สุวินัย ภรณวลัย
รองศาสตราจารย์ สุวินัย ภรณวลัย ผู้ต้องหาคดีฉ้อโกงประชาชน[1]นักเขียนชาวไทย เป็นประธานยุทธศาสตร์ วิชาการ สถาบันทิศทางไทย และอดีตอาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ประวัติ[แก้]
รองศาสตราจารย์ สุวินัย ภรณวลัย จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก จากคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น ในปี พ.ศ. 2527 ด้วยทุนรัฐบาลญี่ปุ่น ได้รับปริญญาเอกแบบ รอมบุนฮาคาเซะ ซึ่งเป็นปริญญาเอกระดับสูงสุดของของประเทศญี่ปุ่น จากคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยโฮเช ในปี พ.ศ. 2535 โดยวิทยานิพนธ์ที่เขานำเสนอในระดับปริญญาเอกคือเรื่อง ทุนนิยมไทยกับบริษัทข้ามชาติญี่ปุ่น
นอกจากนี้แล้วยังเป็นผู้ที่สนใจศึกษาและชำนาญในศาสตร์ด้านพัฒนาและยกระดับจิตใจและร่างกายตามวิถีของชาวตะวันออก มีผลงานทางด้านนี้ออกมาเป็นหนังสือมากมาย อีกทั้งยังเป็นผู้เชี่ยวชาญในศิลปะการต่อสู้ เช่น มวยไทเก็ก อีกด้วย ปี พ.ศ. 2543 ด้วยความสนใจในเรื่องลึกลับจึงได้รู้จักกับอาจารย์กู้ (กิตติ ปภัสโรบล) และโดนหลอกลวงให้เชื่อเรื่อง เปรต[2]
เป็นผู้ก่อตั้งและเป็นผู้อำนวยการ ศูนย์บูรณาการศาสตร์และภูมิปัญญาโบราณ (CID) ที่ชั้น 4 ห้างสรรพสินค้าซีคอนสแควร์ เป็นผู้ก่อตั้งชมรมมังกรธรรมเพื่อส่งเสริมการปฏิบัติธรรมในแนวทางบูรณาการสู่สังคม ปี ค.ศ. 2012 เขียนหนังสือชุดไตรภาค "บันทึกเนตรฟ้าใจวารี" ที่บันทึกประสบการณ์ทางจิตวิญญาณของตัวเองในช่วงยี่สิบกว่าปีที่ผ่านมา ล่าสุดได้นำเสนอ กรรมฐานเนตรฟ้า สู่สังคมไทยที่บูรณาการลมปราณกรรมฐานกับธาตุกายสิทธิ์ (แก้วบารมี) เข้าด้วยกัน นอกจากงานเขียนไตรภาค บันทึกเนตรฟ้าใจวารี (สำนักพิมพ์กรีนปัญญาญาณ) แล้ว ยังได้เขียนหนังสือ "เหนือมะเร็ง" และ "ตันตระโยคะศาสตร์เหนือวัย" (สำนักพิมพ์บ้านพระอาทิตย์) เป็นชุดหนังสือสุขภาพยอดคนออกมาด้วย รวมทั้งหนังสือ "ซามูไรสอนลูก" (สำนักพิมพ์โอเพ่นบุกส์)
บทบาททางการเมือง[แก้]
เป็นหนึ่งในนักวิชาการที่เข้าร่วมขับไล่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ให้ลาออกจากตำแหน่ง เป็นผู้บรรเลงกู่เจิงระหว่างพักครึ่งรายการเมืองไทยรายสัปดาห์สัญจร ครั้งแรก เมื่อวันศุกร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2548 ที่หอประชุมศรีบูรพา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ผลงานหนังสือ[แก้]
![]() |
วิกิคำคมมีคำคมเกี่ยวกับ ดร.สุวินัย ภรณวลัย |
- บันทึกเนตรฟ้าใจวารี เล่ม 3 กำเนิดกรรมฐานเนตรฟ้า ISBN 9786165265270
- บันทึกเนตรฟ้าใจวารี เล่ม 2 ตามรอยปรมาจารย์เหล็กไหลกับภัยพิบัติ ISBN 9786165264938
- บันทึกเนตรฟ้าใจวารี เล่ม 1 ทำดี สวรรค์มีตา ฟ้าบันทึก `ISBN 9786165264594
- ยามเฝ้าแผ่นดิน ISBN 9789740495949
- ยอดคนมังกรจักรวาล ISBN 9789740446378
- พุทธทาสฉบับท่าพระจันทร์ ISBN 9789748233154
- วิถีแห่งฟ้าของนักกลยุทธ์ : ท่านเป็นประสบการณ์ที่ตราตรึงที่สุดของข้าพเจ้า ISBN 9789747441734
- ยอดคนอริยะ ISBN 9749463234
- เซนอย่างมูซาชิ ISBN 9749345460
- 36 เพลงดาบสยบมาร จิตสำนึกแห่งทางเลือกในยุคทักษิณครองเมือง ISBN 9749345452
- ภูมิปัญญามูซาชิ ISBN 9749345312
- ยอดคนวิถีเซน Life & Enlightenment ISBN 9749399420
- ยอดคน HEART&SOUL ISBN 9749348818
- มูซาชิ ฉบับท่าพระจันทร์ ISBN 9789749435076
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2552 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[3]
- พ.ศ. 2547 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[4]
- พ.ศ. 2552 –
เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[5]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ ตำรวจ สอท.รวบ “สุวินัย” อ้างเบื้องสูงรับบริจาคทำพิธี ตั้งข้อหา พ.ร.บ.คอมพ์-ฉ้อโกงประชาชน-เรี่ยไร ไม่เข้าข่าย ม.112
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-09-23. สืบค้นเมื่อ 2008-09-04.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๒ เก็บถาวร 2011-10-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๑๖ ข หน้า ๑๗, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2007-01-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๕๕, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา ประจำปี ๒๕๕๒, เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๖ ข หน้า ๓๓๔, ๖ มิถุนายน ๒๕๕๓
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
- บุคคลที่ยังไม่ทราบปีที่เกิด
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- นักเศรษฐศาสตร์ชาวไทย
- ข้าราชการพลเรือนชาวไทย
- รองศาสตราจารย์
- อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์
- บุคคลจากคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- นักเขียนชาวไทย
- พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
- บุคคลที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ 14 ตุลา
- ผู้ฝึกศิลปะการต่อสู้
- กลุ่มสยามประชาภิวัฒน์
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเหรียญจักรพรรดิมาลา