ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รถไฟฟ้าในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Tondeknoi1802 (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: เครื่องมือแก้ไขต้นฉบับปี 2560
บรรทัด 617: บรรทัด 617:
|[[ซีเมนส์ อินสไปโร]] || {{flag|เยอรมนี}}<br>{{flag|ตุรกี}} || [[พ.ศ. 2561]] || - || [[ไฟล์:Bts-siemens-inspiro-emu-a2.jpg|130px]]
|[[ซีเมนส์ อินสไปโร]] || {{flag|เยอรมนี}}<br>{{flag|ตุรกี}} || [[พ.ศ. 2561]] || - || [[ไฟล์:Bts-siemens-inspiro-emu-a2.jpg|130px]]
|-align="center"
|-align="center"
| [[บอมบาร์ดิเอร์|บอมบาร์ดิเอร์โมเวีย]] / ซีเอ็นอาร์ ฉางชุน อีเอ็มยู (EMU-B) || [[บอมบาร์ดิเอร์|บอมบาร์ดิเอร์]] / [[CRRC Changchun Railway Vehicles|ซีอาร์อาร์ซี]] || {{flag|จีน}} || [[พ.ศ. 2553]] || [[พ.ศ. 2556]] || [[ไฟล์:Bangkok Skytrain 06.jpg|130px]]
| [[บอมบาร์ดิเอร์|บอมบาร์ดิเอร์โมเวีย]] / ซีเอ็นอาร์ ฉางชุน อีเอ็มยู (EMU-B) || [[บอมบาร์ดิเอร์|บอมบาร์ดิเอร์]] / [[:en:CRRC Changchun Railway Vehicles|ซีอาร์อาร์ซี]] || {{flag|จีน}} || [[พ.ศ. 2553]] || [[พ.ศ. 2556]] || [[ไฟล์:Bangkok Skytrain 06.jpg|130px]]
|-align="center"
|-align="center"
| rowspan="2" bgcolor={{BTS color|รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล}} |
| rowspan="2" bgcolor={{BTS color|รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล}} |

รุ่นแก้ไขเมื่อ 15:28, 9 สิงหาคม 2561

รถไฟฟ้าในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
รูปภาพขบวนรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม, รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล, รถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม (เรียงตามเข็มนาฬิกา)
รูปภาพขบวนรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม, รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล, รถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม (เรียงตามเข็มนาฬิกา)
ข้อมูลทั่วไป
เจ้าของกรุงเทพมหานคร
การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
การรถไฟแห่งประเทศไทย
ที่ตั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
(กรุงเทพมหานคร,สมุทรปราการ,นนทบุรี,ปทุมธานี)
ประเภทระบบขนส่งมวลชนความเร็วสูง, รถไฟฟ้าโมโนเรล, รถไฟฟ้าชานเมือง และรถไฟล้อยาง
จำนวนสาย5 สาย (ปัจจุบัน)
13 สาย (โครงการ)
จำนวนสถานี77[ก] (ปัจจุบัน)
310[ก] (โครงการ)
นับสถานีเชื่อมต่อเป็นสถานีเดียว
ผู้โดยสารต่อวันบีทีเอส: 900,000 คน
มหานคร: 460,000 คน
เชื่อมท่าอากาศยาน: 75,000 คน
การให้บริการ
เริ่มดำเนินงาน5 ธันวาคม พ.ศ. 2542 (24 ปี)
ผู้ดำเนินงาน ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ
กรุงเทพธนาคม
ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ
รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.
อีสเทิร์น บางกอกโมโนเรล
นอร์ทเทิร์น บางกอกโมโนเรล
ข้อมูลทางเทคนิค
ระยะทาง112.09 กม. (ปัจจุบัน)
567.34 กม. (โครงการ)
จำนวนราง2
รางกว้างรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน: 1.435 เมตร
รถไฟฟ้าชานเมือง: 1.000 เมตร
การจ่ายไฟฟ้ารางที่สาม และ จ่ายไฟเหนือหัว
ความเร็วสูงสุดรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน: 80 กม./ชม.
รถไฟฟ้าชานเมือง: 160 กม./ชม.
ผังเส้นทาง

ไฟล์:โครงการรถไฟฟ้าก่อสร้างและเปิดแล้ว.png

รถไฟฟ้าในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล หรือ โครงข่ายระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานครและพื้นที่ต่อเนื่อง เป็นระบบขนส่งมวลชนแบบรางใน กรุงเทพมหานครและปริมณฑล เริ่มเปิดให้บริการเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2542 ในเส้นทาง รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท สถานีหมอชิต-สถานีอ่อนนุช และ รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม สถานีสนามกีฬาแห่งชาติ-สถานีสะพานตากสิน โดยในปัจจุบันมีรถไฟฟ้าที่เปิดให้บริการแล้วทั้งสิ้น 5 สาย 77 สถานี ครอบคลุมระยะทางกว่า 112 กิโลเมตร*[1]

ประวัติ

ตั้งแต่ พ.ศ. 2527 คณะรัฐมนตรีได้มีการพิจารณาการก่อสร้างระบบขนส่งมวลชนหลากหลายรูปแบบ ทั้งแบบทางยกระดับ ทางพิเศษ หรือทางราง จนกระทั่งใน พ.ศ. 2533 กระทรวงคมนาคม และพรรคกิจสังคม ได้ลงนามในสัญญาสัมปทาน โครงการระบบการขนส่งทางรถไฟยกระดับในกรุงเทพมหานคร หรือโครงการโฮปเวลล์ กับ บริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด ของนายกอร์ดอน วู จากฮ่องกง เพื่อดำเนินการก่อสร้างโครงการระบบขนส่งมวลชนทางรางพร้อมทางยกระดับ รวมถึงรัฐบาลยังได้ลงนามในสัญญาสัมปทานโครงการรถไฟฟ้าลาวาลิน ร่วมกับบริษัท เอสเอ็นซี-ลาวาลิน จำกัด จาก ประเทศแคนาดา เพื่อดำเนินการก่อสร้างระบบขนส่งมวลชนทางรางในพื้นที่ กรุงเทพมหานคร ชั้นใน แต่ทั้ง 2 โครงการดำเนินการด้วยความล่าช้าเนื่องมาจากภาวะเศรษฐกิจไม่เติบโตตามที่คาดการณ์ รวมถึงปัญหาการส่งมอบพื้นที่ และปัญหาการทุจริตของทั้ง 2 โครงการ ภายหลังจากเหตุ รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2534 รัฐบาลนาย อานันท์ ปันยารชุน โดยนาย นุกูล ประจวบเหมาะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมในขณะนั้น ได้เข้ามาตรวจสอบสัญญาสัมปทานทั้งหมดที่มีเงื่อนไขการผูกขาด จนในที่สุดก็ได้ประกาศล้มโครงการโฮปเวลล์ และโครงการรถไฟฟ้าลาวาลินลงทั้ง 2 โครงการ พร้อมทั้งจัดตั้ง องค์การรถไฟฟ้ามหานคร ขึ้นมาดำเนินการในเรื่องระบบขนส่งมวลชนแทนใน พ.ศ. 2535

แต่จากความล่าช้าในการจัดตั้งองค์การรถไฟฟ้ามหานคร บวกกับปัญหาการจราจรใน กรุงเทพมหานคร เริ่มทวีความรุนแรงมากขึ้น ในรัฐบาล ชวน หลีกภัย สมัยที่ 1 ได้มีแนวคิดในการรื้อฟื้นโครงการโฮปเวลล์ โดยต่อสัญญาสัมปทานที่ถูกล้มไปใน พ.ศ. 2534 เพื่อให้บริษัท โฮปเวลล์ สามารถดำเนินการต่อไปได้ แต่ทว่าในเงื่อนไขกลับไม่ระบุรายละเอียดให้ชัดเจน บวกกับปัญหาในการจัดหาแหล่งเงินทุน ทำให้บริษัทโฮปเวลล์ เลือกที่จะไม่ดำเนินโครงการให้แล้วเสร็จ จนในรัฐบาล ชวลิต ยงใจยุทธ ได้มีมติให้บอกเลิกสัมปทานกับบริษัท โฮปเวลล์ หลังหยุดการก่อสร้างโครงการไปเมื่อ เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2540 โดยที่มีมติในการบอกเลิกโครงการอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2541

ระหว่างนั้นกรุงเทพมหานคร ในสมัยพลตรี จำลอง ศรีเมือง เป็น ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้มีการอนุมัติโครงการ ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร ให้กับ บริษัท ธนายง จำกัด (บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิงส์ จำกัด (มหาชน) ในปัจจุบัน) ของนายคีรี กาญจนพาสน์ ไปดำเนินการระบบขนส่งมวลชนทางรางในพื้นที่ กรุงเทพมหานคร ในระยะแรกของการก่อสร้างกลับพบปัญหาในการหาสถานที่ตั้งศูนย์ซ่อมบำรุงโครงการเนื่องจากเดิม กรุงเทพมหานคร ได้อนุมัติให้มีการใช้พื้นที่ของ สวนลุมพินี ในการก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุง แต่การก่อสร้างถูกคัดค้านเนื่องจากประชาชนไม่เห็นด้วย กรุงเทพมหานคร จึงพิจารณาย้ายศูนย์ซ่อมบำรุงไปใช้พื้นที่ราชพัสดุของ กรมธนารักษ์ อันเป็นที่ตั้งของ สถานีขนส่งสายเหนือ (ตลาดหมอชิต) จนในที่สุด บริษัท ธนายง ก็สามารถพัฒนาโครงการสำเร็จเป็นโครงการ รถไฟฟ้าบีทีเอส เมื่อ พ.ศ. 2542 ถือเป็นระบบขนส่งมวลชนสายแรกในประเทศไทย และได้รับชื่อพระราชทานโครงการว่า "รถไฟฟ้าเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา"

ใน พ.ศ. 2541 คณะรัฐมนตรีได้มอบหมายให้ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร ไปดำเนินการออกแบบเส้นทางระบบขนส่งมวลชนในพื้นที่ กรุงเทพมหานคร และพื้นที่ต่อเนื่องร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอันได้แก่ การรถไฟแห่งประเทศไทย องค์การรถไฟฟ้ามหานคร กรุงเทพมหานคร และ สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลัง ในการปรับแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนใน กรุงเทพมหานคร เดิม โดยใช้ความล้มเหลวของโครงการโฮปเวลล์และโครงการรถไฟฟ้าลาวาลินเป็นบทเรียน ซึ่งจากการพิจารณาและคาดการณ์การเติบโตของเมืองในระยะสั้น สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร ได้พิจารณาและแบ่งการดำเนินการออกเป็นสามระยะ คือ

  • ระยะที่ 1 (ปี พ.ศ. 2545-พ.ศ. 2554)" เป็นระยะของการปรับตัวพัฒนา เพื่อการขนส่งภายในเมืองทั้งระบบ
  • ระยะที่ 2 (ปี พ.ศ. 2555-พ.ศ. 2564)" เป็นระยะของการพัฒนาใหม่ที่ยั่งยืน เพื่อเปิดให้บริการเป็นเส้นรอบวง กระจายผู้โดยสารในเมืองอย่างทั่วถึง
  • ระยะที่ 3 (หลังปี พ.ศ. 2564)" เป็นการพัฒนาระยะยาว เปิดเส้นทางสู่ย่านชานเมือง และรองรับผู้โดยสารจากชานเมืองเข้าสู่ในเมือง

ต่อมาใน พ.ศ. 2543 สภาได้มีการพิจารณาและประกาศใช้ พระราชบัญญัติองค์การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2543 เพื่อดำเนินการเปลี่ยนแปลงและจัดตั้งองค์การรถไฟฟ้ามหานคร เป็น การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย เพื่อดำเนินการระบบขนส่งมวลชนในพื้นที่ความรับผิดชอบตามนโยบายและแผนแม่บทของสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร จนเป็นโครงการ รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล อันเป็นรถไฟฟ้าใต้ดินสายแรกของ ประเทศไทย เมื่อ พ.ศ. 2547

ปัจจุบันรถไฟฟ้าใน กรุงเทพมหานครและปริมณฑล อยู่ภายใต้ "โครงข่ายระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานครและพื้นที่ต่อเนื่อง" ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ "โครงการแผนแม่บท การขนส่งมวลชนระบบรางในเขต กรุงเทพมหานคร และพื้นที่ต่อเนื่อง" ซึ่งแต่เดิมโครงการมีเส้นทางระบบขนส่งมวลชนทั้งหมด 9 เส้นทางโดยรวมเส้นทางของ รถไฟฟ้าบีทีเอส ที่กำลังก่อสร้างในขณะนั้น และต่อมาได้มีการขยายออกเป็นทั้งหมด 12 เส้นทางในปัจจุบัน

โครงข่ายระบบขนส่งมวลชนระยะที่สอง

เพื่อเป็นการรองรับการขยายตัวของเมืองออกสู่เขตปริมณฑลมากขึ้น ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2560 คณะรัฐมนตรีได้มอบหมายให้ กระทรวงคมนาคม และสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและแผนการจราจร ดำเนินการศึกษาเส้นทางรถไฟฟ้าเพิ่มขึ้นอีก 10 สายทาง เพื่อบรรจุลงใน "แผนแม่บทการขนส่งมวลชนระบบรางในเขตกรุงเทพมหานครและพื้นที่ต่อเนื่อง ระยะที่สอง" หรือ M-Map Phase 2 โดยให้ดำเนินการศึกษาร่วมกับองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น หรือไจก้า เพื่อวางแผนสนับสนุนงบประมาณในการลงทุนหากมีความจำเป็นที่จะต้องกู้เงินจากต่างประเทศเพื่อดำเนินโครงการ

