เลือดมังกร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เลือดมังกร เป็นละครโทรทัศน์ของทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 (ออริจินัล) และทีวีดิจิตอล ช่อง 3 เอชดี ช่อง 33 โดยดัดแปลงมาจากนวนิยายชื่อเดียวกัน มาเฟียเลือดมังกร มีทั้งหมด 5 เรื่อง ได้แก่ เสือ สิงห์ กระทิง แรด หงส์ เป็นบทประพันธ์โดย รพัด, ลิซ, ผักบุ้ง, ลิลลี่สีขาว, shanya (เรนนี่)

กล่าวถึงตัวละครหลักทั้ง 5 คนที่เป็นหัวหน้าแก๊งมาเฟียคุมอำนาจอยู่ในเยาวราช โดยเล่าเรื่องถึงตัวละครหลักทั้ง 5 ที่ต้องฝ่าฝันอุปสรรคในการเป็นหัวหน้าแก๊งมาเฟีย และอุปสรรคของความรัก

นวนิยายดังกล่าวได้รับดัดแปลงเป็นละครโทรทัศน์ ควบคุมการผลิตโดย บริษัท แอคอาร์ต เจเนเรชั่น จำกัด ของ พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง, ธัญญา วชิรบรรจง กำกับการแสดงโดย พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง และ บัณฑิต ทองดี เริ่มออกอากาศวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2558[1]

เสือ[แก้]

เลือดมังกร
ประเภทละครโทรทัศน์
สร้างโดยแอคอาร์ต เจเนเรชั่น
เขียนโดยบทประพันธ์ : รพัด
บทโทรทัศน์ : ยิ่งยศ ปัญญา
กำกับโดยพงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง
แสดงนำอนันดา เอเวอร์ริ่งแฮม
คิมเบอร์ลี แอน เทียมศิริ
จำนวนตอน9
การผลิต
ผู้อำนวยการสร้างพงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง
ธัญญา วชิรบรรจง
ความยาวตอน150 นาที
ออกอากาศ
ออกอากาศ10 มีนาคม 2558[2] –
7 เมษายน 2558

เรื่องย่อ[แก้]

เรื่องราวความรักของ ภรพ หรือ เสือ และ วันวิสา ท่ามกลางความขัดแย้งและการหักหลังในวงการค้ารังนก ระหว่าง 4 ผู้ยิ่งใหญ่อันได้แก่ ไพศาล หรือ เถ้าแก่เซี้ยะ พ่อของภรพ เถ้าแก่บันลือ พ่อของวันวิสา เสี่ยเล้ง และ เถ้าแก่เฮ้ง

นักแสดงนำ[แก้]

ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2558
ตัวละคร นักแสดงนำโดย
นักแสดงหลัก
ภรพ รุ่งเรืองไพศาลศิริ (เสือ) อนันดา เอเวอร์ริ่งแฮม
วันวิสา จิตรวรบรรจง (วัน) / เจ๊จิ๋ม คิมเบอร์ลี แอน เทียมศิริ
ทรงกลด ยนต์วานิช (ที) เจษฎาภรณ์ ผลดี
ธาม ธราธร (เฮียกระทิง) ธีรเดช วงศ์พัวพันธ์
คณิน ลีลาวิโรจน์วงศ์ (คิ้ม) แอนดริว เกร้กสัน
ลลิต กฤษฎาพานิชกุล (หงส์) เจนี่ เทียนโพธิ์สุวรรณ์
นักแสดงสมทบ
ซินแสง้วง พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง
ลิขิต รัตนปัญญากุล (เสี่ยเล้ง) ชาตโยดม หิรัณยัษฐิติ
หยกมณี (เจ๊หยก) รฐา โพธิ์งาม
ไพศาล รุ่งเรืองไพศาลศิริ (เถ้าแก่เซี้ยะ) ธีรพงศ์ เหลียวรักวงศ์
สุพรรษา รุ่งเรืองไพศาลศิริ วิยะดา โกมารกุล ณ นคร
เถ้าแก่บันลือ จิตรวรบรรจง อนุวัฒน์ นิวาตวงศ์
มาลี จิตรวรบรรจง รัชนี ศิระเลิศ
เสี่ยประกิต ศุกล ศศิจุลกะ
ภรีม รุ่งเรืองไพศาลศิริ นวินดา เบอร์ต๊อดตี้
พราวตา รุ่งเรืองไพศาลศิริ แองจี้ เฮสติ้งส์
วาริน (วาว) เธียยะเกศ ไอยสุรางฆ์
โชคทวี กำปั้น บาซู
ประยูร แอนดี้ เขมพิมุก
มงคล ชาคริฐ จตุพรวัฒนพนธ์
บดิน จิตรวรบรรจง ทวีศักดิ์ ธนานันท์
อาเจิ้ง ต๋อง ชวนชื่น
เถ้าแก่เฮ้ง สหภูมิ โตตรึงทรัพย์
ภาษิต วริศ กฤตรัชตนันต์
จู๋ ด.ช.ณนทภัทร บุญสอาด
นักแสดงรับเชิญ
สุธี กฤษฎาพานิชกุล (เถ้าแก่สุง) นพพล โกมารชุน
อึ้งตงกัว (เจ้าสัวตง) ทนงศักดิ์ ศุภการ
เฮียไช้ สุเทพ ประยูรพิทักษ์
เฮียเต็ก ญาณี ตราโมท
วันชัย กฤษณ เศรษฐธำรงค์

