อำพล ลำพูน
บทความนี้อาจต้องการตรวจสอบต้นฉบับ ในด้านไวยากรณ์ รูปแบบการเขียน การเรียบเรียง คุณภาพ หรือการสะกด คุณสามารถช่วยพัฒนาบทความได้ |
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
อำพล ลำพูน | |
---|---|
อำพล ลำพูน ในปี 2550 | |
เกิด | อำพล ลำพูน 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2506 อำเภอแกลง จังหวัดระยอง ราชอาณาจักรไทย |
ศิษย์เก่า | โรงเรียนอาชีวศิลปศึกษา |
อาชีพ | นักร้อง, นักแสดง |
ปีปฏิบัติงาน | พ.ศ. 2527–ปัจจุบัน |
คู่สมรส | มาช่า วัฒนพานิช (พ.ศ. 2531–2540) |
บุตร | ชัยธรรศ วัฒนพานิช |
รางวัล | เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเอเชีย-แปซิฟิค 2527 นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม จากเรื่องน้ำพุ รางวัลสุพรรณหงส์ 2543 นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม จากเรื่องอั้งยี่ ลูกผู้ชายพันธุ์มังกร |
อาชีพแสดง | |
ชื่ออื่น | หนุ่ย (ชื่อเล่น) |
ผลงานเด่น | น้ำพุ / ดีแตก / พันธุ์หมาบ้า / ต้องปล้น / เสือ โจรพันธุ์เสือ |
อาชีพทางดนตรี | |
แนวเพลง | ร็อก |
อาชีพ | นักร้อง, นักดนตรี |
เครื่องดนตรี | กีต้าร์, กลอง |
ช่วงปี | พ.ศ. 2527 – ปัจจุบัน |
ค่ายเพลง | จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ |
เว็บไซต์ | www.microrockclub.com |
อำพล ลำพูน ชื่อเล่น หนุ่ย หรือ "ร็อคเกอร์มือขวา" เป็นนักร้องนำวง ไมโคร และนักแสดงชาวไทย มีผลงานสร้างชื่อมากมาย เช่น วัยระเริง น้ำพุ และยังมีวงดนตรีที่ได้รับความประสบความสำเร็จด้วยในนามไมโคร แต่อัลบั้มที่ดีที่สุดของอำพลนั้น คือชุดที่แตกออกมาจากไมโครและตั้งวงใหม่ นั่นคือชุดวัตถุไวไฟ จากการได้สุดยอดมือกีตาร์สุดเทพอันดับ 7 ประเทศไทยอย่าง ศิริพงษ์ หรเวชกุล (แย้ เดอะ คิดส์) มาร่วมงาน พร้อมสุดยอดมือกลองอย่าง หรั่ง เดอะ คิดส์
ประวัติ
[แก้]อำพล ลำพูน ชื่อเล่น หนุ่ย เป็นคนตำบลพังราด อำเภอแกลง จังหวัดระยอง เกิดเมื่อวันเสาร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2506 ปีเถาะ กรุ๊ปเลือดบี เป็นบุตรชายคนเล็ก มีพี่สาวสองคน ด้านชีวิตครอบครัว สมรสกับมาช่า วัฒนพานิช และต่อมาหย่ากันเมื่อปลายปี พ.ศ. 2540 มีบุตรชาย 1 คน ชื่อ กาย ชัยธรรศ วัฒนพานิช
การศึกษา
[แก้]- อนุบาล โรงเรียนรุ่งนภาพิทยา จ.ระยอง
- ประถมศึกษา โรงเรียนวัดสารนารถธรรมาราม จ.ระยอง
- มัธยมศึกษา โรงเรียนแกลง "วิทยสถาวร" จ.ระยอง
- ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) โรงเรียนอาชีวศิลปศึกษา เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร สาขาวิชาศิลปะ