โครงข่ายระบบขนส่งมวลชนในระยะที่สอง จะเน้นการพัฒนาเส้นทางสายรองเพื่อรองรับการขยายตัวของเมืองและป้อนผู้โดยสารสู่เส้นทางสายหลักของกรุงเทพมหานครทั้ง 7 เส้นทาง ได้แก่ รถไฟฟ้าสายสีเขียวอ่อน รถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้ม รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน รถไฟฟ้าสายสีม่วง รถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อน รถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม และรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยาน โดยเบื้องต้นสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและแผนการจราจรได้พิจารณานำเส้นทางที่ยังไม่ได้ดำเนินการ และ/หรือยังอยู่ในระหว่างการศึกษา และ/หรือเป็นแผนงานนอกแผนแม่บท และ/หรือถูกยกเลิกจากแผนแม่บทฉบับเดิม จำนวนสี่สายทางมาบรรจุเป็นเส้นทางนำร่อง รวมถึง การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ยังได้เตรียมที่จะเสนอรถไฟฟ้าอีก 8 สายทางเพื่อบรรจุลงในแผนแม่บท ทำให้มีเส้นทางรวมเป็น 11 สายทางในแผนระยะต้น ดังต่อไปนี้

  1. รถไฟฟ้าสายสีเทา ช่วงวัชรพล - พระราม 9
  2. รถไฟฟ้าสายรอง สายสีทอง ช่วงสถานีรถไฟฟ้ากรุงธนบุรี - ประชาธิปก
  3. รถไฟฟ้ารางเบา สายสีเขียว ช่วงเทพรัตน (บางนา) - ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
  4. รถไฟฟ้าสายสีเหลือง ส่วนต่อขยายลาดพร้าว - ประชาชื่น
  5. รถไฟฟ้าสายสีเหลือง ส่วนต่อขยายสำโรง - ราษฎร์บูรณะ
  6. รถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย - ลำสาลี
  7. รถไฟฟ้าสายสีทอง ช่วงปากเกร็ด - กาญจนาภิเษก
  8. รถไฟฟ้าสายสีชมพู ส่วนต่อขยายมีนบุรี - สุวรรณภูมิ
  9. รถไฟฟ้าสายสีเงิน ช่วงตลิ่งชัน - ชัยพฤกษ์
  10. รถไฟฟ้าสายวงแหวนฯ ช่วงบางใหญ่ - พระราม 2
  11. รถไฟฟ้าสายสีม่วง ส่วนต่อขยายบางใหญ่ - บางกรวย

ต่อมาสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและแผนการจราจรได้เปิดเผยรายละเอียดร่างแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนระยะที่สองที่ผ่านความเห็นชอบร่วมกับไจก้า โดยกำหนดให้มีเส้นทางรถไฟฟ้าสายใหม่จำนวน 5 เส้นทาง 131 กิโลเมตร ทั้งต่อขยายจากเส้นทางเดิม และร่างเป็นเส้นทางสายใหม่ มีจุดมุ่งหมายเพื่อเชื่อมต่อโครงข่ายในส่วนเส้นทางหลักที่ขาดระบบขนส่งมวลชน (Missing Link) รองรับการขยายตัวของเมืองและจังหวัดข้างเคียง และพร้อมรองรับการเชื่อมต่อกับสถานีระบบขนส่งมวลชนหลักทั้งสามแห่งของกรุงเทพมหานครไม่ว่าจะเป็น สถานีกลางบางซื่อ ที่ยกระดับเป็นสถานีกรุงเทพแห่งใหม่ สถานีมักกะสัน ที่ยกระดับเป็นเกตเวย์เชื่อมต่อกับระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) และ สถานีแม่น้ำ ที่จะยกระดับเป็นจุดเชื่อมต่อที่สำคัญของระบบขนส่งมวลชนในประเทศไทยตามแผนการพัฒนาสถานีแม่น้ำ ซึ่งแต่ละสายทางมีดังต่อไปนี้

  1. สายแม่น้ำ - เทพรัตน - สุวรรณภูมิ ระยะทาง 33 กิโลเมตร เป็นเส้นทางที่ปรับเปลี่ยนจากแนวเส้นทางของรถไฟฟ้ารางเบา สายสีเขียว ให้ไปสิ้นสุดที่สถานีแม่น้ำจากเดิมที่กรุงเทพมหานครศึกษาสถานีปลายทางที่บริเวณแยกสรรพาวุธ ด้านหน้าศาลจังหวัดพระโขนง และยกเลิกแผนการขยายเส้นทางแยกไปวัดศรีวาน้อย ให้แนวเส้นทางเลี้ยวไปสิ้นสุดที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ มีจุดประสงค์เพื่อลดความแออัดของรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิที่จะเปลี่ยนเป็นรถไฟความเร็วสูง รองรับการขยายตัวของเมืองในฝั่งอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ และเพิ่มศักยภาพให้กับสถานีแม่น้ำ
  2. สายทองหล่อ - รามอินทรา - ลำลูกกา ระยะทาง 30 กิโลเมตร ประกอบด้วยเส้นทางศึกษาเดิมของรถไฟฟ้าสายสีเทาที่ถูกยกเลิกคือช่วงทองหล่อ - วัชรพล ระยะทาง 16 กิโลเมตร และแนวเส้นทางศึกษาเพิ่มเติม ช่วงวัชรพล - ลำลูกกา 14 กิโลเมตร โดยศึกษาให้ขยายปลายทางสายฝั่งวัชรพลไปสิ้นสุดและเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้มที่ย่านลำลูกกา มีจุดประสงค์เพื่อรองรับการขยายตัวของเมืองในอำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี
  3. สายรังสิต - ธัญบุรี ระยะทาง 12 กิโลเมตร เป็นเส้นทางศึกษาใหม่เพื่อเชื่อมต่อรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงเข้าพื้นที่รังสิตและอำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี ซึ่งเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยจำนวนสี่แห่ง คือมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ธัญบุรี มหาวิทยาลัยกรุงเทพ และ มหาวิทยาลัยรังสิต
  4. สายบรมราชชนนี - หลักสี่ ระยะทาง 30 กิโลเมตร เป็นเส้นทางศึกษาใหม่เพื่อเชื่อมต่อโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนเข้าสู่เส้นทางหลักที่ขาดระบบขนส่งมวลชน
  5. สายบางหว้า - นนทบุรี - บางกะปิ ระยะทาง 42 กิโลเมตร เป็นเส้นทางศึกษาต่อเนื่องจากแผนการศึกษาส่วนต่อขยายบางหว้า - ตลิ่งชัน ของรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม และเส้นทางศึกษาของรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ให้กลายเป็นเส้นทางวงแหวนเพื่อเชื่อมต่อสองจังหวัดคือกรุงเทพมหานครและนนทบุรี และเชื่อมต่อไปยังพื้นที่ที่ยังไม่มีระบบขนส่งมวลชนเข้าถึง ซึ่งแต่เดิมแนวเส้นทางดังกล่าวเป็นแนวเส้นทางศึกษาของรถไฟฟ้าสายสีเหลืองที่จะเป็นรถไฟฟ้าวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร

