ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ธนิสร์ ศรีกลิ่นดี"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 99: บรรทัด 99:


* เสียงเพลงแห่งเสรีภาพ (2528)
* เสียงเพลงแห่งเสรีภาพ (2528)

== ผลงานด้านการพัฒนาขลุ่ยไทยเทียบเสียงสากล ==
อ.ธนิสร์แม้จะเป็นนักดนตรีสากล แต่มีความผูกพันกับดนตรีไทยมาตั้งแต่เด็กๆ คุณปู่ คุณย่ามีวงดนตรีไทย คุณพ่อก็เป็นครูสอนดนตรีแตรวง พี่ชายก็เป็นนักดนตรี อ.ธนิสร์ได้ครูดนตรีคนแรกชื่อ คุณครูทองดำ สิ่งที่สุข ที่สอนโน๊ตดนตรีสากลให้ ทำให้ได้หัดเล่นดนตรีตั้งแต่อายุสิบขวบและสนใจ ขลุ่ย โดยเกิดความประทับใจในทำนองท่อนที่สองของเพลงธรณีกรรแสง จึงได้ขอเงินยายทวดไปซื้อขลุ่ยมาฝึกเป่า และกลายเป็นเครื่องดนตรีประจำตัว

ทราบกันดีว่า อ.ธนิสร์ เป็นสมาชิกวงคาราบาวอย่างเต็มตัวในยุคคลาสสิค และมีแนวคิดนำขลุ่ยเข้ามาร่วมบรรเลงเพลงที่โด่งดัง เช่น เดือนเพ็ญ เมดอินไทยแลนด์ แต่ขลุ่ยกรวดหรือขลุ่ยเคียงออ ซึ่งเป็นขลุ่ยไทยแท้ๆ มีบันไดเสียงไม่เหมือนดนตรีสากล จึงนำมาปรับจูนโดยใช้เทปกาวมาปิดรูโน๊ตบางรู้ให้มีครึ่งเสียง พอใกล้เคียงกับบันไดเสียงสากล แต่เสียงโน๊ตขลุ่ยก็ยังไม่ตรงหรืออินจูนมากนัก จวบจนได้เดินทางไปหาครูอุทิศ อิ่มบุบผา ยังหมู่บ้านบางไส้ไก่หรือหมู่บ้านลาวแหล่งทำขลุ่ยที่มีชื่อเสียงในเมืองไทย เพื่อให้ประดิษฐ์ขลุ่ยที่ทำจากไม้ไผ่ให้โดย อ.ธนิสร์ร่วมจูนเสียงและเป็นผู้ทดสอบ จนสำเร็จเป็นขลุ่ยไทยเสียงสากลเลาแรกของประเทศไทย ซึ่ง อ.ธนิสร์ตั้งชื่อว่า "ขลุ่ยไทยเทียบเสียงสากล" ได้นำไปใช้ในการทำอัลบัม ลมไผ่ ฯลฯ

หลังจาก อ.ธนิสร์ ศรีกลิ่นดี แยกตัวออกจากวงคาราบาว ได้ออกเดินบนถนนสายดนตรีด้วยตนเองอย่างเต็มตัวในฐานะศิลปินเดี่ยว ที่มีขลุ่ยเป็นชีวิตติดตามตัวมาด้วย จนได้พบกับ อ.โสภณ นุ่มละมุล ซึ่งเคยเป็นเพื่อนเรียนร่วมมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ขณะนั้นเป็นอาจารย์สอนดนตรีไทยอยู่โรงเรียนสวนกุหลาบและเป็นช่างทำขลุ่ยด้วย ได้ร่วมกันพัฒนาขลุ่ยไทยเทียบเสียงสากลโดยใช้ไม้กลึงแทนไม้รวก ที่มีชื่อเสียงคือทำขลุ่ยจากไม้พญางิ้วดำให้ อ.ธนิสร์ นำไปทำอัลบั้ม เพลงบรรเลงขลุ่ยชุด ความฝันอันสูงสุด<ref>{{Citation|title=อัลบั้มความฝันอันสูงสุด - ธนิสร์ ศรีกลิ่นดี ฟังกันยาวๆ คุณภาพเสียงดี|url=https://www.youtube.com/watch?v=aOk-UqXJ-iM|language=th-TH|access-date=2021-07-27}}</ref> ซึ่งเป็นการนำเพลงพระราชนิพนธ์ ของในหลวงรัชกาลที่ 9 มาเป่าด้วยขลุ่ยไทยครั้งแรกของเมืองไทย

