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ[7]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ[แก้]

  •  สิงคโปร์ :
    • พ.ศ. 2553 - เหรียญปิงกัต จาซา เกมิลัง (เท็นเทรา)[14]
  •  อินโดนีเซีย :
    • พ.ศ. 2554 - เครื่องอิสริยาภรณ์ดาราสวภูวนปักษะ ชั้นอุตมา[15]
  •  มาเลเซีย :
    • พ.ศ. 2555 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์ปังลิมา กากะห์ อังกะตัน เตนเตรา

ราชการพิเศษ[แก้]

  • - ราชองครักษ์เวร เมื่อ 1 ก.ย.2539
  • - ตุลาการศาลทหารกรุงเทพ เมื่อ 21 พ.ค.2545
  • - ตุลาการศาลทหารกลาง เมื่อ 28 ก.ย.2548
  • - ตุลาการศาลทหารกลาง เมื่อ 30 ส.ค.2550
  • - ราชองครักษ์พิเศษ เมื่อ 5 ธ.ค.2550
  • - นายทหารพิเศษประจำหน่วยทหารรักษาพระองค์ ฝูงบิน 602 รักษาพระองค์ กองบิน 6 กองพลบินที่ 1 กองบัญชาการยุทธทางอากาศ เมื่อ 31 ก.ค.2551
  • - นายทหารพิเศษประจำหน่วยทหารรักษาพระองค์ กรมทหารอากาศโยธินรักษาพระองค์ หน่วยบัญชาการอากาศโยธิน เมื่อ 17 ส.ค.2552
  • - ตุลาการศาลทหารสูงสุด เมื่อ 4 ก.ค.2554

อ้างอิง[แก้]

  1. พระราชโองการแต่งตั้งราชองครักษ์พิเศษ
  2. กองอำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (กอฉ.)ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 98/2552
  3. กรมศิลปากร, จดหมายเหตุนครราชสีมา 11 กันยายน พ.ศ. 2497, พิมพ์สนองคุณ เจ้าพระยานครราชสีมา (ปิ่น ณ ราชสีมา) และ เจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอินท์ ณ ราชสีมา), กรุงเทพฯ: ห้องสมุดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ม.ป.ป.) , หน้า 133
  4. ต้นสกุล ณ ราชสีมา ย้อนเรื่อง เมืองโคราช
  5. ประวัติ อิทธพร ศุภวงศ์ จากไทยรัฐ
  6. "ผบ.ทอ.ฮึ่ม! รบ.-ตร.อย่าเลือกปฏิบัติ เตือนจับแกนนำ เร่งเกิดเรื่องคาดไม่ถึง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-16. สืบค้นเมื่อ 2008-10-05.
  7. ประกาศแต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ใช้เว็บไซค์ของวุฒิสภา), 1 สิงหาคม 2557
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2009-01-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๔, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2007-01-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๓ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๙, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๔๙
  10. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๙๘ ตอนที่ ๑๖๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๖๒, ๓๐ กันยายน ๒๕๒๔
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๕๔, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๕ ข หน้า ๕, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
  12. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลา และเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๕๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๕, ๑๔ เมษายน ๒๕๒๙
  13. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๕๒, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๑ ข หน้า ๑๗, ๑๒ มกราคม ๒๕๕๔
  14. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๕ ข หน้า ๗, ๔ มิถุนายน ๒๕๕๓
  15. 15.0 15.1 ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๗, ๒๑ ธันวาคม ๒๕๕๔

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

ก่อนหน้า อิทธพร ศุภวงศ์ ถัดไป
พลอากาศเอก ชลิต พุกผาสุข
ผู้บัญชาการทหารอากาศ
(1 ตุลาคม พ.ศ. 2551 - 30 กันยายน พ.ศ. 2555)
พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง