เอกชัย ศรีวิชัย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เอกชัย ศรีวิชัย
เกิด10 กันยายน พ.ศ. 2505 (61 ปี) อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช
บุญรอบ ศรีวิชัย
บิดาลั่น ศรีวิชัย
มารดาเรียง ศรีวิชัย
อาชีพนักร้อง นักแสดง ผู้กำกับหนัง นายหนังตะลุง มโนราห์ พิธีกร
สังกัดบ๊อกซิ่งซาวด์
M Star
พีจีเอ็ม.ท็อปไลน์มิวสิคบ้านเพลงเอก
ชมรมวิจารณ์บันเทิงนักแสดงนำชายยอดเยี่ยม
พ.ศ. 2559 - เทริด
ฐานข้อมูล
IMDb
ThaiFilmDb

เอกชัย ศรีวิชัย ชื่อเล่น เอก , รอบ , แคว็ด เป็นนักร้อง นักแสดง ผู้กำกับหนัง ชาวไทย เป็นชาวอำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นเจ้าของเพลง "หมากัด" และ ''พี่มีแต่ให้'' อันโด่งดัง นอกจากนี้เขายังมีผลงานแสดงภาพยนตร์อีกหลายเรื่อง รวมถึงเป็นผู้กำกับหนัง และเป็นผู้ก่อตั้งวงศรีวิชัยโชว์

ประวัติ[แก้]

เกิดเมื่อวันจันทร์ที่ 10 กันยายน 2505 เมื่อตอนที่แม่ตั้งท้องอยู่ นำโชคสู่ครอบครัว ถูกหวยบ่อย จึงมีชื่อว่า "บุญรอบ" ชีวิตในวัยเด็กมีความลำบาก รับจ้างกรีดยาง ถางหญ้า รับจ้างทำนา ปลูกพริก เก็บข้าว ไม่มีเงินซื้อแม้แต่ชุดลูกเสือ เลยไม่ได้ศึกษาต่อระดับมัธยม จึงเอาวัดเป็นที่พึ่งเลยไปอาศัยกับพระครูบรรจบ ขันฺติพโล ณ วัดกุฎิแคสูง ต.ท่าเรือ อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช และท่านพระได้เห็นว่าตัวของเอกชัยเด็กคนนี้ว่าชอบหนังตะลุงในคืนหนึ่งทางวัดจัดงานได้มีมหรสพมากมายและมีหนังตะลุงคณะ ครวญ แสงแก้ว มาแสดงในวัดจึงได้นำเอกชัยไปฝากตัวเป็นศิษย์กับหนังครวญแสงแก้วเมื่อได้ตามดูและเป็นทั้งลูกคู่ให้อาจารย์พอเริ่มคิดว่าแสดงได้เลยจึงขอลาอาจารย์ครวญมาตั้งคณะเป็นของตัวเองโดยใช้ชื่อ "หนังกวี ศิษย์ครวญแสงแก้ว" แต่แสดงได้ไม่นานนักต้องหยุดตัวลงเพราะยุคนั้นเศรษฐกิจย่ำแย่และหนังตะลุงเสื่อมสุดขีด และจึง

เข้ามาเป็นบ๋อยในตัวเมือง และสมัครเป็นภารโรง แล้วเรียนต่อจนจบ ม.ศ.5 จาก ร.ร.การศึกษาผู้ใหญ่เสมาเมืองนครศรีธรรมราชแต่ด้วยที่ความอยากเป็นนักร้อง จึงหัดร้องเพลงด้วยตัวเอง จากนั้นเข้ากรุงเทพฯ ทำงานเป็นบ๋อยและร้องเพลงเป็นอาชีพเสริมตามร้านอาหาร ส่งเสียตัวเองเข้าเรียนต่อมหาวิทยาลัยรามคำแหง จนจบปริญญาตรี รัฐศาสตรบัณฑิต

