เอ็มคอตเอชดี
![]() | บทความนี้ถูกกึ่งล็อกมิให้แก้ไข เนื่องจากถูกก่อกวนหลายครั้งติดต่อกัน (ดูปูม) ผู้ไม่ลงทะเบียนหรือผู้ใช้ใหม่ไม่สามารถแก้ไขบทความนี้ได้ แต่ผู้ใช้ทั่วไปยังแก้ไขได้ตามปกติ (ล็อกอินที่นี่) ทุกคนสามารถเสนอความคิดเห็นและข้อควรปรับปรุงได้ในหน้าอภิปราย หรือแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อขอยกเลิกการป้องกันหรือเพิ่มการป้องกันเป็นการล็อกสมบูรณ์ |
![]() | ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
![]() | บทความนี้ได้รับแจ้งให้ปรับปรุงหลายข้อ กรุณาช่วยปรับปรุงบทความ หรืออภิปรายปัญหาที่หน้าอภิปราย
|
สถานีโทรทัศน์เอ็มคอตเอชดี Channel 9 MCOT HD | |
---|---|
![]() | |
เริ่มออกอากาศ | ระบบแอนะล็อก ขาวดำ: 24 มิถุนายน พ.ศ. 2498 (63 ปี) ระบบสี แอนะล็อก: 9 เมษายน พ.ศ. 2520 (41 ปี) ระบบดิจิทัล: 1 เมษายน พ.ศ. 2557 (4 ปี) ระบบดาวเทียมและดิจิทัล: 2 ธันวาคม พ.ศ. 2558 (3 ปี) |
ยุติออกอากาศ | ระบบแอนะล็อก: 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 ( 63 ปี 22 วัน) |
เครือข่าย | สถานีโทรทัศน์/สถานีวิทยุ ช่องโทรทัศน์ระบบดิจิทัล ประเภทบริการธุรกิจระดับชาติ |
เจ้าของ | บริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด: (2498 - 2520) องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย: (2520 - 16 สิงหาคม 2547) บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน): (17 สิงหาคม 2547 - ปัจจุบัน) (SET:MCOT) |
ระบบภาพ | 1080i (16:9 คมชัดสูง) |
บุคลากรหลัก | เขมทัตต์ พลเดช กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ธิติพร จุติมานนท์ รักษาการผู้อำนวยการสถานีฯ[1] |
คำขวัญ | เปิดโลกกว้าง สร้างความสุข Discover happiness |
ประเทศ | ![]() |
พื้นที่แพร่ภาพ | ![]() |
สำนักงานใหญ่ | เลขที่ 63/1 ซอยพระราม 9 7 (ทวีมิตร) ถนนพระราม 9 แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร |
ชื่อเดิม | สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4 บางขุนพรหม: 19 ปี (24 มิถุนายน 2498 - มิถุนายน 2517) สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 บางลำพู: 6 ปี 10 เดือน (มิถุนายน 2513 - 9 เมษายน 2520) สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 อ.ส.ม.ท.: 25 ปี 7 เดือน (9 เมษายน 2520 - 6 พฤศจิกายน 2545) สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์: 12 ปี 10 เดือน (6 พฤศจิกายน 2545 - 9 กันยายน 2558) |
สถานีพี่น้อง | |
เว็บไซต์ | tv.mcot.net/mcothd |
ช่องรายการที่แพร่ภาพ | |
ภาคพื้นดิน | |
ดิจิทัล | ช่อง 30 (มักซ์#3 : อสมท) |
โทรทัศน์ดาวเทียม | |
ช่อง 30 | |
โทรทัศน์เคเบิล | |
ช่อง 30 | |
ออนไลน์ | |
MCOT | ชมรายการสด |
สถานีโทรทัศน์เอ็มคอตเอชดี (อังกฤษ: MCOT HD; ชื่อเดิม: สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4 บางขุนพรหม, สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 บางลำพู, สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 อ.ส.ม.ท., สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ทีวี) หรือ ช่อง 9 เอ็มคอตเอชดี (อังกฤษ: 9 MCOT HD) เป็นสถานีโทรทัศน์ภาคพื้นดิน (Terrestrial Television) แห่งแรกของประเทศไทย ของบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) เริ่มแพร่ภาพเป็นปฐมฤกษ์ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2498 ในระบบวีเอชเอฟ เดิมออกอากาศเป็นภาพขาวดำ ทางช่องสัญญาณที่ 4 ต่อมาในปี พ.ศ. 2517 จึงย้ายมาออกอากาศด้วยภาพสี ทางช่องสัญญาณที่ 9 จนถึงปัจจุบัน สังกัด สำนักนายกรัฐมนตรี โดยมีนายกอบศักดิ์ ภูตระกูล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นผู้กำกับดูแล มีพลเอก ฉัตรเฉลิม เฉลิมสุข เป็นประธานกรรมการบริษัท และนายเขมทัตต์ พลเดชเป็นกรรมการผู้อำนวยการใหญ่
เนื้อหา
- 1 ประวัติ
- 2 การยุติการออกอากาศในระบบอนาล็อก
- 3 การเปิดและปิดสถานี
- 4 แบบทั่วไป
- 4.1 24 มิถุนายน พ.ศ. 2498–2519
- 4.2 1 มิถุนายน พ.ศ. 2513–8 เมษายน พ.ศ. 2520
- 4.3 9 เมษายน พ.ศ. 2520–6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545
- 4.4 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545–9 กันยายน พ.ศ. 2558
- 4.5 1 มีนาคม–25 เมษายน พ.ศ. 2555 (อัตลักษณ์ที่มิได้ใช้จริง)
- 4.6 1 เมษายน พ.ศ. 2557–ปัจจุบัน (อัตลักษณ์สำหรับการออกอากาศโทรทัศน์ระบบดิจิทัลภาคพื้นดิน)
- 4.7 9 กันยายน พ.ศ. 2558–ปัจจุบัน
- 5 รายการโทรทัศน์
- 5.1 รายการที่ออกอากาศในปัจจุบัน
- 5.1.1 รายการทั่วไป
- 5.1.2 รายการข่าว
- 5.1.3 ละครโทรทัศน์
- 5.1.4 ซีรีส์ต่างประเทศ
- 5.1.5 รายการกีฬา
- 5.1.6 การ์ตูนโทรทัศน
- 5.1.7 สารคดี
- 5.1.8 รายการเพื่อศาสนา
- 5.1.9 รายการในช่วงวันหยุดนักขัตฤกษ์
- 5.1.10 รายการพิเศษ
- 5.1.11 รายการรีรัน
- 5.1.12 รายการซ้ำ
- 5.1.13 รายการสั้น
- 5.1.14 รายการสถานีฯ
- 5.1.15 รายการพักชั่วคราว
- 5.2 การออกอากาศในอนาคต
- 5.3 ระยะเวลาออกอากาศ
- 5.4 การโฆษณา
- 5.5 โทรทัศน์ส่วนภูมิภาค
- 5.1 รายการที่ออกอากาศในปัจจุบัน
- 6 ผู้ประกาศข่าวและพิธีกร
- 7 ดูเพิ่ม
- 8 อ้างอิง
- 9 แหล่งข้อมูลอื่น
ประวัติ
เมื่อปี พ.ศ. 2492 สรรพสิริ วิรยศิริ ผู้สื่อข่าวต่างประเทศของกรมโฆษณาการ (กรมประชาสัมพันธ์ในปัจจุบัน) เขียนบทความขึ้นบทหนึ่ง เพื่อแนะนำให้ผู้อ่านรู้จักกับ "วิทยุภาพ" อันเป็นเทคโนโลยีการสื่อสารชนิดใหม่ของโลก ต่อมา กรมโฆษณาการ (กรมประชาสัมพันธ์ในปัจจุบัน) ส่งข้าราชการของกรมฯ กลุ่มหนึ่ง ไปศึกษางานวิทยุโทรภาพที่สหราชอาณาจักร ในราวปี พ.ศ. 2493 เมื่อเล็งเห็นประโยชน์มหาศาลต่อประเทศชาติ กรมประชาสัมพันธ์จึงนำเสนอ "โครงการจัดตั้งวิทยุโทรภาพ" ต่อจอมพลแปลก พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี แต่เนื่องจากสภาผู้แทนราษฎรส่วนมาก แสดงความไม่เห็นด้วยอย่างรุนแรง เนื่องจากเห็นว่าเป็นการสิ้นเปลืองต่องบประมาณแผ่นดินโดยเปล่าประโยชน์ จึงจำเป็นต้องยุติโครงการดังกล่าวลง
หลังจากนั้น ประสิทธิ์ ทวีสิน ประธานกรรมการบริษัท วิเชียรวิทยุและโทรภาพ จำกัด นำเครื่องส่งวิทยุโทรภาพ 1 เครื่อง พร้อมเครื่องรับจำนวน 4 เครื่อง ซึ่งมีน้ำหนักรวมกว่า 2,000 กิโลกรัม มาทำการทดลองส่งแพร่ภาพในทำเนียบรัฐบาล ให้คณะรัฐมนตรีได้รับชม นับเป็นครั้งแรกในประเทศไทย และยังเปิดฉายให้ประชาชนทั่วไป ทดลองรับชมที่ศาลาเฉลิมกรุงด้วย เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2495
สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4 บางขุนพรหม
ระหว่างเดือนกันยายนถึงพฤศจิกายน พ.ศ. 2495 รัฐมนตรีและข้าราชการกลุ่มหนึ่ง ของกรมประชาสัมพันธ์ รวมจำนวน 7 คน ประกอบด้วย พันเอกหลวงสารานุประพันธ์ (นวล ปาจิณพยัคฆ์), พลโทหม่อมหลวงขาบ กุญชร, ประสงค์ หงสนันทน์, พลตำรวจเอกเผ่า ศรียานนท์, เล็ก สงวนชาติสรไกร, พลอากาศโทมุนี มหาสันทนะ เวชยันต์รังสฤษฎ์ และนาวาอากาศเอกเลื่อน พงษ์โสภณ ดำเนินการระดมทุน ด้วยการเสนอขายหุ้น ต่อกรมประชาสัมพันธ์ เป็นเงิน 11 ล้านบาท จึงเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐอีก 8 แห่ง เป็นเงิน 9 ล้านบาท รวมทั้งสิ้น 20 ล้านบาท เพื่อเป็นทุนจดทะเบียนจัดตั้ง "บริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด" (อังกฤษ: Thai Television Co., Ltd. ชื่อย่อ: ท.ท.ท.) ขึ้นเมื่อวันที่10 พฤศจิกายน ของปีดังกล่าว เพื่อเป็นผู้ดำเนินกิจการการส่งสัญญาณโทรทัศน์ในประเทศไทย[2]
ทั้งนี้ ในระยะก่อนจะดำเนินกิจการส่งโทรทัศน์ บจก.ไทยโทรทัศน์ ดำเนินการจัดตั้งสถานีวิทยุกระจายเสียง ท.ท.ท. ขึ้นเพื่อระดมทุนทรัพย์ สำหรับใช้ในการบริหารงาน และเพื่อฝึกฝนบุคลากรฝ่ายต่างๆ พร้อมทั้งเตรียมงานส่วนอื่นด้วย โดยส่งกระจายเสียงจากอาคารที่ทำการ บริเวณแยกคอกวัว (ปัจจุบันเป็นอนุสรณ์สถาน14 ตุลาฯ) จากนั้น เมื่อวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2497 พลตำรวจเอก เผ่า ศรียานนท์ ประธานกรรมการ บริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด (อธิบดีกรมตำรวจในขณะนั้น) เป็นประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์อาคารที่ทำการสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4 ภายในบริเวณวังบางขุนพรหม ที่ทำการของธนาคารแห่งประเทศไทยในปัจจุบัน (จึงเป็นที่มาของชื่อ ที่ผู้ชมทั่วไปเรียกว่า "ช่อง 4 บางขุนพรหม") โดยในระยะเวลาใกล้เคียงกัน ก็เริ่มทดลองส่งแพร่ภาพโทรทัศน์จากห้องส่งของสถานีวิทยุกระจายเสียง ท.ท.ท. ไปพลางก่อน จนกระทั่งก่อสร้างอาคารที่ทำการ พร้อมติดตั้งเครื่องส่งเสร็จสมบูรณ์