จากนั้นได้เริ่มต้นพัฒนาขลุ่ยไทยเทียบเสียงสากลของตนเองอย่างจริงจัง โดยร่วมกับคุณเจตนา เถื่อนสว่าง และ คุณโสภณ ศรีมานพ ในชื่อว่า ขลุ่ย ธ หรือ ขลุ่ย อ.ธนิสร์ รุ่นที่ 1-3 ซึ่งมีทั้งคีย์ ซี บีแฟลทและเพียงออ ด้วยปัญหาด้านสุขภาพของคุณโสภณ ศรีมานพ ไม่สามารถร่วมงานพัฒนาขลุ่ยต่อไปได้ ได้มีการชักชวน คุณสถาพร สรรค์โสภณ ที่มีความรู้ความสามารถด้านวิศวกรรมและเป็นเจ้าของธุรกิจโรงกลึงอยู่ที่หนองจอกเข้ามาร่วมทีมพัฒนาขลุ่ย ได้มีการสร้างสรรค์งานขลุ่ย ธ. รุ่น 4-6 โดยรุ่น 4 มีการพัฒนาขลุ่ยเป็น 2 ท่อน แบ่งเป็นท่อนปากเป่าหรือ Mouthpiece และส่วนลำตัวหรือ Body เพื่อให้สามารถจูนเสียงในกรณีที่ต้องเป่าในอุณภูมิสูงหรือต่ำ เช่นเดียวกับแซกโซโฟนหรือคาริเน็ทที่ใช้การขยับเมาส์พีชเพื่อจูน เนื่องจากอากาศที่เย็นหรือร้อนไปจะส่งผลให้เสียงขลุ่ยเพี้ยนต่ำหรือสูงได้ ต่อมาได้มีการพัฒนาเป็นขลุ่ย ธ.รุ่น 5 ที่มีการปรับรูโน๊ตใหม่ทั้งหมดและใช้วัสดุพิเศษทดแทนไม้ซึ่งเริ่มหายากและมีราคาสูง จุดเด่นคือ เสียงที่อินจูนมากขึ้น มีความเสถียร เป่าในที่อุณหภูมิแตกต่างได้อย่างค่อนข้างสมบูรณ์ สีขาวสวยงามแปลกตา มีทั้งวัสดุเป็นไม้และวัสดุพิเศษ แบบท่อนเดียว และ 2 ท่อน อ.ธนิสร์นำไปใช้ในการทำงานเพลงตลอดจนเดินทางไปเล่นยังต่างประเทศทั่วโลก และสร้างสรรค์ผลงานเพลงในปี 2551 ในชื่ออัลบั้ม ขลุ่ยบรรเลงเพลงพระราชนิพนธ์ ฯลฯ

จากการสร้างสรรค์ผลงานเพลงของตนเองมาตลอดระยะเวลากว่า 20 ปี อาจารย์ธนิสร์ ศรีกลิ่นดีและทีมงาน ทำการวิจัยและพัฒนาขลุ่ยไทยเทียบเสียงสากลเรื่อยมา ตั้งแต่การหาไม้มาทำขลุ่ย การเจาะรูไม้ การเทียบเสียง และการค้นคว้าต่างๆ ทำให้ขลุ่ยไทยสามารถเข้าไปร่วมเล่นกับเครื่องดนตรีสากลทั่วโลกได้ การพัฒนาขลุ่ยไทยมีมาอย่างต่อเนื่องหลายรุ่น แต่อาจารย์ ธนิสร์ยังมีความรู้สึกอึดอัดใจถึงข้อจำกัดบางประการของขลุ่ย ที่ไม่สามารถตอบสนองการเล่นของตนเองได้อย่างเต็มที่ เมื่อเล่นร่วมกับเครื่องดนตรีอื่นๆ จนได้ทำการพัฒนาขลุ่ย ธ.รุ่น 6 จากแนวคิดของ อ.ธนิสร์ สู่การออกแบบขลุ่ยอย่างลงตัวของคุณสถาพร ก่อเกิดเป็นขลุ่ยไทยเทียบเสียงสากล ชนิด LOW B อธิบายได้คือ สามารถเป่าเสียงต่ำลงได้อีกหนึ่งเสียง ตลอดจนลูกเล่นต่างๆ ที่เพิ่มขึ้น ทำให้บทเพลงหลายบทเพลงในอดีต สามารถกลับมาเป่าได้ตรงตามโน๊ต ที่ผู้ประพันธ์ได้ประพันธ์ไว้ได้อย่างสมบูรณ์แบบทุกประการ ไม่ต้องหลบเสียงเหมือนในอดีต อาทิเช่น เพลงพม่าเห่ (เดือนเพ็ญ) บัวขาว นกขมิ้น เป็นต้น ทำให้คลายความอึดอัดใจในการเล่นขลุ่ยของ อ.ธนิสร์ หายไปจนหมดสิ้น
<ref>[http://www.thanis.net/biography.htm ผลงานด้านการพัฒนาขลุ่ยไทยเทียบเสียงสากล]</ref> มีทั้งวัสดุที่เป็นไม้และวัสดุพิเศษสีขาว ท่อนเดียว สองท่อนและโลว์บี