เอกชัยเริ่มอาชีพนักร้อง โดยการร้องเพลงที่ห้องอาหารปูเป้ แต่ประมาณปี 2527 ขณะที่เขาร้องเพลงที่ปาลาติโน่ ย่านถนนจรัญสนิทวงศ์ ครูชวนชัย ฉิมพะวงศ์ ครูเพลงชื่อดังได้เข้ามาทำธุระที่ร้านอาหาร เกิดติดใจน้ำเสียง เห็นว่าเขามีเสียงแปลก จึงได้เรียกทำความรู้จัก โดยต่อมาได้ร่วมทำงานกับครูชวนชัย ฉิมพะวงศ์ ทำมาสเตอร์เพลง แต่ไม่ค่อยได้รับความสนใจเท่าใด แต่เมื่อมีบริษัทหนึ่งสนใจ รับมาสเตอร์ไปแต่อีก 4-5 วันบริษัทก็ปิด มาสเตอร์จึงตกอยู่กับบริษัทดังกล่าว ทั้ง 2 คนจึงต้องมาทำมาสเตอร์ใหม่ โดยมีเพลง “พี่นี้มีแต่ให้” รวมอยู่ด้วย จนได้ห้างเมโทรของนายห้างวรชัย ธรรมสังคีติมารับมาสเตอร์ไป ออกผลงานชุด พี่นี้มีแต่ให้ ในชื่อตอนนั้นว่า "เอกชัย ฉิมพะวงศ์" ก็ประสบความสำเร็จดี หลังจากนั้นคุณพ่อได้มาเสียชีวิตลงอย่างกระทันหันและจึงกลับมาอยู่เป็นเพื่อนคุณแม่ที่ท่าศาลางานร้องเพลงเลยหยุดลง หลังจากนั้นกลับมาร้องเพลงจึงได้ออกผลงานอัลบั้มชุดที่ 2 ต่อมาเอกชัยแยกออกมาอยู่กับห้างสรรเสริญ รุ่งเสรีชัย และร่วมเดินสายทำวงไปกับอาภาพร นครสวรรค์ , จันทรา ธีรวรรณ , ยิ่งยง ยอดบัวงามและเด่นชัย สายสุพรรณ โดยเปลี่ยนชื่อมาเป็นเอกชัย ศรีวิชัย และผลิตผลงานออกมา

ปี พ.ศ. 2537 ถือเป็นช่วงชีวิตที่ตกต่ำของเอกชัย ต้องกลับไปร้องเพลงที่บ้าน เอกชัยได้แนวคิดนำตัวหนังตะลุงมาร้องเพลงจึงได้นำตัวตลก "ตาหนูนุ้ย" มาร้องผลงานเพลงชุดแรกที่ทำให้ประสบผลสำเร็จคือ ชุด ผัวน้องพร ใช้ชื่อหนูนุ้ย ศรีวิชัย และชุดที่สอง ชาลาล่าขวัดด้องเปลา ชุดที่สาม พกมีด ได้สวมวิญญาณตาหนูนุ้ยโดยเอกชัยศรีวิชัยและเกิดวงดนตรีใช้ชื่อว่าหนูนุ้ยศรีวิชัย หลังจากนั้นได้นำเพลงพื้นบ้านมาทำเป็นเพลง "หมากัด" ในผลงานชื่อชุดลายไทยขึ้นมา เป็นเพลงที่มาจากเพลงฉ่อย-เพลงอีแซว ทำให้เอกชัยโด่งดังมาจากเพลงนี้ ในช่วงปี 2538 จนถึงปี 2539 ขายได้ถึง 2 ล้านชุด จากนั้นได้เกิดวงศรีวิชัยโชว์ เป็นวงดนตรีแนวส่งเสริมศิลปะวัฒนธรรมภาคใต้ เอกชัย ศรีวิชัย ยังเป็นบุคคลที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของนักร้องลูกทุ่งดังจากภาคใต้หลายคน เช่น ดวงจันทร์ สุวรรณี หลวงไก่ และเจี๊ยบ เบญจพร[1]

ผลงานการแสดง[แก้]

ละครโทรทัศน์[แก้]