อำพลมีความสนใจด้านดนตรีตั้งแต่เด็ก เคยตั้งวงดนตรีโฟล์กซองกับเพื่อน ชื่อวงเดอะแครปส์ (ที่แปลว่าปู) ตั้งแต่เรียนอยู่ชั้นปวช.ปีที่ 1 หลังจากเรียนจบที่โรงเรียนอาชีวศิลปศึกษา เขาและเพื่อนจึงร่วมกันตั้งวงดนตรีชื่อ “วงไมโคร”
เข้าสู่วงการบันเทิง
[แก้]อำพล ลำพูนเข้าวงการโดยเป็นนักแสดงในสังกัดของ ไฟว์สตาร์ โปรดักชั่น โดยการชักชวนของผู้กำกับชื่อดัง เปี๊ยก โปสเตอร์ ภาพยนตร์เรื่อง วัยระเริง เมื่อปี พ.ศ. 2527 คู่กับวรรษมน วัฒโรดม ต่อมาในปีเดียวกันอำพล ลำพูน ก็ได้รับบทน้ำพุ ในภาพยนตร์เรื่อง น้ำพุ คู่กับนางเอกคนเดิม และได้แสดงร่วมกับเรวัต พุทธินันทน์และภัทราวดี มีชูธน กำกับโดย ยุทธนา มุกดาสนิทและภาพยนตร์เรื่องนี้อำพลได้รางวัลตุ๊กตาทอง สาขาดารานำชายยอดเยี่ยม และรางวัลสุพรรณหงส์จากการประกวดภาพยนตร์เอเชีย-แปซิฟิคจาก ภาพยนตร์เรื่องน้ำพุ ในปี 2527
ภาพยนตร์เรื่องที่สาม ข้างหลังภาพ จากบทประพันธ์ของศรีบูรพา กำกับโดยเปี๊ยก โปสเตอร์ นางเอกคือ นาถยา แดงบุหงานอกจากนี้อำพล ลำพูนยังแสดงภาพยนตร์เรื่อง ต้องปล้น , พันธุ์หมาบ้า , ยังไม่สิ้นกลิ่นน้ำนม , คู่วุ่นวัยหวาน , สองพี่น้อง , หัวใจเดียวกัน , แรงเงา , ไฟเสน่หา , ดีแตก , รู้แล้วหน่าว่ารัก ฯลฯ โดยส่วนใหญ่จะเล่นคู่กับพระเอกรุ่นเดียวกัน คือ พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง นอกจากนี้ยังเล่นกับจินตหรา สุขพัฒน์หลายเรื่องด้วย
ผลงานการแสดง
[แก้]ผลงานภาพยนตร์
[แก้]- วัยระเริง (2527) รับบท เอ
- น้ำพุ (2527) รับบท น้ำพุ
- ข้างหลังภาพ (2528) รับบท นพพร
- สองพี่น้อง (2528) รับบท อั้น
- เพียงบอกว่ารักฉันสักนิด (2528)
- หัวใจเดียวกัน (2529) รับบท ตะวัน
- รู้แล้วน่าว่ารัก (2529) รับบท ธรรม์
- คู่วุ่นวัยหวาน (2529) รับบท มีน
- แรงหึง(แรงเงา) (2529) รับบท วีกิจ
- ไฟเสน่หา (2530) รับบท บุญพเรศ
- เฮงได้ เฮงดี รักนี้ (2530) รับบท ตุ้ม
- ดีแตก (2530) รับบท วิทย์
- ปัญญาชนก้นครัว (2530) รับบท ภูวเรศ
- ปุลากง (2532) รับบท เข้ม
- พันธุ์หมาบ้า (2533) รับบท ทัย
- สองอันตราย (2533) รับบท แมน
- ต้องปล้น (2533) รับบท ก้อง
- เพชรพระอุมา (2533) รับบท รพินทร์ ไพรวัลย์
- ยังไม่สิ้นกลิ่นน้ำนม (2534) รับบท ฝุ่น
- รัก ณ สุดขอบฟ้า (2535)
- เสือ โจรพันธุ์เสือ (2541) รับบท เสือใบ / เรวัติ วิชชุประภา
- โคลนนิ่ง คนก๊อปปี้คน (2542) รับบท นิวัฒน์ / B-7
- อั้งยี่ ลูกผู้ชายพันธุ์มังกร (2543) รับบท เล้ง
- สุริโยไท (2544) รับบท ขุนอินทรเทพ
- The Legend of Suriyothai (2546) รับบท ขุนอินทรเทพ
- 102 ปิดกรุงเทพปล้น (2547) รับบท นาวิน
ละครโทรทัศน์
