รสนา โตสิตระกูล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รสนา โตสิตระกูล

รสนา โตสิตระกูลใน พ.ศ. 2553
เกิด27 กรกฎาคม พ.ศ. 2496 (70 ปี)
จังหวัดพระนคร ประเทศไทย
การศึกษาคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
อาชีพ
  • องค์การนอกภาครัฐ
  • นักการเมือง
ปีปฏิบัติงานพ.ศ. 2549–ปัจจุบัน
คู่สมรสสันติสุข โสภณสิริ (ไม่จดทะเบียน)

นางสาวรสนา โตสิตระกูล (27 กันยายน พ.ศ. 2496[1] - ) เป็นนักการเมืองและนักรณรงค์ด้านสุขภาพและสิทธิผู้บริโภค มีบทบาทสำคัญในการเปิดโปงขบวนการทุจริต กรณีการจัดซื้อยาและเวชภัณฑ์ในกระทรวงสาธารณสุข เมื่อ พ.ศ. 2541 ยับยั้งการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เมื่อ พ.ศ. 2548

ใน พ.ศ. 2549 น.ส.รสนา ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา กรุงเทพมหานคร โดยได้รับคะแนนเป็นอันดับ 4 (แต่ไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่ เพราะเกิดรัฐประหาร 19 กันยา เสียก่อน) จากนั้นใน พ.ศ. 2551 เธอได้ลงรับสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา กรุงเทพมหานคร หมายเลข 5 โดยได้รับคะแนนเป็นอันดับที่ 1 ซึ่งมีคะแนนนำอันดับที่ 2 นายนิติพงษ์ ห่อนาค นักแต่งเพลงชื่อดังอย่างขาดลอย (น.ส.รสนา โตสิตระกูล ได้คะแนนทั้งหมด 743,397 คะแนน ส่วนนายนิติพงษ์ ห่อนาค ได้คะแนนประมาณ 200,000 คะแนน) ได้รับรองจาก กกต. แล้ว

ในปี พ.ศ. 2565 น.ส.รสนา ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ในนามผู้สมัครอิสระ แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง

การศึกษา[แก้]

น.ส.รสนาจบชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนสตรีมหาพฤฒาราม และจบปริญญาตรีจากคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อ พ.ศ. 2517 เธอได้สมรสและมีบุตรแล้วกับนายสันติสุข โสภณสิริ แต่มิได้จดทะเบียนสมรสจึงยังใช้คำนำหน้านามว่า "นางสาว" อยู่

การทำงาน[แก้]

บทบาทการทำงานที่ผ่านมา ส่วนใหญ่จะเกี่ยวกับเรื่องสิทธิผู้โภคและการมีส่วนร่วมของผู้บริโภค หรือเป็นกรรมการในฐานะตัวแทนผู้บริโภค

ผลงานที่เป็นข่าว[แก้]

  • เข้าร่วมโครงการพัฒนาชนบทเมื่อเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ที่ธรรมศาสตร์ ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นแห่งปณิธานในการอุทิศตนเพื่อชาติ[ต้องการอ้างอิง]
  • ตรวจสอบทุจริตยา หนึ่งในแกนนำในการเคลื่อนไหวล่ารายชื่อ 50,000 รายชื่อ เพื่อยื่นตรวจสอบการทุจริตยาของกระทรวงสาธารณสุข จนเป็นเหตุให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขในขณะนั้น นายรักเกียรติ สุขธนะ ถูกศาลตัดสินจำคุกเป็นเวลา 15 ปี และถูกยึดทรัพย์เป็นจำนวน 233.8 ล้านบาท[3] (รวมเวลาการเคลื่อนไหวทั้งสิ้นกว่า 6 ปี)
  • ยับยั้งการแปรรูปการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ยื่นเรื่องต่อศาลปกครองในการยับยั้งการแปรรูปของ กฟผ. อันนำมาสู่คำสั่งเพิกถอนพระราชกฤษฎีกาแปรรูป กฟผ. ทั้ง 2 ฉบับ[ต้องการอ้างอิง]
  • เป็นหนึ่งในแกนนำฟ้องร้องคดีของบริษัทปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย หรือ ปตท. จนส่งผลให้ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้รับความเสียหายเป็นมูลค่าหลายพันล้านบาท[ต้องการอ้างอิง]
  • จากเหตุการณ์ที่พันธมิตรเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) ได้ดำเนินการการเรียกร้องต่อรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร ให้ลาออกตั้งแต่ปี 2548 รสนาได้ให้การสนับสนุนกลุ่มดังกล่าว ตั้งแต่ปี 2548 ในปี 2551 ได้อยู่ระหว่างการดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภา จึงได้มีวิธีการเรียกร้องสิทธิให้กับประชาชนในนาม กลุ่ม 40 สว.

