วัชระ ปานเอี่ยม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วัชระ ปานเอี่ยม
Watchara parneim1.jpg
ข้อมูลพื้นฐาน
ชื่อเกิดวัชระ ปานเอี่ยม
รู้จักในชื่อซูโม่เจี๊ยบ
เกิด13 เมษายน พ.ศ. 2503 (63 ปี)
อาชีพนักร้องนำ นักดนตรี นักแสดง
นักจัดรายการวิทยุ พิธีกร ผู้กำกับ
เครื่องดนตรีกีตาร์, กีตาร์เบส
ช่วงปีพ.ศ. 2525 - ปัจจุบัน
ค่ายเพลงอโซน่า
ครีเอเทีย อาร์ตติส
คีตา เรคคอร์ดส
จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่
สมาชิกวงเฉลียง
ซูโม่สำอาง
เว็บไซต์วัชระ ปานเอี่ยม

วัชระ ปานเอี่ยม เกิดเมื่อวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2503 (1 มีนาคม พ.ศ. 2503 ตามบัตรประจำตัวประชาชน) เริ่มต้นเข้ารับการศึกษาในในโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และได้ศึกษาต่อชั้นอุดมศึกษาในคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในปี พ.ศ. 2521 หลังจากจบการศึกษาระดับปริญญาตรีแล้วได้เข้าทำงานเป็นสถาปนิกของสำนักงานสถาปนิก สันธยาและคณะ

ประวัติ[แก้]

ต่อจากนั้นก็ได้พลิกผันอาชีพของตนเองมาเป็น คอปปีไรเตอร์, Creative & Director, producer (TV Program) และงานอื่น ๆ ที่อาศัยความคิดสร้างสรรค์ในเรื่องต่าง ๆ เรื่อยมาจนถึงปัจจุบันกำลังสนุกกับการทำหน้าที่เป็นนักแสดง, ผู้กำกับ, ที่ปรึกษาบทละคร-ภาพยนตร์อิสระที่เราคุ้นหน้าคุ้นตากันดี และเป็นหนึ่งในซูโม่สำอางในรายการเพชฌฆาตความเครียด โดยใช้ชื่อว่า ซูโม่เจี๊ยบ และในปี พ.ศ. 2533 ถึงปี พ.ศ. 2535 เขาได้เป็นพิธีกรรายการ "เวทีทอง" ของบริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) นับเป็นรายการแรกในการเป็นพิธีกรของเขา

จนกระทั่งถึงทุกวันนี้เจี๊ยบ ได้สร้างสรรค์ผลงานเอาไว้มากมายอย่างเช่น การเป็นนักร้องนำของวงดนตรีเฉลียง, เจ้าของอัลบัมเพลงยามรัก 1-2 ที่เป็นการนำเอาเพลงของ ม.ร.ว.ถนัดศรี สวัสดิวัฒน์ มาขับร้องใหม่ รวมถึงรวมเล่มผลงานเขียนหนังสือต่างๆ

และยังเป็นผู้กำกับภาพยนตร์เรื่อง วอนทั้งโลกโขกหัวเธอ (พ.ศ. 2539) ซึ่งผลงานที่เขาได้ฝากไว้นั้นดีถูกใจผู้ชมและคณะกรรมการจากหลายหน่วยงานจนกระทั่งได้รับเลือกให้เป็นนักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม รางวัลสุพรรณหงส์ทองคำ ปี พ.ศ. 2530 นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม รางวัลชมรมวิจารณ์บันเทิง ปี พ.ศ. 2532 ผู้ผลิตมิวสิกวีดีโอดีเด่นรางวัลโทรทัศน์ทองคำปี พ.ศ. 2532 เป็นต้น

ในปีพ.ศ. 2553 เขาได้มีงานคอนเสิร์ตเดี่ยวครั้งแรก ในชื่อ "คอนเสิร์ตสวิงสวาย แบบวัชระ ปานเอี่ยม" (Swing Survive Concert) ที่หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย โดยมีแขกรับเชิญ เช่น สมาชิกวงเฉลียง เกียรติ กิจเจริญ สันติสุข พรหมศิริ เป็นต้น

ชีวิตส่วนตัวได้สมรสกับ ลัดดาวัลย์ ปานเอี่ยม มีบุตรและธิดา 2 คน ได้แก่ นายเพลงเอก และ นางสาวเพลงขวัญ ปานเอี่ยม