จอมพล แปลก พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น เป็นประธานพิธีเปิด สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4 (อังกฤษ: Thai Television Channel 4ชื่อย่อ: ไทย ที.วี. ชื่อเรียกตามอนุสัญญาสากลว่าด้วยวิทยุโทรทัศน์: HS1-TV) ขึ้นเป็นแห่งแรกในประเทศไทยและทวีปเอเชียบนภาคพื้นแผ่นดินใหญ่ (Asia Continental) ซึ่งเป็นแห่งที่สองของทวีปเอเชียทั้งหมด ถัดจากประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2498 ซึ่งตรงกับวันชาติไทยในสมัยนั้น โดยใช้เครื่องส่งโทรทัศน์ขนาด 10 กิโลวัตต์ แพร่ภาพขาวดำระบบ 525 เส้นต่อภาพ 30 ภาพต่อวินาที เช่นเดียวกับที่ใช้ในสหรัฐอเมริกา[2] ต่อมาในเวลา 19:00 น. วันเดียวกัน จึงเริ่มทดลองออกอากาศอย่างเป็นทางการ เริ่มด้วย อารีย์ นักดนตรี ผู้ประกาศของสถานีฯ รำประกอบเพลงต้นบรเทศ (ในยุคหลังเรียกว่า "ต้นวรเชษฐ์"[3]) ซึ่งใช้เปิดการออกอากาศทั้งสถานีโทรทัศน์และสถานีวิทยุของ บจก.ไทยโทรทัศน์ ออกอากาศสดจากห้องส่งโทรทัศน์จากนั้น เย็นจิตต์ สัมมาพันธ์ ผู้ประกาศแจ้งรายการประจำวัน
สำหรับคณะผู้ปฏิบัติงานยุคแรก ของช่อง 4 บางขุนพรหม ได้แก่ จำนง รังสิกุล เป็นผู้อำนวยการคนแรกของสถานีฯ กับทั้งหัวหน้าฝ่ายผลิตรายการ, อัมพร พจนพิสุทธิ์ เป็นหัวหน้าฝ่ายกำกับภาพ, สมชาย มาลาเจริญ เป็นหัวหน้าฝ่ายช่างกล้อง, ธนะ นาคพันธุ์ เป็นหัวหน้าฝ่ายควบคุมการออกอากาศ, เกรียงไกร (สนั่น) ชีวะปรีชา เป็นหัวหน้าฝ่ายเครื่องส่ง, ธำรง วรสูตร ร่วมกับ ฟู ชมชื่น เป็นหัวหน้าฝ่ายเครื่องส่งและเสาอากาศ, จ้าน ตัณฑโกศัย เป็นหัวหน้าฝ่ายกำกับเสียง, รักษ์ศักดิ์ วัฒนพานิช เป็นหัวหน้าฝ่ายบริการเครื่องรับโทรทัศน์, สรรพสิริ วิรยศิริ เป็นหัวหน้าฝ่ายข่าว กับหัวหน้าฝ่ายช่างภาพและแสง
ส่วนผู้ประกาศยุคแรกเป็นสุภาพสตรี ได้แก่ เย็นจิตต์ สัมมาพันธ์ (ปัจจุบันคือ เย็นจิตต์ รพีพัฒน์ ณ อยุธยา), อารีย์ นักดนตรี (ปัจจุบันคือ อารีย์ จันทร์เกษม), ดาเรศร์ ศาตะจันทร์, นวลละออ ทองเนื้อดี (ปัจจุบันคือ นวลละออ เศวตโสภณ), ชะนะ สาตราภัย และประไพพัฒน์ นิรัตพันธ์ เป็นต้น ทางผู้ประกาศข่าวเป็นสุภาพบุรุษ ได้แก่ สรรพสิริ วิรยศิริ, อาคม มกรานนท์, สมชาย มาลาเจริญ และบรรจบ จันทิมางกูร เป็นต้น
ในระยะแรก แพร่ภาพทุกวันอังคาร, วันพฤหัสบดี, วันเสาร์ และวันอาทิตย์ ระหว่างเวลา 18:30-23:00 น. ต่อมาเพิ่มวันและเวลาออกอากาศ มากขึ้นตามลำดับ ทั้งนี้ รัฐบาลในสมัยนั้น มักใช้สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4 ถ่ายทอดการปราศรัย ของนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี, เผยแพร่ผลงานของรัฐบาล, ถ่ายทอดการประชุมรัฐสภา ตลอดจนถ่ายทอดสดงานเฉลิมฉลอง 25 พุทธศตวรรษ ในปี พ.ศ. 2500 แต่เพียงฝ่ายเดียวเท่านั้น จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ผู้บัญชาการทหารบกในขณะนั้น จึงสั่งการให้กองทัพบก จัดตั้งสถานีโทรทัศน์ขึ้น อีกแห่งหนึ่งคือ สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 7 (ภาพขาวดำ; ปัจจุบันคือ สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5) ในระหว่างปี พ.ศ. 2500-2501
ราวต้นเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2517 ได้เปลี่ยนระบบการออกอากาศ จากภาพขาวดำเป็นภาพสี ในระบบ 625 เส้น ทางช่อง 4 บางขุนพรหม อย่างสมบูรณ์ โดยได้ย้ายห้องส่งโทรทัศน์ไปที่ถนนพระสุเมรุ แขวงบางลำพู และราวปี พ.ศ. 2519 ได้หยุดทำการออกอากาศพร้อมกับการเปลี่ยนชื่อเป็น สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 บางลำพู ตั้งแต่วันจันทร์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2513 ที่ผ่านมา
สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9
สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 บางลำพู
บจก.ไทยโทรทัศน์ เริ่มออกอากาศเป็นภาพสี 625 เส้น ในย่านความถี่วีเอชเอฟ ทางช่องสัญญาณที่ 9 ตั้งแต่วันจันทร์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2513 โดยแพร่ภาพออกอากาศคู่ขนานกับช่องสัญญาณที่ 4 ในระบบภาพขาวดำ เป็นเวลาประมาณ 4 ปี[4] กระทั่งราวต้นเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2517 จึงยุติการออกอากาศในระบบภาพขาวดำ 525 เส้น ทางช่องสัญญาณที่ 4 คงไว้เพียงระบบภาพสี มาจนถึงราวปี พ.ศ. 2519 โดยทางช่องสัญญาณที่ 9 อย่างสมบูรณ์ จึงเปลี่ยนชื่อเป็น "สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9" (อังกฤษ: Thai Color Television Channel 9) พร้อมทั้งย้ายห้องส่งโทรทัศน์ รวมถึงที่ทำการทั้งหมด ไปยังอาคารพาณิชย์ขนาด 5 คูหา ย่านถนนพระสุเมรุ แขวงบางลำพู (ดังที่ผู้ชมทั่วไป มักเรียกว่า "ช่อง 9 บางลำพู" ในสมัยนั้น) เนื่องจากธนาคารแห่งประเทศไทย เสนอซื้อที่ดิน, อาคารที่ทำการ บจก.ไทยโทรทัศน์ และสิ่งปลูกสร้างทั้งหมด ซึ่งอยู่ภายในบริเวณวังบางขุนพรหม ด้วยมูลค่า 39 ล้านบาท เพื่อแลกกับบ้านมนังคศิลา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2502[ต้องการอ้างอิง]
สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 อ.ส.ม.ท.
เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2520 คณะรัฐมนตรี ที่นำโดยศาสตราจารย์ (พิเศษ) ธานินทร์ กรัยวิเชียร นายกรัฐมนตรี มีมติให้ยุบเลิกกิจการ บจก.ไทยโทรทัศน์ ส่งผลให้การดำเนินงานของสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 สิ้นสุดลงด้วย ต่อมาวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2520 มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้ง "องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย" (อังกฤษ: The Mass Communication Organisation of Thailand ชื่อย่อ: อ.ส.ม.ท.; M.C.O.T.) ให้เป็นรัฐวิสาหกิจ ในสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อดำเนินกิจการสื่อสารมวลชนของรัฐ ให้มีความคล่องตัว มีประสิทธิภาพ ถูกต้อง รวดเร็ว และเป็นที่เชื่อถือของสาธารณชน โดยรัฐบาลมอบทุนประเดิม 10 ล้านบาท และให้รับโอนกิจการสื่อสารมวลชนของ บจก.ไทยโทรทัศน์ คือ สถานีวิทยุกระจายเสียง ท.ท.ท. และสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 เพื่อดำเนินกิจการต่อไป[5] ตั้งแต่วันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2520 ซึ่งเป็นวันสถาปนา อ.ส.ม.ท.[2] ส่งผลให้เปลี่ยนชื่อเป็น "สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 อ.ส.ม.ท." โดยอัตโนมัติ
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิด อาคารที่ทำการ อ.ส.ม.ท. บนเนื้อที่ 14 ไร่ ที่มีห้องส่งโทรทัศน์ขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทยขณะนั้น เมื่อเวลา 09:25 น. ของวันอาทิตย์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2524[6] ต่อมาระหว่างปี พ.ศ. 2528-2532 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมเกียรติ อ่อนวิมล อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และพิธีกรรายการ ความรู้คือประทีป ในขณะนั้น ตอบรับคำเชิญของ ผู้อำนวยการ อ.ส.ม.ท. ในขณะนั้น ให้เข้ามาช่วยปรับปรุงการนำเสนอข่าว 9 อ.ส.ม.ท. ร่วมกับ บริษัท แปซิฟิค อินเตอร์คอมมิวนิเคชัน จำกัด ส่งผลให้ผู้ประกาศข่าวคู่ ซึ่งมีชื่อเสียงที่สุด ของยุคนั้นก็คือ ดร.สมเกียรติ และกรรณิกา ธรรมเกษร (ซึ่งทำหน้าที่ ในวันจันทร์ถึงวันศุกร์ ส่วนวันเสาร์และวันอาทิตย์ ดร.สมเกียรติ ประกาศคู่กับ อรุณโรจน์ เลี่ยมทอง)
วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2530 อ.ส.ม.ท. ร่วมลงนามในสัญญากับสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 และสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 อ.ส.ม.ท. เพื่อขยายเครือข่ายกิจการโทรทัศน์ ไปสู่ส่วนภูมิภาค และหน่วยงานภาครัฐ จัดสรรคลื่นความถี่ส่ง ด้วยระบบวีเอชเอฟ พร้อมอุปกรณ์การออกอากาศ เพื่อจัดตั้งสถานีเครื่องส่งโทรทัศน์ในการกำกับของ อ.ส.ม.ท. แต่ละแห่ง (ระยะหลังจึงขยายไปสู่ระบบยูเอชเอฟ) ตั้งแต่เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2531-กรกฎาคม พ.ศ. 2534 เป็นระยะเวลา 3 ปี จึงทำให้ สถานีโทรทัศน์ในการกำกับของ อ.ส.ม.ท. ทั้งสองแห่ง สามารถออกอากาศไปได้ทั่วประเทศ
