รถดีเซลราง
รถดีเซลราง (diesel multiple unit) เป็นรถโดยสารที่มีเครื่องยนต์ดีเซลขับเครื่องด้วยตนเอง เดิมทีการรถไฟฯ ได้นำรถชนิดนี้มาใช้งานในประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. 2470 ซึ่งเป็นเครื่องกลไอน้ำ สร้างโดย บริษัทบอลด์วิน สหรัฐอเมริกา รถดีเซลรางรุ่นแรก ๆ ที่นำมาใช้บริการรับส่งผู้โดยสารชานเมืองในปี พ.ศ. 2475 นั้น มีหมายเลข 11 ถึง 16 เป็นรถที่ประกอบด้วยรถกำลัง 1 คัน และรถพ่วงสำหรับผู้โดยสารล้วนอีก 1 คัน
ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง รถดีเซลรางรุ่นใหม่ ๆ ได้รับการพัฒนาให้มีสมรรถนะสูง มีความคล่องตัวในการใช้งาน และสามารถพ่วงต่อกันคราวละหลายชุดได้ โดยแต่ละชุดเครื่องยนต์ทำงานพร้อมกับคันที่มีคนควบคุมที่ต้นขบวน
รถดีเซลรางมีคุณสมบัติที่เหนือกว่าขบวนรถซึ่งใช้รถจักรลากจูงหลายประการ คือ รถดีเซลรางเร่งความเร็ว และหยุดได้เร็วกว่า จึงทำให้ใช้เวลาในการเดินทางน้อยกว่า และเมื่อถึงปลายทาง พนักงานขับรถเปลี่ยนไปขับท้ายขบวนก็สามารถออกรถได้ทันที ไม่ต้องเปลี่ยนตั้งหัวขบวนใหม่เช่นการใช้รถจักร นอกจากนั้นยังสามารถพ่วงติดต่อกันได้ไม่จำกัด เพราะรถทุกชุดขับเคลื่อนด้วยตัวเอง รถที่เป็นตัวกำลังจะทำงานสัมพันธ์กันทุกเครื่องยนต์ ทำให้เฉลี่ยกำลังขับเคลื่อนออกไปตลอดขบวนขึ้นทางลาดชันได้ดีกว่า
นอกจากความคล่องตัวแล้ว รถดีเซลรางยังสะดวกในการจัดทำขบวนรถสั้น ๆ เพียงชุดเดียว (2 คัน) ให้พอเหมาะกับสภาพการโดยสาร (รถคันกำลัง จุที่นั่ง 78 คน ยืน 35 คน และคันพ่วงมี 84 ที่นั่ง ยืน 35 คน) ในแง่ความปลอดภัยของผู้โดยสาร รถทุกคันมีประตูขึ้นลง เปิดปิดโดยระบบอัตโนมัติที่พนักงานขับรถจะเป็นผู้ควบคุม
รถดีเซลรางในประเทศไทย[แก้]
เมื่อปี พ.ศ. 2503 การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ได้จัดซื้อรถดีเซลรางมาใช้เพื่อการศึกษาจำนวน 3 ชุด ปรากฏผลเป็นที่น่าพอใจ จึงได้จัดหาเพิ่มเติมอีก 20 ชุดในปี พ.ศ. 2506 เป็นชุดที่ติดตั้งเครื่องยนต์ดีเซลใต้ท้องรถ จึงมีที่สำหรับบรรทุกผู้โดยสารได้เต็มที่ สามารถทำความเร็วได้ถึง 100 กม./ชม.
แบ่งตามประเภท[แก้]
รหัสรุ่น | ผู้ผลิต | เลขที่ | ผลิตเมื่อ | จำนวนคัน | (แรงม้า) | ความเร็วสูงสุด (กม./ ชม.) | ภาพ | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
RHN | ฮิตาชิ | 1011-1048 กซข.