ทั้งนี้กระทรวงคมนาคมมีแผนนำเสนอร่างแผนแม่บทโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนในเขตกรุงเทพมหานครและพื้นที่ต่อเนื่องต่อองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น หรือไจก้า ภายในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2561 ก่อนจะประกาศใช้เป็นแผนแม่บทเพื่อดำเนินการโครงการต่อไป

ลำดับเหตุการณ์การพัฒนา

ลำดับเหตุการณ์การพัฒนา
ปี (พ.ศ.) วันที่ เหตุการณ์
2542 5 ธันวาคม เปิดให้บริการ รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท (สถานีหมอชิต-สถานีอ่อนนุช) และ รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม (สถานีสนามกีฬาแห่งชาติ-สถานีสะพานตากสิน)
2547 3 กรกฎาคม เปิดให้บริการ รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล (สถานีหัวลำโพง-สถานีบางซื่อ)
2552 15 พฤษภาคม เปิดให้บริการส่วนต่อขยาย รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม (สถานีสะพานตากสิน-สถานีวงเวียนใหญ่)
2553 23 สิงหาคม เปิดให้บริการ รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ (สถานีสุวรรณภูมิ-สถานีพญาไท)
2554 12 สิงหาคม เปิดให้บริการส่วนต่อขยาย รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท (สถานีอ่อนนุช-สถานีแบริ่ง)
2555 5 ธันวาคม เปิดให้บริการ รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงอ่อน (สถานีตลิ่งชัน-สถานีบางซ่อน) โดยใช้ รถดีเซลราง วิ่งชั่วคราวจนถึงต้นปี พ.ศ. 2557
2556 12 มกราคม เปิดให้บริการส่วนต่อขยาย รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม (สถานีวงเวียนใหญ่-สถานีโพธิ์นิมิตร)
14 กุมภาพันธ์ เปิดให้บริการส่วนต่อขยาย รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม (สถานีโพธิ์นิมิตร-สถานีตลาดพลู)
5 ธันวาคม เปิดให้บริการส่วนต่อขยาย รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม (สถานีตลาดพลู-สถานีบางหว้า)
2559 6 สิงหาคม เปิดให้บริการ รถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม (สถานีคลองบางไผ่-สถานีเตาปูน)
2560 3 เมษายน เปิดให้บริการส่วนต่อขยาย รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท (สถานีแบริ่ง-สถานีสำโรง)
11 สิงหาคม เปิดให้บริการส่วนต่อขยาย รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล (สถานีบางซื่อ-สถานีเตาปูน)[2]

กำหนดการในอนาคต

กำหนดการในอนาคต
ปี (พ.ศ.) วันที่ เหตุการณ์
2561 5 ธันวาคม เปิดให้บริการส่วนต่อขยาย รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท (สถานีสำโรง-สถานีเคหะสมุทรปราการ)[3][4][5]
2562 1 มีนาคม เปิดให้บริการส่วนต่อขยาย รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท (สถานีหมอชิต-สถานีห้าแยกลาดพร้าว)[3][5][6]
14 สิงหาคม เปิดให้บริการส่วนต่อขยาย รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล (สถานีหัวลำโพง-สถานีหลักสอง)[7]
25 ธันวาคม เปิดให้บริการส่วนต่อขยาย รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล (สถานีเตาปูน-สถานีสิรินธร)[7]
2563 2 มีนาคม เปิดให้บริการส่วนต่อขยาย รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล (สถานีสิรินธร-สถานีท่าพระ)[7]
1 กรกฎาคม เปิดให้บริการส่วนต่อขยาย รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท (สถานีห้าแยกลาดพร้าว-สถานีคูคต)[3][8][6]
รอประกาศ เปิดให้บริการ รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงเข้ม (สถานีบางซื่อ-สถานีรังสิต) และ รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงอ่อน (สถานีตลิ่งชัน-สถานีบางซ่อน)[9]
รอประกาศ เปิดให้บริการ รถไฟฟ้าสายสีทอง (สถานีกรุงธนบุรี-สถานีคลองสาน)[10]
2564 รอประกาศ เปิดให้บริการ รถไฟฟ้าสายสีชมพู (สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี-สถานีมีนบุรี)[11][8]
รอประกาศ เปิดให้บริการ รถไฟฟ้าสายสีเหลือง (สถานีลาดพร้าว-สถานีสำโรง)[11][8]
2566 รอประกาศ เปิดให้บริการ รถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม (สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-สถานีสุวินทวงศ์)[8]
รอประกาศ เปิดให้บริการส่วนต่อขยาย รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล (สถานีหลักสอง-สถานีพุทธมณฑล สาย 4)[8]
รอประกาศ เปิดให้บริการส่วนต่อขยาย รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท (สถานีคูคต-สถานีวงแหวนรอบนอกตะวันออก) และ (สถานีเคหะสมุทรปราการ-สถานีตำหรุ)[4]
2567 รอประกาศ เปิดให้บริการส่วนต่อขยาย รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (สถานีพญาไท-สถานีท่าอากาศยานดอนเมือง)[12]
2568 รอประกาศ เปิดให้บริการส่วนต่อขยาย รถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม (สถานีตลิ่งชัน-สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย)[8]
รอประกาศ เปิดให้บริการส่วนต่อขยาย รถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม (สถานีเตาปูน-สถานีครุใน)[8]
2570 รอประกาศ เปิดให้บริการ รถไฟฟ้าไลท์เรล สายบางนา-ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (สถานีบางนา-สถานีธนาซิตี้-สถานีท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ)[13]
รอประกาศ เปิดให้บริการส่วนต่อขยาย รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (ลาดกระบัง - ท่าอากาศยานอู่ตะเภา)[14]

รายชื่อสายรถไฟฟ้า

ระบบเส้นทาง

ชื่อระบบ เปิดให้บริการ จำนวนเส้นทาง
(ในปัจจุบัน)
ระยะทาง (กิโลเมตร)
(ในปัจจุบัน)
จำนวนสถานี
(ในปัจจุบัน)
ผู้ให้บริการ
ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2542 2 38.69[15] 35[ก][16] BTSC
รถไฟฟ้ามหานคร พ.ศ. 2547 2 44.8 34[ข] BEM
รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ พ.ศ. 2553 1 28.6 8 SRTET

หมายเหตุ

  • นับสถานีเชื่อมต่อ (สยาม) เป็นสถานีเดียว
  • นับสถานีเชื่อมต่อ (เตาปูน) เป็นสถานีเดียว

