พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง
พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง | |
---|---|
สารนิเทศภูมิหลัง | |
เกิด | 2 กันยายน พ.ศ. 2504 อำเภอขาณุวรลักษบุรี จังหวัดกำแพงเพชร ประเทศไทย |
คู่สมรส | ธัญญา โสภณ (2536–ปัจจุบัน) |
บุตร | เอกนรี วชิรบรรจง ภูรีพงษ์ วชิรบรรจง |
อาชีพ |
|
ปีที่แสดง | พ.ศ. 2528–ปัจจุบัน |
สังกัด | คีตา สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 (2533–2565) |
สุพรรณหงส์ | นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม พ.ศ. 2534 – ต้องปล้น พ.ศ. 2557 – แผลเก่า |
ชมรมวิจารณ์บันเทิง | นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม พ.ศ. 2533 – พันธุ์หมาบ้า |
โทรทัศน์ทองคำ | นักแสดงสมทบชายดีเด่น พ.ศ. 2537 – โสมส่องแสง พ.ศ. 2552 – พระจันทร์สีรุ้ง นักแสดงนำชายดีเด่น พ.ศ. 2546 – ดงดอกเหมย ผู้กำกับละครดีเด่น พ.ศ. 2548 – กุหลาบสีดำ พ.ศ. 2556 – ทองเนื้อเก้า พ.ศ. 2558 – เลือดมังกร พ.ศ. 2560 – รากนครา พ.ศ. 2562 – กรงกรรม พ.ศ. 2564 – มนต์รักหนองผักกะแยง |
เมขลา | ผู้กำกับละครดีเด่น พ.ศ. 2554 – รอยไหม |
นาฏราช | นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม พ.ศ. 2552 – พระจันทร์สีรุ้ง ผู้กำกับยอดเยี่ยม พ.ศ. 2554 – รอยไหม พ.ศ. 2556 – ทองเนื้อเก้า พ.ศ. 2559 – นาคี พ.ศ. 2562 – กรงกรรม |
คมชัดลึก | นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม ประเภทละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2546 – ดงดอกเหมย พ.ศ. 2552 – พระจันทร์สีรุ้ง |
พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง (เกิด 2 กันยายน พ.ศ. 2504) ชื่อเล่น อ๊อฟ เป็นนักร้อง นักแสดง ผู้กำกับชาวไทย ทางด้านธุรกิจเป็นกรรมการผู้จัดการบริษัท แอค อาร์ต เจเนอเรชั่น จำกัด
ประวัติ
[แก้]การศึกษา
[แก้]พงษ์พัฒน์ สำเร็จการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาที่โรงเรียนกำแพงเพชรพิทยาคม และโรงเรียนวัดสุทธิวราราม จากนั้นไปศึกษาต่อที่วิทยาลัยพลศึกษาเชียงใหม่ และระดับปริญญาตรีที่คณะพลศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
เข้าสู่วงการบันเทิง
[แก้]พงษ์พัฒน์ มีบิดาคือ คมสัน วชิรบรรจง ซึ่งรับราชการครู พงษ์พัฒน์ได้เข้าไปเป็นพนักงานที่บริษัทผลิตรองเท้ากีฬาแห่งหนึ่ง โดยดูแลงานในส่วนของฝ่ายผลิตภัณฑ์ทั้งงานผลิตและการตลาด แต่หลังจากนั้นก็ได้เข้ามาเป็น 1 ในคนทางบ้านที่สมัครเข้าแข่งขันในรายการเกมโชว์ที่โด่งดังในยุคนั้น คือ มาตามนัด และ พลิกล็อก และเป็นที่เข้าตาทีมงานบริษัทเจเอสแอล เมื่อทางบริษัทกำลังจะเปิดตัวละครเรื่องใหม่ที่ต้องการนักแสดงที่มีร่างกายกำยำ แข็งแรง พงษ์พัฒน์จึงถูกเรียกให้เข้ามาทดสอบการแสดง จนได้แสดงละครครั้งแรกคือเรื่อง เมฆินทร์พิฆาต ในปี พ.ศ. 2528 ถือเป็นการเข้าสู่วงการบันเทิงอย่างเต็มตัว และเริ่มมีงานละครอีกหลายเรื่องในระยะเวลาต่อมา