ราวปี พ.ศ. 2535 แสงชัย สุนทรวัฒน์ เข้ารับตำแหน่งผู้อำนวยการ อ.ส.ม.ท.ในช่วงที่ อ.ส.ม.ท. ถูกเรียกว่า "แดนสนธยา" เนื่องจากมีกลุ่มอิทธิพลมืด ฝังตัวอยู่ในองค์กร แต่แสงชัยก็สามารถขจัดอิทธิพลมืดเหล่านั้นสำเร็จ รวมถึงสามารถพัฒนา อ.ส.ม.ท. ขึ้นมาเป็นอย่างดี แต่แล้วแสงชัยก็ถูกลอบสังหารด้วยอาวุธปืน เสียชีวิตระหว่างนั่งรถยนต์ เดินทางกลับบ้านพักในเมืองทองธานี ถนนแจ้งวัฒนะ เมื่อวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2539 จากผลการสอบสวนของตำรวจ ระบุว่า อุบล บุญญชโลธร อดีตผู้รับสัมปทานจัดรายการ ทางสถานีวิทยุ อ.ส.ม.ท. ส่วนภูมิภาค จ้างวานให้บุตรเขย คือ ทวี พุทธจันทร์ ส่งมือปืนไปลอบสังหารแสงชัย ต่อมาอุบลถูกลอบสังหาร เสียชีวิตบนรถยนต์ก่อนกลับถึงบ้านพัก อย่างเช่นเดียวกับแสงชัย เมื่อปี พ.ศ. 2541[7]
สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์
เมื่อปี พ.ศ. 2545 มิ่งขวัญ แสงสุวรรณ ผู้อำนวยการองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย หรือ อ.ส.ม.ท. ขณะนั้น มีดำริให้ปรับปรุงการบริหารงานของสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 อ.ส.ม.ท. ให้มีความทันสมัย รวดเร็ว และฉับไว ในด้านการนำเสนอ รายงานข่าวสาร สาระความรู้ และความบันเทิง เพื่อให้ทันต่อเทคโนโลยีการสื่อสารในยุคโลกาภิวัตน์ และเพื่อขจัดความเป็น "แดนสนธยา" ภายในองค์กรอีกด้วย
ในวันที่ 6 พฤศจิกายน ของปีนั้น จึงมีพิธีเปิดตัว "สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์" โดยมี พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธี พร้อมทั้งเริ่มออกอากาศตามรูปแบบใหม่ ตั้งแต่เวลา 18:30 น. เป็นต้นไป โดยมีทั้งการเปลี่ยนแปลง ตราสัญลักษณ์ของสถานีฯ พร้อมทั้งปรับปรุงรูปแบบ การเสนอรายการตลอด 24 ชั่วโมง [2] เพิ่มเวลานำเสนอข่าว โดยเฉพาะข่าวต้นชั่วโมง และแถบตัววิ่งข่าว (News Bar) เพิ่มช่วงแมกกาซีนออนทีวี ในข่าวภาคค่ำ ซึ่งนำเสนอข่าวสาร และสาระความรู้ ในประเด็น และการนำเสนอแบบสบายๆ โดยใช้วิธีการนำเสนอแบบนิตยสาร ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนา เป็นรายการ ไนน์เอ็นเตอร์เทน ในเวลาต่อมา รวมถึงเพิ่มบทบาทความสัมพันธ์กับเครือข่ายสำนักข่าวชั้นนำทั่วโลก เช่น ซีเอ็นเอ็น/ซีเอ็นบีซี/เอพี/รอยเตอร์ส/วีโอเอ ของสหรัฐอเมริกา, บีบีซี ของสหราชอาณาจักร, เอ็นเอชเค ของประเทศญี่ปุ่น และซีซีทีวี ของประเทศจีน เป็นต้น
โมเดิร์นไนน์ทีวี ดำเนินการผลิตรายการโทรทัศน์ ตลอดจนการแพร่ภาพ และควบคุมการออกอากาศ จากสถานีส่วนกลางในกรุงเทพมหานคร ไปยังสถานีเครือข่ายแอนะล็อกส่วนภูมิภาค 32 สถานี สามารถให้บริการครอบคลุมพื้นที่ร้อยละ 79.5 ของประเทศ มีประชากรในขอบเขตการออกอากาศ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 96.5 ของประเทศ โดยมีรายการประเภทข่าวสาร สาระความรู้ ความบันเทิง กีฬา และรายการเพื่อสาธารณประโยชน์ รวมทั้งการถ่ายทอดสดต่างๆ โดยเฉพาะรายการประเภทข่าวสาร และสาระความรู้ ในด้านต่างๆ มานำเสนอในช่วงไพรม์ไทม์ที่มีผู้ชมมากที่สุด เพื่อให้ผู้ชม ได้รับข่าวสารและความรู้ ที่เป็นประโยชน์อย่างเท่าเทียมกัน โดยมุ่งหวังจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของผู้ชมชาวไทย
มีเหตุการณ์สำคัญ ระหว่างรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ซึ่งเกี่ยวข้องกับโมเดิร์นไนน์ทีวี คือ เมื่อเวลา 22:15 น. พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน เป็นหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ยึดอำนาจรัฐบาลรักษาการ ทั้งนี้ พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้ออกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร ผ่านทางโทรศัพท์เคลื่อนที่จากสหรัฐอเมริกา มาออกอากาศสดทางโมเดิร์นไนน์ทีวี แต่อ่านแถลงการณ์ได้เพียงสามฉบับ ก็มีกำลังพลทหารพร้อมอาวุธกลุ่มหนึ่ง บุกเข้าไปถึงห้องควบคุมการออกอากาศ แล้วออกคำสั่งให้หยุดการประกาศทันที จึงทำให้เจ้าหน้าที่สถานีฯ ต้องปฏิบัติตามในที่สุด
จากนั้นเมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2555 ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีขณะนั้น เป็นประธานในงานครบรอบ 60 ปี การสถาปนา อสมท พร้อมทั้งเริ่มออกอากาศรายการข่าวโทรทัศน์ รูปแบบใหม่ของสำนักข่าวไทย ตามดำริของ จักรพันธุ์ ยมจินดา รองประธานกรรมการ และรักษาการ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ประกอบด้วย การนำเทคโนโลยีวิดีโอวอลล์ ขนาดความยาว 20 เมตร ความกว้าง 3 เมตร มาใช้กับการรายงานข่าวในห้องส่ง ร่วมกับการนำเฮลิคอปเตอร์ มาใช้ประกอบรายงานข่าวนอกสถานที่ เป็นครั้งแรกของสำนักข่าวไทย โดยใช้ชื่อว่า "เบิร์ดอายส์นิวส์" (Bird Eye's News) รวมทั้งจัดสำรวจความเห็นผู้ชมในชื่อ "เอ็มคอตโพลล์" (MCOT Poll) นอกจากนี้จะออกแบบตราสัญลักษณ์ ของสำนักข่าวไทยขึ้นใหม่ ให้มีความทันสมัยมากขึ้น[8] (ทว่าแบบที่จัดทำในยุคของจักรพันธุ์ มิได้นำมาใช้จริงแต่อย่างใด ซึ่งหลังจากนั้นมีการออกแบบใหม่ แล้วจึงนำออกใช้จริงต่อมา)
สถานีโทรทัศน์ช่อง 9 เอ็มคอตเอชดี
เมื่อวันพุธที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2558 ศิวะพร ชมสุวรรณ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) เป็นประธานในพิธีเปิดตัว "สถานีโทรทัศน์ช่อง 9 เอ็มคอตเอชดี" ที่โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ ณ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร โดยนำเทปบันทึกภาพมาออกอากาศ ระหว่างเวลา 18:50-19:10 น. ทางโมเดิร์นไนน์ทีวี(เอ็มคอตเอชดี) เพื่อเปลี่ยนผ่านไปสู่ชื่อใหม่ดังกล่าว ซึ่งมีการปรับปรุงอัตลักษณ์รูปแบบใหม่ เพื่อนำมาใช้แทนที่ตราสัญลักษณ์เดิม ซึ่งใช้ร่วมกับกิจการในเครือ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) นับแต่ปลายปี พ.ศ. 2545 พร้อมทั้งเพิ่มเติมรายการใหม่ จากผู้ผลิตเนื้อหาหลายแห่งเช่น บริษัท เนชั่น บรอดแคสติ้ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (เนชั่นทีวี), บริษัท แบงคอก บิสสิเนส บรอดแคสติ้ง จำกัด (นาว 26) และบริษัท ทรู วิชั่นส์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) (ทรูวิชันส์) เป็นต้น[9]
ตั้งแต่วันอาทิตย์ที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2561 เวลา 18:30 น. มีแผนที่จะยุติการออกอากาศโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบแอนะล็อกจากสถานีเครื่องส่งโทรทัศน์ 13 สถานี เป็นลำดับแรก โดยจะมีผลกระทบต่อผู้ชมในพื้นที่ของจังหวัดแม่ฮ่องสอน (รวมไปถึงที่อำเภอแม่สะเรียง) จังหวัดน่าน จังหวัดตาก จังหวัดเพชรบูรณ์ จังหวัดเลย จังหวัดสกลนคร จังหวัดมุกดาหาร จังหวัดสระแก้ว จังหวัดชุมพร จังหวัดระนอง (รวมไปถึงอำเภอตะกั่วป่า) จังหวัดสตูล และวันจันทร์ที่ 16 กรกฎาคม ปีเดียวกัน จะยุติการออกอากาศจากสถานีเครื่องส่งโทรทัศน์ที่เหลืออีก 23 สถานี ซึ่งรวมไปถึงสถานีกรุงเทพมหานคร เป็นลำดับสุดท้าย เนื่องจากโครงข่ายการออกอากาศโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัลของบมจ.อสมท ให้บริการครอบคลุมทั่วประเทศแล้วนั้น และจะเหลือแต่เพียงแค่การออกอากาศในระบบดิจิทัล ทางช่องหมายเลข 30 (ภาพความคมชัดสูง) แต่เพียงอย่างเดียว
การยุติการออกอากาศในระบบอนาล็อก
ในวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 เวลา 18:30 น. ช่อง 9 เอ็มคอตเอชดี ได้ทำการยุติการแพร่ภาพในระบบอนาล็อกครบทุกพื้นที่ในประเทศ[10]
การเปิดและปิดสถานี
ภาพราตรีสวัสดิ์
- พ.ศ. 2520 - 2545 ภาพพระพุทธรูปพร้อมเสียงสวดมนต์ ไม่มีโลโก้ มีแต่ตัวหนังสือคำว่า"ราตรีสวัสดิ์"
- พ.ศ. 2545 เปิด 24 ชม.
ภาพเปิดสถานี
- พ.ศ. 2520 - พ.ศ. 2545 โลโก้ช่อง 9 มักปรากฏอยู่ด้านบน ด้านล่างเขียนตัวหนังสือสีขาวเขียนว่า "สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 อ.ส.ม.ท."
