อภิรดี ภวภูตานนท์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ดร.อภิรดี ภวภูตานนท์ ณ มหาสารคาม
เกิด23 กันยายน พ.ศ. 2508 (58 ปี)
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
คู่สมรสโอภาส ทศพร
(2530–2549; หย่า)
วินธัย สุวารี
(2556–ปัจจุบัน)
บุตร3 คน
อาชีพนักแสดง
ปีที่แสดงพ.ศ. 2526–ปัจจุบัน
ผลงานเด่นลำยองทองเนื้อเก้า (2530)
อีสาอีสา (2531)
คุณนายลั่นทมสุสานคนเป็น (2534)
เหมยหลิงลอดลายมังกร (2535)
รางวัล
พระสุรัสวดีผู้แสดงประกอบหญิงยอดเยี่ยม
พ.ศ. 2530 – ภุมรีสีทอง
ดาราร้ายหญิงยอดเยี่ยม
พ.ศ. 2531 – คนกลางเมือง
โทรทัศน์ทองคำดารานำหญิงดีเด่น
พ.ศ. 2530 – ทองเนื้อเก้า
พ.ศ. 2531 – อีสา
เมขลาผู้แสดงนำหญิงดีเด่น
พ.ศ. 2530 – ทองเนื้อเก้า
พ.ศ. 2535 – ลอดลายมังกร
ผู้แสดงประกอบหญิงดีเด่น
พ.ศ. 2541 – ดวงยิหวา

ดร.อภิรดี ภวภูตานนท์ ณ มหาสารคาม [1][2](เกิด 23 กันยายน พ.ศ. 2508) ชื่อเล่น แก้ว เป็นนักแสดงหญิงชาวไทย

ประวัติ[แก้]

อภิรดีมีชื่อเล่นว่า แก้ว เกิดเมื่อวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2508 ที่กรุงเทพมหานคร[3] เป็นบุตรของพันตำรวจเอก (พิเศษ) ทศพล และอำไพ ภวภูตานนท์ ณ มหาสารคาม เธอมีเชื้อสายมอญ[4]อภิรดีเข้ารับการศึกษาระดับปฐมวัยที่โรงเรียนอนุบาลละอออุทิศ, ระดับประถมศึกษาปีที่ 7 จากโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 จากโรงเรียนเขมะสิริอนุสรณ์, ต่อมาได้เข้าศึกษาระดับ ปวช.วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาวิทยาเขตจักรพงษภูวนารถ[3] และศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาจาก ปริญญาตรี มหาวิทยาลัยรามคำแหง[3] ปริญญาโท มหาวิทยาลัยเกริก และสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรีในปี พ.ศ. 2560[5][6] หลักสูตรการเสริมสร้างสังคมสันติสุข รุ่นที่ 9 สถาบันพระปกเกล้า

เธอเข้าสู่วงการบันเทิงครั้งแรกจากการเป็นพรีเซนเตอร์โฆษณา และต่อมาเธอก็ได้รับการสนับสนุนจากจีรวรรณ กัมปนาทแสนยากรให้เป็นนักแสดง[3] โดยภาพลักษณ์และบทบาทของอภิรดีถูกวางให้เป็นนางเอกบู๊ ก่อนที่จะหันมารับบทร้ายบทเซ็กซี่ในจอเงิน

ในปี พ.ศ. 2530 อภิรดีแสดงละครโทรทัศน์เรื่อง ทองเนื้อเก้า ทางช่อง 7 ซึ่งเป็นผลงานละครชิ้นแรกของเธอ ละครประสบความสำร็จอย่างสูง ทำให้ชื่อเสียงของอภิรดีขึ้นมานักแสดงชั้นแนวหน้าที่มากฝีมือการแสดง อีกทั้งบทลำยองจากเรื่องนี้ก็เป็นภาพจำติดตัวอภิรดีมาจนถึงทุกวันนี้

นอกจากทองเนื้อเก้า ละครที่โด่งดังสุดๆ ของอภิรดีอีกเรื่อง คือ สุสานคนเป็น ซึ่งประชันบทบาทกับชไมพร นางเอกและนักแสดงมากฝีมือ ละครเรื่องนี้ทำคนเกลียดชีพรสสุคนธ์ ขณะเดียวกันก็หวาดกลัวผีคุณนายลั่นทมกันทั้งประเทศ ละครโด่งดังมากจนทำให้ชีพ ซึ่งรับบทโดยภาณุเดช ที่ถือเป็นหน้าใหม่ในวงการขณะนั้น เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง

อภิรดีถือเป็นนักแสดงที่รับบทได้หลากหลาย ไม่ยึดติดกับภาพนางเอกเหมือนนางเอกร่วมรุ่นส่วนใหญ๋ เธอเป็นทั้งนางเอกนักบู๊ นางร้ายยั่วยวน นักแสดงบทชีวิตเข้มข้น หรือนางเอกกุ๊กกิ๊ก อย่างในละครเรื่อง แววมยุรา อภิรดีก็สามารถเล่นบทที่แตกต่างกันเหล่านี้ได้ทั้งหมด

แม้บทบาทในจอเงินของอภิรดีมักเป็นบทร้ายบทรอง กระทั่งตอนที่โด่งดังสุดขีดจากทองเนื้อเก้าแล้วก็ตาม แต่ในทางจอแก้ว อภิรดีนับเป็นนักแสดงจากสายภาพยนตร์ในยุคนั้นที่ผันมารับงานละครโทรทัศน์ได้ประสบความสำเร็จมากที่สุดคนหนึ่ง

ชีวิตส่วนตัว[แก้]

อภิรดีสมรสกับโอภาส ทศพร ตั้งแต่ปีประมาณ พ.ศ. 2530 และใช้ชีวิตคู่กันหลายปี มีบุตร-ธิดา 3 คน ได้แก่ ปภณ (บูม), ภัสกร (แบงก์) และเลลาณี (เบลล์)[3] ก่อนจะหย่าเมื่อ พ.ศ. 2549[7] โดยให้เหตุผลว่าเพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นเนื่องจากหนี้สินในการทำธุรกิจ [8]

ต่อมาในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 เธอรับว่าจดทะเบียนสมรสแล้วกับพันเอกวินธัย สุวารี (ยศในขณะนั้น)[9] หลังจากที่ทั้งคู่ได้คบหากันมาเป็นระยะเวลาประมาณ 8 ปี[10] แต่แยกกันอยู่[11]

ผลงานการแสดง[แก้]

ละครโทรทัศน์[แก้]

