พรรคสังคมประชาธิปไตยไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก พรรคการเมืองใหม่)
พรรคสังคมประชาธิปไตยไทย
ผู้ก่อตั้งกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
หัวหน้าสาวิทย์ แก้วหวาน
รองหัวหน้า
  • ปรีดา คนคล่อง
  • ชาลี ลอยสูง
  • ผดุง ภูนายา
เลขาธิการสุคม ศรีนวล
รองเลขาธิการ
  • สุริญา ถือลาภ
  • ณัฐวัตร หวังสุดดี
เหรัญญิกพรทิพย์ แสนทวีสุข
โฆษกสมพร ขวัญเนตร
ก่อตั้ง2 มิถุนายน พ.ศ. 2552 (14 ปี)
ที่ทำการ44 ถนนกำแพงเพชร 2 แขวงจตุจักร เขตจตุจักร
จำนวนสมาชิก  (ปี 2566)11,443 คน[1]
เว็บไซต์
เฟซบุ๊คอย่างเป็นทางการ
การเมืองไทย
รายชื่อพรรคการเมือง
การเลือกตั้ง

พรรคสังคมประชาธิปไตยไทย (อักษรย่อ: ส.ป.ท. อังกฤษ: Thai Social Democratic Party - TSDP) เป็นพรรคที่ก่อตั้งโดยมีพื้นฐานมาจากกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) เดิมเคยใช้ชื่อว่า พรรคการเมืองใหม่ (ก.ม.ม.) ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2552 และจดทะเบียนจัดตั้งเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2552 โดยมี นายสมศักดิ์ โกศัยสุข เป็นหัวหน้าพรรค

ที่มาของการก่อตั้งพรรค[แก้]

สัญลักษณ์ของพรรคการเมืองใหม่

พรรคการเมืองใหม่ ได้เริ่มต้นเกิดขึ้นจากการประชุมร่วมกันของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่สนามกีฬามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งเป็นวันครบรอบ 1 ปี ของการเริ่มชุมนุมครั้งใหญ่ของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (การชุมนุม 193 วัน) และในการชุมนุมครั้งนั้นได้มีการเปิดโอกาสให้ประชาชนแนวร่วมได้แสดงความเห็นถึงการจัดตั้งพรรคการเมืองของกลุ่มพันธมิตร ซึ่งประชาชนที่เข้าร่วมประชุมมีความเห็นเป็นเอกฉันท์ ให้มีการจัดตั้งพรรคการเมืองขึ้น

จากนั้นในวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2552 ทางพรรคได้จัดประชุมกรรมการบริหารพรรคและสมาชิกพรรครวมทั้งหมด 9,000 คน ที่เมืองทองธานี และได้มีการลงคะแนนเสียงเลือกกรรมการบริหารพรรคชุดปัจจุบัน[2]

คณะกรรมการบริหารพรรค[แก้]

ชุดแรก[แก้]

คณะกรรมการบริหารพรรคชุดแรก ประกอบด้วย

  1. นายสาวิทย์ แก้วหวาน หัวหน้าพรรค (สิ้นสุดเมื่อ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2552)
  2. นางปรีดา คนคล่อง รองหัวหน้าพรรค
  3. นายชาลี ลอยสูง รองหัวหน้าพรรค
  4. นายสุคม ศรีนวล เลขาธิการพรรค
  5. นายสุริญา ถือลาภ รองเลขาธิการพรรค
  6. นายณัฐวัตร หวังสุดดี

รองเลขาธิการพรรค

  1. นางพรทิพย์ แสนทวีสุข นายทะเบียนสมาชิกพรรค
  2. นายสมพร ขวัญเนตร โฆษกพรรค
  3. นายสมพร ขวัญเนตร กรรมการและเหรัญญิกพรรค
  4. และกรรมการบริหารพรรคอีก 15 คน

[3]

ชุดที่สอง[แก้]

