ซีเมนส์ เดซิโร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รถไฟเดซิโรในเมืองกราซ ประเทศออสเตรีย

ซีเมนส์ เดซิโร (อังกฤษ: Siemens Desiro) เป็นรถตระกูลหนึ่งของรถดีเซลรางและรถไฟฟ้า ซึ่งใช้ขนส่งผู้โดยสาร[1] ซีเมนส์ เดซิโร มีรถหลายรุ่นที่ดัดแปลงออกมา เช่น เดซิโร คลาสสิก, เดซิโร เอ็มแอล, เดซิโร ยูเค และรถรุ่นในอนาคต เดซิโร ซิตี และ เดซิโร อาร์ยูเอส มักใช้ในรถไฟชานเมืองและสายระหว่างภูมิภาค[1] การออกแบบตัวรถค่อนข้างง่าย ไม่ซับซ้อนแต่อย่างใด

เดซิโร คลาสสิก[แก้]

ออสเตรีย[แก้]

การรถไฟออสเตรีย (ÖBB) ใช้รถดีเซลรางเดซิโรจำนวน 60 ขบวน ถูกกำหนดให้เป็นรุ่น ÖBB 5022 โดยใช้ขบวนรถพื้นฐานจากคลาส 642 ของเยอรมัน แต่มีการเพิ่มเติมอุปกรณ์ด้านความปลอดภัยเข้ามาด้วย

บัลแกเรีย[แก้]

รถไฟของการรถไฟบัลแกเรีย สายโซเฟีย-ลากัตนิก ที่สถานีรถไฟเมืองทอมพ์สอน

ในปี ค.ศ. 2005 - ค.ศ. 2006 การรถไฟบัลแกเรีย ได้เปิดเดินรถไฟระหว่างเมืองโซเฟียและลากัตนิก โดยใช้ขบวนรถดีเซลรางเดซิโร 25 ขบวนน มูลค่า 67 ล้านยูโร[2] เมื่อ 22 มีนาคม ค.ศ. 2006 รถไฟอีก 16 ขบวน ได้เริ่มเปิดให้บริการ ในเส้นทางสายโซเฟีย-Kyustendil-โซเฟีย


สาธารณรัฐเช็ก[แก้]

บริษัทรถไฟในเช็ก ได้นำขบวนรถไฟเดซิโรเข้ามาใช้ชั่วคราวเพียง 2 ขบวนเท่านั้น โดยเช่ามาจากประเทศเยอรมนี

เดนมาร์ก[แก้]

การรถไฟเดนมาร์ก (DSB) ได้ทำการเช่ารถไฟเดซิโรมาตั้งแต่ ค.ศ. 2002 ให้บริการเริ่มแรกระหว่างเมือง โอเดนเซ-ซเวนเบิร์ก กับ โอเดนเซ-Fredericia เมื่อ 2 กรกฎาคม ค.ศ. 2009 DSB ได้ลงสัญญาสั่งซื้อซีเมนส์เพื่อนำมาใช้ในเส้นทางรถไฟสายเกรนาบาเนน, ซึ่งได้นำเข้ามาเมื่อ 12 ธันวาคม ค.ศ. 2012[3] The trains extend to Odder from December 2012, starting the light rail network in Aarhus city.[4]

เยอรมนี[แก้]

รถไฟเยอรมันทั้ง 2 ขบวนนี้ ใช้รถรุ่นคลาส 642

สายรถไฟเยอรมัน (Deutsche Bahn) ได้ใช้รถไฟฟ้า 2 คันต่อขบวนมาตั้งแต่ ค.ศ. 2000 ด้วยความเร็วสูงสุด 120 km/h (75 mph) รถรุ่นคลาส 642 ได้นำมาใช้เส้นทางหลักและทางแยกย่อยต่างๆ

กรีซ[แก้]

OSE Desiro EMU

การรถไฟเฮลเลนิก (OSE) ได้นำรถไฟ 2 คันต่อขบวน (OSE class 660) จำนวน 8 ขบวน มาใช้งานชั่วคราวระหว่าง ค.ศ. 2004 - ค.ศ. 2006 และใช้งานอีกครั้งใน ค.ศ. 2007 บนทางสายเอเธนส์Chalkida แระบบรถไฟชานเมืองกรุงเอเธนส์

ฮังการี[แก้]

MÁV ได้นำรถเดซิโรจำนวน 39 คันมาใช้งานหลักในรถไฟชานเมืองระหว่างกรุงบูดาเปสต์-Esztergom และบูดาเปสต์-Lajosmizse และสายรถไฟระหว่างเมือง บูดาเปสต์-บาจา ส่วนในวันหยุดสุดสัปดาห์ มีการเปิดเดินรถไฟจากบูดาเปสต์ ไปยังเมืองบาจา และเมือง Sátoraljaújhely และจากบูดาเปสต์ไปยังทาพอลคา และในวันหยุดฤดูร้อน รถไฟเดซิโรก็ได้ใช้งานในรถไฟท้องถิ่นสายเลียบทะเลสาบบาลาตอนฝั่งเหนือ

มาเลเซีย[แก้]