เพลงประกอบละคร[แก้]

  1. เพลง หัวใจลิขิต - ขับร้องโดย อัสนี โชติกุล (เพลงเปิดเรื่อง)

สิงห์[แก้]

เลือดมังกร
ประเภทละครโทรทัศน์
สร้างโดยแอคอาร์ต เจเนเรชั่น
เขียนโดยบทประพันธ์ : ลิซ
บทโทรทัศน์ : พิมพ์ธนา
กำกับโดยบัณฑิต ทองดี
แสดงนำเจษฎาภรณ์ ผลดี
นิษฐา จิรยั่งยืน
จำนวนตอน10
การผลิต
ผู้อำนวยการสร้างพงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง
ธัญญา วชิรบรรจง

เรื่องย่อ[แก้]

ทรงกลด ลูกชายคนเดียวของเจ้าสัวตง มหาเศรษฐีเจ้าของเซียงกงย่านเยาวราช ผู้มีพร้อมทุกสิ่งทุกอย่าง แต่สิ่งที่ขาดไปคือความรักและความอบอุ่นทางใจ ตงไล่เขากับวรดีผู้เป็นแม่ไปจากชีวิต ทรงกลดจึงไม่ลงรอยกับพ่อเท่าไรนัก เจ้าสัวตงแต่งงานอีกครั้งกับ เหมยลี่ หญิงสาวคราวลูกยิ่งทำให้เขากลายเป็นส่วนเกินของครอบครัวแต่แล้วหัวใจที่หยาบกระด้างของเขาก็กลับอ่อนละมุนลงเมื่อได้พบกับอาจู สาวน้อยที่ก้าวเข้ามาสมัครงานในตำแหน่งเลขานุการส่วนตัวที่ช่วยเติมเต็มสิ่งที่เขาขาดหายมาทั้งชีวิต

นักแสดงนำ[แก้]

ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2558
ตัวละคร นักแสดงนำโดย
นักแสดงหลัก
ทรงกลด ยนต์วานิช (ที) เจษฎาภรณ์ ผลดี
จิรัสยา (อาจู) นิษฐา จิรยั่งยืน
ภรพ รุ่งเรืองไพศาลศิริ (เสือ) อนันดา เอเวอร์ริ่งแฮม
ธาม ธราธร (เฮียกระทิง) ธีรเดช วงศ์พัวพันธ์
คณิน ลีลาวิโรจน์วงศ์ (คิ้ม) แอนดริว เกร้กสัน
ลลิต กฤษฎาพานิชกุล (หงส์) เจนี่ เทียนโพธิ์สุวรรณ์
นักแสดงสมทบ
ซินแสง้วง พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง
ลิขิต รัตนปัญญากุล (เสี่ยเล้ง) ชาตโยดม หิรัณยัษฐิติ
หยกมณี (เจ๊หยก) รฐา โพธิ์งาม
อรรณพ (อาอัน) ธนากร โปษยานนท์
อึ้งตงกัว (เจ้าสัวตง) ทนงศักดิ์ ศุภการ
อาม่าซิ่วเอ็ง ทัศน์วรรณ เสนีย์วงศ์
อิก อนุชิต สพันธุ์พงษ์
หมง พศิน เรืองวุฒิ
เหมยลี่ พิมพ์พรรณ ชลายนคุปต์
เสี่ยเคี้ยง ศานติ สันติเวชกุล
อาเง็ก ปวีณา ชารีฟสกุล
เว่ย ยงศิลป์ วงศ์พนิตนนท์
อาปอ วิสรรค์ ฉัตรรังสิกุล
อาเหลียง สุเมธ องอาจ
อาม่ามุ่ย พิมพ์พรรณ บูรณพิมพ์
ร้อยตำรวจเอก ชานนท์ ชยพล กีรสว่างพร
ทรงกลด ยนต์วานิช (ที) (วัยหนุ่ม) คณาวุฒิ ไตรพิพัฒนพงษ์
อรรณพ (อาอัน) (วัยหนุ่ม) นินจา ศิริสุนทรินท์
อึ้ง ตง กัว (วัยหนุ่ม) ชยพล ปัญหกาญจน์
กริช ชนาธิป โพธิ์ทองคำ
นักแสดงรับเชิญ
สุธี กฤษฎาพานิชกุล (เถ้าแก่สุง) นพพล โกมารชุน
ไพศาล รุ่งเรืองไพศาลศิริ (เถ้าแก่เซี้ยะ) ธีรพงศ์ เหลียวรักวงศ์
ธิติ ลีลาวิโรจน์วงศ์ (เสี่ยเส็ง) มนตรี เจนอักษร
ตั้งเช็งเอี๊ยง ทรงสิทธิ์ รุ่งนพคุณศรี
เฮียเต็ก ญาณี ตราโมท
เฮียไช้ สุเทพ ประยูรพิทักษ์
เสี่ยเกา ดิลก ทองวัฒนา
เถ้าแก่บันลือ จิตรวรบรรจง อนุวัฒน์ นิวาตวงศ์
วรดี ยนต์วานิช รสวรรณ สุกิจจวนิช
เจ๊สุ่ย พรนภา เทพทินกร
เสี่ยประกิต ศุกล ศศิจุลกะ
เหวินเต๋อ คมกฤช ยุตติยงค์
เกี้ยง ศุทธสิทธิ์ พจน์ฐศักดิ์
ซ้ง ภคชนก์ โวอ่อนศรี
เถ้าแก่เฮ้ง สหภูมิ โตตรึงทรัพย์

เพลงประกอบละคร[แก้]

  1. เพลง หัวใจลิขิต - ขับร้องโดย ฮิวโก้ จุลจักร จักรพงษ์ (เพลงเปิดเรื่อง)
  2. เพลง ใจสั่งให้รัก - ขับร้องโดย บี พีระพัฒน์ เถรว่อง
  3. เพลง เลือดมังกร - ขับร้องโดย กิต กิตตินันท์ (The Voice Thailand)

กระทิง[แก้]

เลือดมังกร
ประเภทละครโทรทัศน์
สร้างโดยแอคอาร์ต เจเนเรชั่น
เขียนโดยบทประพันธ์ : ผักบุ้ง
บทโทรทัศน์ : ปารดา กันตพัฒนกุล
กำกับโดยพงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง
แสดงนำธีรเดช วงศ์พัวพันธ์
เข็มอัปสร สิริสุขะ
จำนวนตอน10 ตอน
การผลิต
ผู้อำนวยการสร้างพงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง
ธัญญา วชิรบรรจง
ออกอากาศ
เครือข่ายสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3

เรื่องย่อ[แก้]