นักร้อง
[แก้]พงษ์พัฒน์มีชื่อเสียงจากการเป็นนักร้องในแนวร็อก สังกัดคีตา เอนเตอร์เทนเมนท์ โดยได้ออกผลงานเพลงของตนเองจำนวน 7 ชุด ก่อนจะพลิกบทบาทมาอยู่เบื้องหลังในฐานะผู้กำกับละครและภาพยนตร์ ควบคู่กับงานแสดง และงานร้องเพลงตามที่ว่าจ้าง[1][2]
การเมือง
[แก้]ในวิกฤตการณ์การเมืองในประเทศไทย พ.ศ. 2548-2550 พงษ์พัฒน์เป็นบุคคลหนึ่งที่เข้าร่วมในการขับไล่ ดร.ทักษิณ ชินวัตร ให้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีด้วย โดยได้ขึ้นเวทีปราศรัยของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย พร้อมกับ ศรัณยู วงษ์กระจ่าง เพื่อนนักแสดงรุ่นราวเดียวกัน
นอกจากนี้แล้วในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ เมื่อ พ.ศ. 2535 พงษ์พัฒน์ก็ได้เป็นส่วนหนึ่งของผู้ชุมนุมครั้งนั้นด้วย[3]
รางวัลนาฏราช
[แก้]ในงานประกาศผลและมอบรางวัลนาฏราช ครั้งที่ 1 ณ หอประชุมกองทัพเรือ แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 ในช่วงที่มีการชุมนุมของคนเสื้อแดง พงษ์พัฒน์ได้รับรางวัลนักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม จากบทคุณพ่อผู้อาภัพในละครเรื่อง พระจันทร์สีรุ้งแล้ว ซึ่งเมื่อขึ้นรับรางวัล และกล่าวขอบคุณ รวมถึงกล่าวเทิดทูนและปกป้องในหลวง ได้สร้างความฮือฮาและซาบซึ้งให้แก่นักแสดงและแขกที่มาร่วมงานเป็นอย่างมาก[4] [5] รวมถึงยังได้เกิดกระแสบนอินเทอร์เน็ต ที่ออกมาวิพากษ์วิจารณ์ ซึ่งมีทั้งคล้อยตามและขัดแย้ง โดยต่างมีเหตุผลส่วนตัวของแต่ละคนแตกต่างกันไป[6]
ต่อมา ในงานประกาศผลรางวัลนาฏราช ครั้งที่ 5 ณ เมืองไทยรัชดาลัย เธียเตอร์ ศูนย์การค้าเอสพลานาด ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร พงษ์พัฒน์ได้รับรางวัลผู้กำกับละครยอดเยี่ยม และละครยอดเยี่ยม จากเรื่องทองเนื้อเก้า เขาได้รับความสนใจจากผู้มาร่วมงานอีกครั้ง เมื่อกล่าวขอบคุณผู้ที่คืนความสุขแก่คนไทย พร้อมชูนิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้ นิ้วก้อย แสดงภาษามือสื่อถึงความรัก ในการรับรางวัลแรก[7] และกล่าวขอบคุณผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เลียนแบบประกาศของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ในการรับรางวัลที่สอง[8]
ผลงาน
[แก้]เพลง
[แก้]อัลบั้มเพลง
[แก้]พงษ์พัฒน์ (พ.ศ. 2531)
[แก้]- ตัวสำรอง
- อีกนาน
- ความสุขเล็กเล็ก