ปี พ.ศ. เรื่อง บทบาท ออกอากาศ
2532 โกมินทร์ ช่อง 7
2535 โม่งป่า
2537 มิติมหัศจรรย์ เจษฎา
2538 เกราะเพชรเจ็ดสี สุริยวงศ์เทวัญ (ง่อย)
มนต์รักลูกทุ่ง
2544 อะเมซิ่งโคกเจริญ ช่อง 3
2552 กำนันอี๊ด ช่อง 7
2553 มนต์รักลูกทุ่ง ช่อง 3
2557 ลิเก๊ ลิเก กำจาย ช่อง 5
หมัดเด็ดเสียงทอง ช่อง 9
2558 มือปราบกุ๊กกุ๊กกู๋ (รับเชิญ) ช่องวัน 31
2559 สาวน้อยร้อยล้าน (รับเชิญ) ช่อง 3
มนต์รักสองฝั่งคลอง เสี่ยสุชาติ พีพีทีวี
2560 ที่หนี้มีรัก คำ ช่อง 3
เงาอาถรรพ์ โพน / พระ ช่อง 8
2566 ไมโครโฟนม่วนป่วนรัก อดิศร วันละ (ศร) ช่องวัน 31

ภาพยนตร์[แก้]

  • แว่วเสียงแคน (2537)
  • อำแดงเหมือนกับนายริด (2537)
  • มนต์เพลงนักเลงบ้านนอก (2537)
  • เพลงรักเกมส์ชีวิต (2537)
  • เพลงรักพิณ แคน ซอ (2537)
  • เพลงรักบ้านนาสัญญารัก (2541)
  • อะเมซซิ่งโคกเจริญ (2544)
  • มนต์เพลงลูกทุ่ง เอฟ.เอ็ม. (2545)
  • ฟอร์มาลินแมน รักเธอเท่าฟ้า (2547)
  • หอแต๋วแตก (2550)
  • เหยิน เป๋ เหล่ เซมากูเตะ (2550)
  • หอแต๋วแตก แหกกระเจิง (2552)
  • หอแต๋วแตกแหวกชิมิ (2554)
  • หอแต๋วแตกแหกมว๊ากก (2555)
  • รวมพลคนลูกทุ่งเงินล้าน (2556)
  • สัญญาคิมหันต์ (2557)
  • หอแต๋วแตกแหกนะคะ (2558)
  • เทริด (2559)
  • นายไข่เจียวเสี่ยวตอร์ปิโด (2560)
  • ฮักแพง (2561) (รับเชิญ)
  • โนราห์ (2561)
  • หอแต๋วแตก แหกต่อไม่รอแล้วนะ (2561)
  • ขุนบันลือ (2561)
  • บอดี้การ์ดหน้าหัก (2562)
  • พจมาน สว่างคาตา (2563)
  • มนต์รักดอกผักบุ้ง เลิกคุยทั้งอำเภอ (2563)
  • สีดา ตำนานรักโลงคู่ (2564)
  • อีหล่าเอ๋ย
  • มนต์รักวัวชน
  • สะพานรักสารสิน (2565)
  • เหมรฺย(2567)

ผลงานกำกับการแสดง[แก้]

  • เทริด (2559)
  • โนราห์ (2561)
  • มนต์รักดอกผักบุ้ง เลิกคุยทั้งอำเภอ (2563)
  • สีดา ตำนานรักโลงคู่ (2564)
  • อีหล่าเอ๋ย (2564)
  • มนต์รักวัวชน (2565)
  • สะพานรักสารสิน (2565)
  • เหมรุย บน บาน สาป แช่ง (2567)

คอนเสิร์ต[แก้]

คอนเสิร์ตศรีวิชัยโชว์[แก้]