นอกจากผลงานต่าง ๆ แล้ว ปัจจุบัน เขายังทำหน้าที่จัดรายการวิทยุออนไลน์อยู่ที่คลื่น Yes Radio (เวลา 21:00-24:00) อีกด้วย

ผลงานเพลง[แก้]

กับวงเฉลียง[แก้]

อื่นๆ[แก้]

  • เพลง"แล้วมันก็คุ้นกันไปเอง" เพลงประกอบภาพยนตร์ "ลูกบ้าเที่ยวล่าสุด" (2536)
  • อัลบั้ม ยามรัก 1 (2547)
  • อัลบั้ม ยามรัก 2 (2547)
  • เพลง "สมาคมคนเบี้ยล่าง" อัลบั้ม The Family (2547)
  • เพลง "เส้นทาง" (2552)
  • เพลง "ความรักของคนตาบอด" (2553)
  • เพลง ขอความสุขคืนกลับมา (2553)
  • เพลง "ครองแผ่นดินโดยธรรม" (2554)

คอนเสิร์ต[แก้]

  • คอนเสิร์ต สดไม่ทราบสาเหตุ (2541)
  • คอนเสิร์ต รวมมิตรให้มัน (มกราคม 2543)
  • คอนเสิร์ต ครบเด็กสร้างบ้าน (13-14 สิงหาคม 2548)
  • คอนเสิร์ต คีตา แบ็ค ทู เดอะ ฟิวเจอร์ คอนเสิร์ต (20 มกราคม 2550)
  • คอนเสิร์ต อารมณ์ดี้ ตอน ทุ่งหญ้า สายลม และนมวัว (7 กุมภาพันธ์ 2551)
  • คอนเสิร์ต เพลงแบบประภาส (4-6 กรกฎาคม 2551)
  • คอนเสิร์ต Dee Boyd pop Fest (5-6 ธันวาคม 2552)
  • คอนเสิร์ต วันซ์ อิน อะ ไลฟ์ ไทม์ คอนเสิร์ต โพรดิวซ์ บาย ภูษิต ไล้ทอง (20-21 มีนาคม 2553)
  • คอนเสิร์ต สวิงสวาย แบบเขา (Swing Survive Concert) (5 มิถุนายน 2553)
  • คอนเสิร์ต Do for Dad (3 มีนาคม 2555)
  • คอนเสิร์ต เพื่อนช่วยเพื่อน” เพื่อ ดอน สอนระเบียบ (23 มิถุนายน 2555)
  • คอนเสิร์ต Retro Concert (22 มิถุนายน 2556)
  • คอนเสิร์ต เพลงแบบประภาส 2 (9-11 ตุลาคม 2558)
  • คอนเสิร์ต เมจิก โมเมนต์ เพลงรักของดี้ ดนตรีของแต๋ง (6 พฤษภาคม 2560)
  • คอนเสิร์ต ทำให้หมา หาให้แมว (5 กรกฎาคม 2560)
  • คอนเสิร์ต สุเทพโชว์ The Unforgettable (19 สิงหาคม 2560)
  • คอนเสิร์ต เพลงแบบประภาส 3 (19 ตุลาคม 2562)
  • คอนเสิร์ต นั่งใกล้ (ได้แค่นี้) เจี๊ยบกะจุ้ย คุย.เล่น.ร้อง (7 พฤศจิกายน 2563)

ผลงานพิธีกรทางโทรทัศน์[แก้]

  • สมาชิกกลุ่มซูโม่สำอางค์ รายการเพชฌฆาตความเครียด (2528-2529)
  • พิธีกรรายการเวทีทอง (2533-2535)
  • พิธีกรรายการ วิก 07
  • พิธีกรรายการ ณ อาร์ต คลับ
  • พิธีกรรายการ โรงรับจำนรรจ์
  • พิธีกรรายการ สมาคมอมยิ้ม
  • พิธีกรรายการ แต๋ง เจี๊ยบ ดี้ วาไรตี้ 3 ฝ่าย

ผลงานแสดงภาพยนตร์[แก้]