ภาพทดสอบ
- พ.ศ. 2520 - พ.ศ. 2533 ภาพทดสอบ จอฟ้า
- พ.ศ. 2533 - พ.ศ. 2537 ภาพทดสอบ คัลเลอร์บาร์
- พ.ศ. 2537 - พ.ศ. 2545 ภาพทดสอบ พีเอ็ม 5544
แบบทั่วไป
- พ.ศ. 2519 อัตลักษณ์ช่อง 9 ลักษณะจะเป็นโครงเส้นสีขาว และแสดงกำกับชื่อองศ์กรว่า อ.ส.ม.ท. จะแสดงบนหน้าจอ 30 วินาที
- พ.ศ. 2527 โลโก้ช่อง 9 เหมือนกับรุ่น 2519
- พ.ศ. 2532 อัตลักษณ์ช่อง 9 ลักษณะจะเป็นแบบสีความละเอืยด 16 สี ตัวอักษรกำกับชื่อสีชมพู
- พ.ศ. 2534 อัตลักษณ์ช่อง 9 ลักษณะจะเป็นแบบสีความละเอืยด 16 สี
24 มิถุนายน พ.ศ. 2498–2519
สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4 บางขุนพรหม มีอัตลักษณ์เป็นภาพ "วิชชุประภาเทวี" หมายถึง เทวดาผู้หญิง ที่เป็นเทพเจ้าหรือนางพญาแห่งสายฟ้า ประดับด้วยลายเมฆ และสายฟ้า อยู่ภายในรูปวงกลม ที่ออกแบบโดย กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม (ในขณะนั้น) และได้ออกอากาศภาพขาวดำ เปลี่ยนเป็นภาพสี ในระบบวีเอชเอฟ เมื่อราวต้นเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2517
ต่อมาสถานีฯ ได้ยกเลิกการใช้งานอัตลักษณ์นี้เมื่อปี พ.ศ. 2519 เพราะมีการใช้อัตลักษณ์ใหม่ให้สอดคล้องกับการที่ได้เปลี่ยนแปลงมาออกอากาศในภาพสี ระบบวีเอชเอฟทางช่อง 9 อย่างเต็มรูปแบบแล้ว เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2513[11]
- TH CH4.png
อัตลักษณ์รูปแบบทั่วไป
1 มิถุนายน พ.ศ. 2513–8 เมษายน พ.ศ. 2520
สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 บางลำพู มีอัตลักษณ์เป็นรูปกรอบจอโทรทัศน์ภายในเป็นรูปคลื่นกระจายสัญญาณ โดยทางซ้ายมีสีที่กระจายอยู่สามสี คือ สีแดง เขียว น้ำเงิน และตัวเลข 9 สีดำ อยู่ภายในวงกลมสีเหลือง ซึ่งอยู่ทางขวาสุด และเลิกใช้งานเมื่อปี พ.ศ. 2526 หลังจากที่สถานีฯ กลายมาเป็นหน่วยงานของ อ.ส.ม.ท. อย่างเรียบร้อยแล้ว เพราะมีการเปลี่ยนอัตลักษณ์ใหม่ในเวลาต่อมา เมื่อวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2520
9 เมษายน พ.ศ. 2520–6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545
สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 อ.ส.ม.ท. มีอัตลักษณ์เป็นรูปกรอบจอโทรทัศน์ ภายในแบ่งเป็นแถบเส้นโค้งสามแถบ มีสามแม่สีแสง คือ แดง เขียว น้ำเงิน และตัวเลข 9 สีดำ ประทับอยู่ใจกลางอัตลักษณ์ ทั้งหมดเดินเส้นด้วยสีขาว และมีเส้นขอบสีดำอยู่ภายนอกสุด ส่วนล่างมีอักษรชื่อย่อ "อ.ส.ม.ท." กำกับไว้ และเลิกใช้งานเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2547 หลังได้ย้ายมาที่อัตลักษณ์เป็น "สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์" โดยใช้ตั้งแต่วันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545
6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545–9 กันยายน พ.ศ. 2558
สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ มีอัตลักษณ์เป็นรูปวงกลม มีเส้นสีเทาเงินหรือสีเทาตัดกัน คล้ายเส้นรอบโลก อยู่ทางซ้าย ทางขวามีตัวเลข 9 สีม่วงซ่อนอยู่ ส่วนบนมีเส้นโค้ง สีเทาเงินหรือสีเทา ลักษณะโดยรวมคล้ายดวงตา ส่วนล่างกำกับด้วยอักษรชื่อย่อ "MCOT" (ใช้เมื่อปี พ.ศ. 2545 และ 2556-2557) หรือ "อสมท" (ใช้ระหว่างปี พ.ศ. 2546-2555) สีส้มเดินเส้นขอบสีเทา ซึ่งใช้อัตลักษณ์ดังกล่าวนี้ เป็นหน่วยงานแรก ก่อนจะมีการแปรรูปกิจการ "องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย" เป็น "บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)" ในปีถัดมา
ส่วนปี พ.ศ. 2556 จนถึงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2557 เป็นการแสดงอัตลักษณ์ ที่มุมล่างทางขวาของจอโทรทัศน์ จะเปลี่ยนสีของเส้นที่ตัดกันทางซ้าย และเส้นโค้งในส่วนบนของอัตลักษณ์ (ซึ่งเดิมเป็นสีเทา) ไปตามสีประจำวันในสัปดาห์ (รูปแบบเดียวกับ แชนแนลวีไทยแลนด์) โดยเฉพาะในวันธรรมสวนะ จะแสดงที่มุมบนทางขวาของจอโทรทัศน์ เนื่องจากทำการเพิ่มภาพพระพุทธรูปสีทองอยู่เหนืออัตลักษณ์ และภาพดอกบัวสีขาวซ้อนหลังอัตลักษณ์ และแสดงสัญลักษณ์ในวันสำคัญ เช่น วันขึ้นปีใหม่ วันตรุษจีน วันสงกรานต์ วันแรงงาน วันพืชมงคล เป็่นต้น
ต่อมาเมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2558 สถานีฯ ได้เปลี่ยนชื่ออีกครั้งเป็น "สถานีโทรทัศน์ช่อง 9 เอ็มคอตเอชดี" อย่างไรก็ตาม ยังคงใช้ตราสัญลักษณ์ดังกล่าวอยู่ที่คู่ขนานกับตราสัญลักษณ์ใหม่ เช่น บนหน้าไมโครโฟนข่าวของสำนักข่าวไทย สถานีวิทยุกระจายเสียง และบริษัทมหาชนจำกัดขององค์กรสื่อสารมวลชน รวมถึงในการโฆษณาบางเวลาของสถานีฯ และอัตลักษณ์ที่มีลักษณะตัวอักษร "O" สำหรับดวงตาที่ไม่มีคิ้ว ในช่องเอ็มคอตแฟมิลี โดยใช้ตั้งแต่เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2557 จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2560 อีกด้วย
- MCOT-Modernnine TV TH logo (2).svg
อัตลักษณ์รูปแบบสามมิติในภาษาไทย
- MCOT-Modernnine TV EN logo (2).svg
อัตลักษณ์รูปแบบสามมิติในภาษาอังกฤษ
- .png
อัตลักษณ์รูปแบบวันธรรมสวนะ (ตลอดช่วงวันสำคัญปี พ.ศ. 2556–2557)
1 มีนาคม–25 เมษายน พ.ศ. 2555 (อัตลักษณ์ที่มิได้ใช้จริง)
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2555 บมจ.อสมท แถลงข่าวว่าจะเปลี่ยนแปลงตราสัญลักษณ์ ที่ใช้กับการนำเสนอข่าวทางโทรทัศน์ของสำนักข่าวไทย โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 25 เมษายน เป็นต้นไป ภายใต้แนวคิดดังนี้
- เส้นที่วิ่งรอบจุดศูนย์กลาง แสดงถึงเนื้อหาที่ครอบคลุมทั่วโลก การเดินทางรอบโลกอย่างรวดเร็ว ภายใต้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต ที่เข้าไปสัมพันธ์ ตั้งแต่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นรอบโลก ไปจนถึงในชีวิตประจำวัน และความสนใจของแต่ละบุคคล
- ภาพที่นำมาใช้กับเส้นรอบโลก เป็นได้ทั้งภาพจักรวาล ท้องฟ้า เมือง ธรรมชาติ สัตว์ป่า ใต้ทะเลลึก เซลล์อะตอม หรือแม้แต่ หน่วยที่เล็กที่สุดในร่างกาย
- จุดศูนย์กลางที่แทนความหมายของโลก ทั้งที่เป็นดาวเคราะห์ดวงหนึ่งในจักรวาล เป็นสถานที่รวมเหตุการณ์ต่างๆ รวมทั้งเป็นโลกของคนที่มีความสนใจแตกต่างกันไป
- สีของจุดศูนย์กลาง สามารถใช้สีต่างๆ โดยเปลี่ยนไปตามเรื่องราว แต่สีหลักเป็นสีฟ้า ตามสีของโลก
- ในพื้นที่ว่าง ระหว่างเส้นรอบโลกกับลูกโลก มีรูปร่างเป็นเลข 9 แทนลักษณะการนำเสนอเนื้อหา ที่มองจากมุมที่แตกต่าง ในแง่ที่คนทั่วไปยังไม่ตระหนักถึง
- ช่องส่วนปลายของเลข 9 ที่เจาะทะลุ เป็นช่องที่เปิดผ่านเปลือกนอกเข้าไปสู่แก่นแท้ สื่อถึงความเข้าใจในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และวิเคราะห์ถึงประเด็นหลักที่แท้จริง
อนึ่ง สำนักข่าวไทยมิได้นำตราสัญลักษณ์นี้มาใช้จริง เนื่องจากมีกระแสโจมตีโดยฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองและประชาชนบางกลุ่ม
1 เมษายน พ.ศ. 2557–ปัจจุบัน (อัตลักษณ์สำหรับการออกอากาศโทรทัศน์ระบบดิจิทัลภาคพื้นดิน)
หลังจากที่บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ได้สิทธิดำเนินการช่องโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัล ประเภทบริการทางธุรกิจระดับชาติ (ภาพความละเอียดสูง) ทางช่องหมายเลข 30 ตามที่คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) อนุญาตให้อุปกรณ์รวมส่งสัญญาณ (มักซ์#3) ร่วมกับ สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (มักซ์#1), สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก (มักซ์#2 และ #5) และสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส (มักซ์#4) จัดสรรคลื่นความถี่ยูเอชเอฟสำหรับออกอากาศ โดยระยะแรกสุด คือระหว่างวันที่ 1 เมษายน ถึงวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2557 เป็นการทดลองออกอากาศ ซึ่งในวันที่ 1 เมษายน เวลา 00.00 น. ถึงประมาณ 05.30 น. มีการทดสอบภาพด้วยแถบสีพร้อมเสียงบี๊พ และแสดงตัวอักษรชื่อช่อง "MCOT HD" สีเทาเงินโปร่งแสง ปรับเอนเฉพาะอักษร HD อยู่ที่มุมขวาบนของจอโทรทัศน์ และเริ่มทดสอบการออกอากาศคู่ขนาน ตั้งแต่เวลา 05.30 น. ถึงวันที่ 20 มิถุนายน ปีเดียวกัน จากนั้นจึงมีการเปลี่ยนสัดส่วนภาพที่ออกอากาศในระบบแอนะล็อกจาก 4:3 เป็น 16:9 และในระบบดิจิทัล มีการแสดงสัญลักษณ์เหมือนในระบบแอนะล็อก แต่มีคำว่า "MCOT HD" สีเทาเงินและคำว่า "HD" เป็นตัวเอน อยู่ใต้สัญลักษณ์ของโมเดิร์นไนน์ทีวี และยังไม่มีการออกอากาศแถบข้อมูลจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในระบบดิจิทัล จนถึงวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2558
หลังจากปี พ.ศ. 2557 เป็นการแสดงสัญลักษณ์บนหน้าจอโทรทัศน์ของทั้งสองช่องพร้อมกันดังกล่าว จึงวางตราสัญลักษณ์ของโมเดิร์นไนน์ทีวี ไว้เป็นหลักที่มุมขวาล่าง (ตั้งแต่วันที่ 4 ธันวาคม เวลา 18.15 น. ทำการย้ายขึ้นไปอยู่ที่มุมขวาบนแทน) โดยถัดลงไปเป็นโดเมนเนมของเว็บไซต์ www.mcot.net สีขาว และสัญลักษณ์ตัวอักษร MCOT HD ตามรูปแบบเดิม ถัดลงมาอีกชั้นหนึ่ง จากนั้น ตั้งแต่วันที่ 25 ธันวาคม จึงปรับรูปแบบอีกครั้ง โดยใช้ตราสัญลักษณ์ของโมเดิร์นไนน์ทีวี วางเป็นหลักที่ตรงกลาง โดยส่วนล่างถัดจากตัวอักษร MCOT สีส้มตามรูปแบบเดิม วางตัวอักษร HD สีเทาเงินอ่อนปรับเอน และสัญลักษณ์ (ยกเว้นข้อความ) สามารถเคลื่อนไหวได้ และในช่องสัญญาณระบบแอนะล็อก เริ่มต้นออกอากาศสัญญาณภาพจากช่อง 9 เอ็มคอตเอชดี อย่างเต็มที่ ไม่ใช่เฉพาะส่วนใดส่วนหนึ่งเหมือนในช่วงก่อนหน้า หลังจากนั้นจึงมีการทยอยปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ต่างๆ ภายในสถานีฯ ให้ออกอากาศด้วยความคมชัดสูงอย่างเต็มที่ยิ่งขึ้น
9 กันยายน พ.ศ. 2558–ปัจจุบัน