  • หนูนุ้ยศรีวิชัย 2539 (2539)
  • สาวผมแดง (2540)
  • ลูกทุ่งลายไทย (2541)
  • ศรีวิชัยโชว์ 2542 (2542)
  • จิตลีลา ลังกาสุกะ (2542)
  • จินตภาพ กำเนิดมโนราห์ (2542)
  • วัฒนธรรมไทย 4 ภาค (2543)
  • วัฒนธรรมไทย 4 ภาค ตอน 2 (2544)
  • สี่แผ่นดิน (2545)
  • เอกชัยล้อเลียนคนดัง (2545)
  • คนเชิดหนัง (2546)
  • เอกชัยไทยแลนด์ แดนวัฒนธรรม (2547)
  • รักคุณเท่าฟ้า (2548)
  • มนต์รักปักษ์ใต้ (2549)
  • พี่นักร้อง น้องโนราห์ (2549)
  • แผ่นดินแม่ ภาค1 (2550)
  • แผ่นดินแม่ ภาค2 (2550)
  • 7 อัศจรรย์โชว์ (2551)
  • อลังการล้าน 7 (2552)
  • พาพี่คนดีมาฝากแม่ (2552)
  • 7 ตำนานอลังการโชว์ (2553)
  • อลังการงานช้าง (2553)
  • เอกชัยท้ากัด หรอยจังอลังการงานช้าง (2553)
  • ล้านเจ็ด 11 แสน (2554)
  • โจ๊ะพรึมพรึม (2555)
  • สวรรค์ชั้น 7 (2556)
  • สวัสดีไทยแลนด์ (2557)
  • แผ่นดินพ่อ (2558)
  • เอกชัยยกทัพวัฒนธรรม (2559)
  • วันดวลฮา (2561)
  • 25ปีศรีวิชัยโชว์ (2562)
  • มนต์รักบ้านนา เฮฮาบ้านทุ่ง (2565)

อัลบั้ม[แก้]

