สถานีสุวรรณภูมิ
สถานีสุวรรณภูมิ ตั้งอยู่ในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เป็นสถานีรถไฟฟ้าของรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน, รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ, รถไฟฟ้าสายสีฟ้าอ่อน และรถไฟฟ้าสายสีชมพู (โครงการในอนาคต)
สถานีรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน, รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ[แก้]
สุวรรณภูมิ Suvarnabhumi | |
---|---|
สถานีรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ | |
![]() สถานีสุวรรณภูมิ | |
บริการโดย | บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) |
สาย | สายเชื่อมท่าอากาศยาน |
การเชื่อมต่อ | รถโดยสารประจำทาง ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ |
เขต/อำเภอ | อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ |
การก่อสร้าง | |
รูปแบบสิ่งก่อสร้าง | ใต้ดิน |
รูปแบบชานชาลา | เกาะกลาง |
จำนวนชานชาลา | 4 |
ข้อมูลเพิ่มเติม | |
รหัสสถานี | A1 |
ทางออก | 2 |
ลิฟต์ | 4 |
ประวัติ | |
เปิดตัว | 23 สิงหาคม 2553 |
เวลาให้บริการ | 06.00 - 24.00น. |
ตำแหน่ง | |
เว็บไซต์รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. | |
![]() |


สถานีสุวรรณภูมิ (Suvarnabhumi Station) เป็นสถานีปลายทางในเส้นทางรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (Suvarnabhumi Airport Rail Link - SARL) โดยจะแบ่งเป็น รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ซึ่งมุ่งตรงมาจากสถานีมักกะสันสู่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิโดยไม่แวะสถานีรายทาง ระยะทาง 25.7 กิโลเมตร ใช้เวลาไม่เกิน 15 นาที และรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ สาย City Line (Suvarnabhumi Airport Rail Link City Line) ซึ่งแวะจอดรายทางจากสถานีพญาไทถึงสุวรรณภูมิ และในอนาคตจะสามารถไปเชื่อมกับท่าอากาศยานดอนเมืองและสถานีกลางบางซื่อได้อีกด้วย
ที่ตั้ง[แก้]
อยู่ที่ชั้นใต้ดินของอาคารผู้โดยสาร ภายในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ พื้นที่ตำบลราชาเทวะ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ห่างจากสถานีลาดกระบัง ประมาณ 6 กิโลเมตร
แผนผังสถานี[แก้]
7 ชมทัศนียภาพ |
จุดชมทัศนียภาพของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และบริเวณดูเครื่องบิน | |
6 จุดให้บริการของสายการบิน |
จุดจำหน่ายบัตรโดยสาร, จุดให้บริการของสายการบิน | |
4 ผู้โดยสารขาออก |
จุดตรวจบัตรโดยสาร, ธนาคาร, จุดจำหน่ายบัตรโดยสารของการบินไทย | |
3 ร้านค้า |
ร้านค้า | |
2 ผู้โดยสารขาเข้า |
ทางออกของผู้โดยสารขาเข้าระหว่างประเทศและภายในประเทศ, ร้านค้า, จุดประชาสัมพันธ์ของท่าอากาศยาน | |
1 โถงผู้โดยสารท่าอากาศยานฯ |
อาคารผู้โดยสารฝั่งเหนือ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (ทางเข้าหมายเลข 3 และ 4), โรงแรมโนโวเทลสุวรรณภูมิ ศูนย์อาหาร, ร้านค้า, รถโดยสาร Airport Express, รถเวียนภายในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ | |
B1 ชั้นขายบัตรโดยสาร |
ชั้นขายบัตรโดยสาร | ทางออก 1-2, ห้องขายบัตรโดยสาร, เครื่องขายบัตรโดยสาร ร้านค้า, ทางเชื่อมไปยังโรงแรมโนโวเทลสุวรรณภูมิ |
B2 ชานชาลา |
ชานชาลา 1 | สายเชื่อมท่าอากาศยาน มุ่งหน้า สถานีพญาไท |
ชานชาลา 2 | สายเชื่อมท่าอากาศยาน มุ่งหน้า สถานีพญาไท | |
ชานชาลา 3 | HSR เชื่อม 3 สนามบิน ไม่ได้ใช้งาน | |
ชานชาลา 4 | HSR เชื่อม 3 สนามบิน ไม่ได้ใช้งาน |
ทางเข้า-ออก[แก้]
- 1 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
- 2 โรงแรมโนโวเทลสุวรรณภูมิ
รถโดยสารประจำทาง[แก้]
ให้บริการ ที่บริเวณศูนย์ขนส่งสาธารณะ รถขสมก. สาย 555 รถเอกชน สาย 554 558
เวลาให้บริการ[แก้]
ปลายทาง | วัน | ขบวนแรก | ขบวนสุดท้าย | |||
---|---|---|---|---|---|---|
สายเชื่อมท่าอากาศยาน | ||||||
ชานชาลาที่ 1 และ 2 | ||||||
A8 | พญาไท | จันทร์ - ศุกร์ | 05:30 | 00:02 | ||
เสาร์ - อาทิตย์ นักขัตฤกษ์ |
05:30 | 00:08 |
สถานีใกล้เคียง[แก้]
สถานีก่อนหน้า | ขบวนรถไฟ | สถานีต่อไป | ||
---|---|---|---|---|
สถานีลาดกระบัง มุ่งหน้า สถานีพญาไท |
สายเชื่อมท่าอากาศยาน | สถานีปลายทาง | ||
สถานีมักกะสัน มุ่งหน้า สถานีท่าอากาศยานดอนเมือง |