สถานีโทรทัศน์ช่อง 9 เอ็มคอตเอชดี มีอัตลักษณ์ซึ่งปรับปรุงมาจาก รูปแบบพื้นฐานของอัตลักษณ์ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) (ไม่รวมตัวอักษร MCOT หรือ อสมท ที่กำกับอยู่ส่วนล่าง) โดย อสมท มอบหมายให้บริษัท โตโมแกรม สตูดิโอ จำกัด เป็นผู้ออกแบบอัตลักษณ์ โดยมีส่วนแตกต่างที่สำคัญคือ นำเส้นโค้งส่วนบนออกไป เหลือแต่เพียงรูปวงกลมคล้ายลูกโลก, ลดลักษณะสามมิติลงเป็นเพียงสองมิติ, เปลี่ยนการเดินเส้นที่มุมล่างซ้าย เป็นรูปแบบใหม่ด้วยเส้นที่บางลง, กำหนดเส้นร่างเป็นสีม่วงอ่อนทั้งหมด และพื้นหลังเป็นสีขาว สำหรับตัวอักษรชื่อช่อง MCOT HD เปลี่ยนไปใช้แบบอักษรใหม่ โดยแบ่งการกำหนดสี ออกเป็นสองส่วนคือ MCOT เป็นสีม่วงอ่อน (เช่นเดียวกับตัวอัตลักษณ์) และ HD เป็นสีเทา ภาพรวมทั้งหมดเป็นทึบแสง ทั้งนี้อัตลักษณ์ดังกล่าว บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) นำไปใช้กับการออกอากาศโดยคู่ขนาน ทั้งระบบแอนะล็อกทางช่อง 9 และระบบดิจิทัลทางช่อง 30[ต้องการอ้างอิง]
ต่อมาเมื่อค่ำวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเสด็จสวรรคต ไปจนถึงโทนสีเหมือนเดิม ตั้งแต่วันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2560 และอีกครั้งเนื่องในโอกาสพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เมื่อเที่ยงคืนวันที่ 1 ตุลาคม ไปจนถึงหลังจบข่าวในพระราชสำนักในช่วงข่าวค่ำ ของวันที่ 19 ตุลาคม ปีเดียวกัน เป็นการแสดงอัตลักษณ์ ที่มุมล่างทางขวาของจอโทรทัศน์ จะเปลี่ยนสีให้ปรับเป็นโทนขาวดำ โดยเฉพาะการไว้อาลัยของสถานีฯ รวมถึงฟรีทีวีทุกช่องของทั่วประเทศ สืบอันเนื่องมาจากคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) สั่งให้พักการออกอากาศเป็นระยะเวลา 30 วัน (13 ตุลาคม-12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559) สำหรับวันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 จนถึงวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2560 และอีกครั้งเมื่อวันที่ 13 ถึง 29 ตุลาคม ปีเดียวกัน ก่อนเข้าสู่ผังรายการได้ตามปกติ มุมบนทางขวาของจอโทรทัศน์ อาจมีรายการเกี่ยวกับการยกระดับคุณภาพชีวิต การพัฒนาประเทศ การสนับสนุนประชาชนให้เข้าสู่โลกแห่งเทคโนโลยี ให้ผู้รับใบอนุญาตพิจารณากำหนดเพิ่มเติมอย่างเหมาะสมตามกำหนดไว้
เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 มีอัตลักษณ์รูปแบบสามมิติที่คล้ายกับโลโก้ปัจจุบันอย่างเช่นเดิม พร้อมปรับขนาดอัตลักษณ์บนหน้าจอให้ใหญ่และโดดเด่นขึ้น ส่วนตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน เป็นต้นไป ได้เป็นอัตลักษณ์ที่มีลักษณะรูปโลกในรูปแบบสามมิติไปเช่นเดียวกัน
ในช่วงปลายเดือนกันยายน พ.ศ. 2561 มีการปรับปรุงอัตลักษณ์บนหน้าจอให้โดดเด่นมากขึ้น โดยนำรูปแบบของสถานีโทรทัศน์ท้องถิ่นของสหรัฐอเมริกามาปรับใช้ และกลับมาปรากฏโดเมนเนมเว็บไซต์ของ อสมท อีกครั้ง หลังจากยุติการแสดงไปในช่วงประมาณปี พ.ศ. 2558
- Channel 9 MCOT HD Nov 2017.png
อัตลักษณ์รูปแบบสามมิติ (ครั้งที่ 2) (1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560–ปัจจุบัน)
รายการโทรทัศน์
รายการที่ออกอากาศในปัจจุบัน
รายการทั่วไป
- คัมภีร์วิถีรวย - วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 09:00-09:30 น. ผู้ผลิตรายการโดย บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)
- ตุ๊กตามสั่ง - วันจันทร์ เวลา 10:30-11:00 น.
- มาดามตวง Food Celeb - วันอังคาร เวลา 10:30-11:00 น.
- Good Mood Good Food อาหารดี อารมณ์ดี - วันพุธ เวลา 10:30-11:00 น. ผู้ผลิตรายการโดย พลฟู้ดมาเฟีย
- พลพรรคนักปรุง - วันพฤหัสบดี-ศุกร์ เวลา 10:30-11:00 น. ผู้ผลิตรายการโดย พลฟู้ดมาเฟีย
- เฮสนั่นลั่นทุ่ง - วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 11:00-11:30 น. ผู้ผลิตรายการโดย ไนน์เอนเตอร์เทน
- บ่ายนี้มีคำตอบ - วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 13:05-13:40 น. ผู้ผลิตรายการโดย บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)
- คนค้นฅน - วันศุกร์ เวลา 21:00-22:00 น. ผู้ผลิตรายการโดย ทีวีบูรพา
- แปลกแต่จริง วันเสาร์ เวลา 15:00-16:00 น. ผู้ผลิตรายการโดย ดี.ดอคคิวเมนทารี
- แฟ้มสืบสวน - วันอาทิตย์ เวลา 16:00-17:00 น. ผู้ผลิตรายการโดย ดี.ดอคคิวเมนทารี
- เอ็มคัท - วันพฤหัสบดี เวลา 00:05-00:30 น. (ศุกร์ช่วงเช้ามืด) ผู้ผลิตรายการโดย อะเมซิงกรุ๊ป
- วันนี้ที่รอคอย - วันเสาร์ เวลา 13:00-14:00 น. ผู้ผลิตรายการโดย เคทีวี บรอดแคสติง
- เกมกล้าบ้าพลัง - วันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 18:15-18:45 น.
- เจาะใจ - วันเสาร์ เวลา 21:00-22:00 น. ผู้ผลิตรายการโดย เจเอสแอล โกลบอล มีเดีย
- The High Profile เบื้องหลังความสำเร็จ - วันเสาร์ เวลา 00:05-00:30 น. (อาทิตย์ช่วงเช้ามืด) ผู้ผลิตรายการโดย มั้งค์ โปรดักชัน
- บานาน่า ซ่าส์ซี้ด - วันอาทิตย์ เวลา 10:05-11:00 น. ผู้ผลิตรายการโดย รอระบุ
- ๑ ในพระราชดำริ (รายการเฉลิมพระเกียรติ) - วันอาทิตย์ เวลา 20:15-20:30 น. ผู้ผลิตรายการโดย พาโนรามา เวิลด์ไวด์
- เปอร์-สเปกทิฟ - วันอาทิตย์ เวลา 21:00-22:00 น. ผู้ผลิตรายการโดย เจเอสแอล โกลบอล มีเดีย และ แบล็กดอต
รายการข่าว
- เช้าชวนคุย - วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 05:30-07:00 น. ผู้ผลิตรายการข่าวโดย สำนักข่าวไทย
- คุยชวนคิด สุวิชกับทิดบ้วน - วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 07:00-08:00 น.ผู้ผลิตรายการข่าวโดย บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)
- นาทีลงทุน วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 09:30-10:00 น. ผู้ผลิตรายการข่าว สำนักข่าวไทย
- MONEY DAILY - วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 10:00-10:30 น. ผู้ผลิตรายการข่าวเศรษฐกิจโดย บริษัท มีเดีย แอสโซซิเอตเต็ด จำกัด (ภายใต้ชื่อ “มันนี แอนด์ แบงกิง เทเลวิชัน”)
- ไนน์เอ็นเตอร์เทน (ภาคเที่ยง) - วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 11:30-12:00 น. ผู้ผลิตรายการข่าวบันเทิงโดย ไนน์เอนเตอร์เทน
- ไนน์เอนเตอร์เทนสุดสัปดาห์ - วันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 11:00-11:30 น. ผู้ผลิตรายการข่าวบันเทิงโดย ไนน์เอนเตอร์เทน
- ข่าวเที่ยง - วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 12:00-13:00 น. ผู้ผลิตรายการข่าวโดย สำนักข่าวไทย
- คุยเพลิน เพลิน - วันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 06:00-07:00 น.ผู้ผลิตรายการข่าวโดย บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)
- คู่ข่าวเสาร์-อาทิตย์ - วันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 11:30-13:00 น. ผู้ผลิตรายการข่าวโดย สำนักข่าวไทย
- คุยโขมงบ่าย 3 โมง - วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 15:00-16:15 น. ผู้ผลิตรายการข่าวโดย บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)
- ตกมันส์บันเทิง - วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 16:15-17:00 น. ผู้ผลิตรายการข่าวบันเทิงโดย ไนน์เอนเตอร์เทน
- ตกมันส์บันเทิงสุดสัปดาห์ - วันอาทิตย์ เวลา 15:00-16:00 น. ผู้ผลิตรายการข่าวบันเทิงโดย ไนน์เอนเตอร์เทน
- เรื่องพลบค่ำ - วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 17:00-18:00 น. ผู้ผลิตรายการข่าวโดย สำนักข่าวไทย
- คลุกข่าวเล่าประเด็น วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 18:15-18:45 น.. ผู้ผลิตรายการข่าวโดย สำนักข่าวไทย
- ไนน์เอนเตอร์เทนไนท์ไลฟ์ - วันจันทร์-อาทิตย์ เวลา 18:45-19:00 น. ผู้ผลิตรายการข่าวบันเทิงโดย ไนน์เอนเตอร์เทน
- ข่าวค่ำ - วันจันทร์- อาทิตย์ เวลา 19:00-20:15 น.. ผู้ผลิตรายการข่าวโดย สำนักข่าวไทย
- ข่าวในพระราชสำนัก - ทุกวัน เวลา 19:45-20:00 น. (อยู่ในช่วงข่าวค่ำ) ผู้ผลิตรายการข่าวโดย สำนักข่าวไทย
- ฟังหูไว้หู - วันจันทร์-อังคาร-พฤหัสบดี เวลา 20:30-21:00 น. / วันพุธ เวลา 20:30-20:45 น. ผู้ผลิตรายการข่าวโดย บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)
- คุยรอบทิศ - วันเสาร์ เวลา 20:15 น. ผู้ผลิตรายการข่าวโดย บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)
- ข่าวดังข้ามเวลา - วันอาทิตย์ เวลา 17:00-18:00 น. ผู้ผลิตรายการโดย สำนักข่าวไทย
- คับข่าวครบประเด็น - วันจันทร์-อังคาร-พฤหัสบดี เวลา 21:30-22:30 น. / วันพุธ เวลา 21:15-22:30 น. / วันศุกร์ เวลา 22:00-23:00 ผู้ผลิตรายการข่าวโดย สำนักข่าวไทย
- กาแฟดำค่ำนี้ (โดย สุทธิชัย หยุ่น) - วันจันทร์-พฤหัสบดี เวลา 22:30-23:00 น. / วันศุกร์ เวลา 23:00:23:30 น. ผู้ผลิตรายการโดย กาแฟดำ
- ข่าวต้นชั่วโมง - ออกอากาศหลังจบรายการของทุกวันในช่วงข่าวสั้น เวลา 09:00 น. (จันทร์-ศุกร์), 10:00 น. (จันทร์-ศุกร์), 11:00 น., 14:00 น., 15:00 น., 22:00 น. (เสาร์-อาทิตย์), 23:00 น. และ 24:00 น. (อาทิตย์-พฤหัสบดี; จันทร์-ศุกร์ ช่วงเช้ามืด) ผู้ผลิตรายการข่าวโดย สำนักข่าวไทย
ละครโทรทัศน์
ทั้งนี้ ได้ออกอากาศกลับมาอีกครั้งหนึ่งทางสถานีฯ ของโทรทัศน์ไทย ที่มีมากมายหลายเรื่องและหลายช่วงเวลา เมื่อมีละครเรื่องหนึ่งจบหรืออวสานไปก็จะมีละครเรื่องใหม่มาออกอากาศแทน โดยละครแต่ละเรื่องจะมีนักแสดงนำ และบทละครที่แตกต่างกันออกไป นอกจากนี้ เคยออกอากาศละครในยุคสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4 บางขุนพรหม (พ.ศ. 2498-2519) , สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 บางลำพู (พ.ศ. 2513-2520) , สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 อ.ส.ม.ท. (พ.ศ. 2520-2542 และ 2544-2545 มีละครชุดเรื่องแรกของกันตนา คือ "ซีรีส์ซีไรท์") และสถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ทีวี (พ.ศ. 2545-2557) กำลังจะเริ่มออกอากาศได้นำกลับมาใหม่อีกครั้ง เมื่อเร็วๆ นี้
ซีรีส์ต่างประเทศ
- อภินิหารเทพเจ้าสำราญ (ซีรีส์จีน) - วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 08:00-09:00 น.
