เสกสกล อัตถาวงศ์
เสกสกล อัตถาวงศ์ | |
---|---|
เสกสกล อัตถาวงศ์ ในปี พ.ศ. 2567 | |
ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 – 18 เมษายน พ.ศ. 2565 | |
นายกรัฐมนตรี | ประยุทธ์ จันทร์โอชา |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 8 เมษายน พ.ศ. 2507 อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | กิจสังคม (2531—2533) ความหวังใหม่ (2533—2539) ประชาธิปัตย์ (2539—2542) ไทยรักไทย (2542—2550) เพื่อไทย (2555—2561) พลังประชารัฐ (2561—2565) เทิดไท (2565) รวมไทยสร้างชาติ (2565—2566) |
เสกสกล อัตถาวงศ์ (เดิม: สุภรณ์ อัตถาวงศ์) กรรมการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย[1] ประธานกรรมการกิจการสัมพันธ์ และกรรมการตรวจสอบ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี (พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค)[2] อดีตที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา)[3] ผู้ก่อตั้งและรองหัวหน้าพรรครวมไทยสร้างชาติ อดีตผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา) อดีตรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สังกัดพรรคไทยรักไทย และเคยเป็นแกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ แดงทั้งแผ่นดิน
ประวัติ
[แก้]เสกสกล อัตถาวงศ์ เกิดเมื่อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2507 ที่ตำบลแชะ อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา เป็นบุตรของนายประวัติ-นางสุ้น อัตถาวงศ์ และเป็นน้องชายของนายสัมภาษณ์ อัตถาวงศ์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครราชสีมา และพี่ชายนาย ชนะศักดิ์ อัตถาวงศ์ ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี (พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค)
การศึกษา
[แก้]- มัธยมต้นจากโรงเรียนครบุรี (มศ.5) โรงเรียนสุราษฎร์ธานี
- ปริญญาตรี ศิลปศาสตร์บัณฑิต (รัฐศาสตร์) มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- ปริญญาโท ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต (รัฐศาสตร์) มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- ปริญญาเอก สาขายุทธศาสตร์การพัฒนา คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
การอบรม
[แก้]- หลักสูตรประกาศนียบัตรชั้นสูง การเสริมสร้างสังคมสันติสุข รุ่นที่ 8 สำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า (4 ส 8)
- หลักสูตรประกาศนียบัตรชั้นสูง การเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยสำหรับนักบริหารระดับสูง รุ่นที่ 25 (ปปร.25) วิทยาลัยการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
- โครงการพัฒนาเครือข่ายและศักยภาพของผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัย และนวัตกรรม (หลักสูตร WiNS) รุ่นที่ 2 กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
- หลักสูตรนักบริหารด้านสิทธิมนุษยชน ระดับสูง (บสส.) รุ่นที่ 1 สถาบันพัฒนาสิทธิมนุษยชน กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม
การทำงาน
[แก้]นายสุภรณ์ อัตถาวงศ์ เริ่มทำงานที่บริษัทเอกชนแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร เป็นเจ้าหน้าที่กองหนังสือเดินทาง กระทรวงการต่างประเทศ และใช้เวลาว่างเป็นผู้ช่วยผู้ดำเนินงานสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (พล.อ.อ.สิทธิ เศวตศิลา) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนครราชสีมา พรรคกิจสังคม , เป็นผู้ช่วยทำงานให้เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม , เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ , รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ต่อมาจึงได้ย้ายติดตามนายมนตรี ด่านไพบูลย์ มาสังกัดพรรคความหวังใหม่ หลังจากนั้นได้รับการแต่งตั้งเป็นหัวหน้าอาสาสมัครรณรงค์เลือกตั้งของพรรคความหวังใหม่ ในปี พ.ศ. 2538 และลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. ครั้งแรกที่จังหวัดนครราชสีมา สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ในปี พ.ศ. 2539 แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง
การเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2544 นายสุภรณ์ฯ ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งอีกครั้งในสังกัดพรรคไทยรักไทย[4] และได้รับการเลือกตั้งเป็น ส.ส. ครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2550 ได้ถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยซึ่งถูกยุบในคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2549[5] และในปี พ.ศ. 2555 ได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกพรรคเพื่อไทย
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 ได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 74[6]