สายที่ให้บริการในปัจจุบัน

สาย ระบบ ผู้ให้บริการ จำนวนสถานี ระยะทาง
(กิโลเมตร)
สถานีปลายทาง จำนวนผู้โดยสาร
ต่อวัน (คน)
ปีที่เปิดให้บริการ
ส่วนแรก ส่วนต่อขยาย
แม่แบบ:BTS Lines ขนส่งมวลชนเร็ว บีทีเอส 23 24.02[17] หมอชิตสำโรง รวมกัน
900,000[18]
พ.ศ. 2542 พ.ศ. 2560
แม่แบบ:BTS Lines 13 14.67 สนามกีฬาแห่งชาติ ↔ บางหว้า พ.ศ. 2556
แม่แบบ:BTS Lines รฟม. 19 21.2[19] หัวลำโพง ↔ เตาปูน 400,000[20] พ.ศ. 2547 พ.ศ. 2560[21]
แม่แบบ:BTS Lines 16 23.6 คลองบางไผ่เตาปูน 60,000[22] พ.ศ. 2559
แม่แบบ:BTS Lines เชื่อมท่าอากาศยาน รถไฟฟ้า
ร.ฟ.ท.
8 28.6 พญาไทสุวรรณภูมิ 75,000[23] พ.ศ. 2553
รวมทั้งหมด 77 (79) 112.09 1,435,000 พ.ศ. 2542 พ.ศ. 2560

สายที่ผ่านการอนุมัติ

สาย ระบบ ผู้ให้บริการ จำนวนสถานี ระยะทาง
(กิโลเมตร)
สถานีปลายทาง การดำเนินงาน (พ.ศ.)
ก่อสร้าง เปิดบริการ/กำหนดเสร็จ
แม่แบบ:BTS Lines ชานเมือง ร.ฟ.ท.
รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.
3 15 ตลิ่งชัน - กลางบางซื่อ 2552 2563[4]
แม่แบบ:BTS Lines
(ส่วนต่อขยาย)
ขนส่งมวลชนเร็ว รฟม.
บีอีเอ็ม
9 10.8 เตาปูน - ท่าพระ 2554 2563[7]
11 15.9 หัวลำโพง - หลักสอง 2554 2562[7]
แม่แบบ:BTS Lines
(ส่วนต่อขยาย)
ขนส่งมวลชนเร็ว บีทีเอส
รฟม.
เคที
9 13 สำโรง - เคหะสมุทรปราการ 2555 ตุลาคม - ธันวาคม 2561[3][4][6][5][24]
16 19 หมอชิต - คูคต 2558 2563[3][4][6]
แม่แบบ:BTS Lines ชานเมือง ร.ฟ.ท.
รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.
10 26 รังสิต - กลางบางซื่อ 2556 2563[4][6]
แม่แบบ:BTS Lines ขนส่งมวลชนเร็ว รฟม. 17 23 ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย - สุวินทวงศ์ 2560 2566[4]
แม่แบบ:BTS Lines ล้อยาง บีทีเอส
เคที
3 1.8 กรุงธนบุรี - คลองสาน 2561[7] 2563[25]
แม่แบบ:BTS Lines รางเดี่ยว รฟม.
เอ็นบีเอ็ม
30 34.5 ศูนย์ราชการนนทบุรี - มีนบุรี 2561 2564[4]
แม่แบบ:BTS Lines รางเดี่ยว รฟม.
อีบีเอ็ม
23 30 ลาดพร้าว - สำโรง 2561 2564[4]
แม่แบบ:BTS Lines
(ส่วนต่อขยาย)
ขนส่งมวลชนเร็ว รฟม.
บีอีเอ็ม
17 23.6 เตาปูน - ครุใน 2561[26] 2567[26][4]
แม่แบบ:BTS Lines
(ส่วนต่อขยาย)
เชื่อมท่าอากาศยาน
ความเร็วสูง
รฟท. 7 215.3 ท่าอากาศยานดอนเมือง - พญาไท
ลาดกระบัง - ท่าอากาศยานอู่ตะเภา
2562[27][28] 2567-2570[12][9]

สรุปแผนพัฒนา

สาย รูปแบบ ช่วงกว้างราง ยาว (กม.) จำนวนสถานี สถานะ และ แผนพัฒนา เจ้าของโครงการ
  สีแดงเข้ม รถไฟฟ้าชานเมือง Meter Gauge (1.000 m.) 80.8
บ้านภาชี – ม.ธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต 28 ? ภายในปี พ.ศ. 2565 รฟท.
ม.ธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต – รังสิต 10.3 3 ภายในปี พ.ศ. 2565
รังสิต – บางซื่อ 26 10 กำลังก่อสร้าง
บางซื่อ – หัวลำโพง 6.5 6 ภายในปี พ.ศ. 2563
หัวลำโพง – บางบอน 36.3 10 ภายในปี พ.ศ. 2572
บางบอน – มหาชัย 20.3 7 ภายในปี พ.ศ. 2572
  สีแดงอ่อน รถไฟฟ้าชานเมือง Meter Gauge (1.000 m.) 58.5
ศาลายา – ตลิ่งชัน 14.0 4 ภายในปี พ.ศ. 2564 รฟท.
ตลิ่งชัน – บางซื่อ 15.0 5 เปิดให้บริการ พ.ศ. 2563
บางซื่อ – พญาไท – มักกะสัน 9.0 5 ภายในปี พ.ศ. 2563
มักกะสัน – หัวหมาก 10.0 3 ภายในปี พ.ศ. 2563
มักกะสัน – บางบำหรุ 10.5 5
  แอร์พอร์ตเรลลิงก์ รถไฟฟ้าชานเมือง Standard Gauge (1.435 m.) 49.5
ท่าอากาศยานอู่ตะเภา – สุวรรณภูมิ 171.9 5 ภายในปี พ.ศ. 2567 รฟท.
สุวรรณภูมิ – พญาไท 28.6 8 เปิดให้บริการ เมื่อ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2553
พญาไท – บางซื่อ 7.8 1 ภายในปี พ.ศ. 2567
บางซื่อ - ดอนเมือง 14 1 ภายในปี พ.ศ. 2567
  สีเขียวอ่อน ระบบขนส่งมวลชนเร็วยกระดับ Standard Gauge (1.435 m.) 66.5
วงแหวนรอบนอกตะวันออก – คูคต 6.5 4 ภายในปี พ.ศ. 2568
หมอชิต – คูคต 18.4 16 กำลังก่อสร้าง รฟม.
หมอชิต – อ่อนนุช 16.5 17 เปิดให้บริการ เมื่อ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2542 กทม.
อ่อนนุช – แบริ่ง 5.3 5 เปิดให้บริการ เมื่อ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2554
อุดมสุข – สุวรรณภูมิ ~16 10 รอการก่อสร้างอาคารผู้โดยสาร 2 ของท่าอากาศยานฯ
ธนาซิตี้ - วัดศรีวาน้อย ~4 2
แบริ่ง – เคหะสมุทรปราการ 12.8 9 รอเปิดให้บริการในปี 2561 รฟม.
เคหะสมุทรปราการ – บางปู 7.0 4 ภายในปี พ.ศ. 2568
  สีเขียวเข้ม ระบบขนส่งมวลชนเร็วยกระดับ Standard Gauge (1.435 m.) 22.5
ตลิ่งชัน – บางหว้า 7 6 ภายในปี พ.ศ. 2566 กทม.
บางหว้า – วงเวียนใหญ่ 5.3 4 เปิดให้บริการ ครบทั้งเส้นทางเมื่อ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2556
วงเวียนใหญ่ – สะพานตากสิน 2.2 2 เปิดให้บริการ เมื่อ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
สะพานตากสิน – สนามกีฬาแห่งชาติ 7.0 7 เปิดให้บริการ เมื่อ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2542
สนามกีฬาแห่งชาติ – ยศเส 1.0 1 ภายในปี พ.ศ. 2572
  สีน้ำเงิน ระบบขนส่งมวลชนเร็วใต้ดินและยกระดับ Standard Gauge (1.435 m.) 55.0
ท่าพระ – บางซื่อ 13.0 10 กำลังก่อสร้าง รฟม.
บางซื่อ – หัวลำโพง 20.0 18 เปิดให้บริการ เมื่อ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2547
หัวลำโพง – ท่าพระ – หลักสอง 14.0 10 กำลังก่อสร้าง
หลักสอง – พุทธมณฑลสาย 4 8.0 4 ภายในปี พ.ศ. 2568
  สีม่วง ระบบขนส่งมวลชนเร็วใต้ดินและยกระดับ Standard Gauge (1.435 m.) 42.8
คลองบางไผ่ – เตาปูน 23.0 16 เปิดให้บริการ เมื่อ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2559 รฟม.
เตาปูน – ครุใน 19.8 16 ภายในปี พ.ศ. 2568
  สีส้ม ระบบขนส่งมวลชนเร็วใต้ดินและยกระดับ Standard Gauge (1.435 m.) 35.4
บางขุนนนท์ – ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย 13 13 ภายในปี พ.ศ. 2567 (ช่วงตลิ่งชัน – บางขุนนนท์ ยกเลิก)
ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย – สุวินทวงศ์ 22 17
  สีชมพู โมโนเรล 36
ศูนย์ราชการนนทบุรี – ปากเกร็ด 6.0 5 ภายในปี พ.ศ. 2563
ปากเกร็ด – หลักสี่ 12.0 9
หลักสี่ – วงแหวนรอบนอก 10.5 5
วงแหวนรอบนอก – มีนบุรี 7.5 5
  สีเหลือง โมโนเรล 30.4
รัชดา-ลาดพร้าว – พัฒนาการ 12.6 10 ภายในปี พ.ศ. 2563
พัฒนาการ – สำโรง 17.8 11
  สีน้ำตาล 21
ศูนย์ราชการนนทบุรี – สัมมากร 21 23 ภายในปี พ.ศ. 2568
  สีเทา 26.0
วัชรพล – ลาดพร้าว 8.0 5 ภายในปี พ.ศ. 2563
ลาดพร้าว – พระราม 4 12.0 10
พระราม 4 – สะพานพระราม 9 6.0 6
  สีฟ้า