- ใจพเนจร
- นายดิบดิบ
- แล้วก็แล้วกันไป
- อย่าทำอย่างนั้น
- ใจมันร้าว
- อย่าทำอย่างนั้น ภาค 2 (ทำมันไปอีก)
พงษ์พัฒน์ ภาค 2 (พ.ศ. 2532)
[แก้]- ฟั่นเฟือน
- ถึงลูกถึงคน
- ทรมาน
- ตัวจริง
- พูดจาภาษาไทย
- เวรกรรม
- กำกวม
- เท่าไหร่เท่ากัน
- นายครก
- คำพ่อ
พงษ์พัฒน์ ภาคพิสดาร (พ.ศ. 2534)
[แก้]- สักครั้งจะไม่ลืมพระคุณ
- กะโหลกไขว้
- ทะเลทราย
- ระเบิดเวลา
- ยอมแพ้
- ตายไปแล้ว
- ชดใช้
- โชคดี
- หลอกซ้ำหลอกซาก
- ปฏิวัติใจ
พงษ์พัฒน์ ภาค 3 (18 ธันวาคม พ.ศ. 2535)
[แก้]- คำสุดท้าย
- ฉันโง่เอง
- ก็เป็นอย่างนี้
- อีกไม่นาน
- เต็มแรงเต็มใบ
- สำออย
- สายลมที่จากไป (นายคนตรง)
- อย่าให้เจอ
- มากมาย
- ไม่มีทาง
พงษ์พัฒน์ ภาคพิเศษ (ตุลาคม พ.ศ. 2536)
[แก้]- คำสุดท้าย
- ฉันโง่เอง
- ทรมาน
- ฟั่นเฟือน
- ทะเลทราย
- ถึงลูกถึงคน
- สักครั้งจะไม่ลืมพระคุณ
- อีสาน
- ตัวสำรอง
- สายลมที่จากไป
- ใจพเนจร
- ตายไปแล้ว
- อย่าให้เจอ
- กะโหลกไขว้
HOT HITS (พ.ศ. 2536)
[แก้]- คำสุดท้าย
- ฉันโง่เอง
- ทะเลทราย
- โชคดี
- ใจร้าว
- ยอมแพ้
- เวรกรรม
- อีกนาน
- เท่าไหร่เท่ากัน
- หลอกช้ำหลอกชาก
- อย่าให้เจอ
- ถึงลูกถึงคน
- ก็เป็นอย่างนี้
- ฟั่นเฟือน
- ตายไปแล้ว
ร็อกนี่หว่า (ปกเหล็ก) (กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2537)
[แก้]- เอาให้ตาย
- ไม่รู้นี่หว่า
- คนเนรคุณ
- ใจนักเลง
- อย่าบ่อยเกินไป
- ชาติเดียว
- ปาก
- ขอเถอะฟ้า
- ทำร้ายตัวเอง
- หมายความว่าไง
หน้ากากร็อก (พ.ศ. 2538)
[แก้]- สั่งเสีย
- ครายจะทำมาย
- ไม่ใช่ไม่รัก
- บาดเจ็บเล็กน้อย
- หน้ากากร็อก
- ข้ามศพ
- เดี๋ยวเจอดี
- หนึ่งนาที
- ตัวต่อตัว
- อย่าขวางทางปืน
101-7-ย่านร็อก (ตุลาคม พ.ศ. 2541)
[แก้]- รุนแรง
- โดน (ถามคำเจ็บไหม)
- เธออยู่ที่ไหน
- ห้ามรังแกเด็ก
- พงษ์พัฒน์
- อยากเลวกว่านี้
- เป็นอะไรไม่รู้
- อยากให้เธอได้ยิน
- หลบไป
- CONVERSE
เพลงประกอบภาพยนตร์
[แก้]- ไม่มีพรุ่งนี้อีกแล้ว เพลง ความสุขเล็ก ๆ
เพลงประกอบละคร
[แก้]- หัวใจลิขิต (เพลงประกอบละครเรื่อง เลือดมังกร ตอน แรด)
ผลงานเพลงที่กล่าวถึงศิลปินท่านอื่นๆ
[แก้]- เพลง คิง ออฟ ก็อป แด๊นซ์ ร้องโดย ไมเคิ่น ตั๋ง (เป็นบทเพลงที่กล่าวถึงศิลปินหลายคน โดยมีเนื้อร้องอยู่ท่อนหนึ่งที่กล่าวถึงชื่อของ พงษ์พัฒน์)
ละครโทรทัศน์
[แก้]- พ.ศ. 2529
- เทวดาตกสวรรค์ รับบท แอ๊ด (ช่อง 9)
- เมฆินทร์พิฆาต คู่กับ ธัญญา โสภณ (ช่อง 3)
- พ.ศ. 2530
- อวสานเซลส์แมน (ช่อง 3)
- สัญชาตญาณดิบ (ช่อง 9)
- ทองเนื้อเก้า รับบท วันเฉลิม คู่กับ สาวิตรี สามิภักดิ์ (ช่อง 7)
- หัวใจสองภาค รับบท ดนตร์ (ช่อง 7)
- แก้วกลางดง รับบท ทรงเผ่า คู่กับ อรพรรณ พานทอง (ช่อง 7)