- ASIAN SERIES ชุด ฉิน กำเนิดแผ่นดินมังกร 2 (ซีรีส์จีน) - วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 14:00-15:00 น.
- 9 SERIES ชุด กระบี่เย้ยยุทธจักร (ซีรีส์จีน) - วันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 14:00-15:จ0 น.
- ASIAN SERIES ชุด หนุ่มหน้าใส หัวใจนักปรุง (ซีรีส์จีน) - วันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 22:30-23:30 น.
รายการกีฬา
- มันเดย์ไนท์ - วันจันทร์ เวลา 00:00-00:30 น. (อังคาร ช่วงเช้ามืด)
- สปอร์ตโฟกัส - วันอังคาร เวลา 00:00-00:30 น. (พุธ ช่วงเช้ามืด)
- มอเตอร์เวิลด์ - วันพุธ เวลา 00:00-00:30 น. (พฤหัสบดี ช่วงเช้ามืด)
- เปิดบันทึกกีฬา Sport Magazine - วันเสาร์ เวลา 00:00-00:30 น. (อาทิตย์ ช่วงเช้ามืด)
- เวิลด์ซอคเกอร์แอนด์สปอร์ต - วันเสาร์ เวลา 23:30-24:00 น.
- MCOT Sports Weekly - วันอาทิตย์ เวลา 23:30-24:00 น.
- สปอร์ต @ 9 - อาทิตย์ เวลา 00:00-00:30 น. (จันทร์ ช่วงเช้ามืด)
การ์ตูนโทรทัศน
- ช่อง 9 การ์ตูน - วันเสาร์-วันอาทิตย์ เวลา 07:00-09:00 น. ผู้ผลิตรายการโดย บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) (รวมไปถึงสืบสายงานธุรกิจให้กับ ไนน์เอนเตอร์เทน)
- โยไควอช - วันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 07:00-07:30 น.
- โปเกมอน แบล็ก-ไวท์ (การ์ตูนญี่ปุ่นประเภทอนิเมะ) - วันเสาร์ เวลา 07:30-08:00 น.
- โดราเอมอน ภาคปัจจุบัน ปี 7 - วันอาทิตย์ เวลา 07:30-07:45 น.
- ก๊อดจิ ดิ แอดเวนเจอร์ ปี 3 - วันอาทิตย์ เวลา 07:45-08:00 น.
- สไมล์พรีเคียว - วันเสาร์ เวลา 08:00-08:30 น.
- วันพีซ นิวเวิลด์ (การ์ตูนญี่ปุ่นประเภทอนิเมะ) - วันอาทิตย์ เวลา 08:00-08:30 น.
- หน้ากากเสือ ดับเบิ้ล - วันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 08:30-09:00 น.
สารคดี
- สารคดี ชุด มหันตภัยโลก - ทุกวันจันทร์-อังคาร เวลา 21:00-21:30 น.
- สารคดี ชุด ชีวิตลับใต้ทะเล - ทุกวันพฤหัสบดี เวลา 21:00-21:30 น.
- สารคดี ชุด โลกตะลึง - ทุกวันอาทิตย์ เวลา 20:35-21:00 น.
- สารคดี ชุด สัตว์โลกน่ารัก - ทุกวันอาทิตย์ เวลา 22:00-22:30 น.
รายการเพื่อศาสนา
- อยู่เย็นเป็นสุข - วันจันทร์ เวลา 04:00-04:30 น.
- รู้ธรรมนำชีวิต - วันอังคาร-พุธ เวลา 04:00-04:30 น.
- รากแก้วศาสนทายาท - วันพฤหัสบดี เวลา 04:00-04:30 น.
- วิถีอิสลาม - วันศุกร์ เวลา 04:30-05:00 น.
- โลกมุสลิม - วันจันทร์ เวลา 04:30-05:00 น.
- คำตอบชีวิต - วันอังคาร เวลา 04.30-05.00 น.
- บ้านของเรา – วันเสาร์ 05:00-05:30 น.
- ดูดีมีธรรม - วันอาทิตย์ 05:00-05:30 น.
รายการในช่วงวันหยุดนักขัตฤกษ์
- นัดกันทุกวันหยุด - เวลา 10:00-10:30 น.
- ชีพจรลงล้อ - เวลา 10:30-11:00 น.
- SCI GUIDE - เวลา 11:00-11:30 น.
- ออโต้แจมฮอลิเดย์ - เวลา 13:00-13:30 น.
- Happy Zone - เวลา 13:30-14:00 น.
รายการพิเศษ
- รับสัญญาณจากโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย (ทรท.) - ออกอากาศการถ่ายทอดสดช่วงเวลาเป็นบางวัน
- รับสัญญาณจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) - ออกอากาศคู่ขนานรวมทุกช่องทั่วประเทศ
- เดินหน้าประเทศไทย - วันจันทร์-พฤหัสบดี และวันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 18:00-18:20 น.
- ศาสตร์พระราชสู่การปฏิบัติที่ยั่งยืน (โดยนายกรัฐมนตรีพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา) - วันศุกร์ เวลา 20:15-20:45 น.
รายการรีรัน
- ไนน์เอ็นเตอร์เทน (ภาคเที่ยง) - วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 23:00-23:30 น.
- สารคดี ชุด โลกตะลึง - ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 23:30-00:00 น.
- ข่าวดังข้ามเวลา (รีรันช่วงเช้าตรู่) - วันเสาร์ เวลา 04:00-05:00 น.
- แฟ้มสืบสวน (รีรันช่วงเช้าตรู่) - วันอาทิตย์ เวลา 04:00-05:00 น.
- แสงธรรมส่องทาง - วันพุธ เวลา 04:30-05:00 น.
- สารคดี ชุด ชีวิตสัตว์มหัศจรรย์ The Wonderful Animals - วันพฟหัสบดี เวลา 21:15-21:40 น. / วันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 05:30-06:00 น.
- Sasural Simar Ka สิมา สะใภ้หัวใจทรนง (รีรันช่วงดึก) - วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 00:30-01:20 น. (อังคาร-เสาร์ ช่วงเช้ามืด)
- ASIAN SERIES (รีรันช่วงดึก) - วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 01:20-02:30 น. (อังคาร-เสาร์ ช่วงเช้ามืด)
- 9 SERIES (รีรันช่วงดึก) - วันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 00:30-01:40 น. (อาทิตย์-จันทร์ ช่วงเช้ามืด)
- เรื่องพลบค่ำ (รีรันช่วงดึก) - วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 03:00-04:00 น. (อังคาร-เสาร์ ช่วงเช้ามืด)
รายการซ้ำ
รายการสั้น
- Good Evening English Time - วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 17:59-18:00 น.
รายการสถานีฯ
ทั้งนี้ ออกอากาศทุกวันพฤหัสบดี-ศุกร์ เวลา 04.30-05.00 น. ที่เหลือคือ 2 รายการที่นำมาฉายเป็นบางส่วนของตอน ได้แก่ วันพิเศษ Special Day และ ๑ ในพระราชดำริ
รายการพักชั่วคราว
- NINE THEATER - พักการออกอากาศตั้งแต่วันที่ 14 ตุลาคม 2560 ก่อนกลับมาอีกครั้งเมื่อเร็วๆ นี้
- ถ่ายทอดสดการแข่งขันกีฬาประเภทกอล์ฟ ฮอนด้า แอลพีจีเอ ไทยแลนด์ - เริ่มออกอากาศครั้งแรกในฤดูกาล 2018 เมื่อวันที่ 22-25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 ต่อมาในถัดไปปี พ.ศ. 2562 ช่วงฤดูกาล 2019 เมื่อเร็วๆ นี้ (ถ่ายทอดสดที่ออกอากาศแทนมาจากช่อง 7 สี)
- ถ่ายทอดสด การตรวจรางวัลสลากออมสินพิเศษ (ผลงวดประจำวันที่ 1 และ 16 ของทุกปี โดย ธนาคารออมสิน) - พักการออกอากาศชั่วคราวตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561 ปัจจุบันยังเป็นออกอากาศทางสทท.11 (เอ็นบีที)
การออกอากาศในอนาคต
อยู่ระหว่างเตรียมรอออกอากาศ
- ละครโทรทัศน์
- กำลังรอออกอากาศที่ถ่ายทำพร้อมกลับมาอีกครั้งเมื่อเร็วๆ นี้
- ซีรีส์ต่างประเทศ
- ASIAN SERIES (ซีรีส์จีนและเกาหลี) - กำลังคัดเลือกออกอากาศเมื่อเร็วๆ นี้
- 9 SERIES (ซีรีส์จีนและเกาหลี) - กำลังคัดเลือกออกอากาศเมื่อเร็วๆ นี้
- KOREAN SERIES (ซีรีส์เกาหลี) - กำลังคัดเลือกออกอากาศเมื่อเร็วๆ นี้
- ซีรีส์อเมริกา/อินเดีย/ญี่ปุ่น/ยุโรป - กำลังคัดเลือกออกอากาศเมื่อเร็วๆ นี้
- รายการเกมโชว์
- ยังไม่มีการประกาศใด ๆ จากทางช่อง
- รายการประเภทเรียลลิตีโชว์
- ยังไม่มีการประกาศใด ๆ จากทางช่อง
ระยะเวลาออกอากาศ
- 24 มิถุนายน 2498 (ทดลองออกอากาศ) - เปิดสถานีฯ เวลา 19:00-23:00 น.
- พ.ศ. 2498 (ระยะแรก) - เปิดสถานีฯ ทุกวันอังคาร, พฤหัสบดี และเสาร์-อาทิตย์ เวลา 18:30-23:00 น.
