ข้ามไปเนื้อหา

พงษ์ ปุณณกันต์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พงษ์ ปุณณกันต์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
ดำรงตำแหน่ง
1 มกราคม พ.ศ. 2501 – 7 มีนาคม พ.ศ. 2512
(11 ปี 66 วัน)
นายกรัฐมนตรีสฤษดิ์ ธนะรัชต์
ถนอม กิตติขจร
ก่อนหน้าสพรั่ง เทพหัสดิน ณ อยุธยา
ถัดไปพลอากาศเอก ทวี จุลละทรัพย์
ดำรงตำแหน่ง
18 ธันวาคม พ.ศ. 2515 – 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516
(0 ปี 364 วัน)
นายกรัฐมนตรีถนอม กิตติขจร
ก่อนหน้าพลอากาศเอก ทวี จุลละทรัพย์
ถัดไปพลเรือโท ชลี สินธุโสภณ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
ดำรงตำแหน่ง
7 มีนาคม พ.ศ. 2512 – 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514
(2 ปี 255 วัน)
นายกรัฐมนตรีถนอม กิตติขจร
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด30 กันยายน พ.ศ. 2458
ประเทศสยาม
เสียชีวิต28 พฤษภาคม พ.ศ. 2533 (74 ปี)
ประเทศไทย
พรรคการเมืองสหประชาไทย
คู่สมรสคุณหญิงสะอาด ปุณณกันต์

พลเอก พงษ์ ปุณณกันต์ เป็นอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลของนายพจน์ สารสิน อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม 4 สมัย ในรัฐบาลจอมพล ถนอม กิตติขจร และจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม 1 สมัย ในรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร และเป็นอดีตเลขาธิการคณะปฏิวัติในการรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2501[1]

ประวัติ

[แก้]

พล.อ.พงษ์ เป็นบุตรของร้อยเอก หลวงพลวินัยกิจ (อำไพ ปุณณกันต์) พล.อ.พงษ์ สมรสกับคุณหญิงสะอาด (สกุลเดิม อดิเรกสาร) มีบุตรคือ ศาสตราจารย์ นายแพทย์ เหลือพร ปุณณกันต์ และมีศักดิ์เป็นปู่ของพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ กับดนุพร ปุณณกันต์[2]

พล.อ.พงษ์ ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลนายพจน์ สารสิน ในปี พ.ศ. 2500[3] และลาออกพร้อมกันทั้งคณะรัฐมนตรีหลังการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป ธันวาคม พ.ศ. 2500 จากนั้นเขาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม อีกครั้งในรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร 3 สมัย (ครม.28, ครม.30[4], ครม.32) และรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ (ครม.29)[5] และเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจรอีก 1 สมัย (ครม.32) รวมระยะเวลาการดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีต่อเนื่องทั้งสิ้นกว่า 15 ปี 10 เดือน

พล.อ.พงษ์ ได้เข้าร่วมการรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2501 นำโดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ และมีบทบาทเป็นเลขาธิการคณะปฏิวัติ และยังเคยเป็นกรรมการบริหารพรรคสหประชาไทย ซึ่งมีจอมพล ถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นหัวหน้าพรรค[6]

ยศ

[แก้]
  • 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2478 - ร้อยตรี[7]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. เพลิง ภูผา. ฅนกบฎ. กรุงเทพฯ : ไพลิน. 2546. หน้า 40
  2. กบ สุวนันท์ ร้องไห้โฮ หลังสามีบรู๊ค ดนุพร เส้นประสาทโดนตัด อาการหนัก!
  3. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี (จำนวน ๒๙ ราย)
  4. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๑๙ ราย)
  5. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งคณะรัฐมนตรี (จำนวน ๑๔ ราย)
  6. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จดทะเบียนพรรคการเมือง (พรรคสหประชาไทย) เล่ม 85 ตอน 117 ง พิเศษ หน้า 3375 10 ธันวาคม พ.ศ. 2511
  7. ประกาศ พระราชทานยศทหาร (หน้า ๒๕๙๔)
  8. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2504/D/104/18.PDF
  9. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2503/D/102/22.PDF
  10. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2021-01-16.
  11. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ เก็บถาวร 2022-06-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๙ ตอนที่ ๘๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๘ กันยายน ๒๕๐๕
  12. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2503/D/058/1730.PDF
  13. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชนุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 78 ตอนที่ 58 หน้า 1688, 18 กรกฏาคม 2504
  14. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 80 ตอนที่ 77 ฉบับพิเศษ หน้า 5, 1 สิงหาคม 2506