  • คู่วุ่นวัยหวาน (2529) รับบท เจี๊ยบ
  • ยิ้ม (2529)
  • รักหน่อยน่า (2529)
  • ท่านชายกำมะลอ (2529) รับบท ใหญ่
  • ปัญญาชนก้นครัว (2530) รับบท ปองเทพ
  • รักจ๋ามาแล้วจ๊ะ (2530)
  • อะไรจะขนาดนั้น (2531)
  • วิวาห์ไฟ (2531)
  • คืนปล่อยผี (2531)
  • กระชุ่มกระชวย (2531)
  • กลิ่นสีและกาวแป้ง (2531) รับบท ยุทธ
  • หวานมันส์ ฉันคือเธอ 2 (2531)
  • บุญชูผู้น่ารัก (2531) รับบท ไวยากรณ์
  • แรงเทียน (2531)
  • คุณนายแจ๋วแหวว (2531)
  • ความรัก (2531) รับบท เดชชาติ
  • กลิ่นสีและกาวแป้ง 2 (2532) รับบท ยุทธ
  • บุญชู 2 น้องใหม่ (2532) รับบท ไวยากรณ์
  • หมู่ขุนทอง (2532)
  • ดีดสีและตีเป่า (2532)
  • ใช่แล้วหลุดเลย (2532) รับบท สมชาย
  • ขอชื่อ สุธี สามสี่ชาติ (2532) รับบท สก๊อง
  • บ้านเล็กบุกบ้านใหญ่ (2532)
  • บุญชู 5 เนื้อหอม (2533) รับบท ไวยากรณ์
  • หนุก (2533)
  • ฉลุย โครงการ 2 (2533)
  • บุญชู 6 โลกนี้ดีออกสุดสวยน่ารักน่าอยู่ ถ้าหงุ่ย (2534) รับบท ไวยากรณ์
  • สยึ๋มกึ๋ย (2534)
  • หอ หึ หึ (2535) รับบท สมประสงค์
  • บุญตั้งไข่ (2535)
  • บุญชู 7 รักเธอคนเดียวตลอดกาลใครอย่าแตะ (2536) รับบท ไวยากรณ์
  • กอดคอกันแหวว (2536)
  • บุญชู 8 เพื่อเธอ (2538) รับบท ไวยากรณ์
  • กึ๋ยทู สยึมกึ๋ย 2 (2538)
  • กลิ่นสีและทีแปรง (2539) รับบท ยุทธการ
  • คนป่วนสายฟ้า (2540) รับบท ผู้อำนวยการสร้าง
  • สตางค์ (2543) รับบท ไศล
  • ชื่อชอบชวนหาเรื่อง (2546) (รับเชิญ)
  • ตะวันตัดบูรพา (2546) รับบท เสี่ยเจริญ
  • บอดี้การ์ดหน้าเหลี่ยม (2547) รับบท ทรงพล
  • มือปืนเก๋าเจ๋ง (2548)
  • วาไรตี้ผีฉลุย (2548) รับบท ดู๋ - ปัญญา นิรันดร์กาล
  • มะหมา 4 ขาครับ (2550) รับบท พนักงานจับหมาจรจัด
  • บุญชู ไอ-เลิฟ-สระ-อู (2551) รับบท ไวยากรณ์
  • ตุ๊กกี้ เจ้าหญิงขายกบ (2553) รับบท หัวหน้าแก็งค์กบฏ
  • บุญชู 10 จะอยู่ในใจเสมอ (2553) รับบท ไวยากรณ์
  • มะหมา 4 ขาครับ ภาค 2 (2555) รับบท เจี๊ยบ
  • พี่นาค (2562) รับบท สัปเหร่อ

ผลงานแสดงละครโทรทัศน์[แก้]

ผลงานละครชุด[แก้]

ซิทคอม[แก้]

โฆษณา[แก้]

  • พ.ศ.2531 เป๊ปซี่

ผลงานกำกับการแสดง[แก้]

ผลงานเขียนบทภาพยนตร์[แก้]

  • บุญชู 2 น้องใหม่ (2532)
  • ขอชื่อสุธีสามสี่ชาติ (2532)
  • บุญชู 5 เนื้อหอม (2533)
  • บุญชู 6 โลกนี้ดีออกสุดสวยน่ารักน่าอยู่ ถ้าหงุ่ย (2534)
  • บุญชู 7 รักเธอคนเดียวตลอดกาลใครอย่าแตะ (2536)

ผลงานเขียน[แก้]

  • ไม่แน่จริงไม่ใช่ชาย
  • ไม่ได้ดั่งใจ
  • ปากหอยปากปู
  • ลูกอีช่างคิด
  • ปากกัดตีนไม่ถีบ

อ้างอิง[แก้]