“ธาม ธราธร” ลูกชายบุญธรรมของเฉินอี่เสียง เดินทางกลับมาเมืองไทยเพื่อรับตำแหน่งหัวหน้าแก๊งกระทิง และเพื่อมาดูแลธุรกิจของ “ตั้งเช็งเอี๊ยง” และ “หลิวเจียหลิน” พ่อแม่ผู้ให้กำเนิด รวมทั้ง น้องชายฝาแฝด “ชลธี” ซึ่งทั้งหมดถูกยิงและเผาให้ตายทั้งเป็นเมื่อ 7 ปีที่แล้ว เขาจึงไม่ได้กลับมาเพื่อสานต่อธุรกิจครอบครัวอย่างเดียว แต่เพื่อจุดประสงค์หลักคือลากตัวคนผิด ซึ่งก็คือเสี่ยเล้ง มาขอขมาและสารภาพบาปต่อหน้าสุสานของครอบครัวตระกูลเช็ง

นักแสดงนำ[แก้]

ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2558
ตัวละคร นักแสดงนำโดย
นักแสดงหลัก
ธาม ธราธร (เฮียกระทิง) / ชลธี ตั้งชีวัน ธีรเดช วงศ์พัวพันธ์
เพ็ญนภา จันทร (ย่าหยา) / จันทรชมพู เข็มอัปสร สิริสุขะ
ภรพ รุ่งเรืองไพศาลศิริ (เสือ) อนันดา เอเวอร์ริ่งแฮม
ทรงกลด ยนต์วานิช (ที) เจษฎาภรณ์ ผลดี
คณิน ลีลาวิโรจน์วงศ์ (คิ้ม) แอนดริว เกร้กสัน
ลลิต กฤษฎาพานิชกุล (หงส์) เจนี่ เทียนโพธิ์สุวรรณ์
อาหลง ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์
นักแสดงสมทบ
ซินแสง้วง พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง
ลิขิต รัตนปัญญากุล (เสี่ยเล้ง) ชาตโยดม หิรัณยัษฐิติ
หยกมณี (เจ๊หยก) รฐา โพธิ์งาม
เหอฟู่ เฉียง (เฉียง) สุริยนต์ อรุณวัฒนกูล
โบตั๋น มนัสนันท์ พันเลิศวงศ์สกุล
เจ๊สุ่ย พรนภา เทพทินกร
อากงพ้ง สุเชาว์ พงษ์วิไล
จิว กรณ์พงษ์ ชูลาภ
เกี้ยง ศุทธสิทธิ์ พจน์ฐศักดิ์
ซ้ง ภคชนก์ โวอ่อนศรี
ฮั้ว อธิวัฒน์ ธีรนิธิศนันท์
ฮก นที งามแนวพรม
เล้ง (วัยหนุ่ม) ขุนณรงค์ ประเทศรัตน์
หลินเจียหลิง (วัยสาว) ลลิตา ไพศาล
ร้อยตำรวจเอก ชานนท์ ชยพล กีรสว่างพร
กริช ชนาธิป โพธิ์ทองคำ
เซี้ยะ (วัยหนุ่ม) คณิน สแตนลีย์
อึ้ง ตง กัว (วัยหนุ่ม) ชยพล ปัญหกาญจน์
ตั้ง เช็ง เอี๊ยง (วัยหนุ่ม) ณัฐวิญญ์ วัฒนกิติพัฒน์
หลี เส็ง (วัยหนุ่ม) ศาโรจน์ ศักดิ์อุดมขจร
โจว แก สุง (วัยหนุ่ม) มาสุ จรรยางค์ดีกุล
ภรพ (วัยเด็ก) ด.ช.แทนตะวัน ทัดเดโอ
ทรงกลด (วัยเด็ก) ด.ช.ภูวินทร์ ตั้งศักดิ์ยืน
ชลธี (วัยเด็ก) ด.ช.วสุธร พันธุ์พาณิชย์
คณิน (วัยเด็ก) ด.ช.เจษฎา พลสุจริต
หงส์ (วัยเด็ก) ด.ญ.ชนิกานต์ ตังกบดี
อาฉาง (วัยเด็ก) ด.ช.ธนัท รัตนสิริพันธ์
ผิงผิง ด.ญ.วิชญพร คุณาอนุวิทย์
นักแสดงรับเชิญ
สุธี กฤษฎาพานิชกุล (เถ้าแก่สุง) นพพล โกมารชุน
อึ้งตงกัว (เจ้าสัวตง) ทนงศักดิ์ ศุภการ
เฮียไช้ สุเทพ ประยูรพิทักษ์
เฮียเต็ก ญาณี ตราโมท
ไพศาล รุ่งเรืองไพศาลศิริ (เถ้าแก่เซี้ยะ) ธีรพงศ์ เหลียวรักวงศ์
สุพรรษา รุ่งเรืองไพศาลศิริ วิยะดา โกมารกุล ณ นคร
พราวตา รุ่งเรืองไพศาลศิริ แองจี้ เฮสติ้งส์
ภรีม รุ่งเรืองไพศาลศิริ นวินดา เบอร์ต๊อดตี้
เฉินอี๋เสียง ไพบูลย์เกียรติ เขียวแก้ว
เฮียฟง ทศพล ศิริวิวัฒน์
หลินเจียหลิง สรวงสุดา ลาวัณย์ประเสริฐ
ตั้งเช็งเอี๊ยง ทรงสิทธิ์ รุ่งนพคุณศรี
อิก อนุชิต สพันธุ์พงษ์
ท่านเมฆินทร์ ชลิต เฟื่องอารมย์
สมชาย จันทร พลรัตน์ รอดรักษา
เหวินเต๋อ คมกฤช ยุติยงค์

