ข้ามไปเนื้อหา

การบุกยึดท่าอากาศยานในประเทศไทย พ.ศ. 2551

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาพสรุปเหตุการณ์วิกฤตการณ์การเมืองในประเทศไทย
ภาพสรุปเหตุการณ์วิกฤตการณ์การเมืองในประเทศไทย

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งหรือเกี่ยวข้องกับ
วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2548–2553

การเมืองไทยประวัติศาสตร์ไทย

การบุกยึดท่าอากาศยานในประเทศไทย พ.ศ. 2551 เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 24 พฤศจิกายน - 3 ธันวาคม พ.ศ. 2551 โดยในวันที่ 24 พฤศจิกายน กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้บุกเข้ายึดท่าอากาศยานดอนเมืองและท่าอากาศยานสุวรรณภูมิได้สำเร็จ

ส่งผลให้ในวันที่ 27 พฤศจิกายน นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี ต้องประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในทั้งสองพื้นที่ โดยมี พลตำรวจเอก โกวิท วัฒนะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็น ผู้กำกับการปฏิบัติงานของหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง พลตำรวจโท ฉลอง สนใจ ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 1 เป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง แต่ก็มิได้มีการดำเนินการตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินแต่อย่างใด และกลุ่มพันธมิตรฯก็ได้ประกาศยุติการชุมนุมไปในที่สุดในวันที่ 3 ธันวาคม หลังจากที่นายสมชายพ้นจากตำแหน่งไปเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม

เหตุการณ์นี้โดยทั่วไปเข้าใจว่าเป็นการยึดท่าอากาศยานดอนเมืองและท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเพียง 2 แห่ง แต่ข้อเท็จจริงมีท่าอากาศยานถูกยึดถึง 5 แห่ง ได้แก่ท่าอากาศยานดอนเมือง ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ท่าอากาศยานหาดใหญ่ท่าอากาศยานกระบี่​และท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต

ปัจจุบันคดีนี้ยังไม่แล้วเสร็จโดยอัยการได้ทำการเลื่อนฟ้อง 18 ครั้ง[1]ก่อนที่จะส่งฟ้องในวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2556[2]สำนวนคดีมี 8 สำนวนได้แก่ อ.973/2556 , อ.1087/2556[3] , อ.1204/2556 , อ.1279 /2556 , อ.1361/2556[4] , อ.1406/2556 , อ.1522/2556 และ อ.1559/2556[5]

ลำดับเหตุการณ์

[แก้]

29 สิงหาคม

[แก้]
  • 16.40 น.[6] ท่าอากาศยานหาดใหญ่ และท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต ประกาศปิดทำการบินเนื่องจากกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเข้ายึดพื้นที่
  • ​ 18.00 น. ท่าอากาศยานกระบี่​ปิดทำการเนื่องจากผู้ชุมนุมเข้ายึดทางวิ่งของสนามบิน[7]

31 สิงหาคม

[แก้]
  • 15.35 น. ท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ตเปิดทำการอีกครั้ง[8]

24 พฤศจิกายน

[แก้]

25 พฤศจิกายน

[แก้]

26 พฤศจิกายน

[แก้]

27 พฤศจิกายน

[แก้]

28 พฤศจิกายน

[แก้]
  • ตลอดทั้งวัน กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ร่วมกับ 6 กระทรวง และตัวแทนสายการบินทั้งหมดหาทางออกร่วมกัน
  • ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี มีคำสั่งสำนักนายรัฐมนตรี ที่ 305/2551 ให้ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ มาปฏิบัติงานสำนักนายกรัฐมนตรี โดยให้ได้รับเงินเดือนของสังกัดเดิมไปก่อนและให้ พล.ต.อ.ปทีป ตันประเสริฐ จเรตำรวจแห่งชาติ เป็นผู้รักษาราชการแทน

29 พฤศจิกายน

[แก้]
  • พลตำรวจโท ฉลอง สนใจ ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 1 ในฐานะหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ออกข้อกำหนด โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548[18]รวมทั้งออกคำสั่งคำสั่งหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร และอำเภอบางพลี อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ ที่ 2/2551[19] และ คำสั่งหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร และอำเภอบางพลี และอำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ ที่ 3/2551[20]

1 ธันวาคม

[แก้]
  • พลตำรวจโท ฉลอง สนใจ ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 1 ในฐานะหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ออกข้อกำหนด โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 2)[21]

2 ธันวาคม

[แก้]

3 ธันวาคม

[แก้]
  • 10.00 น. กลุ่มพันธมิตรฯ ประกาศยุติการชุมนุม หลังจากที่ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี พ้นจากตำแหน่งไป 1 วันก่อนหน้านั้น ทั้งนี้ ยืนยันว่าหากยังมีความเคลื่อนไหวที่ต้องการจะแก้ไขรัฐธรรมนูญ หรือมีความเคลื่อนไหวในการจัดตั้งรัฐบาลที่มีความไม่ชอบมาพากล หรือทุจริต กลุ่มพันธมิตรฯ ยังพร้อมที่จะกลับมาทุกครั้ง[22]