จากการเลือกของหัวหน้าพรรคจำนวนกึ่งหนึ่งของคณะกรรมการบริหารพรรคทั้งหมด
  1. นายสนธิ ลิ้มทองกุล เป็นหัวหน้าพรรค (ลาออกเมื่อ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2553)
  2. นายสมศักดิ์ โกศัยสุข เป็นรองหัวหน้าพรรค
  3. นายสุริยะใส กตะศิลา เป็นเลขาธิการพรรค
  4. พล.ร.ท.ประทีป ชื่นอารมณ์ เป็นเหรัญญิกพรรค
  5. นายบรรจง นะแส เป็นกรรมการบริหารพรรค
  6. นายประพันธ์ คูณมี เป็นกรรมการบริหารพรรค
  7. นายสุทธิ อัฌชาศัย เป็นกรรมการบริหารพรรค
  8. นายชาลี ลอยสูง เป็นกรรมการบริหารพรรค
  9. นายชุมพล สังข์ทอง เป็นนายทะเบียนพรรค
  10. นางสาวอาภารัตน์ ชาติชุติกำจร เป็นกรรมการบริหารพรรค
  11. นายสำราญ รอดเพชร เป็นโฆษกพรรค
  12. นายศรัณยู วงศ์กระจ่าง เป็นรองเลขาธิการพรรค
  13. นางกิมอัง พงษ์นารายณ์ เป็นกรรมการบริหารพรรค
จากการเลือกตั้งจากสมาชิก 2,300 คนโดยเรียงจากคะแนนผู้ที่ได้รับการเลือกตั้งจากมากที่สุด
  1. นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก แนวร่วมพันธมิตรฯ
  2. พล.ต.ท.สมเกียรติ พ่วงทรัพย์ อดีตผู้บัญชาการตำรวจสันติบาล
  3. นายเทิดภูมิ ใจดี อดีตผู้นำแรงงาน
  4. พลเอกกิตติศักดิ์ รัฐประเสริฐ อดีตผู้ช่วยหัวหน้านายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม อดีตนายทหารราชองครักษ์เวร
  5. นางลักขณา ดิษยะศริน ตะเวทิกุล ผู้จัดการโรงเรียนนานาชาติดิอเมริกันสกูลออฟแบงค็อก
  6. นางเสน่ห์ หงษ์ทอง ผู้ประสานงานสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.)
  7. นายอมรเทพ อมรรัตนานนท์ อดีตเลขาธิการศูนย์กลางนักเรียนนักศึกษาปี 2519
  8. นายพิชิต ไชยมงคล รักษาการรองเลขาธิการพรรค
  9. นายธัญญา ชุนชฎาธาร นักวิชาการ นักเขียน
  10. นางทัศนีย์ บุญประสิทธิ์ แกนนำพันธมิตรฯ อุบลราชธานี
  11. นายสราวุธ นิยมทรัพย์ แกนนำพันธมิตรนครปฐม
  12. นายรังษี ศุภชัยสาคร แกนนำเครือข่ายพันธมิตรอุดรธานี

[4]

ชุดที่สาม[แก้]

ที่ประชุมใหญ่วิสามัญพรรคการเมืองใหม่ ครั้งที่ 1/2553 เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2553 ได้เลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ จำนวน 25 คน ประกอบด้วย[5]

  1. นายสมศักดิ์ โกศัยสุข หัวหน้าพรรค
  2. นายพิเชฐ พัฒนโชติ รองหัวหน้าพรรค (ลาออก 28 เมษายน พ.ศ. 2554)[6]
  3. นางภินันทน์ โชติรสเศรณี รองหัวหน้าพรรค
  4. นายเทิดภูมิ ใจดี รองหัวหน้าพรรค
  5. นายสำราญ รอดเพชร รองหัวหน้าพรรค และ โฆษกพรรค (ลาออก 28 สิงหาคม พ.ศ. 2554)
  6. นายสุริยะใส กตะศิลา เลขาธิการพรรค (ลาออก 28 สิงหาคม พ.ศ. 2554)
  7. นายศรัณยู วงษ์กระจ่าง รองเลขาธิการพรรค
  8. นางสาวสุวันนี ไวศรีแสง เหรัญญิกพรรค
  9. นางสาวเสน่ห์ หงษ์ทอง นายทะเบียนสมาชิกพรรค
  10. และกรรมการบริหารพรรคอีก 16 คน