- พ.ศ. 2531
- สามีตีตรา รับบท มรว.พิสุทธิ์ คู่กับ จริยา แอนโฟเน่ (ช่อง 3)
- ปราสาทมืด รับบท หมอภะรต คู่กับ ปรียานุช ปานประดับ (ช่อง 7)
- บริษัทจัดคู่ (ช่อง 7)
- อาศรมสาง (ช่อง 3)
- พ.ศ. 2533
- พ.ศ. 2535 ไฟรักอสูร รับบท แก้ว คู่กับ นาถยา แดงบุหงา (ช่อง 3)
- พ.ศ. 2536
- โสดหารสอง (ช่อง 5)
- ด้วยสองมือแม่นี้ที่สร้างโลก รับบท บัว คู่กับ จันจิรา จูแจ้ง (ช่อง 3)
- โสดยกกำลังสาม (ช่อง 3)
- พ.ศ. 2537
- โสมส่องแสง รับบท ภูริต (ภู) คู่กับ ศิริลักษณ์ ผ่องโชค (ช่อง 3)
- ขอให้รักเรานั้นนิรันดร รับบท ตรัย คู่กับ บุญพิทักษ์ จิตต์กระจ่าง (ช่อง 3)
- พ.ศ. 2538 เรือนแพ รับบท แก้ว (ช่อง 5)
- พ.ศ. 2539
- ฉก.เสือดำ ถล่มหินแตก รับบท ร้อยเอก อรรถพล ชาติวินิจ (ช่อง 5)
- แสงเพลิงที่เกริงทอ (ช่อง 5)
- โปลิศจับขโมย รับบท เสือโหย คู่กับ บุษกร วงศ์พัวพันธ์ (ช่อง 3)
- พ.ศ. 2540
- ล่าปีศาจ รับบท ฉีต้าเหมิน / เดวิด คู่กับ สรพงศ์ ชาตรี / บุษกร วงศ์พัวพันธ์ (ช่อง 3)
- สายรุ้ง รับบท ทรงยศ คู่กับ แอน ทองประสม (ช่อง 3)
- ชุมทางเขาชุมทอง คู่กับ สันติสุข พรหมศิริ / อภิรดี ภวภูตานนท์ (ช่อง 5)
- ชมรมขนหัวลุก FRIDAY ตอน รวมพลคนเล่นของ (ช่อง 5)
- พ.ศ. 2541 ตามรักคืนใจ รับบท ราม คู่กับ ธนากร โปษยานนท์ / รามาวดี สิริสุขะ / นาถยา แดงบุหงา / ดารัณ ฐิตะกวิน (ช่อง 3)
- พ.ศ. 2542
- เพรงเงา รับบท อุดร (ช่อง 3)
- ขุนเดช รับบท ขุนเดช คู่กับ สรพงศ์ ชาตรี / ณัฐริกา ธรรมปรีดานันท์ (ช่อง 7)
- รัก...สุดหัวใจ รับบท เทวา (ช่อง 3)
- ละครชุด พ่อ ตอน เทียนขี้ผึ้ง รับบท แสน (ช่อง 5)
- เกิดแต่ชาติปางไหน รับบท อานนท์ (ช่อง 3)
- พระจันทร์ลายกระต่าย (ช่อง 5)
- พ.ศ. 2543
- พันท้ายนรสิงห์ รับบท พระเจ้าเสือ คู่กับ ธีรภัทร์ สัจจกุล / พิยดา อัครเศรณี / กมลชนก เขมะโยธิน (ช่อง 7)
- บ้านทรายทอง รับบท หม่อมเจ้าเอนกนพรัตน์ (ท่านต้อม) (ช่อง 3)
- เพลงผีบอก รับบท เริงฤทธิ์ สิทธิการณ์ คู่กับ ธัญญา โสภณ (ช่อง 5)
- ฝนตกขี้หมูไหล คนอะไร?มาพบกัน รับบท ปีเตอร์ คู่กับ บุษกร วงศ์พัวพันธ์ (ช่อง 3)
- คนของแผ่นดิน รับบท จอมพลวู (ช่อง 3)
- อุบัติรักจากฟากฟ้า (ช่อง 3)
- พ.ศ. 2544 เทวดาเดินดิน รับบท พล (ช่อง 3)
- พ.ศ. 2545 รักในรอยแค้น รับบท บำรุง ธานินทร์นิมิตร คู่กับ กาญจนา จินดาวัฒน์ (ช่อง 5)
- พ.ศ. 2546
- กาเหว่าที่บางเพลง (ช่อง 3)
- ดงดอกเหมย รับบท ฮัว คู่กับ จินตหรา สุขพัฒน์ / จริยา แอนโฟเน่ (ช่อง 3)
- วิวาห์พาวุ่น รับบท บรรณ (ช่อง 3)
- ฝันกลางตะวัน รับบท พี่เสริม (ช่อง 7)
- พ.ศ. 2547
- เก่งไม่เก่ง...ไม่เกี่ยว (ช่อง 3)
- แหวนทองเหลือง รับบท ร้อยเอกกฤษฎา คู่กับ สรพงศ์ ชาตรี / กมลชนก เขมะโยธิน (ช่อง 7)