พ.ศ. เรื่อง รับบท ออกอากาศ
2530 ทองเนื้อเก้า ลำยอง ช่อง 7
2531 อีสา อุษาวดี / อีสา
อาศรมสาง วาสิฏฐี ช่อง 3
สงครามเก้าทัพ คุณหญิงจันทร์
2532 แววมยุรา แววมยุรา ช่อง 7
กว่าจะถึง(ท่า)พระจันทร์ - ช่อง 9
เมียหลวง อรอินทร์ (อร) ช่อง 7
2533 ดวงตาสวรรค์ แพน ดั้นนา
2534 สุสานคนเป็น คุณนายลั่นทม
2535 คุณหญิงนอกทำเนียบ คุณหญิงอรุณวตี
ลอดลายมังกร เหมยหลิง
2536 หน้ากากดอกซ่อนกลิ่น มาลีวรรณ
2537 ศิลามณี คุณหญิงอทิต
ไฟในทรวง ทิพย์ ช่อง 3
2538 แหวนทองเหลือง ดวงใจ / หทัยทิพย์ ช่อง UTV
สัญญาณลวง เจ้าอินทราณี ช่อง 5
เงาราหู มัลลิกา ช่อง 3
2539 ปะการังสีดำ ปะการัง (สาหร่าย) ช่อง 7
ก้านกฤษณา กฤติกา ช่อง 3
ฉก.เสือดำ ถล่มหินแตก ร้อยตรีหญิง ไหมทอง ช่อง 5
2540 รอยไถ บัวเผื่อน ช่อง 7
ทานตะวัน บุณฑริกา ช่อง 3
ชุมทางเขาชุมทอง เครือ ช่อง 5
2541 สื่อสิเน่หา วดี ช่อง 7
ดวงยิหวา วีนัส ช่อง 3
2542 ตามรอยรัก วิภา ช่อง 7
ใกล้ไกลหัวใจเดียวกัน เดือนฉาย ช่อง 5
2543 ม่านบังใจ สร้อยทอง ช่อง 7
น้ำผึ้งขม จวงจันทร์ ช่อง 3
มิติใหม่หัวใจเดิม รักร้อย ช่อง 7
เวลาในขวดแก้ว ชุลีพร ช่อง 3
2544 วังวารี จุฬาลักษณ์
เมียจำเป็น ยวนใจ อัครมนตรี ช่อง 7
เรือนนพเก้า สร้อยสน ช่อง 3
เศรษฐีตีนเปล่า ลำไย ช่อง 7
ต้นรัก รักเร่
2545 รุ่งทิพย์ ราศี,รุ่ง
ทายาทนิรนาม จุไร ช่อง 3
ตามรักตามล่า กรองทอง ช่อง 7
2546 ห้องหุ่น พิไล
เจ้านายวัยกระเตาะ นัญญา ช่อง 3
กรงเพชร ลักขณา
2547 อุ่นไอรัก พรระวี ช่อง 7
ทัดดาวบุษยา เดือน ช่อง 5
เขยมะริกัน รัมภา ช่อง 3
2548 หนึ่งตะวันพันดาว ลดา ช่อง 7
บันทึกจาก(ลูก)ผู้ชาย ปิ่นเกศ อัศวเกรียงไกร  ช่อง 3
ปิ๊ง -
2549 ธิดาซาตาน มาลาตี ช่อง 7
รังนกบนปลายไม้ เหมือนฝน ช่อง 3
เงินปากผี มาลิน ช่อง ITV
2550 สุดแต่ฟ้ากำหนด พวงพยอม ช่อง 3
เพียงผืนฟ้า จัน ช่อง 7
2551 ศิลามณี คุณหญิงเสมอใจ
เสน่ห์นางงิ้ว วลี
2553 ตะวันยอแสง พริ้มเพรา
เพียงใจที่ผูกพัน มินตรา ช่อง 3
เจ้าสาวริมทาง สมร ช่อง 7
2555 ลูกผู้ชายไม้ตะพด เจ๊กี
เกิดเป็นหงส์ สุรัสวดี
ปิ่นอนงค์ ครองสุข
รักเกิดในตลาดสด รัศมี ช่อง 3
สะใภ้ซ่าส์ แม่ย่าเฮี้ยน คุณนายพรทรัพย์ ศิริรุ่งโรจน์
รากบุญ ชูจิต
2556 มายาสีมุก ชลลดา ช่อง 7
ตะวันบ้านทุ่ง ตับเต่า ช่อง 3
มารกามเทพ ทับทิม ช่อง 5
2557 คู่ปรับตำรับเฮี้ยน อาม่าหยาอิน ช่อง 7
เล่ห์นางหงส์ วิกานดา
ล่ารักสุดขอบฟ้า พระมเหสีสาวิตรี
ใยกัลยา วดี / สุรีย์
2558 สะใภ้สายลับ คุณหญิงเพียงแข ช่อง 3
ผู้หญิงคนนั้นชื่อบุญรอด บุญหลาย ช่องวัน
คนละโลก คุณนายนิลสี ช่อง 7
ตะพดโลกันตร์ เจ๊กี
ทางผ่านกามเทพ คุณหญิงปิ่นมณี ช่อง 3
2559 วิมานเมขลา ไข่มุก
บุษบาหน้าตลาด กรจีบ เทวะประสิทธิ์
2560 เพชรกลางไฟ คุณหญิงไกรเพชรรัตน์
โซ่เสน่หา แสงระวี ช่อง 7
ละครคน แววนิล GMM25
2561 ดาวจรัสฟ้า พิมพา เพชรมงคล (พิม) ช่องวัน
เพชรร้อยรัก สบสมัย ช่อง 7
ข้ามสีทันดร รื่นเริง ช่อง 3
แก้วกุมภัณฑ์ ป้ามิ่งขวัญ
2562 ตุ๊กตาผี นางจัน
เรือมนุษย์ นางไส ช่อง 7
เสียงเอื้อนสะเทือนดาว ป้าเจียม ช่องวัน
2563 นางฟ้าลำแคน พิมพา / ป้าสุข
ชีช้ำกะหล่ำพลอย งามจิตต์ True4U
เงาบุญ รัตติยา ช่อง 7
Club Friday the Series 12 รักซ่อนเร้น ตอน แม่เลี้ยง แม่ GMM25
2564 สะใภ้เจ้าสัว อาหลิว ช่อง 3
อีสาวอันตราย ศิณี
วานวาสนา คุณหญิงพจนิจ ช่องวัน
2565 La cuisine เมนูลับฉบับแก้มยุ้ย ชมจันทร์ ช่อง 9
เวลากามเทพ ญาดา ช่องวัน
2566 18 มงกุฎสะดุดเลิฟ ปาริณี ช่อง 3