ชุดที่สี่[แก้]

ที่ประชุมใหญ่สามัญพรรคการเมืองใหม่ ครั้งที่ 2/2554 เมื่อวันอาทิตย์ที่ 28 สิงหาคม 2554 ได้เลือกตั้งกรรมการบริหารพรรคแทนกรรมการบริหารชุดเดิมที่ลาออก จำนวน 7 คน ประกอบด้วย

  1. นายชัยวุฒิ หวังซื่อกุล
  2. นายประยุทธ วีระกิตติ
  3. นายสมาน ท่อทิพย์
  4. นางสาวจิรจันทร์ จำปาทอง
  5. นายพรเพิ่ม จิวสกุล
  6. นายอมรชาติ เกตุพุฒ
  7. นายเวียยีซ่า กองแก

มีคณะกรรมการบริหารพรรคที่ปฏิบัติหน้าที่ จำนวน 15 คน ประกอบด้วย[7]

  1. นายสมศักดิ์ โกศัยสุข หัวหน้าพรรค
  2. นางภินันทน์ โชติรสเศรณี รองหัวหน้าพรรค
  3. นายพรเพิ่ม จิวสกุล กรรมการบริหารพรรคปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการพรรค
  4. นางสาวสุวันนี ไวศรีแสง เหรัญญิกพรรค
  5. นางสาวเสน่ห์ หงษ์ทอง นายทะเบียนสมาชิกพรรค
  6. นายชัยวุฒิ หวังซื่อกุล กรรมการบริหารพรรคปฏิบัติหน้าที่โฆษกพรรค
  7. นายสมบัติ เบญจศิริมงคล กรรมการบริหารพรรค (ลาออก ธันวาคม พ.ศ. 2554)
  8. และกรรมการบริหารพรรคอีก 11 คน

สัญลักษณ์ของพรรคการเมืองใหม่[แก้]

สัญลักษณ์ของพรรคการเมืองใหม่นั้น ออกแบบโดย จิราวุฒิ นิลกำแหง ซึ่งเป็นนักออกแบบของสถานีโทรทัศน์ ASTV ในเครือผู้จัดการอยู่แล้ว โดยใช้สัญลักษณ์ของทางกลุ่มพันธมิตรฯเป็นหลัก ที่เป็นรูปแขนที่คล้องเกี่ยวกัน โดยเปลี่ยนมาเป็นสวัสติกะในลักษณะเวียนขวา ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่ใช้มาตั้งแต่โบราณ และมีรูปหัวใจ 4 ดวงอยู่ตรงกลาง หมายถึง ความโชคดี กล่าวคือ ตามความเชื่อของชาวยุโรปนั้น ใบโคลเวอร์ เป็นใบไม้ที่มีลักษณะคล้ายรูปหัวใจนั้นจะมี 3 ใบ แต่หากใครพบใบโคลเวอร์ที่มีกลีบใบ 4 ใบ หรือใบโคลเวอร์ 4 แฉก นับเป็นนิมิตรมงคล[8]

แต่ก็ได้รับการวิจารณ์จากผู้คนจำนวนหนึ่งว่าดูคล้ายกับสัญลักษณ์ของพรรคนาซี ของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ผู้นำเผด็จการทหารของเยอรมนีในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง[9][10]

การส่งผู้สมัครลงเลือกตั้งและการถอนตัว[แก้]

ในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2553 ที่ประชุมของพรรคการเมืองใหม่ ได้มีมติส่ง พล.อ.กิตติศักดิ์ รัฐประเสริฐ ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ในเขต 6 กรุงเทพมหานคร (เขตบึงกุ่ม, เขตลาดพร้าว, เขตวังทองหลาง, เขตบางกะปิ, เขตสะพานสูง) ในการเลือกตั้งแทนที่ นายทิวา เงินยวง ส.ส.เก่าของพรรคประชาธิปัตย์ ที่ถึงแก่กรรมไป ซึ่งนับว่าเป็นครั้งแรกที่ทางพรรคได้ส่งผู้สมัครลงรับเลือกตั้ง[11]