- พ.ศ. 2548
- อยู่กับก๋ง รับบท ก๋ง (ช่อง 5)
- บันทึกจาก(ลูก)ผู้ชาย (ช่อง 3)
- พ.ศ. 2549 นรกตัวสุดท้าย รับบท จ้าวฟ้าดำ / ดร.ประเทศ (ช่อง 3)
- พ.ศ. 2550
- ดั่งดวงตะวัน รับบท จ่าหิน (ช่อง 3)
- หุบเขากินคน รับบท วาม (ช่อง 3)
- พ.ศ. 2551 สุดแต่ใจจะไขว่คว้า รับบท พล (พ่อ) คู่กับ เพ็ญพักตร์ ศิริกุล (ช่อง 3)
- พ.ศ. 2552 พระจันทร์สีรุ้ง รับบท อารักษ์ (ช่อง 3)
- พ.ศ. 2553
- มนต์รักข้าวต้มมัด รับบท อาโจว คู่กับ จินตหรา สุขพัฒน์ (ช่อง 3)
- หัวใจสองภาค รับบท เตี่ยเม้ง (ช่อง 3)
- 7 ประจัญบาน รับบท จ่าดับ จำเปาะ คู่กับ สรพงศ์ ชาตรี / เศรษฐา ศิระฉายา / กุลณัฐ กุลปรียาวัฒน์ (ช่อง 3)
- พ.ศ. 2554
- วนาลี รับบท เสือสอน (ช่อง 3)
- บันทึกกรรม (ตอน ทางเลือก) รับบท น้อย (ช่อง 3)
- พ.ศ. 2555 เหนือเมฆ 2 มือปราบจอมขมังเวทย์ รับบท จ่าสมิง (ช่อง 3)
- พ.ศ. 2556 คุณชายรัชชานนท์ รับบท พ่อใหญ่ / เจ้าหลวงสุริยวงศ์ (ช่อง 3)
- พ.ศ. 2558 เลือดมังกร (เสือ, สิงห์, กระทิง, แรด, หงส์) รับบท ซินแสง้วง (ช่อง 3)
- พ.ศ. 2559 นาคี รับบท พญาศรีสุทโธนาคราช (รับเชิญ) (ช่อง 3)
- พ.ศ. 2561 The Mirror กระจกสะท้อนกรรม (รับเชิญ) (ช่อง 3)
ภาพยนตร์
[แก้]- เรารักกันนะ (ที่ปักกิ่ง) (2530) รับบท เต๋า
- คู่สร้างคู่สม (2530)
- ปีกมาร (2530) รับบท ลายสือ
- ดีแตก (2530) รับบท วุฒิ
- แรงเทียน (2531) รับบท ทิวา
- โกย (2532) รับบท ตำรวจ
- รักคืนเรือน (2532) รับบท ชล
- ไม่มีพรุ่งนี้อีกแล้ว (2532) รับบท ดนัย
- หัวใจ 4 สี (2532) รับบท พงษ์นรินทร์
- พันธุ์หมาบ้า (2533) รับบท อ๊อตโต้
- เพชรพระอุมา (2533) รับบท มือปืนโจรป่า
- หนุก (2533) รับบท เพชร
- ต้องปล้น (2534) รับบท เบิ้ม
- มาห์ (2534) รับบท ไข่
- กึ๋ยทู สยึ๋มกึ๋ย 2 (2538) รับบท คะน้า
- อันดากับฟ้าใส (2540) รับบท สมบัติ
- สุริโยไท (2544) รับบท สมเด็จพระชัยราชาธิราช
- 7 ประจัญบาน (2545) รับบท จ่าดับ จำเปาะ
- คืนไร้เงา (2546) รับบท ชาติชาย
- Belly of the beast (2546) รับบท มงคล
- The Legend of Suriyothai (2546) รับบท สมเด็จพระชัยราชาธิราช
- โหมโรง (2547) รับบท พ.ท. วีระ
- ซาไกยูไนเต็ด (2547) รับบท เปาตุ๊
- 7 ประจัญบาน 2 (2548) รับบท จ่าดับ จำเปาะ
- เสือคาบดาบ (2548) รับบท ผู้พันเก้ายอด
- โอปปาติก เกิดอมตะ (2550) รับบท ธุวชิต
- ก่อนบ่ายเดอะมูฟวี ตอนรักนะ...พ่อต๊ะติ๊งโหน่ง (2550) รับบท กะเทยใหญ่
- ช็อคโกแลต (2551) รับบท No 8
- ชิงหมาเถิด (2553) รับบท นักฆ่าลึกลับ
- จากฟ้าสู่ดิน (2553)
- ชั่วฟ้าดินสลาย (2553) รับบท สมเด็จพระองค์ชาย
- สิ่งเล็กเล็ก ที่เรียกว่า..รัก (2553) รับบท พ่อของน้ำ