- พ.ศ. 2498-2507 - เปิดสถานีฯ เวลา 09:00-23:00 น. รวมถึง หยุดพักการออกอากาศ เวลา 14:00-17:00 น. และออกอากาศก่อนเข้ารายการในช่วงไพรม์ไทม์ เวลา 17:00-23:00 น. โดยยกเลิกปิดสถานีฯ ทุกวันจันทร์, พุธ และศุกร์
- พ.ศ. 2508-2520 - เปิดสถานีฯ เวลา 09:00-24:00 น. โดยยกเลิกพักการออกอากาศช่วงบ่าย
- พ.ศ. 2520-2524 - เปิดสถานีฯ เวลา 08:00-24:00 น. รวมถึง หยุดพักการออกอากาศ เวลา 18:30-20:00 น. และออกอากาศก่อนเข้ารายการในช่วงไพรม์ไทม์ เวลา 20:00-24:00 น.
- พ.ศ. 2524-2528 - เปิดสถานีฯ เวลา 08:00-24:30 น. โดยยกเลิกพักการออกอากาศช่วงค่ำ และได้นำรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษา จากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (มสธ.) มาออกอากาศ
- พ.ศ. 2528-2533 - เปิดสถานีฯ เวลา 06:00-01:30 น. โดยได้นำรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษา จากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (มสธ.) มาออกอากาศ
- พ.ศ. 2534-31 มีนาคม 2540 - เปิดสถานีฯ เวลา 05:00-01:30 น.
- 1 เมษายน 2540-ปัจจุบัน (ในระบบดิจิทัล เริ่ม 1 เมษายน 2557 เวลา 05:30 น.) - เปิดสถานีฯ ตลอด 24 ชั่วโมง โดยยกเลิกปิดสถานีฯ ช่วงดึก รวมถึง พักการออกอากาศรายการแนะนำสินค้าก่อนปิดสถานีฯ ด้วยภาพทดสอบ ใช้ในบางโอกาสของวันที่ออกอากาศได้ ดังต่อไปนี้
- 1 เมษายน 2540-30 มิถุนายน 2544 - ปิดสถานีฯ เวลา 02:00-05:30 น.
- 1 กรกฎาคม 2544-5 พฤศจิกายน 2545 - ปิดสถานีฯ เวลา 02:00-05:00 น.
- 6 พฤศจิกายน 2545-2556 - รายการต่างๆ ช่วงดึก โดยไม่ทราบเวลาออกอากาศก่อนปิดสถานีฯ
- พ.ศ. 2557-31 มกราคม 2560 - รายการรีรันช่วงดึก โดยไม่ทราบเวลาออกอากาศก่อนปิดสถานีฯ
- 1 กุมภาพันธ์-30 มิถุนายน 2560 - ปิดสถานีฯ ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 01:00-04:00 น. และวันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 01:30-04:30 น. โดยยกเลิกรายการรีรันช่วงดึก และได้นำการถ่ายทอดสดฟุตบอลอีเอฟแอลแชมเปียนชิป กับ อีเอฟแอลคัพ จากฟุตบอลสโมสรของประเทศอังกฤษ และเอเรอดีวีซี จากฟุตบอลสโมสรของประเทศเนเธอร์แลนด์ มาออกอากาศเป็นบางวัน
- 1 กรกฎาคม 2560-ปัจจุบัน - ซีรีส์รีรัน โดยยกเลิกรายการแนะนำสินค้าช่วงดึก และได้นำการถ่ายทอดสดฟุตบอลอีเอฟแอลคาราบาวคัพ จากฟุตบอลสโมสรของประเทศอังกฤษ มาออกอากาศเป็นบางวัน (เริ่ม 22 สิงหาคมนี้)
การโฆษณา
โทรทัศน์ส่วนภูมิภาค
ทั้งนี้ สถานีโทรทัศน์ช่อง 9 เอ็มคอตเอชดี ส่วนภูมิภาค เป็นหนึ่งในกลุ่มสถานีโทรทัศน์ภาคพื้นดินในเครือข่ายท้องถื่นแห่งเดียวของประเทศไทย เริ่มดำเนินการจัดสถานีถ่ายทอดสัญญาณแอนะล็อกและดิจิทัลทั่วประเทศ (รวมไปถึงศูนย์ข่าวจากสำนักข่าวไทย) โดยมีการแพร่ภาพระหว่างออกอากาศในต่างจังหวัดเพิ่มเติมละ 36 สถานี ได้แก่
- กรุงเทพมหานครและปริมณฑล - กรุงเทพมหานคร
- ภาคเหนือ - เชียงใหม่ / เชียงราย / ลำปาง / แม่ฮ่องสอน (รวมไปถึงที่อำเภอแม่สะเรียง) / น่าน / แพร่
- ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ - ขอนแก่น / อุบลราชธานี / อุดรธานี / ร้อยเอ็ด / สุรินทร์ / สกลนคร / มุกดาหาร / เลย
- ภาคตะวันตก - ประจวบคีรีขันธ์
- ภาคตะวันตกเฉียงเหนือ - ตาก
- ภาคกลาง - สิงห์บุรี / สุโขทัย / นครสวรรค์ / เพชรบูรณ์
- ภาคตะวันออก - นครราชสีมา / ระยอง / สระแก้ว / ตราด
- ภาคใต้ - สงขลา (รวมไปถึงที่อำเภอหาดใหญ่) / สุราษฎร์ธานี / นครศรีธรรมราช / ชุมพร
- ภาคใต้ฝั่งอันดามัน - ภูเก็ต / ระนอง / สตูล / ตรัง / จังหวัดพังงา (รวมไปถึงที่อำเภอตะกั่วป่า)
- ชายแดนภาคใต้ - ยะลา
ผู้ประกาศข่าวและพิธีกร
ในปัจจุบัน
- เช้าชวนคุย
- ข่าวเที่ยง
- เรื่องพลบค่ำ
- ข่าวค่ำ
- คับข่าวครบประเด็น
- คู่ข่าวเสาร์-อาทิตย์
- ข่าวต้นชั่วโมง
- 9 เศรษฐกิจ
- ชุติมา พึ่งความสุข : ผู้ประกาศข่าวเศรษฐกิจภาคเที่ยง
- ธันยมัย อนันตกรณีวัฒน์ : ผู้ประกาศข่าวเศรษฐกิจภาคเที่ยง
- โศภณ นวรัตนาพงษ์ : ผู้ประกาศข่าวเศรษฐกิจภาคค่ำ
- ผู้ประกาศข่าวต่างประเทศ
- ธนัส ศิรางกูร
- กิตติมา ณ ถลาง : ผู้ประกาศข่าวต่างประเทศภาคค่ำ
- วัชรินทร์ เศรษฐกุดั่น : ผู้ประกาศข่าวต่างประเทศภาคค่ำ
- ผู้ประกาศข่าวกีฬา
- ผู้สื่อข่าว
- กฤษณะพงศ์ พงศ์แสนยากร
- กนกนวล อินสมภักษร
- กมลเนตร นวลจันทร์
- เกรียงไกร ฮ่องเฮงเส็ง
- เกียรติยา ธรรมวิภัชน์
- กีรติ ศุภดิเรกกุล : ผู้สื่อข่าวบันเทิง
- ขนิษฐา อมรเมศวรินทร์
- จามร กิจเสาวภาคย์
- จิรายุ จับบาง : ผู้สื่อข่าวกีฬา
- ชุษณะ สัตยานนท์
- ชุติมา พึ่งความสุข : ผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจ
- ญาณตา ธีพรเลิศ
- ฐิติญาณ จันทนภูผา : ผู้สื่อข่าวภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
- ณิชากานติ์ แววคล้ายหงษ์
- ดาวี ไชยคีรี
- ทิชาฎา อุ่นทรีจันทร์ : ผู้สื่อข่าวภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย
- ทินกร วีระพลศิลป์ : ผู้สื่อข่าวภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
- ทิพย์สุดา ชาดี
- ทัศนีย์ ดำมุณี
- เทมส์ สรรพกิจ : ผู้สื่อข่าวบันเทิง
- ธนัส ศิรางกูร : ผู้สื่อข่าวต่างประเทศ
- ธีรวัฒน์ พึ่งทอง : ผู้สื่อข่าวในพระราชสำนัก
- นิติเทพ กิ่งชา
- นีรชา หลิมสมบูรณ์
- บุษยา อุ้ยเจริญ : ผู้สื่อข่าวการเมือง
- ประภาพรรณ ลอมศรี : ผู้สื่อข่าวภาคเหนือ
- ปรียาพร ทรัพย์แสนยากร : ผู้สื่อข่าวภาคสนามและข่าวไอที
- พงศ์อิทธิ์ เชิดชูวงศ์ : ผู้สื่อข่าวไอที
- พชร ล้อมรื่น : ผู้สื่อข่าวกีฬา
- พิษณุ แป้นวงศ์ : ผู้สื่อข่าวการเมือง
- พีรพล อนุตรโสตถิ์ : ผู้สื่อข่าวไอที
- พัทธ์ ชนภัณฑารักษ์ : ผู้สื่อข่าวบันเทิง
- เพลินพิศ ชูเสน : ผู้สื่อข่าวภาคใต้ฝั่งอันดามัน
- เพ็ญพรรณ แหลมหลวง : ผู้สื่อข่าวการเมือง
- เพ็ญพร พิพัฒโนทัย : ผู้สื่อข่าวการเมือง
- ภิเษก ศรีสวัสดิ์
- ภัทรดนัย เทศสุวรรณ
- ภัสธิยา ทองเฟือง
- มนตรี ตระกูลสมบัติ : ผู้สื่อข่าวภาคเหนือ
- มูฮัมหมัดรุสดี เชคฮารูณ : ผู้สื่อข่าวภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย
- เยาวลักษณ์ โบราณมูล
- รณชัย ศิริขันธ์ : ผู้สื่อข่าวบันเทิง
- รวีวรรณ สมรภูมิ : ผู้สื่อข่าวการเมือง
- รัชนิพงศ์ วรศะริน : ผู้สื่อข่าวกีฬา
- รัตติยา เรืองขจร
- ศุภชาติ ศุภเมธี
- ศรีสุดา วินิจสุวรรณ์ : ผู้สื่อข่าวไอที
- ศิริพร กิจประกอบ
- สกนธ์ จินดาวรรณ : ผู้สื่อข่าวภาคสนามและข่าวการเมือง
- ดีเจข้าวฟ่าง สมประสงค์ ศรีบัว : ผู้สื่อข่าวบันเทิง
- สมยศ แดงยวน : ผู้สื่อข่าวกีฬา)
- สมศักดิ์ อยู่ประพัฒน์ : ผู้สื่อข่าวภาคสนามและข่าวอาชญากรรม
- สุทธิดา ปล้องพุดซา : ผู้สื่อข่าวการเมือง
- สามารถ คุ้มครองธรรม
- สาเรศ ลิ่มกังวาฬมงคล : ผู้สื่อข่าวกีฬา
- สันติวิธี พรหมบุตร : ผู้สื่อข่าวภาคสนามและพิธีกรรายการข่าวดังข้ามเวลา
- สิริธร พัฒน์ตระกูลชัย
- สิริสาข์ ประชุมญาติ : ผู้สื่อข่าวต่างประเทศ)
- อรวรรณ กริ่มวิรัตน์กุล
- อรวรรณ เผือกไธสง : ผู้สื่อข่าวภาคสนามและพิธีกรรายการข่าวดังข้ามเวลา
- เอกชัย ผดุงเกียรติ : ผู้สื่อข่าวอาชญากรรม
- ลมฟ้าอากาศ (ในช่วงข่าวค่ำ)
- ข่าวในพระราชสำนัก
- in on at (ในช่วงข่าวเที่ยง)
- ชัวร์ก่อนแชร์ (ในช่วงข่าวค่ำ)
- พิธีกรรายการโทรทัศน์
- พัทรวี บุญประเสริฐ (ไนน์เอ็นเตอร์เทน)
- นันทกา วรวณิชชานันท์ (ไนน์เอ็นเตอร์เทน)
- วิศาล ดิลกวณิช (บ่ายนี้มีคำตอบ)
- สุนทรี อรรถสุข (บ่ายนี้มีคำตอบ)
- สุวิช สุทธิประภา (คุยโขมงบ่าย 3 โมง)
- ภรภัทร นีลพัธน์ (คุยโขมงบ่าย 3 โมง)
ในอดีต
- สำนักข่าวไทย
- ภิญญาพัชญ์ ด่านอุตรา (ข่าวเที่ยง/คลุกวงข่าว/คุยโขมงข่าวเช้า/Biztime/ข่าวค่ำ; 2553 - 30 กรกฎาคม 2561)- ปัจจุบันเป็นผู้ประกาศข่าวช่อง 7