[แก้]ปี | ชื่อละคร | แสดงเป็น | คู่กับ | ออกอากาศ |
---|---|---|---|---|
พ.ศ. 2541 | หัวใจและไกปืน | ราเชนทร์ ไกทอง | ณัฐริกา ธรรมปรีดานันท์ | ช่อง 7 |
พ.ศ. 2542 | มือปืน | จ่าสมหมาย | ช่อง 3 | |
ใต้แสงตะวัน ตะลุมพุก | ช่อง 7 | |||
คู่อันตรายดับเครื่องชน | ร.ต.ท.เอกองค์ พงษ์สกุล | เกวลิน คอตแลนด์ | ช่อง 7 | |
พ.ศ. 2544 | เทวดาเดินดิน | แทน | เมทินี กิ่งโพยม | ช่อง 3 |
ทองพูน โคกโพ ราษฎรเต็มขั้น | ทองพูน โคกโพ | ศิรประภา สุขดำรงค์ | ||
พ.ศ. 2545 | มนต์รักแม่น้ำมูล | ครูพิณ | คทรีน่า กลอส | ช่อง 5 |
พ.ศ. 2546 | ปมรักนวลฉวี | หมออุทิศ ราชเดช | ใหม่ เจริญปุระ | สถานีโทรทัศน์ไอทีวี |
สิบตำรวจโทบุญถึง | ส.ต.ท.บุญถึง กำบัง | พิมพรรณ จันทะ | ช่อง 7 |
ซิตคอม
[แก้]- ตะกายดาว ตอน ดาวช่างร้ายเหลือ (2532)
- ตะกายดาว ตอน ลาดาว (2533)
ผลงานเพลง
[แก้]ออกอัลบั้มแรกชื่อชุด “ ร็อก เล็ก เล็ก” ออกมาในปี 2529 ซึ่งทำให้วงการเพลงไทยตื่นตัวกับดนตรี แนวร็อกมากขึ้น และสร้างชื่อเสียงให้ วงไมโครอย่างมาก มี เพลงฮิตจากงานชุดนี้ หลายเพลง เช่น รักปอนปอน , อยากจะ บอกใครสักคน และเพลง สมน้ำหน้า....ซ่านัก
และออกมาอีกหลายอัลบั้ม ดังนี้[1]
ร็อก เล็ก เล็ก (พ.ศ. 2529)
[แก้]อำพล ลำพูน ร้องเอาไว้ 7 เพลง จากจำนวนทั้งสิ้น 10 เพลง
- อย่าดีกว่า
- อู๊ดกับแอ๊ด
- อยากจะบอกใครสักคน
- สมน้ำหน้า...ซ่าส์นัก
- ฝันที่อยู่ไกล
- อยากได้ดี
- จำฝังใจ
หมื่นฟาเรนไฮต์ (พ.ศ. 2531)
[แก้]อำพล ลำพูน ร้องเอาไว้ 9 เพลง จากจำนวนทั้งสิ้น 10 เพลง
- เอาไปเลย
- จริงใจซะอย่าง (ร้องคู่กับกบ ไมโคร)
- หมื่นฟาเรนไฮต์
- พายุ
- ใจโทรมๆ
- บอกมาคำเดียว
- ลองบ้างไหม
- คิดไปเองว่าดี
- โชคดีนะเพื่อน
เต็มถัง (พ.ศ. 2532)
[แก้]อำพล ลำพูนร้องเอาไว้ทั้งอัลบั้ม จำนวนทั้งสิ้น 10 เพลง
- ส้มหล่น
- เรามันก็คน
- คนไม่มีสิทธิ์
- ดับเครื่องชน
- รู้ไปทำไม
- มันก็ยังงงงง
- เติมน้ำมัน
- รุนแรงเหลือเกิน
- ถึงเพื่อนเรา
- เปิดฟ้า
หลังจากนั้นอำพล ลำพูนออกแยกตัวจากวงไมโคร ในปี 2534 หนุ่ยมีอัลบั้มเดี่ยวและตั้งวงใหม่ของเขาและเพื่อนใหม่ คือ วงอำพล ออกมาในชื่อ “วัตถุไวไฟ” แต่วงไมโครยังออกอัลบั้มต่อ ส่วนอำพล ลำพูนได้ทำอัลบั้มเดี่ยวหรือตั้งวงใหม่กับสังกัดเดิม ต่อมาในปี 2546 วงไมโครซึ่งมีอำพล ลำพูนเป็นนักร้องนำ และสมาชิกเดิมครบ ได้กลับมาแสดงคอนเสิร์ตร่วมกัน ใช้ชื่อคอนเสิร์ตว่า "Put the right hand in the right concert" คอนเสิร์ตมีทั้งหมด 3 รอบ ระหว่างวันที่ 12-14 ธันวาคม 2546 ณ อิมแพค อารีน่า เมืองทองธานี บัตรคอนเสิร์ตทั้ง 3 รอบนี้ จำหน่ายหมดก่อนกำหนด 4 เดือน มีผู้เข้าชมสามหมื่นกว่าคน