เพลงประกอบละคร[แก้]

  1. เพลง หัวใจลิขิต - ขับร้องโดย Ebola (เพลงเปิดเรื่อง)
  2. เพลง เกลียดแผลที่อยู่ในใจ - ขับร้องโดย อำพล ลำพูน
  3. เพลง เลือดมังกร - ขับร้องโดย กิต กิตตินันท์ (The Voice Thailand)

แรด[แก้]

เลือดมังกร
ประเภทละครโทรทัศน์
สร้างโดยแอคอาร์ต เจเนเรชั่น
เขียนโดยบทประพันธ์ : ลิลลี่สีขาว
บทโทรทัศน์ : กาญจนา โตะยู
กำกับโดยพงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง
แสดงนำแอนดริว เกร้กสัน
ณฐพร เตมีรักษ์
จำนวนตอน10
การผลิต
ผู้อำนวยการสร้างพงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง
ธัญญา วชิรบรรจง
ออกอากาศ
เครือข่ายสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3
ออกอากาศ22 มิถุนายน –
21 กรกฎาคม 2558

เรื่องย่อ[แก้]

คณินไม่ต้องการเป็นมาเฟียเหมือนบิดา จึงปฏิเสธตำแหน่งหัวหน้าแก๊งเหยี่ยวแดงที่มีอำนาจเหนือทุกแก๊งในปากน้ำโพ ทว่า หลังจากที่เขาได้รับบาดเจ็บปางตายในเหตุการณ์ถล่มงานสารทจีนจากฝีมือของคนในคณะเชิดสิงโต ที่หวังแย่งชิงตำแหน่ง ทำให้เขาต้องลุกขึ้นมาปกป้องตัวเองและครอบครัวให้อยู่รอดปลอดภัยให้ได้ คณินกลับมาทวงตำแหน่งหัวหน้าแก๊งคืนจากเสี่ยบุ๊งตัวร้าย และตั้งใจจะกอบกู้กิจการโรงสีให้กลับมาเฟื่องฟูอีกครั้ง แม้ต้องเริ่มต้นจากศูนย์ก็ตาม

นักแสดงนำ[แก้]

ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2558
ตัวละคร นักแสดงนำโดย
นักแสดงหลัก
คณิน ลีลาวิโรจน์วงศ์ (คิ้ม) แอนดริว เกร้กสัน
แพนธีรา (แพน) ณฐพร เตมีรักษ์
ภรพ รุ่งเรืองไพศาลศิริ (เสือ) อนันดา เอเวอร์ริ่งแฮม
ทรงกลด ยนต์วานิช (ที) เจษฎาภรณ์ ผลดี
ธาม ธราธร (เฮียกระทิง) ธีรเดช วงศ์พัวพันธ์
ลลิต กฤษฎาพานิชกุล (หงส์) เจนี่ เทียนโพธิ์สุวรรณ์
นักแสดงสมทบ
ซินแสง้วง พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง
ลิขิต รัตนปัญญากุล (เสี่ยเล้ง) ชาตโยดม หิรัณยัษฐิติ
หยกมณี (เจ๊หยก) รฐา โพธิ์งาม
ธิติ ลีลาวิโรจน์วงศ์ (เสี่ยเส็ง) มนตรี เจนอักษร
เสี่ยเป้ง กษมา นิสสัยพันธ์
เสี่ยบุ๊ง เป็ด เชิญยิ้ม
ซกเค็ง ลีลาวิโรจน์วงศ์ เพ็ญพักตร์ ศิริกุล
หลิน ชนานา นุตาคม
กริช ชนาธิป โพธิ์ทองคำ
วิภาดา ลีลาวิโรจน์วงศ์ (วิ) ณัฏฐณิชา ดังวัธนาวณิชย์
มนชิต (ชิต) วิวิศน์ บวรกีรติขจร
กิตติ กวินรัฏฐ์ ยศอมรสุนทร
มนสิชา (สิ) สิรินรัตน์ วิทยพูม
โอชิน สุภชา อัครทองสกุล
ไท พงศพัศ ทินราช
หลี เส็ง (วัยหนุ่ม) ศาโรจน์ ศักดิ์อุดมขจร
เล้ง (วัยหนุ่ม) ขุนณรงค์ ประเทศรัตน์
โจว แก สุง (วัยหนุ่ม) มาสุ จรรยางค์ดีกุล
ตั้ง เช็ง เอี้ยง (วัยหนุ่ม) ณัฐวิญญ์ วัฒนกิติพัฒน์
อึ้ง ตง กัว (วัยหนุ่ม) ชยพล ปัญหกาญจน์
เซี้ยะ (วัยหนุ่ม) คณิน สแตนลีย์
เฉิน อี๋ เสียง (วัยหนุ่ม) จิตรภาณุ กลมแก้ว
คณิน / คิ้ม (วัยเด็ก) ด.ช.เจษฎา พลสุจริต
นักแสดงรับเชิญ
สุธี กฤษฎาพานิชกุล (เถ้าแก่สุง) นพพล โกมารชุน
อึ้งตงกัว (เจ้าสัวตง) ทนงศักดิ์ ศุภการ
เฮียเต็ก ญาณี ตราโมท
เฮียไช้ สุเทพ ประยูรพิทักษ์
ไพศาล รุ่งเรืองไพศาลศิริ (เถ้าแก่เซี้ยะ) ธีรพงศ์ เหลียวรักวงศ์

เพลงประกอบละคร[แก้]

  1. เพลง หัวใจลิขิต - ขับร้องโดย พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง (เพลงเปิดเรื่อง)
  2. เพลง ลมใต้ปีก - ขับร้องโดย หยง กมลลักษณ์ (The Winner is) (เพลงปิดเรื่องตอนที่ 1,2,4,6,8)
  3. เพลง เป็นของเธอคนเดียว - ขับร้องโดย สบชัย ไกรยูรเสน (เพลงปิดเรื่องตอนที่ 3,5,7,9)
  4. เพลง ชีวิตฉันขาดเธอไม่ได้ - ขับร้องโดย รฐา โพธิ์งาม
  5. เพลง เลือดมังกร - ขับร้องโดย กิตตินันท์ ชินสำราญ

หงส์[แก้]

เลือดมังกร
ประเภทละครโทรทัศน์
สร้างโดยแอคอาร์ต เจเนเรชั่น
เขียนโดยบทประพันธ์ : Shayna
บทโทรทัศน์ : สรรัตน์ จิรบวรวิสุทธิ์
กำกับโดยพงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง
แสดงนำเจนี่ เทียนโพธิ์สุวรรณ์
ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์
จำนวนตอน10 ตอน
การผลิต
ผู้อำนวยการสร้างพงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง
ธัญญา วชิรบรรจง
ออกอากาศ
ออกอากาศ27 กรกฎาคม –
25 สิงหาคม 2558

เรื่องย่อ[แก้]