- อุโมงค์ผาเมือง (2554) รับบท สัปเหร่อ
- อันธพาล (2555) รับบท เฮียเซ้ง
- จัน ดารา ปฐมบท (2555) รับบท พ่อของไฮซินธ์
- จัน ดารา ปัจฉิมบท (2556) รับบท พ่อของไฮซินธ์
- แผลเก่า (2557) รับบท ผู้ใหญ่เขียน
- นาคี 2 (2561) รับบท พญาศรีสุทโธนาคราช
พิธีกร
[แก้]- พ.ศ. 2535 ผู้ชาย 4 หน้า (ช่อง 7)
- พ.ศ. 2540 เกม ฟอร์ โกลด์ (ช่อง 5)
โฆษณา
[แก้]- บิ๊กซี (2549)
ผู้จัดละคร
[แก้]ผลงานละครโทรทัศน์ทั้งหมดในฐานะผู้จัดละครช่อง 3 และ กำกับการแสดง บริษัท แอค-อาร์ต เจเนเรชั่น จำกัด (Act Art Generation co.,Ltd)
|
|
ในฐานะผู้จัดละครอิสระ
[แก้]- 2566 HANGOUT เปลือกรักปมลวง ช่อง MONO 29
- 2566 See You Again ขอเจอเธออีกสักครั้ง ช่อง MONO 29
กำกับภาพยนตร์
[แก้]- 2550 Me...Myself ขอให้รักจงเจริญ (กำกับภาพยนตร์เรื่องแรก)
- 2551 แฮปปี้เบิร์ธเดย์
- 2553 จากฟ้าสู่ดิน (ภาพยนตร์สั้นเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาส ๘๓ พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว : หนึ่งในน้ำพระราชหฤทัย)
- 2553 ชิงหมาเถิด
- 2561 นาคี 2
- 2568 ครุฑา นาคี
บทภาพยนตร์
[แก้]- 2553 ชิงหมาเถิด
- 2561 นาคี 2
รางวัล
[แก้]- พ.ศ. 2533 ชมรมวิจารณ์บันเทิง – นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม – ต้องปล้น
- พ.ศ. 2533 ชมรมวิจารณ์บันเทิง – นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม - พันธุ์หมาบ้า
- พ.ศ. 2537 รางวัลโทรทัศน์ทองคำ – ดาราสนับสนุนชายดีเด่น– โสมส่องแสง
- พ.ศ. 2539 รางวัลโทรทัศน์ทองคำ – ดารานำชายดีเด่น – โปลิศจับขโมย
- พ.ศ. 2546 Hamburger Award – นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม – ดงดอกเหมย
- พ.ศ. 2546 Star Entertainment Awards - นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม – ดงดอกเหมย
- พ.ศ. 2546 คมชัดลึกอวอร์ด – นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม – ดงดอกเหมย
- พ.ศ. 2546 รางวัลโทรทัศน์ทองคำ – ดารานำชายดีเด่น – ดงดอกเหมย
- พ.ศ. 2547 ชมรมวิจารณ์บันเทิง – นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม – โหมโรง
- พ.ศ. 2548 Hamburger Award – ผู้กำกับยอดเยี่ยม, ละครยอดเยี่ยม – กุหลาบสีดำ
- พ.ศ. 2548 Star Entertainment Awards - ผู้กำกับยอดเยี่ยม – กุหลาบสีดำ
- พ.ศ. 2548 คมชัดลึกอวอร์ด – ผู้กำกับยอดเยี่ยม, ละครยอดเยี่ยม กุหลาบสีดำ
- พ.ศ. 2548 รางวัลโทรทัศน์ทองคำ – ผู้กำกับยอดเยี่ยม, ละครยอดเยี่ยม – กุหลาบสีดำ
- พ.ศ. 2550 คมชัดลึกอวอร์ด – ผู้กำกับยอดเยี่ยม, ละครยอดเยี่ยม – เมื่อดอกรักบาน