อัลบั้มเดี่ยวหรือวงอำพล
[แก้]สมาชิก
[แก้]รุ่นที่1
- อำพล ลำพูน
- วีระ โชติวิเชียร
- เพชร มาร์
- นพพร อิ่มทรัพย์
- ศิริพงษ์ หรเวชกุล
- กฤษณ์ โชคทิพย์พัฒนา
- สมชัย ขำเลิศกุล
- อนุช เตมีย์
- พิศาล พานิชย์ผล
รุ่นที่2
- อำพล ลำพูน
- ไกรภพ จันทร์ดี
- เพชร มาร์
- มานะ ประเสิรฐวง
- สันธาน เลาหวัฒนาวิทย์
- วีระ โชติวิเชียร
- อภิชัย เย็นพูนสุข
- ลัดสปัญ สมสุวรรณ
- พงศ์ศักดิ์ ภูววีรานนท์
- กฤษณ์ โชคทิพย์วัฒนา
รุ่นที่3
- อำพล ลำพูน
- ไกรภพ จันทร์ดี
- พิเชษฐ์ เครือวัลย์
- โอม
- พี่เหม
- ปุ้ม
- ปอนด์
- รุ่งโรจน์ ผลหว้า
วัตถุไวไฟ (29 มกราคม พ.ศ. 2535)
[แก้]Producer : กฤษณ์ โชคทิพย์พัฒนา , Executive Producer : เรวัต พุทธินันทน์ , Producer Co-Ordinator : นิติพงษ์ ห่อนาค บันทึกเสียง : CenterstageStudio / ButterflyStudio ผสมเสียง : โยธิน ชีรานนท์ / ButterflyStudio นักดนตรี : วีระ โชติวิเชียร , เพชร มาร์ , นพพร อิ่มทรัพย์ , ศิริพงษ์ หรเวชกุล (แย้ เดอะ คิดส์) , กฤษณ์ โชคทิพย์พัฒนา , สมชัย ขำเลิศกุล ร้องสนับสนุน : ศิริพงษ์ หรเวชกุล (แย้ เดอะ คิดส์) , อนุช เตมีย์ (บอมบ์ เดอะ ร็อคฟาเธอร์) , พิศาล พานิชผล อำนวยการผลิต : ประชา พงศ์สุพัฒน์
- วัตถุไวไฟ
- เสียมั้ย
- ลางร้าย
- นึกหรือว่าไม่รู้
- อย่าทำอย่างนั้น
- หยุดมันเอาไว้
- บ่อนทำลาย
- เข็ด
- แผลในใจ
- ยังไงก็โดน
- คือฝน (เพลงที่สั้นที่สุดของอำพล)
ม้าเหล็ก (23 ธันวาคม พ.ศ. 2536)
[แก้]Producer : กฤษณ์ โชคทิพย์พัฒนา , Executive Producer : เรวัต พุทธินันทน์ , Production Co-Ordinator : นิติพงษ์ ห่อนาค Co-Producer : ประชา พงษ์สุพัฒน์ , บันทึกเสียง : ButterflyStudio ก.ย. - พ.ย. 2536 ควบคุมเสียง : พงษ์ศักดิ์ เกาหอม / วราวุธ เปี่ยมมงคล ผสมเสียง : โยธิน ชิรานนท์ / ต่อพงษ์ สายศิลป์ นักดนตรีและนักร้องรับเชิญ : กบ (ไมโคร) / เพชร มาร์ / อ้วน (ไมโคร) / บอย (ไมโคร) / วีระ โชติวิเชียร อภิไชย เย็นพูนสุข / ลัดสปัญ สมสุวรรณ / พงษ์ศักดิ์ ภูววีรานนท์ / กฤษณ์ โชคทิพย์พัฒนา
- ม้าเหล็ก
- เอากะเขาหน่อย
- ลองเชิงลองใจ
- ไม่อยากทำใคร
- จะไปเหลืออะไรล่ะ
- ขอเวลาหายใจ
- รู้ได้ยังไง
- ไว้ใจ
- ไม่ต้องเกรงใจกันบ้าง
- เครื่องจักรน้อยๆ
อำพลเมืองดี (3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2538)
[แก้]Producer : ชาตรี คงสุวรรณ Executive Producer : เรวัต พุทธินันทน์ Production Co-Ordinator : นิติพงษ์ ห่อนาค Co-Producer : สมควร มีศิลปสุข , บันทึกเสียง : ห้องอัดเสียงศรีสยาม นักดนตรี : Drums : ผู้ไม่ประสงค์จะออกนาม , Electric Guitar : ไกรภพ จันทร์ดี , พิเชษฐ์ เครือวัลย์ , โอม Electric Bass : กอล์ฟ Y-Not-7 , พี่เหม , Organ : โอม , ปุ้ม Chorus : ปอนด์ , ปุ้ม , โอม , กอล์ฟ ผสมเสียง : โสฬส พงษ์พรหม , ปณต สมานไพสิฐ