- สวิตต์ ลีละพงศ์วัฒนา (เกาะข่าว9/9ข่าวร้อน/ข่าวต้นชั่วโมง/9SpeedNews/ลมฟ้าจราจร/ลมฟ้าอากาศ/พระราม9ข่าวเช้า/คุยโขมงหน้า 1/คุยข่าวเสาร์-อาทิตย์/รวมข่าวเสาร์-อาทิตย์/เช้าชวนคุย/ข่าวค่ำ; 1 มกราคม 2555 - 31 พฤษภาคม 2561) - ปัจจุบันเป็นผู้ประกาศข่าวช่อง 7
- บัญชา ชุมชัยเวทย์ (สดจากห้องค้า; พ.ศ. 2547-2549) - ปัจจุบันเป็นผู้ประกาศข่าวเศรษฐกิจทางช่อง 3 และช่อง 33
- กิตติ สิงหาปัด (ข่าวค่ำ; 23 กรกฎาคม 2550-31 กรกฎาคม 2551) - ปัจจุบันอยู่ช่อง 3 และช่อง 33
- ธีระ ธัญญอนันต์ผล (ข่าวค่ำ; พ.ศ. 2551-2552) - ปัจจุบันอยู่ไบรท์ทีวี
- จำเริญ รัตนตั้งตระกูล (ข่าวเที่ยง, คัดข่าวเด่น) - ปัจจุบันอยู่ช่อง 3 และช่อง 33
- พงศ์เกษม สัตยาประเสริฐ (ข่าวค่ำ, ลมฟ้าอากาศ, เกาะข่าว 9) - ปัจจุบันดำรงตำแหน่งโฆษกพรรคไทยรักษาชาติ
- อรชุน รินทรวิฑูรย์ (ข่าวต้นชั่วโมง) - ปัจจุบันอยู่ช่อง 3, ช่อง 33 และอาร์เอสยูวิสดอมทีวี
- กุณฑีรา ปัจฉิมสวัสดิ์ (ข่าวต้นชั่วโมง) - ปัจจุบันอยู่ช่องวัน
- ฤทธิกร การะเวก (ข่าวกีฬาภาคค่ำ) - ปัจจุบันเป็นผู้บรรยายกีฬาอิสระ
- ณัฐ เสตะจันทร์ (ข่าวกีฬาภาคเที่ยง, ข่าวกีฬาภาคค่ำ) - ปัจจุบันอยู่ช่อง 11
- ลลิตา มั่งสูงเนิน (ข่าวเที่ยง, ข่าวค่ำ, 9 SPEED NEWS, รอบวันข่าว, คุยข่าวเสาร์-อาทิตย์) - ปัจจุบันอยู่ช่อง 3 และช่อง 33
- อรการ จิวะเกียรติ (ข่าวเที่ยง, ข่าวค่ำ) - ปัจจุบันอยู่ทรูโฟร์ยู
- อำไพรัตน์ เตชะภูวภัทร (ข่าวค่ำ, ลมฟ้าอากาศ, พิธีกรรายการเอ็มคอตแฟมิลีนิวส์) - ปัจจุบันอยู่ช่อง 3 และช่อง 33
- ภูริภัทร บุญนิล : ผู้สื่อข่าว - ปัจจุบันอยู่ไทยรัฐทีวี
- มินดา นิตยวรรธนะ (ข่าวค่ำ) - ปัจจุบันอยู่ช่อง 3 และช่อง 33
- รินทร์ ยงวัฒนา (ข่าวค่ำ) - ปัจจุบันอยู่ทีเอ็นเอ็น 24
- ศุภโชค โอภาสะคุณ (ข่าวต้นชั่วโมง) - ปัจจุบันอยู่สปริงนิวส์
- โศธิดา โชติวิจิตร (ข่าวต้นชั่วโมง) - ปัจจุบันอยู่ช่อง 3 และช่อง 33
- มนุชา เจอมูล : ผู้สื่อข่าว - ปัจจุบันอยู่ไทยรัฐทีวี
- ธันย์ชนก จงยศยิ่ง (ข่าวต้นชั่วโมง) - ปัจจุบันอยู่สปริงนิวส์
- ไอลดา สุโง๊ะ (เอ็มคอตแฟมิลีนิวส์) - ปัจจุบันอยู่ช่อง 3 และช่อง 33
- นฤมล รัตนาภิบาล (ข่าวในพระราชสำนัก) - ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว
- ชัยนันท์ สันติวาสะ (ข่าวในพระราชสำนัก) - ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถานีในช่องเดียวกัน
- ประชา เทพาหุดี (ข่าวกีฬาภาคค่ำ) - ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว
- สุนทร สุจริตฉันท์ - ปัจจุบันเป็นสื่อมวลชนอิสระและนักธุรกิจส่วนตัว
- อรุณโรจน์ เลี่ยมทอง (ข่าวรับอรุณ) - ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว
- นิรมล เมธีสุวกุล : ผู้ประกาศข่าวและผู้สื่อข่าว - ปัจจุบันเป็นพิธีกรรายการทุ่งแสงตะวัน ทางช่อง 3 และช่อง 33
- วิทวัจน์ สุนทรวิเนตร์ (ข่าวพยากรณ์อากาศ) - ปัจจุบันเป็นผู้บริหารบริษัท 2020 เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด พิธีกรรายการตีสิบเดย์ ทางช่อง 3 และช่อง 33
- กรรณิกา ธรรมเกษร (ข่าวภาคค่ำ) - ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว
- พิภู พุ่มแก้ว (ข่าวเที่ยง, ข่าวค่ำ) - ปัจจุบันอยู่จีเอ็มเอ็ม 25และเดอะสแตนดาร์ด
- อารตี คุโรปการนันท์ - ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว
- พิสิทธิ์ กีรติการกุล - ปัจจุบันเหลือแค่การทำงานยังอยู่กับช่อง 7 รวมไปถึงพิธีกรรายการคดีเด็ด
- ผศ.ดร.สมเกียรติ อ่อนวิมล - ปัจจุบันเป็นสื่อมวลชนอิสระ
- ศศิธร ลิ้มศรีมณี : ผู้สื่อข่าว - ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว
- สุรชา บุญเปี่ยม : ผู้สื่อข่าว - ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว
- ศัตฉัน วิสัยจร : ผู้สื่อข่าว - ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว
- สกาวรัตน สยามวาลา - ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว
- ศรีอาภา เรือนนาค - ปัจจุบันเป็นนักพากย์
- ถึงลูกถึงคน (พ.ศ. 2546-2549), คุยคุ้ยข่าว (พ.ศ. 2547-2549)
- สรยุทธ สุทัศนะจินดา - ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่ทั้งหมดแล้ว หลังจากได้รับคำพิพากษาจากศาล เมื่อปี พ.ศ. 2559
- กนก รัตน์วงศ์สกุล - ปัจจุบันเหลือแค่การทำงานยังอยู่กับเนชั่นทีวี
- ณัฐธีร์ โกศลพิศิษฐ์ - ปัจจุบันอยู่ทรูโฟร์ยู เฉพาะรายการ SmartNews ข่าวเช้า เท่านั้น
- 9 ร่วมใจ คนไทยไม่ทิ้งกัน (พ.ศ. 2550-2552)
- ไชยวัฒน์ อนุตระกูลชัย - ปัจจุบันเป็นพิธีกรรายการ ม.ปลายสายเก่ง ทางช่อง 28
- ธันย์ชนก จงยศยิ่ง - ปัจจุบันอยู่สปริงนิวส์
- ถวัลย์ ไชยรัตน์ - ปัจจุบันยุติหน้าที่พิธีกรแล้ว
- วันชัย สอนศิริ - ปัจจุบันเป็นสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ
- ข่าวข้นคนข่าว (พ.ศ. 2550-2555), เช้าข่าวข้น คนข่าวเช้า (2552-2555)
- กนก รัตน์วงศ์สกุล - ปัจจุบันเหลือแค่การทำงานยังอยู่กับเนชั่นทีวี
- ธีระ ธัญไพบูลย์ - ปัจจุบันเหลือแค่การทำงานยังอยู่กับเนชั่นทีวี รวมไปถึงช่อง 3 และช่อง 33 เฉพาะรายการเรื่องเด่นเย็นนี้ เท่านั้น
- จอมขวัญ หลาวเพ็ชร์ - ปัจจุบันอยู่ไทยรัฐทีวี เฉพาะรายการถามตรงๆ กับจอมขวัญ เท่านั้น
- คลุกวงข่าว (พ.ศ. 2555-2557)
- ภาคภูมิ พันธุ์สถิตย์ - ปัจจุบันอยู่ไทยรัฐทีวี
- ชนิตร์นันทน์ ปุณณะนิธิ - ปัจจุบันอยู่ทีเอ็นเอ็น 24
- สลิลาทิพย์ ทิพยไกรศร - ปัจจุบันอยู่ทีเอ็นเอ็น 24
ดูเพิ่ม
- รายชื่อละครโทรทัศน์ทางสถานีโทรทัศน์เอ็มคอตเอชดี
- บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)
- สถานีวิทยุ อสมท
- สำนักข่าวไทย
- เครือข่ายโทรทัศน์ดาวเทียมเอ็มคอท
- เอ็มคอตแฟมิลี
- สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3
- สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5
- สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7
- สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย
- สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส
อ้างอิง
- ↑ ‘ยังบลัด’อสมทสู้ศึกทีวีดิจิทัล
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 ประวัติ อ.ส.ม.ท. องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย จากหน้าเว็บ ประวัติและเทคโนโลยีโทรทัศน์ของ บมจ.อสมท ในเว็บไซต์ บมจ.อสมท
- ↑ รายการคุณพระช่วย ออกอากาศราวเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2552 ทางโมเดิร์นไนน์ทีวี
- ↑ หนังสือประวัติศาสตร์ อสมท 59 ปี สื่อไทย (หน้า 24)
- ↑ พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย, ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 94 ตอน 24 ก, 25 มีนาคม 2520, หน้า 1-17.
- ↑ ข่าวพระราชกรณียกิจข่าวพระราชกรณียกิจ ระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2523-กันยายน พ.ศ. 2524 บทที่ 10 หน้า 10 จากเว็บไซต์สำนักราชเลขาธิการ
- ↑ ข่าวดังข้ามเวลา : แสง…แห่งชัย [คลิปเต็มรายการ] เผยแพร่โดย สำนักข่าวไทย อสมท
- ↑ “อสมท” ตั้งเป้ารายได้ ปี 55 เติบโตร้อยละ 15 เตรียมเปิดตัวข่าวโฉมใหม่ 25 เม.ย.นี้ โดยสำนักข่าวไทย
- ↑ ปรับโฉม ช่อง 9 MCOT HD เปิดโลกกว้าง สร้างความสุข
- ↑ ช่อง 9 MCOT HD เปลี่ยนผ่านจากระบบแอนะล็อกสู่ระบบดิจิตอล - Youtube, 16 กรกฎาคม 2561
- ↑ หนังสือประวัติศาสตร์ อสมท 59 ปี สื่อไทย (หน้า 31)
แหล่งข้อมูลอื่น
- เว็บไซต์ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)
- เว็บไซต์หน้าหลักของกิจการโทรทัศน์ในบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)
- เว็บไซต์ ช่อง 9 เอ็มคอตเอชดี
- อสมท ปรับผังทีวีโกยรายได้
- 9 อสมท โชว์ผังใหม่ เริ่ม 1 ก.ค.
|
|
|