- พ.ศ. 2551 เฉลิมไทยอวอร์ด – ผู้กำกับภาพยนตร์แห่งปี (สำหรับภาพยนตร์ไทย) – แฮปปี้เบิร์ธเดย์
- พ.ศ. 2551 Star Entertainment Awards – ผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม – แฮปปี้เบิร์ธเดย์
- พ.ศ. 2551 ท็อปอวอร์ด 2008 – ผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม – แฮปปี้เบิร์ธเดย์
- พ.ศ. 2552 ท็อปอวอร์ด 2009 – นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม – พระจันทร์สีรุ้ง
- พ.ศ. 2552 คมชัดลึกอวอร์ด – ผู้กำกับละครยอดเยี่ยม – ดงผู้ดี
- พ.ศ. 2552 คมชัดลึกอวอร์ด – นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม – พระจันทร์สีรุ้ง
- พ.ศ. 2552 รางวัลโทรทัศน์ทองคำ – ดาราสนับสนุนชายดีเด่น – พระจันทร์สีรุ้ง
- พ.ศ. 2552 รางวัลไนน์เอ็นเตอร์เทน อวอร์ดส์ ครั้งที่ 3 – นักแสดงชายแห่งปี, ละครโทรทัศน์แห่งปี – พระจันทร์สีรุ้ง
- พ.ศ. 2552 แฮมเบอร์เกอร์อวอร์ดส ครั้งที่ 7 – นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม -- พระจันทร์สีรุ้ง
- พ.ศ. 2552 สตาร์เอนเตอร์เทนเมนต์อวอร์ดส 2009 ครั้งที่ 8 – ผู้แสดงสมทบชายยอดเยี่ยม – พระจันทร์สีรุ้ง
- พ.ศ. 2552 รางวัลนาฏราช – นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม – พระจันทร์สีรุ้ง
- พ.ศ. 2554 รางวัลเมขลา ครั้งที่ 24 – รางวัลผู้กำกับเมขลามหานิยมแห่งปี – รอยไหม
- พ.ศ. 2554 รางวัลนาฏราช – ผู้กำกับละครยอดเยี่ยม – รอยไหม
- พ.ศ. 2556 คมชัดลึกอวอร์ด – ผู้กำกับยอดเยี่ยม, ละครยอดเยี่ยม – ทองเนื้อเก้า
- พ.ศ. 2556 รางวัลนาฏราช ครั้งที่ 5 – ผู้กำกับยอดเยี่ยม, ละครยอดเยี่ยม – ทองเนื้อเก้า
- พ.ศ. 2558 รางวัลโทรทัศน์ทองคำ – ผู้กำกับยอดเยี่ยม – เลือดมังกร
- พ.ศ. 2559 Fever Awards 2016 – ผู้กำกับฟีเวอร์ – นาคี
- พ.ศ. 2559 รางวัลฮาวอวอร์ด สาขาผู้ผลิตละครและเฟ้นหานักแสดงคุณภาพสู่วงการบันเทิง
- พ.ศ. 2559 รางวัลไนน์เอ็นเตอร์เทน อวอร์ดส์ ครั้งที่ 10 – บุคคลเบื้องหลังแห่งปี – นาคี
- พ.ศ. 2559 คมชัดลึก อวอร์ด ครั้งที่ 14 – ผู้กำกับละครยอดเยี่ยม – นาคี
- พ.ศ. 2559 รางวัลนาฏราช ครั้งที่ 8 – ผู้กำกับยอดเยี่ยม – นาคี
- พ.ศ. 2559 รางวัลนาฏราช ครั้งที่ 8 – กำกับภาพยอดเยี่ยม – นาคี
- พ.ศ. 2559 รางวัลพิฆเนศวร – ผู้กำกับละครดีเด่น – นาคี
- พ.ศ. 2560 รางวัลโทรทัศน์ทองคำ ครั้งที่ 32 – ผู้กำกับดีเด่น – รากนครา
สุขภาพ