9 ธันวาคม

[แก้]
  • มีประกาศ เรื่องยกเลิกสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่เขตดอนเมืองและเขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร และอำเภอบางพลีและอำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ ประกาศและคำสั่งที่เกี่ยวข้อง โดย ชวรัตน์ ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรี[23]

ผลกระทบ

[แก้]

นายเสรีรัตน์ ประสุตานนท์ ผู้อำนวยการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เปิดเผยว่าตั้งแต่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิงดเที่ยวบิน ตั้งแต่เวลา 22.00-18.00 น. มีเที่ยวบินได้รับผลกระทบ 402 เที่ยวบิน และจากที่ไม่สามารถให้บริการเที่ยวบินขึ้น-ลงได้มาตั้งแต่เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายนนั้น ได้ประเมินความเสียหายพบว่า ตั้งแต่เวลา 22.00 น.วันที่ 25 พฤศจิกายน จนถึง 18.00 น.วันที่ 26 พฤศจิกายน คาดว่าท่าอากาศยานไทยจะสูญเสียรายได้ในส่วนของค่าธรรมเนียมขึ้น-ลงสนามบินกว่าวันละ 53 ล้านบาท จากเที่ยวบินที่ขึ้น-ลงไม่ได้กว่า 292 เที่ยวบิน ยังไม่รวมค่าร้านค้าและค่าเช่าพื้นที่ของกลุ่มคิงส์เพาเวอร์ด้วย[24]

นายสุรชัย ธารสิทธิ์พงษ์ ปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าวว่าความเสียหายที่คาดการณ์ในเบื้องต้น ทั้งช่วงที่เกิดเหตุการณ์ชุมนุม และผลกระทบต่อเนื่องอีก 6 เดือน คาดว่าไม่ต่ำกว่า 20,000 ล้านบาท และส่งผลกระทบต่อผลประกอบการบริษัทปี พ.ศ. 2551 ที่จะขาดทุน รวมถึงกระทบต่อแผนการใช้เงินของบริษัท โดยเฉพาะเงินกู้ระยะสั้นที่อาจต้องรีไฟแนนซ์ประมาณ 10,000 ล้านบาท และแผนการชำระค่าเครื่องบิน ดังนั้น จะเสนอให้รัฐบาลพิจารณาหาเงินอุดหนุนให้หรือหาแหล่งเงินกู้ประมาณ 20,000 ล้านบาท[25]

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยเปิดเผยว่า ทางศูนย์ได้ประเมินผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจากจากสถานการณ์ทางการเมืองที่ไม่แน่นอน และการปิดสนามบินสุวรรณภูมิออกเป็น 2 กรณี กรณีแรกสถานการณ์ยืดเยื้อแต่จบภายในเดือนพฤศจิกายน 2551 จะทำให้เศรษฐกิจไตรมาส 4 ขยายตัว 2.8-3.3% และผลกระทบทางการเมืองต่อระบบเศรษฐกิจตั้งแต่เดือนสิงหาคม-ธันวาคม 2551 จะทำให้เกิดการสูญเสียด้านต่างต่างๆ ดังนี้ ด้านบริโภค 15,000-20,000 ล้านบาท ด้านลงทุน 6,000-11,000 ล้านบาท ด้านส่งออก 10,000-24,000 ล้านบาท ด้านท่องเที่ยว 42,000-75,000 ล้านบาท และต่อภาพรวมทางเศรษฐกิจ 73,000-130,000 ล้านบาท และเศรษฐกิจไทยปี 2551 ขยายตัว 4.5-4.8%

กรณีที่สอง สถานการณ์ยืดเยื้อจนถึงเดือนธันวาคม 2551 ทำให้ไตรมาส 4 เศรษฐกิจขยายตัวเหลือ 1.5-2% และเกิดความสูญเสียในด้านบริโภค 21,000-30,000 ล้านบาท การลงทุน 12,000-25,000 ล้านบาท การส่งออก 25,000-40,000 ล้านบาท การท่องเที่ยว 76,000-120,000 ล้านบาท ต่อเศรษฐกิจโดยรวม 134,000-215,000 ล้านบาท และขยายตัวเหลือ 4.1-4.4% ซึ่งกรณีที่สองจะมีความเป็นไปได้สูง และกระทบต่อการขยายตัวให้ตกต่ำลงไปอีกในไตรมาสแรกของปี 2552 และทำให้เศรษฐกิจไทยปีหน้า จากคาดการณ์เดิมขยายตัว 3-4% เหลือ 2-3% ใกล้เคียงกับปี 2545 ที่ขยายตัว 2% และอาจกระทบต่อการจ้างงานลดลงกว่า 1 ล้านคน

คดีการบุกยึดท่าอากาศยานในประเทศไทย นั้นเป็นไปอย่างล่าช้ามาก พนักงานอัยการใช้เวลาทำคดี 4 ปี 5 เดือน เลื่อนฟ้องถึง 18 ครั้ง และส่งฟ้องในที่สุดในวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2556[26][27]

ในวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2560 ศาลฎีกายกคำร้อง 13 แกนนำ พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ส่งผลให้คดีทางแพ่งจบลง โดยศาลให้ชดใช้ค่าเสียหาย 522,160,947.31 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 3 ธ.ค.51 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ[28]

มุมมองต่างประเทศ

[แก้]
  • รัฐบาลจีน ฝรั่งเศส นิวซีแลนด์ สิงคโปร์ อังกฤษ สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลียและญี่ปุ่นประกาศเตือนพลเมืองของตนให้หลีกเลี่ยงการเดินทางมายังประเทศไทย[29]
  • สหภาพยุโรปกระตุ้นให้กลุ่มผู้ชุมนุมออกจากสนามบินอย่างสันติ โดยให้ความเห็นว่า "ขณะที่ให้ความเคารพต่อสิทธิในการประท้วง กระนั้น สหภาพยุโรปก็พิจารณาว่าฤติการณ์ดังกล่าวเป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสมเป็นอย่างยิ่ง"[30][31]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "อัยการเลื่อนฟ้องครั้งที่ 18". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2016-12-23.
  2. อัยการส่งฟ้องแกนนำพธม.ปิดสนามบิน
  3. "บริการค้นหาข้อมูลคดีศาลอาญา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-15. สืบค้นเมื่อ 2018-05-30.
  4. "บริการค้นหาข้อมูลคดีศาลอาญา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-15. สืบค้นเมื่อ 2018-05-30.
  5. ศาลเลื่อนสืบพยานโจทก์คดีพันธมิตรปิดล้อมสนามบินอีกครั้ง
  6. เรื่อง แจ้งข่าวกลุ่มผู้ชุมนุมปิดล้อมสนามบิน
  7. สนามบินกระบี่ปิดแล้วหลังพันธมิตรฯยึดรันเวย์
  8. สนามบินภูเก็ตสู่ภาวะปกติแล้ว สรุปความเสียหาย 181 เที่ยวบิน
  9. พันธมิตรฯ ยึดก.คลัง เตรียมบุกสนามบินดอนเมือง
  10. "กลุ่มแท็กซี่ ปะทะ พันธมิตร ที่สนามบิน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-18. สืบค้นเมื่อ 2009-07-20.
  11. กลุ่มพันธมิตรรุมทำร้ายเจ้าหน้าที่
  12. ม็อบถ่อย"เผาประเทศ ยึดเบ็ดเสร็จสุวรรณภูมิ ทอท.สั่งปิดสนามบินไม่มีกำหนด[ลิงก์เสีย]
  13. "เจรจากับเจ้าหน้าที่เพื่อขอเข้าไปตรวจสอบภายในหอบังคับการบิน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2011-06-12.
  14. สมชายแถลง ไม่ยุบสภา-ไม่ลาออก เตรียมประชุมครม.27 พ.ย.นี้ อ้างเหตุเพื่อรักษาปชต. ปกป้องคนในชาติ[ลิงก์เสีย]
  15. "การบินไทยย้ายเที่ยวบินลง ดอนเมือง-อู่ตะเภา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-04. สืบค้นเมื่อ 2009-07-20.
  16. "รัฐบาลประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน สุวรรณภูมิและดอนเมือง พันธมิตรประกาศสู้ถึงที่สุด". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-04-28. สืบค้นเมื่อ 2009-07-20.
  17. แต่งตั้งผู้กำกับการปฏิบัติงาน หัวหน้าผู้รับผิดชอบและพนักงานเจ้าหน้าที่ในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง
  18. มาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548
  19. การแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง
  20. คำสั่งหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง
  21. มาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 2)
  22. พันธมิตรฯ ประกาศชัยชนะ!! ยุติการชุมนุม 3 ธ.ค.นี้
  23. ประกาศ เรื่องยกเลิกสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง
  24. "สูญแสนล้าน พันเที่ยวบินป่วน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-04. สืบค้นเมื่อ 2009-07-20.
  25. การบินไทยเจ๊ง 2 หมื่นล้าน เล็งฟ้องแพ่ง "พันธมิตร"
  26. "เลื่อนสั่งฟ้อง พธม.ยึดสนามบินครั้งที่ 18". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2016-12-23.
  27. อัยการส่งฟ้องแกนนำพธม.ปิดสนามบิน
  28. พันธมิตรต้องชดใช้ปิดสนามบิน 522 ล้าน!
  29. AFP, Defiant Thai PM rejects army pressure to quit[ลิงก์เสีย], 26 November 2008
  30. "EU Says Airport Protests Damaging Thailand's Image". Deutsche Welle. 2008-11-29. สืบค้นเมื่อ 2008-11-29.
  31. Ringborg, Maria (2008-11-29). "Polis borttvingad från Bangkoks flygplats" (ภาษาสวีเดน). Dagens Nyheter. สืบค้นเมื่อ 2008-11-29.