(รถกำลัง) |
พ.ศ. 2510 | 38+38 | 220×2 | 100 | ![]() |
|
RTS | โตกิว | D9-D16 (รถกำลัง) TS4-TS7 (รถพ่วง) |
พ.ศ. 2514 | 8+4 | 220 | 70 | ![]() |
ปลดประจำการ ปัจจุบันจอดอยู่ที่สถานีรถไฟมาบกะเบาและสถานีรถไฟนครราชสีมา |
THN | ทีเอชเอ็น | 1101–1140
กซข. (มีห้องขับ) |
พ.ศ. 2526 | 40 | 235 | 110 | มีลักษณะคล้ายกับเอ็นเคเอฟ แต่ใช้เบาะนวมสีน้ำเงิน | |
NKF | เอ็นเคเอฟ | 1201–1264
กซข. (มีห้องขับ) |
พ.ศ. 2528 | 64 | 235 | 110 | ![]() |
มีลักษณะคล้ายกับทีเอชเอ็น แต่ใช้เก้าอี้พลาสติก |
ATR | เอทีอาร์/เอทีซี | 2101-2112 กซม.ป. (ไม่มีห้องขับ) |
พ.ศ. 2528 | 12 | 235 | 110 | ![]() |
มีลักษณะคล้ายกับทีเอชเอ็นและเอ็นเคเอฟ แต่ไม่มีห้องขับ และใช้เก้าอี้นวมสีแดง |
ASR | BREL | 2501–2512 กซข.ป. (มีห้องขับ) |
พ.ศ. 2534 | 12+8 | 285 | 120 | ![]() |
|
ADR (APD.20) | แดวู | 2513-2524 กซข.ป. (มีห้องขับ) |
พ.ศ. 2538 | 12+8 | 350 | 120 | เป็นรถแดวูรุ่นที่ 1 มีลำตัวรถแคบ | |
ADR (APD.60) | แดวู | 2525-2544 (มีห้องขับ — กซข.ป.) |
พ.ศ. 2539 | 20+40 | 350 | 120 |
|
ขบวนรถที่ใช้รถดีเซลรางทำขบวน[แก้]
ปัจจุบัน การรถไฟแห่งประเทศไทย นำรถดีเซลรางมาใช้ขนส่งผู้โดยสารในหลายเส้นทาง เช่น
สปรินเตอร์
- ขบวนรถด่วนพิเศษดีเซลรางปรับอากาศที่ 3/4 กรุงเทพ–สวรรคโลก–ศิลาอาสน์–กรุงเทพ
- ขบวนรถเร็วที่ 997/998 กรุงเทพ–บ้านพลูตาหลวง–กรุงเทพ (เฉพาะวันเสาร์-วันอาทิตย์)(สลับกับชุดรถดีเซลรางแดวูเป็นบางโอกาส)
แดวู
- ขบวนรถด่วนพิเศษดีเซลรางปรับอากาศที่ 3/4 กรุงเทพ–สวรรคโลก–ศิลาอาสน์–กรุงเทพ(สลับกับชุดรถดีเซลรางสปรินเตอร์)
- ขบวนรถด่วนพิเศษดีเซลรางปรับอากาศที่ 7/8 กรุงเทพ–เชียงใหม่–กรุงเทพ
- ขบวนรถด่วนพิเศษดีเซลรางปรับอากาศที่ 21/22 กรุงเทพ–อุบลราชธานี–กรุงเทพ
- ขบวนรถด่วนพิเศษดีเซลรางปรับอากาศที่ 39/40 กรุงเทพ–สุราษฏร์ธานี–กรุงเทพ
- ขบวนรถด่วนพิเศษดีเซลรางปรับอากาศที่ 41/42 กรุงเทพ–ยะลา–กรุงเทพ(ปัจจุบันงดให้บริการชั่วคราว)
- ขบวนรถด่วนพิเศษดีเซลรางปรับอากาศที่ 43/44 กรุงเทพ–สุราษฏร์ธานี–กรุงเทพ
โตกิว (ทีเอชเอ็น/เอ็นเคเอฟ/เอทีอาร์)
- ขบวนรถด่วนดีเซลรางที่ 71/72 กรุงเทพ–อุบลราชธานี–กรุงเทพ
- ขบวนรถด่วนดีเซลรางที่ 75/76/77/78 กรุงเทพ–หนองคาย–กรุงเทพ
- ขบวนรถเร็วที่ 105/106 กรุงเทพ–ศิลาอาสน์–กรุงเทพ
- ขบวนรถธรรมดาที่ 209/210 กรุงเทพ–บ้านตาคลี–กรุงเทพ
- ขบวนรถธรรมดาที่ 261/262 กรุงเทพ–หัวหิน–กรุงเทพ
- ขบวนรถธรรมดาที่ 279/280 กรุงเทพ–ด่านพรมแดนบ้านคลองลึก–กรุงเทพ
- ขบวนรถธรรมดาที่ 281/282 กรุงเทพ–กบินทร์บุรี–กรุงเทพ
- ขบวนรถธรรมดาที่ 285/286 กรุงเทพ-ชุมทางฉะเชิงเทรา-กรุงเทพ
- ขบวนรถชานเมืองที่ 303/304 กรุงเทพ–ลพบุรี–กรุงเทพ 5
- ขบวนรถชานเมืองที่ 317/318 กรุงเทพ–ลพบุรี–กรุงเทพ
- ขบวนรถชานเมืองที่ 339/340 กรุงเทพ–ชุมทางแก่งคอย–กรุงเทพ
- ขบวนรถชานเมืองที่ 355/356 กรุงเทพ–สุพรรณบุรี–กรุงเทพ
- ขบวนรถชานเมืองที่ 311/376/378 กรุงเทพ–รังสิต–หัวตะเข้–กรุงเทพ
- ขบวนรถชานเมืองที่ 383/384 กรุงเทพ-ชุมทางฉะเชิงเทรา-กรุงเทพ
- ขบวนรถชานเมืองที่ 389/390 กรุงเทพ-ชุมทางฉะเชิงเทรา-กรุงเทพ
- ขบวนรถชานเมืองที่ 471/472–479/480(ขบวน919/920เที่ยว1–ขบวน919/920เที่ยว5) ธนบุรี-ศาลายา-ธนบุรี
- ขบวนรถท้องถิ่นที่ 401/402 ลพบุรี–พิษณุโลก–ลพบุรี
- ขบวนรถท้องถิ่นที่ 403/410 พิษณุโลก–ศิลาอาสน์–พิษณุโลก
- ขบวนรถท้องถิ่นที่ 407/408 นครสวรรค์–เชียงใหม่–นครสวรรค์
- ขบวนรถท้องถิ่นที่ 409 อยุธยา–ลพบุรี6
- ขบวนรถนำเที่ยวที่ 909/910 กรุงเทพ–น้ำตกไทรโยคน้อย–กรุงเทพ
- ขบวนรถนำเที่ยวที่ 911/912 กรุงเทพ–สวนสนประดิพัทธ์–กรุงเทพ
- ขบวนรถในเส้นทางสายวงเวียนใหญ่–มหาชัย ทุกขบวน (มีเฉพาะเอ็นเคเอฟ)
- ขบวนรถในเส้นทางสายบ้านแหลม–แม่กลอง ทุกขบวน (มีเฉพาะเอ็นเคเอฟ)
ฮิตะชิ (อาร์เอช/อาร์เอชเอ็น)
- ขบวนรถธรรมดาที่ 233/234 นครราชสีมา–สุรินทร์–นครราชสีมา
- ขบวนรถท้องถิ่นที่ 415/418 นครราชสีมา–หนองคาย–นครราชสีมา
- ขบวนรถท้องถิ่นที่ 417/416 นครราชสีมา–อุดรธานี–นครราชสีมา
- ขบวนรถท้องถิ่นที่ 419/420 นครราชสีมา–อุบลราชธานี–ลำชี
- ขบวนรถท้องถิ่นที่ 421/422 นครราชสีมา–อุบลราชธานี–ลำชี
- ขบวนรถท้องถิ่นที่ 423/424 ลำชี–สำโรงทาบ–นครราชสีมา
- ขบวนรถท้องถิ่นที่ 425/426 ลำชี–อุบลราชธานี–นครราชสีมา
- ขบวนรถท้องถิ่นที่ 427/428 นครราชสีมา–อุบลราชธานี–นครราชสีมา
- ขบวนรถท้องถิ่นที่ 429/430 นครราชสีมา–ชุมทางบัวใหญ่–นครราชสีมา
- ขบวนรถท้องถิ่นที่ 431/432 ชุมทางแก่งคอย–ขอนแก่น–ชุมทางแก่งคอย 7
- ขบวนรถท้องถิ่นที่ 433/434 ชุมทางแก่งคอย–ชุมทางบัวใหญ่–ชุมทางแก่งคอย
- ขบวนรถท้องถิ่นที่ 437/438 ชุมทางแก่งคอย–ลำนารายณ์–ชุมทางแก่งคอย
- ขบวนรถท้องถิ่นที่ 439/440 ชุมทางแก่งคอย–ชุมทางบัวใหญ่–ชุมทางบัวใหญ่
- ขบวนรถนำเที่ยวที่ 987/988 กรุงเทพ - สวนนงนุช-กรุงเทพ เฉพาะวันเสาร์กับอาทิตย์(ปัจจุบันยกเลิกเดินรถแล้ว)
- ขบวนรถด่วนพิเศษ ดีเซลรางนั่งปรับอากาศที่ 9/10 กรุงเทพ - เชียงใหม่-กรุงเทพ(ปัจจุบันยกเลิกขบวนและได้มีการสั่งรถใหม่และได้เอาขบวนนี้มาวิ่งแทนคือขบวน9/10อุตราวิถี กรุงเทพ-เชียงใหม่-กรุงเทพ)
ขบวนรถที่เคยใช้รถดีเซลรางทำการในอดีต[แก้]
ขบวนรถที่ยกเลิกเดินรถไปแล้ว
- ขบวนรถด่วนดีเซลรางที่74 ศรีสะเกษ–กรุงเทพ1
- ขบวนรถด่วนดีเซลรางที่ 73 กรุงเทพ–ศีขรภูมิ1
- ขบวนรถด่วนพิเศษดีเซลรางที่ 5/6/7/8 กรุงเทพ–พิษณุโลก–กรุงเทพ
- ขบวนรถด่วนพิเศษดีเซลรางปรับอากาศที่ 9/10 กรุงเทพ–เชียงใหม่-กรุงเทพ (ปัจจุบันยกเลิกขบวนและได้มีการสั่งรถใหม่และได้เอาขบวนนี้มาวิ่งแทนคือขบวน9/10อุตราวิถี กรุงเทพ-เชียงใหม่-กรุงเทพ)
- ขบวนรถธรรมดาที่ 231/232 กรุงเทพ–นครราชสีมา–กรุงเทพ
- ขบวนรถท้องถิ่นที่ 404/405/406 ศิลาอาสน์–พิษณุโลก–สวรรคโลก–ศิลาอาสน์
- ขบวนรถชานเมืองที่ 305/306 กรุงเทพ–อยุธยา–กรุงเทพ
- ขบวนรถชานเมืองที่ 309/310 กรุงเทพ–อยุธยา–กรุงเทพ
- ขบวนรถชานเมืองที่ 369/370 อยุธยา–ชุมทางฉะเชิงเทรา–อยุธยา
- ขบวนรถชานเมืองที่ 381 กรุงเทพ-ชุมทางฉะเชิงเทรา
- ขบวนรถชานเมืองที่ 385/386 กรุงเทพ-ชุมทางฉะเชิงเทรา-กรุงเทพ
- ขบวนรถพิเศษชานเมืองที่ 957/958/959/960 กรุงเทพ–หัวตะเข้–กรุงเทพ
- ขบวนรถนำเที่ยวที่ 987/988 กรุงเทพ–สวนนงนุช–กรุงเทพ
- ขบวนรถเร็วที่ 177/178 ธนบุรี–หลังสวน–ธนบุรี (ขบวนรถธรรมดาที่ 253/256 เดิม)
- ขบวนรถด่วนพิเศษดีเซลรางปรับอากาศจัดเฉพาะที่ 981/982 บางซื่อ–บางซ่อน–บางซื่อ[2][3][4]
ฯลฯ
ขบวนรถที่ยังมีเดิน แต่เปลี่ยนมาใช้รถจักรทำขบวน
- ขบวนรถด่วนพิเศษดีเซลรางปรับอากาศระหว่างประเทศที่ 947/948 ชุมทางหาดใหญ่–ปาดังเบซาร์(ฝั่งมาเลเซีย)–ชุมทางหาดใหญ่
- ขบวนรถด่วนพิเศษดีเซลรางปรับอากาศระหว่างประเทศที่ 949/950 ชุมทางหาดใหญ่–ปาดังเบซาร์(ฝั่งมาเลเซีย)–ชุมทางหาดใหญ่
- ขบวนรถเร็วที่ 175/176 ชุมทางหาดใหญ่–สุไหงโกลก–ชุมทางหาดใหญ่
- ขบวนรถธรรมดาที่ 207/208 กรุงเทพ–นครสวรรค์–กรุงเทพ
- ขบวนรถธรรมดาที่ 233/234 กรุงเทพ–สุรินทร์–กรุงเทพ
- ขบวนรถธรรมดาที่ 277/278 กรุงเทพ–กบินทร์บุรี–กรุงเทพ
- ขบวนรถชานเมืองที่ 367/368 กรุงเทพ–ชุมทางฉะเชิงเทรา–กรุงเทพ
- ขบวนรถชานเมืองที่ 391/388 กรุงเทพ-ชุมทางฉะเชิงเทรา-กรุงเทพ