[แก้]ด้วยความที่มีภาระหน้าที่หลายด้าน ทั้งเป็นผู้จัด กำกับละคร กำกับภาพยนตร์ แสดงคอนเสิรต์ และออกกำลังกายค่อนข้างหนัก เป็นผลทำให้ป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมองตีบเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2561 กลางกองถ่ายละครเรื่องกรงกรรม จนต้องถูกหามส่งโรงพยาบาลเป็นการเร่งด่วน[9] ปัจจุบันมีอาการดีขึ้นตามลำดับ [10] และยังแบ่งปันประสบการณ์ การดูแลตัวเองเมื่ออยู่ในภาวะโรคหลอดเลือดสมองบ่อย ๆ [11]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ นิตยสารแฮมเบอร์เกอร์ ฉบับที่ 122 เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2551 หน้า 112-117
- ↑ "พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-14. สืบค้นเมื่อ 2007-09-08.
- ↑ หน้า 0164-0165, พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง. นิตยสาร LIPS 1516: ปักหลัง กุมภาพันธ์ 2557
- ↑ ดาราหลั่งน้ำตาในงานนาฏราช น้อมเกล้าฯเทิดทูน 'ในหลวง'
- ↑ ""อ๊อฟ พงษ์พัฒน์" ลั่นกลางเวทีนาฏราช พร้อมพลีชีพเพื่อพ่อ ใครไม่รัก "ในหลวง" ออกไป!". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-17. สืบค้นเมื่อ 2010-05-17.
- ↑ กระหึ่มเน็ต"อ๊อฟ พงษ์พัฒน์"ถวายหัวป้องสถาบัน
- ↑ 'อ๊อฟ พงษ์พัฒน์'ชูสามนิ้วกลางงานนาฏราช เว็บไซต์หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
- ↑ "พงษ์พัฒน์"ขึ้นเวทีนาฏราช ชู 3 นิ้ว I Love You บอกขอให้ประเทศไทยมีความสุขตลอดไป โพสต์ทูเดย์
- ↑ "อัพเดตด่วน! พงษ์พัฒน์ เส้นเลือดในสมองตีบ | แพทย์เฝ้าดูอาการใกล้ชิด 48 ชม".
- ↑ "อ๊อฟ พงษ์พัฒน์ เผยสุขภาพแข็งแรงขึ้นเยอะ | หลังป่วยสโตรกนาน 5 ปี".
- ↑ "แชร์ประสบการณ์ การดูแลตัวเองเมื่ออยู่ในภาวะโรคหลอดเลือดสมอง | จากคุณพงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง และภรรยา".
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2504
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- นักแสดงชายชาวไทย
- นักแสดงจากจังหวัดกำแพงเพชร
- ผู้กำกับละครโทรทัศน์ชาวไทย
- ผู้กำกับภาพยนตร์ชาวไทย
- นักร้องชายชาวไทย
- นักร้องจากจังหวัดกำแพงเพชร
- ศิลปินสังกัดคีตา
- นักเคลื่อนไหวชาวไทย
- การเมืองภาคประชาชน
- บุคคลที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ
- พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
- บุคคลจากโรงเรียนกำแพงเพชรพิทยาคม
- บุคคลจากโรงเรียนวัดสุทธิวราราม
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ
- บุคคลจากคณะพลศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
- ผู้ได้รับรางวัลโทรทัศน์ทองคำ สาขานักแสดงนำชายดีเด่น
- ผู้ชนะรางวัลนักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยมสุพรรณหงส์
- ผู้ได้รับรางวัลนาฏราช สาขานักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม
- ผู้ได้รับรางวัลโทรทัศน์ทองคำ สาขานักแสดงสมทบชายดีเด่น