HSR เชื่อม 3 สนามบิน | สถานีฉะเชิงเทรา มุ่งหน้า สถานีท่าอากาศยานอู่ตะเภา |
สถานีรถไฟฟ้าสายสีฟ้าอ่อน[แก้]
สุวรรณภูมิ Suvarnabhumi | |
---|---|
สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส | |
เจ้าของ | กรุงเทพมหานคร ท่าอากาศยานไทย จังหวัดสมุทรปราการ |
บริการโดย | บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด |
สาย | สายสีฟ้าอ่อน |
การเชื่อมต่อ | รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ |
เขต/อำเภอ | อำเภอบางพลี |
การก่อสร้าง | |
รูปแบบสิ่งก่อสร้าง | ใต้ดิน |
รูปแบบชานชาลา | กลาง |
จำนวนชานชาลา | 2 |
ประวัติ | |
เปิดตัว | โครงการ |
เวลาให้บริการ | 06.00 - 24.00 น. |
ตำแหน่ง | |
![]() |
สถานีสุวรรณภูมิ (Suvarnabhumi) เป็นโครงการสถานีรถไฟใต้ดิน ในเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีฟ้าอ่อน ตั้งอยู่ใต้อาคารโดยสารฝั่งใต้ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เชื่อมต่อกับสถานีสุวรรณภูมิของรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ด้วยรถรางภายในโครงการ
ที่ตั้ง[แก้]
ชั้นใต้ดินของอาคารผู้โดยสารฝั่งใต้ (ฝั่งถนนเทพรัตน) ของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ในพื้นที่ตำบลราชาเทวะ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ
สถานีสุวรรณภูมิ ยังคงเป็นสถานีปลายทางในโครงการรถไฟฟ้าสายสีฟ้าอ่อน โดยเมื่อโครงการนี้เสร็จสมบูรณ์ รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท รถไฟฟ้าสายสีฟ้าอ่อน และรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ สาย City Line จะต่อกันจนเป็นรูปวงแหวนเหมือนกับรถไฟฟ้ามหานคร สายสีน้ำเงิน
แผนผังของสถานี[แก้]
1 อาคารผู้โดยสาร |
อาคารผู้โดยสารฝั่งใต้ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ | |
B1 ชั้นขายบัตรโดยสาร |
ชั้นขายบัตรโดยสาร | ห้องขายบัตรโดยสาร, เครื่องขายบัตรโดยสาร, ร้านค้า |
B2 ชานชาลา |
ชานชาลา 1 | สายสีฟ้าอ่อน มุ่งหน้า สถานีบางนา |
ชานชาลา 2 | สายสีฟ้าอ่อน มุ่งหน้า สถานีบางนา |
รูปแบบของสถานี[แก้]
เป็นสถานีแบบมีชานชาลากลาง มีประตูกั้นชานชาลาในทุกชานชาลา ตัวสถานีประกอบด้วยชั้นขายบัตรโดยสาร และชานชาลา
ทางเข้า-ออก[แก้]
สถานีใกล้เคียง[แก้]
สถานีก่อนหน้า | ขบวนรถไฟ | สถานีต่อไป | ||
---|---|---|---|---|
สถานีม.เกริก มุ่งหน้า สถานีบางนา |
สายสีฟ้าอ่อน | สถานีปลายทาง |
สถานีรถไฟฟ้าสายสีชมพู[แก้]
สถานีสุวรรณภูมิ (Suvarnabhumi) เป็นโครงการสถานีรถไฟยกระดับที่จะเป็นสถานีปลายทางแห่งใหม่ในเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีชมพู ส่วนต่อขยายช่วงมีนบุรี-สุวรรณภูมิ โดยจะต่อขยายจากปลายสายทางบริเวณสถานีมีนบุรีไปตามแนวถนนร่มเกล้า ตัดผ่านถนนเจ้าคุณทหาร ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 (มอเตอร์เวย์ กรุงเทพฯ - ชลบุรี) ถนนลาดกระบัง และไปสิ้นสุดที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ บริเวณอาคารรถโดยสาร (Bus Terminal) ระยะทาง 8.7 กิโลเมตร สามารถเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีฟ้าอ่อน รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ได้โดยการต่อรถรับส่งของท่าอากาศยานเข้าอาคารผู้โดยสาร โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเชื่อมต่อการเดินทางเข้าสู่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และเพื่อให้ผู้โดยสารจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ สามารถเดินทางเข้าสู่พื้นที่กรุงเทพมหานครตอนเหนือได้อย่างรวดเร็ว โดยปัจจุบันยังเป็นเพียงส่วนหนึ่งของแผนแม่บทโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนทางรางในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ระยะที่สอง (M-Map Phase 2)
การเชื่อมต่อระหว่างระบบ[แก้]
ตัวท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ได้มีการออกแบบและวางแผนการก่อสร้างรถไฟฟ้าเชื่อมอาคารผู้โดยสารปัจจุบันกับอาคารผู้โดยสารหลังใหม่ ซึ่งจะก่อสร้างไปพร้อมกับการก่อสร้างท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เฟสที่ 2 มีทั้งหมด 2 สถานี ระยะทางรวม 1 กิโลเมตร สำหรับใช้เดินทางใต้รันเวย์สนามบิน โดยจะใช้รถไฟฟ้าล้อยางแบบไร้คนขับ (Automated People Mover) วิ่งให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง คาดว่าจะพร้อมเปิดให้บริการในปี พ.ศ. 2563