แต่ทว่าในวันรุ่งขึ้น พล.อ.กิตติศักดิ์ ได้ประกาศถอนตัว เนื่องจากอ้างว่า สำรวจคะแนนเสียงแล้วไม่ดี และไม่ต้องการแข่งกับผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทย คือ นายก่อแก้ว พิกุลทอง เนื่องจากเป็นผู้ก่อการร้ายจากเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง พ.ศ. 2553 ที่ผ่านมา ซึ่งเรื่องนี้ได้ก่อให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ต่อมามากมาย[12]

นอกจากนี้แล้วการเลือกตั้งซ่อมในเขต 1 จังหวัดสุราษฎร์ธานี เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม ปีเดียวกัน แทนที่ นายชุมพล กาญจนะ ที่ถูกเพิกถอนคุณสมบัติการเป็น ส.ส.ไป พรรคการเมืองใหม่ในตอนแรกก็มีท่าทีว่าจะส่ง นายชาญชัย ช่วยจันทร์ ลงเลือกตั้ง[13] แต่ท้ายที่สุดก็มีมติว่าไม่ส่ง[14]

การลงสมัครรับเลือกตั้ง สก. และ สข.กรุงเทพมหานคร[แก้]

พรรคการเมืองใหม่ส่งผู้สมัครลงรับเลือกตั้งครั้งแรก คือ การเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) และสมาชิกสภาเขต (ส.ข.) ของกรุงเทพมหานคร ในวันอาทิตย์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2553 โดยส่งผู้สมัคร ส.ก.ลงทั้งหมด 40 เขต จาก 61 เขตเลือกตั้ง และ ผู้สมัคร ส.ข. 22 เขตเลือกตั้ง จำนวน 150 คน โดยหาเสียงใช้สโลแกนว่า "กรุงเทพฯ ทราบแล้วเปลี่ยน" และรณรงค์ให้เลือกพรรคของตนเพื่อเข้าไปตรวจสอบการทุจริตในกรุงเทพมหานคร[15]

ซึ่งในการประเมินตามผลการสำรวจความคิดเห็น พบว่า พรรคการเมืองใหม่น่าจะได้ 1 ที่นั่งจากเขตคลองสาน[16] ซึ่งเป็นผู้สมัครที่เป็น ส.ก.เดิมที่ย้ายมาจากพรรคประชาธิปัตย์[17] แต่เมื่อผลการเลือกตั้งออกมาจริง ๆ แล้ว พรรคการเมืองใหม่ไม่ได้รับการเลือกตั้งเลยแม้สักที่เดียว ไม่ว่าจะเป็น ส.ก. หรือ ส.ข.[18]

ความขัดแย้งกับกลุ่มพันธมิตรฯ[แก้]