หงส์ ลูกสาวคนเล็กของเถ้าแก่สุง หัวหน้าแก๊งหงส์ดำ และเจ้าของคณะงิ้วเฟิ่งหวง คณะงิ้วเก่าแก่ของเยาวราช ซึ่งเป็นที่นับหน้าถือตาของชาวจีนในแถบเยาวราชเนื่องจากเป็นคนใจคอกว้างขวาง จนได้รับตำแหน่งนายกสมคมเลือดมังกร เถ้าแก่สุงมีพี่น้องร่วมสาบานเฮียไช้ และเฮียเต็ก ทั้งสามร่วมดื่มน้ำสาบานว่าเป็นพี่น้องกันในนามของแก๊งสามวิหค คอยช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ซินแสง้วงทำนายดวงชะตาบอกว่าเป็นนัยว่าดวงชะตาหงส์เป็นต้นเหตุทำให้คน3คนพบกับจุดจบแต่ก็จะเป็นใหญ่ประดุจหงส์ที่อยู่เหนือพญามังกร เถ้าแก่สุงตีความว่าหงส์เป็นตัวซวยเพราะเกิดมาก็เป็นสาเหตุทำให้ดวงตาภรรยาร่วมทุกข์ร่วมสุขของเขาต้องตาย

นักแสดงนำ[แก้]

ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2558
ตัวละคร นักแสดงนำโดย
นักแสดงหลัก
ลลิต กฤษฎาพานิชกุล (หงส์) เจนี่ เทียนโพธิ์สุวรรณ์
อาหลง ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์
ภรพ รุ่งเรืองไพศาลศิริ (เสือ) อนันดา เอเวอร์ริ่งแฮม
ทรงกลด ยนต์วานิช (ที) เจษฎาภรณ์ ผลดี
ธาม ธราธร (เฮียกระทิง) ธีรเดช วงศ์พัวพันธ์
คณิน ลีลาวิโรจน์วงศ์ (คิ้ม) แอนดริว เกร้กสัน
นักแสดงสมทบ
ซินแสง้วง พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง
ลิขิต รัตนปัญญากุล (เสี่ยเล้ง) ชาตโยดม หิรัณยัษฐิติ
หยกมณี (เจ๊หยก) รฐา โพธิ์งาม
สุธี กฤษฎาพานิชกุล (เถ้าแก่สุง) นพพล โกมารชุน
เสี่ยเกา ดิลก ทองวัฒนา
ท่านเมฆินทร์ ชลิต เฟื่องอารมย์
เฮียเต็ก ญาณี ตราโมท
เฮียไช้ สุเทพ ประยูรพิทักษ์
อาหลิว ไปรมา รัชตะ
อากุ่ย โทนี่ รากแก่น
อาหมวย พิมดาว พานิชสมัย
ตี๋เล็ก ภรัณยู โรจนวุฒิธรรม
เสี่ยนหนี โชติรส ชโยวรรณ
แปะจาง อาเม้ง ป.ปลา
ร้อยตำรวจเอก ชานนท์ ชยพล กีรสว่างพร
อาหวัง พีรวัส วิศิษฎ์วโรดม
อาซา รัตนพัฒน์ ปิยวัชวรณัน
ฮก นที งามแนวพรม
ซ้ง ภคชนก์ โวอ่อนศรี
เกี้ยง ศุทธสิทธิ์ พจน์ฐศักดิ์
อาจือ กิตติชัย จันต๊ะวงศ์
อาเจ็ง กิตติพงศ์ ตันติชินานนท์
อาซัน สุรัส จีรังกุลฤทธิ์
ไช้ (วัยหนุ่ม) ปิยะ ชนะสัตรู
เต็ก (วัยหนุ่ม) อิสรยศ เลิศชัยประเสริฐ
เกา (วัยหนุ่ม) ศุภเสฎฐ์ แผ่บุญประเสริฐ
โจว แก สุง (วัยหนุ่ม) มาสุ จรรยางค์ดีกุล
เล้ง (วัยหนุ่ม) ขุนณรงค์ ประเทศรัตน์
เฉิน อี๋ เสียง (วัยหนุ่ม) จิตรภาณุ กลมแก้ว
เซี้ยะ (วัยหนุ่ม) คณิน สแตนลีย์
อึ้ง ตง กัว (วัยหนุ่ม) ชยพล ปัญหกาญจน์
หลี เส็ง (วัยหนุ่ม) ศาโรจน์ ศักดิ์อุดมขจร
ตั้ง เช็ง เอี๊ยง (วัยหนุ่ม) ณัฐวิญญ์ วัฒนกิติพัฒน์
กิมลั้ง ณภัทร บรรจงจิตไพศาล
อาเหมย การัญชิดา คุ้มสุวรรณ
ภรพ (วัยเด็ก) ด.ช.แทนตะวัน ทัดเดโอ
ทรงกลด (วัยเด็ก) ด.ช.ภูวินทร์ ตั้งศักดิ์ยืน
ชลธี (วัยเด็ก) ด.ช.วสุธร พันธุ์พาณิชย์
คณิน (วัยเด็ก) ด.ช.เจษฎา พลสุจริต
หงส์ (วัยเด็ก) ด.ญ.ชนิกานต์ ตังกบดี
อาฉาง (วัยเด็ก) ด.ช.ธนัท รัตนสิริพันธ์
นักแสดงรับเชิญ
อาฉาง เจสัน ยัง
ตี๋เพ้ง วิศรุต หิรัญบุศย์
อึ้งตงกัว (เจ้าสัวตง) ทนงศักดิ์ ศุภการ
ไพศาล รุ่งเรืองไพศาลศิริ (เถ้าแก่เซี้ยะ) ธีรพงศ์ เหลียวรักวงศ์