ข้อมูลทางเทคนิค

ระบบปฏิบัติการเดินรถ

ระบบรถไฟฟ้าในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลทุกสาย ใช้ระบบการเดินรถแบบอัตโนมัติซึ่งถูกควบคุมจากศูนย์ควบคุมกลางที่ตั้งอยู่บริเวณเดียวกับศูนย์ซ่อมบำรุงของแต่ละโครงการ ระบบการเดินรถของแต่ละสายจะถูกดำเนินการแยกจากกันโดยไม่มีการรบกวนกันระหว่างสาย ยกเว้น รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท และ รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม ที่ใช้ระบบควบคุมทั้งสองสายจากศูนย์ควบคุมกลางแห่งเดียวกัน เนื่องจากทั้งสองสายใช้ศูนย์ซ่อมบำรุงร่วมกัน และมีการติดตั้งรางหลีกในบางช่วงของเส้นทาง ทำให้สามารถป้อนหรือถอนขบวนรถระหว่างสายออกจากระบบได้

ระบบปฏิบัติการเดินรถในปัจจุบันถูกแยกออกเป็นสามประเภทหลักตามจุดประสงค์ในการใช้งาน โดยระบบที่ได้รับความนิยมในปัจจุบันคือ ระบบควบคุมรถไฟมาตรฐานยุโรป (European Train Control System หรือ ETCS) ซึ่งเป็นระบบมาตรฐานกลางที่ใช้กันภายในสหภาพยุโรป และในหลาย ๆ ประเทศ ด้วยความสามารถในการรองรับระบบรถไฟจากทุกผู้ผลิตในโลก และระบบควบคุมคุณภาพมาตรฐานเดียวกันทั่วโลก ทำให้ระบบมีประสิทธิภาพและพร้อมรองรับการขยายโครงข่ายได้อย่างสมบูรณ์

ปัจจุบันระบบรถไฟฟ้าในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ได้มีการเลือกใช้ระบบปฏิบัติการเดินรถไฟฟ้าดังต่อไปนี้

เส้นทาง ผู้พัฒนา โซลูชัน รูปแบบ [atpnote 1] ปีที่ติดตั้ง ระดับการควบคุม[atpnote 2] หมายเหตุ
แม่แบบ:BTS Lines บอมบาร์ดิเอร์
เดิม ซีเมนส์
Cityflo 450 Moving Block CBTC พ.ศ. 2554 STO เปลี่ยนทั้งระบบจากระบบเดิมเมื่อ พ.ศ. 2552 - พ.ศ. 2554 เพื่อรองรับเส้นทางส่วนต่อขยาย และขบวนรถรุ่นใหม่ [atpnote 3]
แม่แบบ:BTS Lines พ.ศ. 2552
แม่แบบ:BTS Lines ซีเมนส์ Trainguard LZB700M Fixed Block-Speed Coded พ.ศ. 2546 STO ติดตั้งเพิ่มในเส้นทางส่วนต่อขยาย
แม่แบบ:BTS Lines ซีเมนส์ Trainguard LZB700M Fixed Block-Speed Coded พ.ศ. 2552 STO
แม่แบบ:BTS Lines บอมบาร์ดิเอร์ Cityflo 650 Moving Block CBTC พ.ศ. 2559 STO
แม่แบบ:BTS Lines ทาลส์ AlTrac 6413 TSS ETCS Level 1 พ.ศ. 2562 STO
แม่แบบ:BTS Lines
แม่แบบ:BTS Lines บอมบาร์ดิเอร์ Cityflo 650 Moving Block CBTC พ.ศ. 2563 DTO
แม่แบบ:BTS Lines บอมบาร์ดิเอร์ Cityflo 650 Moving Block CBTC พ.ศ. 2563 DTO
แม่แบบ:BTS Lines บอมบาร์ดิเอร์ Cityflo 650 Moving Block CBTC พ.ศ. 2563 DTO
หมายเหตุ
  1. Fixed Block = Conventional Fixed Block using Line of Sight. Fixed Block-Speed Coded = Fixed Block using Coded Track Circuits. DTG-TC = Fixed Block-Distance to Go using Track Circuits. DTG-R = Fixed-Block-Distance-to-Go using Radio. Moving Block TBTC = Moving Block using Induction Loops. Moving Block CBTC = Moving Block using Radio. ETCS = European Train Control System.
  2. UTO = ระบบควบคุมแบบใช้คนควบคุม. DTO = ระบบควบคุมอัตโนมัติ. STO = ระบบควบคุมแบบกึ่งอัตโนมัติ
  3. บีทีเอสซี ได้ดำเนินการเปลี่ยนระบบเพื่อรองรับเส้นทางส่วนต่อขยายสายสีลมช่วงสะพานตากสิน-วงเวียนใหญ่ จำนวนสองสถานี และส่วนต่อขยายสายสุขุมวิทช่วงอ่อนนุช-แบริ่ง จำนวนสี่สถานี รองรับขบวนรถรุ่นซีเอ็นอาร์ บอมบาร์ดิเอร์ ที่จะเข้ามาให้บริการ ใน พ.ศ. 2553-2554 และลดระยะความถี่ลงเหลือ 1-2 นาทีในช่วงเวลาเร่งด่วน โดยเริ่มเปลี่ยนในเส้นทางสายสีลมและสายสุขุมวิท ช่วงหมอชิต-สยาม เมื่อ พ.ศ. 2552 และ สายสุขุมวิท ช่วงสยาม-อ่อนนุช เมื่อ พ.ศ. 2554 ส่วนเส้นทางส่วนต่อขยาย กรุงเทพธนาคม เป็นผู้ดำเนินการติดตั้งระบบเอง