ผลงานทางการเมืองและสังคม[แก้]

  • พ.ศ. 2547 จับนักการเมืองติดคุก - ยึดทรัพย์ ในคดีทุจริต เป็นคดีแรกของประวัติศาสตร์
  • พ.ศ. 2549 ชนะคดี แปรรูป กฟผ.หยุดยั้งค่าไฟแพงเพื่อตลาดหุ้น
  • พ.ศ. 2550 ฟ้องคดีจนศาลสั่ง ปตท. คืนท่อก๊าซสกัดการผูกขาดก๊าซธรรมชาติ
  • พ.ศ. 2551 ได้รับเลือกตั้งเป็น สว.กทม. ด้วยคะแนนสูงที่สุดในประเทศไทย ด้วยคะแนน 743,397 คะแนน
  • พ.ศ. 2551 ผลักดันการตั้งกรรมาธิการสามัญตรวจสอบทุจริตของ สว. สำเร็จ เป็นครั้งแรก
  • พ.ศ. 2552 - ปัจจุบัน เป็นผู้นำการขับเคลื่อนเพื่อความเป็นธรรมด้าน “พลังงาน ”
  • พ.ศ. 2558 ร่วมคว่ำมติสภาปฏิรูปแห่งชาติด้านการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมที่ไม่โปร่งใส
  • พ.ศ. 2562 จัดตั้งและระดมทุน “กองทุนแสงอาทิตย์” เพื่อติดตั้งโซลาร์เซลล์ (Solar PV rooftop) ให้โรงพยาบาลทุกจังหวัด ทั่วไทย
  • พ.ศ. 2562 ร่วมต่อสู้จน “ ยกเลิกสิทธิบัตรกัญชาต่างชาติ” สำเร็จ

ผลงานเขียนและแปล[แก้]

มุมมองศาสนา[แก้]

รสนากล่าวว่าเธอไม่มีความเอนเอียงทางการเมือง แต่เธอสนับสนุนสิ่งที่เรียกว่า การสนับสนุนคตินิยมสิทธิสตรีของชาวพุทธ[6][7]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "ประวัติ กรรมการอิสระ บมจ.อสมท". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-03-06. สืบค้นเมื่อ 2008-02-26.
  2. แจ้งกรรมการลาออก
  3. สถาบันนโยบายศึกษา กันยายน 2546 : ห้าม “รักเกียรติ” เล่นการเมือง 5 ปีพร้อมยึดทรัพย์
  4. "ปฏิวัติยุคสมัยด้วยฟางเส้นเดียว". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-03-13. สืบค้นเมื่อ 2006-03-27.
  5. "ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการจัดการความรู้". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-03-12. สืบค้นเมื่อ 2006-03-27.
  6. Kate Hodal (February 9, 2014). "Rosana Tositrakul: 'There's cronyism among women in Thai politics'". The Guardian. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 12, 2014. สืบค้นเมื่อ November 20, 2014.
  7. Sukrung, Karnjariya (June 28, 2008). "Walking the Path". Bangkok Post. The Buddhist Channel. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 8, 2008. สืบค้นเมื่อ February 12, 2010.
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๗ เก็บถาวร 2015-07-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๑ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๗, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๗
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2012-11-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๓๐, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๕๘ เก็บถาวร 2015-12-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๓๒ ข หน้า ๒๗, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๘

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]