ด้วยปณิธานของ อ.ธนิสร์ เสมอมา ที่อยากให้เยาวชนคนไทยได้ใช้ขลุ่ยที่ดีมีคุณภาพ ราคาย่อมเยา จึงได้รับทุนวิจัยและพัฒนาจากกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(ในสมัยนั้น) พัฒนาขลุ่ยด้วยวัสดุวูดคอมโพสิตที่ให้คุณภาพเสียงได้ใกล้เคียงกับไม้ มีราคาถูก ปลอดภัย ได้จัดทำขลุ่ยรุ่นพิเศษ(สีชมพู)จำนวน 500 เลาขึ้น ในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่9 โดยอาจารย์ธนิสร์ ศรีกลิ่นดี ได้รับพระราชทานราชานุญาตให้อัญเชิญตราสัญลักษณ์พระนามาภิไธยย่อ สธ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ประดับเป็นศิริมงคลสลักลงบนขลุ่ย มีหมายเลขประจำเลาขลุ่ยทุกเลา1-500 มอบให้กับมูลนิธิสายใจไทยเพื่อมอบให้ผู้บริจาคสมทบทุนมูลนิธิฯ<ref>{{Cite web|title=สานสายใย เพื่อผลิตภัณฑ์สายใจไทย|url=http://www.hiclasssociety.com/?p=13717|website=HiClassSociety.com|language=en-US}}</ref> และได้มีการผลิตออกวางจำหน่ายเป็นวัสดุชนิดเดียวกัน แบ่งเป็นรุ่น Standard A , Standard B และ Intermedia Low B(มีสีเขียว,สีน้ำตาล) และนำไปใช้ทัวร์คอนเสิร์ตมหกรรมดนตรี 30 ปีคาราบาวทั่วประเทศ<ref>{{Cite web|title=ธนิสร์ ศรีกลิ่นดี|url=http://thanis.net/products.htm|website=thanis.net}}</ref>

ด้วยมีแนวคิดในการพัฒนาขลุ่ยอยู่ตลอดเวลา ต่อมา อ.ธนิสร์ได้ร่วมกับเอกชนทำการพัฒนาวัสดุชั้นดีเพื่อนำมาทำขลุ่ย จนได้วัสดุชนิดใหม่เป็นวัสดุพลาสติกผสมชนิดพิเศษ ที่ให้เสียงดีสมบูรณ์ลงตัว ได้นำมาใช้ทำการผลิตเป็นขลุ่ย อ.ธนิสร์ รุ่น 9(ขลุ่ยสีม่วง) ซึ่งเป็นที่นิยมของนักขลุ่ยทั่วประเทศ

ต้นปี 2564 อ.ธนิสร์ ได้เปิดตัวขลุ่ย อ.ธนิสร์ รุ่นใหม่ล่าสุด ชื่อรุ่น มณีสุวรรณ(สีเหลืองทอง) จุดเด่นคือการปรับปรุงเรื่องวัสดุให้มีน้ำหนักเบาลง พัฒนาระบบเสียงให้ตรง อินจูนกว่าทุกรุ่นที่ผลิตมา ถือเป็นขลุ่ยไทยเทียบเสียงสากลที่มีระบบเสียงแม่นยำทุกตัวโน๊ต เป่าง่าย ใช้ลมน้อย ให้เสียงก้องกังวาล เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นไปจนถึงระดับมืออาชีพ ใช้เล่นร่วมกับเครื่องดนตรีสากลได้อย่างลงตัว โดย อ.ธนิสร์ ศรีกลิ่นดี เป็นผู้ควบคุมการผลิตเองทุกขั้นตอน<ref>{{Cite web|title=สินค้าและบริการ|url=http://thanis.net/|website=thanis.net}}</ref> นับเป็นขลุ่ย อ.ธนิสร์ ที่สมบูรณ์แบบที่สุด ณ ปัจจุบัน

== ผลงานการแสดง ==

1. พบศิลปินเพื่อเสริมสร้างโลกทัศน์ ครั้งที่ ๙ ประจำปี ๒๕๓๔ ขลุ่ยคาราบาว ธนิสร์ ศรีกลิ่นดี
และคณะ ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย วันศุกร์ที่ ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๓๔ เวลา ๑๙.๐๐ น.