- ขบวนรถธรรมดาที่ 255/254 ธนบุรี–หลังสวน–ธนบุรี8
รูปภาพ[แก้]
ด้านข้างของ ขบวนรถด่วนพิเศษ ดีเซลรางนั่งปรับอากาศที่ 9 กรุงเทพ - เชียงใหม่ ขณะวิ่งผ่าน ชานชาลารางที่ 2 สถานีรถไฟอยุธยา
ขบวนรถด่วนพิเศษ ดีเซลรางนั่งปรับอากาศที่ 40 สุราษฏร์ธานี - กรุงเทพ ขณะกำลังเข้าจอดเทียบ ที่ชานชาลารางที่ 1 สถานีรถไฟหัวหิน
ขบวนรถด่วนพิเศษ ดีเซลรางนั่งปรับอากาศที่ 3 กรุงเทพ - สวรรคโลก - ศิลาอาสน์ ขณะกำลังหยุดรับส่งผู้โดยสารที่สถานีรถไฟพิชัย
ขบวนรถท้องถิ่นที่ 428/427 อุบลราชธานี - นครราชสีมา - อุบลราชธานี ขณะจอดเทียบที่ชานชาลารางที่ 1 สถานีรถไฟนครราชสีมา
ขบวนรถท้องถิ่นที่ 428 อุบลราชธานี - นครราชสีมาช ขณะจอดเทียบที่ชานชาลารางที่ 1 สถานีรถไฟบุรีรัมย์
หมายเหตุ[แก้]
- ^ ขบวนที่ 71/72 ขยายปลายทางไปอุบลราชธานี
- ^ ขบวนที่ 75/78 ขยายปลายทางไปหนองคาย
- ^ ขบวนที่ 303 เดินเฉพาะวันทำงาน ขบวนที่ 304 เดินทุกวัน
- ^ ขบวนที่ 409 เดินเฉพาะวันหยุด
- ^ ขบวนที่ 431/432 ใช้เส้นทางชุมทางแก่งคอย - นครราชสีมา - ชุมทางบัวใหญ่
- ^ ปัจจุบัน ชาวบ้านท้องถิ่นยังคงเรียกว่า "รถดีเซลราง" แม้จะเปลี่ยนมาใช้รถจักรทำขบวนแล้วก็ตาม
อ้างอิง[แก้]
- ↑ รายการแฟนพันธุ์แท้ ตอนรถไฟไทย (ครั้งที่ 1) ออกอากาศเมื่อ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2546
- ↑ "ร.ฟ.ท.จัดรถไฟติดแอร์ให้ขึ้นฟรี ที่สถานีบางซ่อน ไปรถไฟฟ้าบางซื่อ". ไทยรัฐออนไลน์. 2 สิงหาคม 2559. สืบค้นเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2560.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ "รถไฟ บางซ่อน-บางซื่อ-บางซ่อน อีกทางเลือกหนึ่งของการเชื่อมต่อรถไฟฟ้า". ตะเวนเจอ. 6 สิงหาคม 2559. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-04-20. สืบค้นเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2560.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ "คนใช้น้อย! รฟม. ยกเลิกรถไฟเชื่อม "บางซ่อน-บางซื่อ" ในวันเสาร์". MGR Online. 16 ธันวาคม 2559. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-12-18. สืบค้นเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2560.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help)
ดูเพิ่ม[แก้]
![]() |
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: รถดีเซลรางในประเทศไทย |