ระบบรถไฟฟ้า

เส้นทาง รุ่น ผู้ผลิต ผลิตใน ปีที่นำเข้าครั้งแรก ปีที่นำเข้าครั้งล่าสุด ภาพ
rowspan="3" width="5" bgcolor=แม่แบบ:BTS color | รถไฟฟ้าบีทีเอส (สายสุขุมวิท และ สายสีลม) ซีเมนส์ โมดูลาร์ เมโทร ซีเมนส์  เยอรมนี พ.ศ. 2542 พ.ศ. 2555
ซีเมนส์ อินสไปโร  เยอรมนี
 ตุรกี
พ.ศ. 2561 - ไฟล์:Bts-siemens-inspiro-emu-a2.jpg
บอมบาร์ดิเอร์โมเวีย / ซีเอ็นอาร์ ฉางชุน อีเอ็มยู (EMU-B) บอมบาร์ดิเอร์ / ซีอาร์อาร์ซี  จีน พ.ศ. 2553 พ.ศ. 2556
rowspan="2" bgcolor=แม่แบบ:BTS color | รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ซีเมนส์ โมดูลาร์ เมโทร ซีเมนส์  เยอรมนี พ.ศ. 2547
ซีเมนส์ อินสไปโร  ออสเตรีย พ.ศ. 2562[29] - ไฟล์:Mrt new inspiro train.jpg
bgcolor=แม่แบบ:BTS color | รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ซีเมนส์ เดซิโร คลาส 360 ซีเมนส์  เยอรมนี พ.ศ. 2550 - ไฟล์:Airport Rail link - city.jpg
bgcolor=แม่แบบ:BTS color | รถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม เจเทรค ซัสติน่า มารุเบนิ/โตชิบา  ญี่ปุ่น พ.ศ. 2558[30] ไฟล์:MRT Purple Line.jpg
bgcolor=แม่แบบ:BTS color | รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง (สายสีแดงเข้ม และ สายสีแดงอ่อน) ฮิตาชิ[31] ซูมิโตโม คอร์ปอเรชั่น/มิตซูบิชิเฮฟวีอินดัสทรีส์[32]  ญี่ปุ่น พ.ศ. 2562[33] ไฟล์:สายสีแดง2-700x448.jpg
bgcolor=แม่แบบ:BTS color | รถไฟฟ้าสายสีชมพู บอมบาร์ดิเอร์ อินโนเวีย โมโนเรล 300 บอมบาร์ดิเอร์  จีน พ.ศ. 2562-พ.ศ. 2563 - ไฟล์:Bombardier-innovia-yellow-pink.jpg
bgcolor=แม่แบบ:BTS color | รถไฟฟ้าสายสีเหลือง
bgcolor=แม่แบบ:BTS color | รถไฟฟ้าสายสีทอง บอมบาร์ดิเอร์ อินโนเวีย เอพีเอ็ม 300 พ.ศ. 2562 -
bgcolor=แม่แบบ:BTS color | รถไฟฟ้าสายสีส้ม ยังไม่เปิดเผย ยังไม่เปิดเผย ยังไม่เปิดเผย พ.ศ. 2566

บัตรโดยสารและค่าบริการ

รถไฟฟ้าบีทีเอส

รถไฟฟ้ามหานคร

รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ มีการจัดเก็บค่าโดยสารทั้งหมดสองแบบ ดังต่อไปนี้

  • รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (สายซิตี้ไลน์) ใช้วิธีการเก็บค่าโดยสารเป็นรายสถานี เริ่มต้น 15 บาท เพิ่มขึ้นสถานีละ 5 บาท ตามจำนวนสถานีที่เดินทางจริง ค่าโดยสารสูงสุดอยู่ที่ 45 บาท สำหรับโดยสารจาก สถานีพญาไท-สถานีสุวรรณภูมิ หรือ สถานีสุวรรณภูมิ-สถานีพญาไท โดยผู้โดยสารจะได้รับเหรียญโดยสารหรือโทเคนเดินทางเป็นสีแดง
  • รถไฟฟ้าด่วนเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (สายเอ็กซ์เพรสไลน์) คิดค่าโดยสารเที่ยวละ 150 บาทต่อเที่ยว (ปัจจุบันลดค่าโดยสารเหลือ 90 บาท) โดยผู้โดยสารจะได้รับคูปองพิเศษกรณีเดินทางจากสถานีพญาไทหรือสถานีสุวรรณภูมิไปสถานีพญาไท สำหรับใช้ยื่นขอออกพื้นที่ชำระเงินที่สถานีปลายทาง หรือเหรียญโดยสารหรือโทเคนเดินทางเป็นสีน้ำเงินกรณีเดินทางมาจากหรือลงปลายทางที่สถานีมักกะสัน กรณีเดินทางจากสถานีมักกะสัน ผู้โดยสารจะต้องหยอดเหรียญเข้าระบบตั้งแต่สถานีมักกะสัน ซึ่งเมื่อถึงปลายทางก็สามารถเดินออกจากระบบได้ทันที ส่วนกรณีเดินทางจากสถานีพญาไท ผู้โดยสารจะต้องยื่นคูปองให้กับเจ้าหน้าที่ที่สถานีสุวรรณภูมิเพื่อออกจากระบบ ส่วนกรณีเดินทางจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ผู้โดยสารสามารถเดินเข้าระบบได้ทันทีโดยไม่ต้องชำระค่าโดยสาร และเลือกเส้นทางในการเดินทางได้สองเส้นทางคือเส้นทางพญาไท-สุวรรณภูมิ หรือ มักกะสัน-สุวรรณภูมิ จากนั้นค่อยไปชำระค่าโดยสารที่สถานีปลายทางได้ (กรณีเดินทางไปพญาไท ผู้โดยสารจะต้องติดต่อซื้อคูปองก่อนเข้าระบบเพื่อใช้ในการออกจากระบบที่สถานีพญาไท)