ในปลายเดือนเมษายน พ.ศ. 2554 ได้มีความขัดแย้งระหว่างทางกลุ่มพันธมิตรฯซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งพรรคกับทางสมาชิกและกรรมการบริหารพรรคเกิดขึ้น ถึงเรื่องการส่งผู้สมัครลงรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งกลางปีเดียวกัน ซึ่งทางกลุ่มพันธมิตรฯมีมติให้โหวตโนในการเลือกตั้งครั้งนี้ คือ ให้กาช่องไม่ประสงค์ลงคะแนนให้ใครในบัตรลงคะแนน เรื่องนี้ก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างกลุ่มพันธมิตรฯกับสมาชิกและกรรมการบริหารพรรค ต่อมา นายสมศักดิ์ หัวหน้าพรรค และนายสาวิทย์ แก้วหวาน ได้ทำตามมติของสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) ให้ถอนตัวจากการเป็นแกนนำของพันธมิตรฯ[19] และนายพิเชฐ พัฒนโชติ รองหัวหน้าพรรคก็ได้ลาออกจากพรรคเช่นเดียวกัน[6] ต่อมาทางพรรคได้จัดการประชุมกรรมการบริหารพรรค ได้มีกลุ่มผู้ชุมนุมของพันธมิตรฯได้บุกเข้าไปถึงที่ทำการพรรคเพื่อกดดันมิให้พรรคมีมติส่งผู้สมัครลงรับเลือกตั้ง จนเกือบเป็นการปะทะกัน [20][21] ซึ่งต่อมาในเรื่องนี้ทำให้ นายสนธิ ลิ้มทองกุล อดีตหัวหน้าพรรคและแกนนำพันธมิตรฯรุ่นที่ 1 ได้โจมตีนายสมศักดิ์อย่างรุนแรง[22] และได้ประกาศให้สมาชิกพรรคยึดพรรคคืนกลับ ซึ่งทางนายสมศักดิ์ก็ได้โต้กลับมาเช่นเดียวกัน[23] ต่อมาทางกลุ่มพันธมิตรฯได้มีการลงรายชื่อเพื่อถอดถอนนายสมศักดิ์ออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรค แต่ทางนายสมศักดิ์ได้ยืนยันว่าจะส่งผู้สมัครลงรับเลือกตั้ง[24] พร้อมกับได้มีการโต้กันไปโต้กันมาถึงเรื่องเงินบริจาคด้วย[25]

การเลือกตั้ง พ.ศ. 2554[แก้]

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 คณะกรรมการบริหารพรรค คณะกรรมการสาขาพรรค และคณะกรรมการศูนย์ประสานงานพรรคการเมืองใหม่ทั่วประเทศ ได้ประชุมร่วมกันเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2554 มีมติเอกฉันท์ให้พรรคการเมืองใหม่ส่งผู้สมัครเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ต่อมา คณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองใหม่ส่วนหนึ่ง นำโดยนายสุริยะใส กตะศิลา เลขาธิการพรรค นายสำราญ รอดเพชร โฆษกพรรค และกรรมการบริหารอีก 8 คน ได้ยื่นหนังสือต่อนายทะเบียนพรรคการเมืองขอให้ระงับการรับสมัครผู้สมัครรับเลือกตั้งของพรรคการเมืองใหม่ อันเกิดจากหัวหน้าพรรคฝ่าฝืนนโยบายพรรค ข้อบังคับพรรค และมติที่ประชุมใหญ่และกล่าวหาว่านายสมศักดิ์ โกศัยสุข หัวหน้าพรรคการเมืองใหม่ กระทำการเข้าข่ายฝ่าฝืนพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2550 มาตรา 31 และคณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองใหม่ทั้ง 10 ราย ยังเข้าร่วมรณรงค์ให้ประชาชนโหวตโนผ่านสื่อมวลชนต่าง ๆ ซึ่งการกระทำดังกล่าว เป็นการฝ่าฝืนวินัย และจรรยาบรรณของสมาชิกพรรค และกรรมการสาขาพรรค (ข้อ 17) ตามข้อบังคับของพรรคการเมืองใหม่ พ.ศ. 2552 จึงไม่มีสิทธิ์ ไปแถลงในนามของพรรค และยังเป็นการฝ่าฝืน มาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2550 อีกทั้ง ต่อมาสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ได้มีหนังสือที่ ลต (ทบพ.) 0401/8737 ลงวันที่ 28 มิถุนายน 2554 ชี้ขาดว่าพรรคการเมืองใหม่สามารถส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งได้โดยถูกต้องตามกฎหมายทุกประการ

เปลี่ยนชื่อพรรค[แก้]

ในวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 หลังจากที่ประชุมใหญ่สามัญพรรค ครั้งที่ 1 มติให้เปลี่ยนแปลงที่ตั้งพรรค รวมทั้งเปลี่ยนแปลงชื่อ ชื่อย่อ ภาพเครื่องหมายของ "พรรคการเมืองใหม่" เป็น "พรรคสังคมประชาธิปไตยไทย" โดยให้ยกเลิก ชื่อนโยบายพรรคการเมืองใหม่ พ.ศ. 2552 และให้ใช้ "นโยบายพรรคสังคมประชาธิปไตยไทย พ.ศ. 2556" แทน พร้อมทั้งให้ยกเลิก ข้อบังคับพรรคการเมืองใหม่ พ.ศ. ๒๕๕๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติมทุกฉบับ

โดยใช้สัญลักษณ์เป็นรูปดอกกุหลาบสีส้มตัดเส้นสีขาวบนพื้นสีน้ำเงิน เป็นสัญลักษณ์ กรอบด้านข้างเป็นรูปดาว กรอบด้านบนเป็นชื่อพรรคสังคมประชาธิปไตยไทย กรอบด้านล่างเป็นชื่อภาษาอังกฤษ รูปดอกกุหลาบ หมายถึง มีความรักและศรัทธาในสังคมที่ดีงาม เคารพในสิทธิมนุษยชน มีสิทธิเสรีภาพ เสมอภาค ภราดรภาพ ช่วยตนเอง และช่วยผู้อื่น ถือประโยชน์ส่วนรวมเหนือประโยชน์ส่วนตน นำความอยู่ดีมีสุขสู่สังคมอย่างยั่งยืน[26]

ในการประชุมใหญ่สามัญ ครั้งที่ 1/2566 เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2566 ทางพรรคได้ทำการแก้ไขข้อบังคับพรรคในส่วนของนโยบายและการสมัครสมาชิกพรรค[27]

กรรมการบริหารพรรคชุดที่ห้า[แก้]

  1. นางแจ่มศรี สุกโชติรัตน์ หัวหน้าพรรค
  2. นายชาลี ลอยสูง รองหัวหน้าพรรค
  3. นายวิรัตน์ ธงชัยธนากุล รองหัวหน้าพรรค
  4. นายสมศักดิ์ มาณพ รองหัวหน้าพรรค
  5. นายสุคม ศรีนวล เลขาธิการพรรค
  6. นายณัฐวัตร หวังสุดดี รองเลขาธิการพรรค
  7. นางสาวพรทิพย์ แสนทวีสุข เหรัญญิกพรรค
  8. นางสาวเสน่ห์ หงษ์ทอง นายทะเบียนสมาชิกพรรค
  9. นายสมพร ขวัญเนตร โฆษกพรรค
  10. และกรรมการบริหารพรรคอีก 10 คน[28]

ต่อมาในวันอาทิตย์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 พรรคสังคมประชาธิปไตยไทยได้จัดการประชุมเพื่อเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ซึ่งที่ประชุมมีมติเลือก นายสาวิทย์ แก้วหวาน เป็นหัวหน้าพรรคคนใหม่ ส่วนตำแหน่งเลขาธิการพรรคยังคงเป็น นายสุคม ศรีนวล[29]

อ้างอิง[แก้]

