รถไฟชานเมือง
รถไฟชานเมือง หรือ รถไฟฟ้าชานเมือง (อังกฤษ: Commuter rail; ฝรั่งเศส: Train de banlieu) เป็นรถไฟโดยสารที่ให้บริการระหว่างใจกลางเมืองกับย่านชานเมือง หรือระหว่างเมืองใหญ่กับเมืองรองในบริเวณโดยรอบ ที่มีระยะทางอย่างน้อย 15 กิโลเมตร (10 ไมล์) โดยมีวัตถุประสงค์ให้คนที่อาศัยอยู่ในย่านชานเมืองจำนวนมากสามารถเดินทางเข้ามาทำงานหรือเข้ามาเรียนหนังสือในเขตใจกลางเมืองได้ รถไฟชานเมืองมีเที่ยววิ่งตามกำหนดเวลา และมีความเร็วสูงสุดตั้งแต่ 50 ไปจนถึง 200 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้ให้ความหมายของรถไฟชานเมือง ว่า เป็นขบวนรถที่จัดเดินเพื่อให้บริการแก่ผู้โดยสารในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล รัศมีไม่เกิน 160 กม. เพื่อใช้เดินทางไปทำงาน ศึกษาเล่าเรียน และติดต่อค้าขาย หยุดทุก ๆ สถานี ป้ายหยุดรถ ที่หยุดรถ
ลักษณะเฉพาะ
[แก้]รถไฟฟ้าชานเมือง แตกต่างจากรถไฟฟ้าใต้ดิน รถไฟฟ้าโมโนเรล และรถไฟฟ้ารางเบา ดังนี้
- ขนาดใหญ่กว่า
- มีระยะทางไกลกว่า
- ความถี่ของการเดินรถต่ำกว่า
- ให้บริการในย่านชานเมืองที่มีความหนาแน่นประชากรน้อย
- มีกำหนดเวลาเดินรถที่แน่นอน
- ให้บริการเชื่อมต่อระหว่างใจกลางเมืองกับย่านชานเมือง
- อาจใช้รางร่วมกันกับรถไฟขนส่งสินค้า หรือรถไฟโดยสารทางไกล
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Commuter Rail & Transit News เก็บถาวร 2007-05-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Current news concerning commuter rail development and issues