นอกจากนี้ รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ยังได้มีการจัดทำค่าโดยสารพิเศษสำหรับผู้โดยสารที่เป็น นักเรียน นักศึกษา ผู้สูงอายุ หรือพนักงานภายในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเพิ่มเติม ผ่านบัตรเออาร์แอล สมาร์ทพาส ดังนี้

  • สติวเดนท์สมาร์ทพาส - ลดค่าโดยสารลง 20% จากค่าโดยสารปกติ โดยจะออกบัตรโดยสารให้กับนักเรียน หรือ นักศึกษา ที่มีอายุไม่เกิน 23 ปี หรือศึกษาในระดับไม่เกินปริญญาตรี
  • ซีเนียร์สมาร์ทพาส - ลดค่าโดยสารลง 20% จากค่าโดยสารปกติ โดยจะออกบัตรโดยสารให้กับผู้สูงอายุ ที่มีอายุเกิน 60 ปี โดยยึดถือวันเกิดจากหน้าบัตรประชาชน
  • สุวรรณภูมิแคร์เรียร์ เอ็กซ์เพรส สมาร์ทพาส - ลดค่าโดยสารของรถไฟฟ้าด่วนเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (สายเอ็กซ์เพรสไลน์) จากมักกะสัน-ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ หรือจากพญาไท-ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ จากค่าโดยสารปกติที่ 150 บาท เป็น 45 บาทต่อเที่ยว โดยจะออกบัตรโดยสารให้กับพนักงานสายการบินภายในประเทศทุกสายการบิน พนักงานภายในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิทุกตำแหน่ง พนักงานภาคเอกชนที่มีพื้นที่รับผิดชอบภายในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และพนักงาน บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) เท่านั้น

รถไฟฟ้าชานเมือง

แผนที่

รถไฟฟ้าสายที่เปิดให้บริการแล้วและที่กำลังก่อสร้าง

รถไฟฟ้าเมื่อครบทุกสาย

แผนที่แบบอื่นๆ

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. *หมายเหตุ : สำหรับรถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อน บางซื่อ-ตลิ่งชัน นั้น แม้ว่าโครงสร้างพื้นฐานจะสร้างเสร็จสมบูรณ์แล้วแต่ยังไม่เปิดให้บริการ จึงนับเฉพาะเส้นทางรถไฟฟ้าที่เปิดให้บริการในปัจจุบัน
  2. http://www.ryt9.com/s/iq05/2689993
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) (31 March 2017). ข้อมูลที่สำคัญอื่น - แบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี (แบบ 56-1) สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีสิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2560 บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิงส์ จำกัด (มหาชน). สืบค้นเมื่อ 15 August 2017.
  4. 4.00 4.01 4.02 4.03 4.04 4.05 4.06 4.07 4.08 4.09 www.prop2morrow.com (16 January 2018). เปิดแผนงานก่อสร้างรถไฟฟ้าปี 2561. สืบค้นเมื่อ 16 January 2018.
  5. 5.0 5.1 5.2 www.thaipost.net (11 July 2018). ลุ้น 5ธ.ค. เปิดเดินรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายแบริ่ง-สมุทรปราการ. สืบค้นเมื่อ 11 July 2018.
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 6.4 www.thairath.co.th (9 July 2018). “รายงานวันจันทร์” สรุปงานอุโมงค์, สะพาน, ทางรถไฟฟ้า : สีเขียวเหนือคืบหน้า 69.3%. สืบค้นเมื่อ 9 July 2018.
  7. 7.0 7.1 7.2 7.3 7.4 7.5 www.prachachat.net/ (6 July 2018). “ช.การช่าง” เร่งรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน 14 ส.ค.ปีหน้าเปิดหวูด “หัวลำโพง-หลักสอง”. สืบค้นเมื่อ 6 July 2018.
  8. 8.0 8.1 8.2 8.3 8.4 8.5 8.6 www.prop2morrow.com (16 January 2018). เปิดแผนงานก่อสร้างรถไฟฟ้าปี 2561. สืบค้นเมื่อ 16 January 2018.
  9. 9.0 9.1 ประชาชาติธุรกิจ. "สมคิด" ชม"คีรี"นักรบเศรษฐกิจ“อาคม” หารือผู้บริหาร “ฮิตาชิ” เร่งผลิตขบวนรถไฟฟ้าสายสีแดงให้เสร็จปีหน้า. สืบค้นเมื่อ 3 August 2018.
  10. https://www.facebook.com/GoldlineBangkok/?hc_ref=ARSGHPqCKO5xR3zY4xTKXl8Nl_q9QrNJLGeyDR_v64CXSSHO2CTYAmB4RVPBIZdbBpo&fref=nf
  11. 11.0 11.1 https://www.prachachat.net/property/news-48912
  12. 12.0 12.1 MoneyChannel. ลุยลงพื้นที่วันนี้รฟท.พาชี้เป้าก่อสร้างจริงไฮสปีดเทรนเชื่อม 3 สนามบิน. สืบค้นเมื่อ 24 July 2018.
  13. https://www.prachachat.net/property/news-174784
  14. prachachat.net. ครึ่งทางเมกะโปรเจ็กต์ 2 ล้าน ล. ปี”62 ทุกโหมดเร่งสร้าง-เร่งเปิดใช้. สืบค้นเมื่อ 24 July 2018.
  15. https://www.thansettakij.com/2016/07/14/70337
  16. https://www.thansettakij.com/2016/07/14/70337
  17. https://www.thansettakij.com/2016/07/14/70337
  18. http://www.thansettakij.com/2016/05/17/52501
  19. M.R.T. Chaloem Ratchamongkhon Line Mass Rapid Transit Authority of Thailand. 2014
  20. http://www.thansettakij.com/content/207876?ts
  21. http://www.komchadluek.net/news/top-10/287268
  22. http://www.thansettakij.com/content/207876?ts
  23. https://mgronline.com/business/detail/9600000093372
  24. กทม.เปิดให้เอกชน–ปชช.เสนอแนวทางร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย
  25. https://www.facebook.com/GoldlineBangkok/?hc_ref=ARSGHPqCKO5xR3zY4xTKXl8Nl_q9QrNJLGeyDR_v64CXSSHO2CTYAmB4RVPBIZdbBpo&fref=nf
  26. 26.0 26.1 http://www.posttoday.com/biz/gov/505199
  27. prop2morrow (18 June 2018). บีทีเอส-ซีพี-อิตาเลียนไทย -เครือปตท.ซื้อซองไฮสปีดเทรน. สืบค้นเมื่อ 18 June 2018.<
  28. www.home.co.th (30 July 2018). เดินหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน คาดลงมือสร้างกลางปี 2562. สืบค้นเมื่อ 30 July 2018.
  29. “ซีเมนส์” ยึดระบบรถไฟฟ้าสีน้ำเงิน 2 หมื่นล้าน
  30. http://www.thairath.co.th/content/534260
  31. http://www.hitachi.com.sg/press/docs/20160330.pdf
  32. http://www.railwaygazette.com/news/news/asia/single-view/view/bangkok-projects-approved.html
  33. http://www.railwaygazette.com/news/news/asia/single-view/view/bangkok-projects-approved.html

แหล่งข้อมูล