เพลงประกอบละคร[แก้]

  1. เพลง หัวใจลิขิต - ขับร้องโดย อัญชลี จงคดีกิจ (เพลงเปิดเรื่อง)
  2. เพลง เพลงใบไม้ - ขับร้องโดย สมศักดิ์ รินนายรักษ์ (เพลงปิดเรื่องตอนที่ 1,3,4,5,6,7,8,9)
  3. เพลง เพลงใบไม้ (Acoustic Version) - ขับร้องโดย ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ (เพลงปิดเรื่องเฉพาะตอนที่ 2)
  4. เพลง เก็บด้วยน้ำตา - ขับร้องโดย รฐา โพธิ์งาม

รางวัลและการเข้าชิง[แก้]

รางวัล สาขารางวัล ผู้ได้รับการเสนอชื่อ ผลการตัดสิน
รางวัลโทรทัศน์ทองคำ [3]
ผู้กำกับดีเด่น พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง ชนะ
รางวัล MThai Top Talk-about 2016 [4]
นักแสดงชายที่ถูกกล่าวขวัญถึงมากที่สุด อนันดา เอเวอร์ริ่งแฮม ชนะ
แอนดริว เกร้กสัน ชนะ
รางวัลนาฏราช ครั้งที่ 7 [5]
กำกับศิลป์ยอดเยี่ยม ประมาณ อิ่มรัตนะ, ถิรนันท์ จันทคัต และ ณรงค์ บุญบำรุง ชนะ
เครื่องแต่งกายยอดเยี่ยม ภูริวัตร กิตติศรีไสว และ ภีมพล ศิวะศิลป์ชัย เสนอชื่อเข้าชิง
นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม ธีรเดช วงศ์พัวพันธ์ เสนอชื่อเข้าชิง

อ้างอิง[แก้]

  1. ""ช่อง 3" จัดใหญ่ เปิดตัวซีรีส์ฟอร์มยักษ์ "เลือดมังกร" : จากเว็บไซต์ Manager Online". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-09-07. สืบค้นเมื่อ 2015-02-13.
  2. พงษ์พัฒน์ได้ฤกษ์ ปิดกล้อง ซีรีส์เลือดมังกร เรื่องเสือ : จากเว็บไซต์ NEWSPLUS ONLINE
  3. ประกาศผลรางวัลโทรทัศน์ทองคำ ครั้งที่ 30
  4. ประกาศผลรางวัล MThai Top Talk-About 2016[ลิงก์เสีย]
  5. ผลรางวัลนาฏราช ครั้งที่ 7 ประจำปี 2558