ละครสั้น[แก้]

งานเพลง[แก้]

ผลงานภาพยนตร์[แก้]

  • อั้งยี่ (2526)
  • ลำพูนดำ (2526)
  • แม่หัวลำโพง (2526)
  • เงิน เงิน เงิน (2526)
  • นักเลงร้อยคม (2526)
  • แก้วขนเหล็ก (2526)
  • อีสาวเมืองสิงห์ (2526)
  • พยัคฆ์ทมิฬ (2526)
  • ข้าจะอยู่ค้ำฟ้า (2527)
  • เสือล่าสิงห์ (2527)
  • สวนทางปืน (2527)
  • ไอ้โหด .357 (2527)
  • สาลิกาลิ้นทอง (2527)
  • เพชรตัดเพชร (2527)
  • พูดด้วยปืน (2527)
  • แม่สาวสุพรรณ (2527)
  • เพชรภูเรือ (2527)
  • ไอ้ชาติเหล็ก (2527)
  • ป่าเดือด (2527)
  • ผ่าโลกันต์ (2527)
  • ชุมแพ ภาค 2 (2527)
  • ดับเจ้าพ่อ (2527)
  • สาวบัวตอง (2527)
  • พลิกแผ่นดินล่า (2527)
  • มดตะนอย (2527)
  • พญาเหยี่ยวโกลก (2527)
  • ผ่าโลก 2 แผ่นดิน (2527)
  • เขี้ยวฉลาม (2527)
  • ปางรัก (2528)
  • ไอ้งูเห่า (2528)
  • ขุมทองแม่น้ำแคว (2528)
  • ไม่ใหญ่อย่าอยู่ (2528)
  • ฟ้ากำหนด (2528)
  • ฝน (2528)
  • สาวลมกรด (2528)
  • สู้สะท้านเมือง (2528)
  • นักเลงสิบล้อ (2528)
  • อุ้งมือมาร (2529)
  • ดวลปืน (2529)
  • สะใภ้ (2529)
  • ท้ายิง (2529)
  • น.ส.กาเหว่า (2529)
  • พิศวาสซาตาน (2529)
  • เหยื่อทรชน (2530)
  • นักฆ่าหน้าหยก (2530)
  • เมียหมายเลข 1 (2530)
  • ฉันรักผัวเขา (2530)
  • เมียนอกหัวใจ (2530)
  • เพชรสลัม (2530)
  • ฆ่าปิดปาก (2530)
  • ฆ่าด้วยเสน่หา (2530)
  • สะใภ้เถื่อน (2530)
  • นักสู้เทวดา (2530)
  • เหตุเกิดที่ห้องไอซียู (2530)
  • วิญญาณรักคลั่งสวาท (2530)
  • ภุมรีสีทอง (2531)
  • รักสำรอง (2531)
  • แก่นแก้ว (2531)
  • ซอสามสาย (2531)
  • เพชรเหนือเพชร (2531)
  • กว่าจะได้เป็นเมีย (2531)
  • เรือมนุษย์ (2531)
  • คนกลางเมือง (2531)
  • คุณนายแจ๋วแหวว (2531)
  • พยัคฆ์ร้ายเดนตาย (2531)
  • สองตระกูลดิบ (2531)
  • ทอง 3 (2531)
  • คำพิพากษา (2533)
  • ทับเทวา (2533)
  • แม่เบี้ย (2533)
  • รักเถอะถ้าหัวใจอยากจะรัก (2533)
  • ไฟกลางฝน (2534)
  • เร็วกว่าใจ ไกลเกินฝัน (2536)
  • กู๊ดบายซัมเมอร์ เอ้อเหอเทอมเดียว (2539)
  • รินลณี ผีถ้วยแก้ว (2547)
  • 7 ประจัญบาน 2 (2548)
  • ถึงเป็นถึงตาย (2548)
  • ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาคองค์ประกันหงสา (2550)
  • ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาคประกาศอิสรภาพ (2550)
  • หนูกันภัย ศึกมหายันต์ ยิงกันสนั่นจอ (2553)