- ตอก
- ฝากรอยเท้า
- ไว้ชีวิต
- ในสายตาเธอ
- ไปสู่แสงไฟ
- ถอยกันเป็นแถบ
- ขอไปกับสายลม
- ยังไม่ตาย
- ไม่แรงพอ
- อยู่ๆ กันไป
เพลงพิเศษ
[แก้]- หมากเกมนี้ - อัลบั้ม งานซนคนดนตรี นานที 10 ปีหน (30 กันยายน พ.ศ. 2536) (ต้นฉบับ อินคา)
- เธอ...ผู้ไม่แพ้ - อัลบั้ม ROCK ZONE : ร็อค (โ) ซน (8 พฤษภาคม พ.ศ. 2538) (ต้นฉบับ เบิร์ด ธงไชย)
- ร่วมร้องเพลง ขวานไทยใจหนี่งเดียว (ธันวาคม พ.ศ. 2547) - จัดทำขึ้นเพื่อปลุกจิตสำนึกให้คนไทยมีความรักสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
- ชะตาชีวิต - อัลบั้ม H.M. Blues ร้อง บรรเลง เพลงของพ่อ (กรกฏาคม พ.ศ. 2549)
- ร่วมร้องเพลง เพื่อประเทศไทย (พ.ศ. 2552)
- ร่วมร้องเพลง คนไทยหัวใจเดียวกัน (ร่วมกับ ไมโคร , เสก โลโซ , บอดี้แสลม , บิ๊กแอส) - เพลงโฆษณาเครื่องดื่มช้าง (22 มิถุนายน พ.ศ. 2553) (ภายหลังบรรจุไว้ในอัลบั้ม PLUS ของ เสก โลโซ)
- เกลียดแผลที่อยู่ในใจ - เพลงประกอบละครซีรีส์เลือดมังกร ตอน กระทิง (พ.ศ. 2558)
- ไม่ยอมตัดใจ - อัลบั้ม 20 ปี โลโซ เราและนาย (27 ตุลาคม พ.ศ. 2559)
- รอสรุป (ร่วมกับ บิ๊กแอส) - อัลบั้ม My Hero (12 สิงหาคม พ.ศ. 2563)
ศิลปินรับเชิญ
[แก้]- เป็นนักร้องประสานเสียงในเพลง สุริยคราส, ช่วยร้องในเพลง ที่เขาเรียกว่าเพื่อน ในอัลบั้ม สุริยคราส ของ ไมโคร (พ.ศ. 2538)
- เป็นนักร้องรับเชิญในเพลง ความดัน(ทุรัง)สูง ในอัลบั้ม รสชาติความเป็นคน ของ มาช่า วัฒนพาณิช (พ.ศ. 2536)
รางวัลที่ได้รับ
[แก้]- รางวัลดารานำชายดีเด่น จากเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเอเชีย-แปซิฟิค
- รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี สาขาดารานำชายยอดเยี่ยม ปีพุทธศักราช 2527 จากภาพยนตร์ เรื่อง น้ำพุ
- รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี สาขาดารานำชายยอดเยี่ยม ปีพุทธศักราช 2541 จากภาพยนตร์ เรื่อง เสือ โจรพันธุ์เสือ
- รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี สาขาดารานำชายยอดเยี่ยม ปีพุทธศักราช 2542 จากภาพยนตร์ เรื่อง โคลนนิ่ง คนก๊อปปี้คน
- รางวัลพระสุพรรณหงส์ สาขาดารานำชายยอดเยี่ยม ปีพุทธศักราช 2542 จากภาพยนตร์ เรื่อง อั้งยี่ ลูกผู้ชายพันธุ์มังกร
- รางวัลโทรทัศน์ทองคำ สาขาดารานำชายดีเด่น ปีพุทธศักราช 2542 จากละคร เรื่อง มือปืน
- รางวัลเมขลา สาขาผู้แสดงนำชายดีเด่น ปีพุทธศักราช 2544 จากละคร เรื่อง ทองพูน โคกโพ ราษฎรเต็มขั้น