ในปี พ.ศ. 2561 นายสุภรณ์ฯ ได้ย้ายเข้ามาร่วมงานกับพรรคพลังประชารัฐ ลงสมัครรับเลือกตั้งในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง[7] ภายหลังจึงได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำนายกรัฐมนตรี และได้รับมอบหมายให้กำกับดูแลการแก้ไขปัญหาสลากกินแบ่งรัฐบาลที่มีราคาแพง
ในปี พ.ศ. 2565 ได้ลาออกจากพรรคพลังประชารัฐ และเข้าร่วมพรรครวมไทยสร้างชาติ[8] กระทั่งในเดือนเมษายนของปีเดียวกัน ได้ลาออกจากตำแหน่งผู้ช่วยรัฐมนตรีฯ และยุติบทบาทในพรรครวมไทยสร้างชาติ เนื่องจากกรณีคลิปเสียงเกี่ยวกับการจัดผลประโยชน์ในโควต้าสลากกินแบ่งรัฐบาล[9] กระทั่งวันพุธที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2565 นายเสกสกลฯ ได้ยื่นหนังสือลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรครวมไทยสร้างชาติอย่างเป็นทางการต่อ คณะกรรมการการเลือกตั้ง[10] ต่อมาในวันเสาร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 นายเสกสกลฯ ได้รับเลือกตั้งเป็นหัวหน้าพรรคเทิดไท[11] ก่อนจะลาออกจากสมาชิกพรรคเมื่อวันศุกร์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2565 ทำให้ต้องพ้นจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคไปโดยปริยาย และกลับเข้าร่วมเป็นสมาชิกพรรครวมไทยสร้างชาติอีกครั้ง[12] ในวันจันทร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2566 ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี[13] ต่อมาวันจันทร์ที่ 3 ตุลาคม 2566 ได้ยื่นหนังสือลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรครวมไทยสร้างชาติต่อนายทะเบียนพรรคการเมืองทำให้พ้นจากตำแหน่งรองหัวหน้าพรรคโดยให้มีผลทันที[14]
การร่วมชุมนุมทางการเมือง
[แก้]นายสุภรณ์ฯ เข้าร่วมชุมนุมทางการเมืองกับกลุ่ม นปช. ได้ขึ้นปราศรัยบนเวทีและร้องเพลง"กตัญญู ทักษิณ" จนกระทั่งรัฐบาลสั่งการปฏิบัติการณ์กระชับวงล้อมในวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 และแกนนำ นปช. ประกาศสลายการชุมนุมไปเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 ที่สี่แยกราชประสงค์ นายสุภรณ์ฯ ได้ส่งตัวแทนชี้แจงว่าจะเข้ามอบตัวต่อ ศอฉ. หลังจากยกเลิกเคอร์ฟิว จากนั้นก็หายตัวไปและไม่ติดต่อกลับมาอีก แหล่งข่าวจำนวนหนึ่งอ้างว่านายสุภรณ์ฯ ไปหลบซ่อนตัวในประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งก็ไม่มีหลักฐานยืนยันแต่ประการใด
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2555 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[15]
- พ.ศ. 2547 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[16]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ โปรดทราบ! “แรมโบ้” เปลี่ยนชื่อแล้ว ต่อไปต้องเรียก “ดร.เสกสกล”
- ↑ “พีระพันธุ์” ตั้ง 11 คณะที่ปรึกษารองนายกฯ “เสธ.หิ-แรมโบ้-สายัณห์” นั่งด้วย
- ↑ ด่วน! นายกฯเซ็นตั้ง ‘แรมโบ้อีสาน’ นั่งที่ปรึกษานายกฯ
- ↑ ประวัติผู้สมัคร ส.ส. เก็บถาวร 2012-11-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
- ↑ "เปิดรายชื่อ ทั้ง 111 กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยที่ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นระยะเวลา 5 ปี !!!". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-08. สืบค้นเมื่อ 2011-06-02.
- ↑ ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคเพื่อไทย)
- ↑ พลวุฒิ สงสกุล (19 กันยายน 2561). "แบ่งเขตเลือกตั้งใหม่ เตรียมหย่อนบัตรปี 62 ส.ส. ลด 23 จังหวัด อีสานหด 10 ที่นั่ง". THE STANDARD. สืบค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "หนี พปชร. อีกราย "ปรพล อดิเรกสาร" ไปพรรครวมไทยสร้างชาติ ตามคำชวน "แรมโบ้"". www.thairath.co.th. 2022-02-06.
- ↑ "แรมโบ้ เสกสกล" โชว์สปิริต! ประกาศลาออกทุกตำแหน่ง เซ่นคลิปหยอกยืมเงิน
- ↑ เพื่อภาพพจน์ที่ดี! "แรมโบ้ เสกสกล" ลาออกจากสมาชิกพรรครวมไทยสร้างชาติ
- ↑ มติพรรคเทิดไท ตั้ง "แรมโบ้" เป็นหัวหน้า ลั่นเป็นอีกบ้านหนุน "บิ๊กตู่"
- ↑ ไปไหนไปกัน! 'แรมโบ้'ลาออกหน.พรรคเทิดไท ย้ายซบ'รทสช.'เสริมทัพ'บิ๊กตู่'
- ↑ ด่วน! นายกฯเซ็นตั้ง ‘แรมโบ้อีสาน’ นั่งที่ปรึกษานายกฯ
- ↑ ‘แรมโบ้’ ลาออกจากสมาชิก รทสช. ‘แม่เลี้ยงติ๊ก’ เลื่อนลำดับเป็น สส.บัญชีรายชื่อแทน
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๕ เก็บถาวร 2022-02-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๓๕ ข หน้า ๘, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-06-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๓๘, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๗
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2507
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากอำเภอครบุรี
- นักการเมืองไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครราชสีมา
- พรรคกิจสังคม
- พรรคความหวังใหม่
- พรรคพลังธรรม
- นักการเมืองพรรคประชาธิปัตย์
- นักการเมืองพรรคไทยรักไทย
- นักการเมืองพรรคเพื่อไทย
- พรรคพลังประชารัฐ
- พรรครวมไทยสร้างชาติ
- บุคคลจากโรงเรียนสุราษฎร์ธานี
- บุคคลจากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ก่อตั้งพรรคการเมืองในประเทศไทย