พิธีกร[แก้]

  • รายการ เกมตั้งตัว
  • รายการ นี่สิ...ช่อง 9
  • รายการ แม่บ้านประจัญบาน

รางวัล[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ""แก้ว อภิรดี" โต้จดทะเบียน "เสธ.ต๊อด" ยันยังใช้นามสกุลสามีเก่า" (Press release). ASTVผู้จัดการออนไลน์. 6 กันยายน 2555. สืบค้นเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2556. {{cite press release}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  2. กระปุกดอตคอม. แก้ว อภิรดี แก้ข่าวจดทะเบียนสมรส ผู้พันต๊อด รับไปอำเภอจริง. เรียกดูเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2556
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ ดี
  4. แก้ว อภิรดี ภวภูตานนท์ อินสตาแกรม
  5. "ดร.ป้ายแดง! 'แก้ว อภิรดี'เรียนจบปริญญาเอก 'เสธ.ต๊อด'จัดเซอร์ไพรส์ใหญ่ให้". ข่าวสด. 20 สิงหาคม 2560. สืบค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. ""แก้ว อภิรดี" คว้าปริญญาเอก หวานใจ "เสธ.ต๊อด" หอบตุ๊กตาตัวใหญ่ยินดี". Nation TV. 21 สิงหาคม 2560. สืบค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. ข่าว ผู้จัดการ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2549[ลิงก์เสีย]
  8. ข่าว คมชัดลึก 10 สิงหาคม พ.ศ. 2549
  9. "จดแล้ว "แก้ว อภิรดี" นอนกอดทะเบียนสมรส "ผู้พันต๊อด"" (Press release). มติชน. 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556. สืบค้นเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2556. {{cite press release}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  10. กระปุกดอตคอม. แก้ว อภิรดี ยอมรับ จดทะเบียนสมรสกับ ผู้พันต๊อด. เรียกดูเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2556
  11. สำนักข่าวไทย (20 กุมภาพันธ์ 2556). “แก้ว อภิรดี” รับจดทะเบียน “ผู้พันต๊อด” แต่แยกกันอยู่[ลิงก์เสีย]. เรียกดูเมื่อ 11 เมษายน 2556
  12. "ดาวเมขลา ปี 59 มอบรางวัล ศิลปินคนดีศรีสังคมปีมหามงคล ปอ-ทฤษฎี สหวงษ์". ข่าวสดออนไลน์. 30 มีนาคม พ.ศ. 2559. สืบค้นเมื่อ 30 มีนาคม 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)[ลิงก์เสีย]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]