KLIA Ekspres ใช้รถไฟฟ้ารุ่น อีที 425 เอ็ม

รถไฟฟ้าระยะทาง 57 km (35 mi) อันได้แก่ สายเคแอลไอเอ เอ็กซ์เพรส ซึ่งเป็นรถไฟฟ้าด่วนจอดเฉพาะสถานีรถไฟเซ็นทรัลกัวลาลัมเปอร์(เคแอลเซ็นทรัล) กับท่าอากาศยานนานาชาติกัวลาลัมเปอร์ (เคแอลไอเอ) และ สายเคแอลไอเอ แทรนซิต ซึ่งเป็นสายรถไฟฟ้าชานเมืองในเขตกัวลาลัมเปอร์โดยจะจอดทุกสถานี (รวมทั้งสิ้น 6 สถานี) ที่อยู่ระหว่าง สถานีรถไฟเซ็นทรัลกัวลาลัมเปอร์ (เคแอลเซ็นทรัล) กับท่าอากาศยานนานาชาติกัวลาลัมเปอร์ (เคแอลไอเอ) ทั้งสองสายนี้จะใช้ทางวิ่งร่วมกันและใช้รถไฟฟ้ารุ่น อีที 425 เอ็ม จำนวน 4 คันต่อขบวน[5] มีในบริการทั้งหมด 12 ขบวน

ความเร็วสูงสุด 160 km/h (99 mph).

โรมาเนีย[แก้]

รถไฟในโรมาเนีย (Săgeata Albastră)

CFR เป็นกิจการรถไฟประจำชาติโรมาเนีย เป็นประเทศหนึ่งที่ใช้รถไฟฟ้าเดซิโรมากที่สุดในโลก CFR มีรถไฟฟ้าทั้งหมด 120 คัน มักนำไปวิ่งตั้งแต่ทางระยะสั้นจนยาว

สโลวีเนีย[แก้]

SŽ Series 312

การรถไฟสโลวีเนีย ใช้รถไฟฟ้าเดซิโรรุ่น EMG 312 SR 31E เพื่อนำไปใช้ในขบวนรถชานเมือง

สหรัฐอเมริกา[แก้]

สปรินเทอร์แห่งเมืองแซนดีเอโก

รถสปรินเทอร์แซนดีเอโก ใช้รถเดซิโรรุ่น VT642 ให้บริการทางตอนเหนือของจังหวัดแซนดีเอโก จากเมืองโอเชียนไซด์ไปยังเมืองเอสคอนดิโด ระยะทาง 35 km (22 mi)

เดซิโร เมนไลน์[แก้]

ออสเตรีย[แก้]

ในเดือนเมษายน ค.ศ. 2010 ÖBB ได้ลงนามซื้อสัญญาเพื่อที่จะเพิ่มจำนวนรถเป็น 200 คัน[6]

เบลเยียม[แก้]

ใน ค.ศ. 2008 NMBS และ SNCB ได้สั่งซื้อรถจำนวน 95 คัน เพื่อนำไปรวมกับรถที่มีอยู่เดิมให้เป็น 300 คัน[7] แต่ใน ค.ศ. 2013 การสั่งซื้อได้ถูกระงับ เนื่องจากเครื่องยนต์ขัดข้องระหว่างทำงาน เป็นเหตุให้การขนส่งล่าช้า และต้องจ่ายเงินเพิ่มอีก 25 ล้านยูโร[8]

เยอรมนี[แก้]

คลาส 460

รถรุ่น ML ใช้งานเป็นรถไฟเอกชน วิ่งระหว่างเมืองโคโลญ-แม้นซ์[9] ต่อมา EMUs ได้ทำการเช่ารถจากแองเจิ้ล เทรน และได้รับรถรุ่น 460 เพื่อนำมาใช้งาน รถกระแสไฟฟ้าตรงเหนือหัวของ EMUs ทำความเร็วสูงสุด 160 km/h (99 mph) อย่างไรก็ตาม ก็ถกจำกัดความเร็วให้เหลือเพียงแค่ 150 km/h (93 mph)

เดซิโร ยูเค[แก้]

ประเทศไทย[แก้]

รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์

ใช้ใน รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ โดยลักษณะตัวรถเป็นรถรุ่น บริติช เรล คลาส 360/2 ตัวรถจะมีสองแบบคือ

  1. แบบคาดแดง เป็นขบวนด่วน ไม่จอดรับส่งผู้โดยสารระหว่างทาง
  2. แบบคาดน้ำเงิน เป็นขบวนธรรมดา จอดรับส่งผู้โดยสารระหว่างทาง

รถไฟฟ้าทั้ง 2 แบบ ให้บริการระหว่าง สถานีพญาไท และ สถานีท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ[10]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "Desiro". Siemens. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-06-30. สืบค้นเมื่อ 2013-05-24.
  2. "Bulgarian modernisation programme aims to win back lost traffic". Railway Gazette International. 1 March 2005.[ลิงก์เสีย]
  3. "DSB agrees Desiro DMU framework contract". Railway Gazette International. 3 July 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-04-08. สืบค้นเมื่อ 2013-05-24.
  4. Østergaard, Nicolai (7 December 2012). "Trods spritnye tog: Århus-pendlere får længere rejsetid". Ingeniøren. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-16. สืบค้นเมื่อ 7 December 2012.
  5. "Siemens - Express Rail Link Kuala Lumpur" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2006-07-20. สืบค้นเมื่อ 2013-05-24.
  6. Desiro ML framework to meet ÖBB's expansion plans เก็บถาวร 2010-04-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Railway Gazette International 2010-04-20.
  7. "Siemens scoops Brussels RER order". Railway Gazette International. 12 March 2008.[ลิงก์เสีย]
  8. "Belgian rail refuses to accept German trains". VRT De Redactie. 12 February 2013.
  9. [1]
  10. Bangkok Airport Express to change city travel เก็บถาวร 2009-12-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Railway Gazette International 2005-12-01.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]