  1. ข้อมูลพรรคการเมืองที่ยังดำเนินการอยู่ ณ วันที่ 8 มีนาคม 2566
  2. พรรคการเมืองใหม่ตั้งโต๊ะโหวตสนธิ ลิ้มทองกุลเป็นหัวหน้า รู้ผลบ่ายวันนี้
  3. "ตั้งพรรคการเมืองใหม่ สมศักดิ์รั้งห้วหน้า". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-19. สืบค้นเมื่อ 2022-01-17.
  4. "พรรคการเมืองใหม่ ได้ก.ก.บริหารฯครบแล้ว "สนธิ" นั่งหัวหน้าพรรค". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-12-01. สืบค้นเมื่อ 2009-10-06.
  5. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง ตอบรับการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองใหม่
  6. 6.0 6.1 "สมศักดิ์"ถอนตัวแกนนำพธม.แล้ว"พิเชฐ"ไขก๊อกสมาชิกการเมืองใหม่ ลงสมัครส.ส.พรรคอื่น จากมติชน
  7. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง ตอบรับการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองใหม่
  8. เบื้องหลังสัญลักษณ์ “พรรคการเมืองใหม่”[ลิงก์เสีย]จากผู้จัดการออนไลน์
  9. ว่าด้วยเรื่องโลโก..พรรคการเมืองใหม่..(พรรคพันธมิตร) มาดูกัน เก็บถาวร 2009-06-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนจากเอ็มไทย
  10. โลโก้พรรคการเมืองใหม่...เหมือนสวัสติกะของนาซีเยอรมันจริงหรือ? เว็บบล็อกของสุทธิชัย หยุ่น จากโอเคเนชั่น
  11. การเมืองใหม่ ส่ง กิตติศักดิ์ ลงเลือกตั้งซ่อมสส.กทม. เก็บถาวร 2010-07-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนจากเอ็มไทย
  12. "พล.อ.กิตติศักดิ์" ถอนตัวลงเลือกตั้งซ่อมเขต 6 เก็บถาวร 2010-06-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนจากกรุงเทพธุรกิจ
  13. พรรคการเมืองใหม่ส่งสมัครเลือกตั้งซ่อม ส.ส.เขต 1 สุราษฎร์ธานี
  14. “การเมืองใหม่” ไม่ส่งคนชิงเลือกตั้งซ่อม ส.ส.สุราษฎร์ จากผู้จัดการออนไลน์[ลิงก์เสีย]
  15. ก.ม.ม.ส่งผู้สมัครชิง ส.ก.-ส.ข.190คน[ลิงก์เสีย]
  16. ปชป.สำรวจผลเลือกตั้งสก.เพื่อไทยได้16แพ้14[ลิงก์เสีย]จากกรุงเทพธุรกิจ
  17. คนธนบุรี / คลองสาน ตบหน้าการเมืองใหม่ (พวกชอบย้ายพรรค) จากโอเคเนชั่น
  18. สรุปผลเลือกตั้ง สก. ล่าสุด ปชป. 45 ที่นั่ง เพื่อไทย 15 ที่นั่ง อิสระ 1 ที่นั่ง การเมืองใหม่ 0 ที่นั่ง (อ่านรายชื่อ ) จากโอเคเนชั่น
  19. "สรส."ตัดหางพันธมิตรฯ สั่ง"สมศักดิ์-สาวิทย์"ถอนตัวแกนนำเก็บถาวร 2012-10-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จากข่าวสด
  20. เหลืองฮือ บุก กมม บีบห้ามส่งลงสส หวิดวางมวย1 จากyoutube
  21. เหลืองฮือ บุก กมม บีบห้ามส่งลงสส หวิดวางมวย2 จากyoutube
  22. "สนธิ" ถาม "สมศักดิ์" รับงานใครมาทำลายพธม. ลั่นสั่งสอนก.ม.ม. "โหวตโน- ยึดพรรคคืน"[ลิงก์เสีย] จากผู้จัดการออนไลน์[ลิงก์เสีย]
  23. 'สมศักดิ์'ดับเครื่องชน'นายสนธิไม่ใช่สมาชิกพรรค จะยึดพรรคได้อย่างไร'เก็บถาวร 2012-08-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนทางกรุงเทพธุรกิจ
  24. "สมศักดิ์ โกศัยสุข" ยันพรรคการเมืองใหม่ส่งผู้สมัคร ส.ส. 21 จังหวัด จากประชาไท
  25. สมศักดิ์" ลั่นยึดพรรค ไม่ฟังพธม. ลากไส้ "สนธิ-ยะใส"[ลิงก์เสีย] จากเนชั่น แชนแนล[ลิงก์เสีย]
  26. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ พรรคใหม่
  27. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงข้อบังคับพรรคสังคมประชาธิปไตยไทย
  28. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรคสังคมประชาธิปไตยไทย
  29. ข้อมูลพรรคสังคมประชาธิปไตยไทย

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]