  • พี่มีแต่ให้ (2527) สังกัด เมโทร
  • วันนี้พี่ขอ (2528) สังกัด เมโทร
  • คิดแล้วช้ำ (2530) สังกัด เมโทร
  • รักเก่าที่บ้านเกิด (2530) สังกัด โรต้า
  • สุดซิ้ง ชุดที่ 1 - 9 (2535-2540) สังกัด บ๊อกซิ่งซาวด์
  • สุดรัก ชุดที่ 1 - 2 สังกัด ท็อปไลน์มิวสิค
  • ท็อปฮิตอมตะเสียงสวรรค์ สังกัด ท็อปไลน์มิวสิค
  • จ.ม.รักจากบ้านนอก (2538) สังกัด พีจีเอ็ม
  • ผัวน้องพร (2539) สังกัด เซ้าท์โฟร์แทรค จำกัด
  • พกมีด (2540) สังกัด เซ้าท์โฟร์แทรค จำกัด
  • เอกชัยลายไทย (2540) สังกัด มีเดียมิวสิค กรุ๊ป/มีเดีย ออฟ มีเดีย
  • เอกชัยลายไทย 2 (2541) สังกัด มีเดียมิวสิค กรุ๊ป/มีเดีย ออฟ มีเดีย
  • ไม่อยากพกเมีย (2542) สังกัด มาสเตอร์เทป/จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่
  • อย่าตีหม้อ (2542) สังกัด เซ้าท์โฟร์แทรค จำกัด
  • น้องน้ำผึ้ง (2543) สังกัด บ้านเพลงเอก
  • เสียงจากพี่หลวง (2543) บ้านเพลงเอก
  • เอกชัยเต็มร้อย ชุด1 ชุด2 (2543) สังกัด เอ.ซี.เวิร์ล เอ็นเตอร์เทนเมนต์
  • แม่ของเรา (2543) สังกัด เอ.ซี.เวิร์ล เอ็นเตอร์เทนเมนต์
  • ตกใจตื่น (2543) สังกัด เอ.ซี.เวิร์ล เอ็นเตอร์เทนเมนต์
  • คู่รัก คู่หวาน (ร่วมกับ ดาว มยุรี) (2542) สังกัด อาร์เอส/อาร์สยาม
  • จุดเทียนรักษ์ไทย (2542) สังกัด สไมล์เอ็นเตอร์เทนเมนต์
  • อกหักจากปักษ์ใต้ (2543) สังกัด อาร์เอส/อาร์สยาม
  • มนต์ขลังลังกาวี (2544) สังกัด อาร์เอส/อาร์สยาม
  • ชวนน้องทำบุญ (2544) สังกัด อาร์เอส/อาร์สยาม
  • พันธุ์ไทยแท้ ๑ (2544) สังกัด โฟร์เอส ไทยแลนด์
  • จ้างก็ไม่ตาย (2545) สังกัด โฟร์เอส ไทยแลนด์
  • เสียความรู้สึก (2545) สังกัด โฟร์เอส ไทยแลนด์
  • แม่ดุเมียด่า (2545) สังกัด อาร์เอส/อาร์สยาม
  • ท็อปฮิตลูกทุ่งมาตรฐาน โครงการใหม่ ชุดที่ 1-4 (2545) สังกัด อาร์สยาม/อาร์เอส
  • แหล่แบบเอกชัย (2545) สังกัด โฟร์เอส ไทยแลนด์
  • สากลปนใต้ (2546) สังกัด โฟร์เอส ไทยแลนด์
  • สตริงสะตอ (2546) สังกัด อาร์สยาม/อาร์เอส
  • เอกชัยหลายรส (2546) สังกัด โฟร์เอส ไทยแลนด์
  • รักสาวนุ้ย (2546) สังกัด โฟร์เอส ไทยแลนด์
  • ฉันรักเธอ (2547) สังกัด อาร์สยาม/อาร์เอส
  • อย่าลืมค่าดอง (2547) สังกัด โฟร์เอส ไทยแลนด์
  • เสียงปี่เรียกนาง (2547) สังกัด ตลุงโปรโมชั่น
  • เอกชัยลาบวช (2548) สังกัด อาร์สยาม/อาร์เอส
  • เสือสะอื้น (2548) สังกัด เอสเอสเอส เอ็นเตอร์เทนเมนต์
  • สวยกว่า..เมียที่บ้าน (2548) สังกัด ตลุงโปรโมชั่น
  • เมียจับติด (2548) สังกัด ตลุงโปรโมชั่น
  • คานทองห้องเช่า (2548) สังกัด กรุงไทย ออดิโอ
  • ยอมให้เด็กหลอก (2549) สังกัด ท็อปไลน์มิวสิค
  • พี่นักร้อง น้องโนราห์ (2549) สังกัด ท็อปไลน์มิวสิค
  • เพลงฉ่อย อีแซว เพลงเรือ (ร่วมกับ เพ็ญนภา มุกดามาตร) (2549) สังกัด โฟร์เอส ไทยแลนด์
  • เอกชัยตามแฟน (2550) สังกัด ตะลุงโปรโมชั่น
  • 7 ดาวศรีวิชัย (2550) สังกัด ท็อปไลน์มิวสิค
  • อย่างนี้มันต้องโกน (2552) สังกัด ท็อปไลน์มิวสิค
  • สุดสวิงลิงโลด โคตรมันส์ (2553) สังกัด บ้านเพลงเอก
  • ยามชายแดน (ไม่ทราบปี) สังกัด บ้านเพลงเอก
  • หมอลำใต้ (2553) สังกัด บ้านเพลงเอก
  • หมอลำใต้ 2+1 (2555) สังกัด บ้านเพลงเอก

กรรมการ[แก้]

พิธีกร[แก้]

ชีวิตส่วนตัว[แก้]

เคยมีแฟนสาวนอกวงการ มีลูกสาวสองคน เกิดจากแฟนคนละคนกัน โดยไม่ได้จดทะเบียนกัน และในปัจจุบันเอกชัยมีบุตรบุญธรรมชื่อ ไพศาล ขุนหนู

อ้างอิง[แก้]

  1. "เอกชัย ศรีวิชัย จากบล็อก โอเคเนชั่น oknation.net". oknation.nationtv.tv. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-01-19. สืบค้นเมื่อ 2022-01-18.