2. ฤดูกาลพริ้วไหวลมไผ่ผิว อ.ธนิสร์ ศรีกลิ่นดี พร้อมมิตรสหาย วันเสาร์ที่ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๔๑
เวลา ๑๕.๐๐ น. ณ โรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมกรุง

3. คอนเสิร์ตเทิดพระเกียรติองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว “ร่วมร้อยรัก ภักดีถวาย”
คอนเวนชั่นฮอลล์ เดอะมอลล์ บางแค ปี พ.ศ. ๒๕๔๒ บรรเลงเพลง เดือนเพ็ญ และ ค้างคาวกินกล้วย

4. นิทรรศการ “ข.ขลุ่ยของไทย” วันที่ ๑๓-๓๑ มกราคม ๒๕๔๒ เวลา ๑๐.๐๐-๒๐.๐๐ น.
ณ ศูนย์สรรพสินค้า ริเวอร์ซิตี้

5. งาน Asian Fantasy Orchestra บทเพลงเพื่อสันติภาพ เป็นแขกรับเชิญจากประเทศไทย
อาจารย์ธนิสร์ ศรีกลิ่นดี แสดงร่วมกับวง AFO เมื่อวันที่ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๔๖
ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย

6. งาน Dr.Sax Chamber Orchestra Wthe Four Seasons” วันพุธที่ ๔ สิงหาคม ๒๕๔๗
ณ หอประชุมเล็กศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย อาจารย์ธนิสร์ ศรีกลิ่นดี บรรเลงขลุ่ยร่วม
กับวง ดร.แซกเชมเบอร์ออเครสตร้า ในบทเพลงเดือนเพ็ญ

7. งาน “ชมวังฟังดนตรี” ณ พระนารายณ์ราชนิเวศน์ อ.เมือง จ.ลพบุรี ๑๐ ธันวาคม ๒๕๔๗
เดี่ยวขลุ่ยประชันกับวงออเครสตร้า ๕๐ ชีวิต จากวงดุริยางค์สากลกรมศิลปากร

8. งานชมวังฟังดนตรี ณ พระนารายณ์ราชนิเวศน์ จังหวัดลพบุรี วันที่ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๘

9. MINNESEREMONI I PHUKET 7. OKTOBER 2005

10. เพลินเพลงพระราชนิพนธ์เฉลิมพระเกียรติ ก้าวย่างดนตรีไทยสู่สากล

11. งานพิธีวางศิลาฤกษ์อนุสรณ์สถานสึนามิ ณ บริเวณหาดเล็ก อุทยานแห่งชาติเขาหลัก-ลำรู่
ต.คึกคัก อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา บรรเลงเดี่ยวขลุ่ยในเพลง แสงเทียน พ.ศ. ๒๕๔๘

12. งานร่วมใจช่วยภัยใต้ ณ ถนนพระอาทิตย์ วันที่ ๕-๖ มกราคม ๒๕๔๘ (๑๙.๐๐-๒๒.๐๐ น.)
ณ ป้อมพระสุเมรุ ถนนพระอาทิตย์ กรุงเทพ

13. งาน จังหวะแผ่นดิน เทศกาลโลก Rhythm of the Earth World Festival
วันที่ ๑๘-๒๒ มกราคม ๒๕๔๙ ณ สะพานพระราม ๘

14. งานบรรเลง 120 ปี ความสัมพันธ์ ไทย-ญี่ปุ่น ณ Japan Foundation
วันที่ 26 กรกฎาคม 2551

15. นิทรรศการ “การพัฒนาขลุ่ยไทยสู่สากล” และคอนเสิร์ตจุดประกาย ตอน “ขลุ่ยนี้มีมนต์”
วันที่ 2 พฤศจิกายน 2551

16. แสดงการบรรเลงขลุ่ยถวาย พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ณ ทุ่งมะขามหย่อง
วันที่ 25 พฤษภาคม 2555 ทุ่งมะขามหย่อง จ.พระนครศรีอยุธยา<ref>[http://oknation.nationtv.tv/blog/print.php?id=804489 แสดงการบรรเลงขลุ่ยถวาย]</ref>

17. คอนเสิร์ต "น้อมคารวะศิลปินแห่งชาติ" ธนิสร์ ศรีกลิ่นดี ศิลปินแห่งชาติ ปี 2559(ดนตรีไทยสากล)
วันที่ 11 สิงหาคม 2560 ณ หอประชุมเล็กศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย<ref>{{Cite web |url=https://bangkok-today.com/web/%E0%B8%9A%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%82%E0%B8%A5%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B9%83%E0%B8%AB/ |title=น้อมคารวะศิลปินแห่งชาติ |access-date=2020-09-02 |archive-date=2020-08-10 |archive-url=https://web.archive.org/web/20200810090904/https://bangkok-today.com/web/%E0%B8%9A%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%82%E0%B8%A5%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B9%83%E0%B8%AB/ |url-status=dead }}</ref>

18. การแสดง "วงออเครสตร้าขลุ่ย งานมหกรรม อยุธยา ขลุ่ยทิพย์ 1000 เลา ครั้งที่ 1"
วันที่ 28 พฤศจิกายน 2563 ณ ลานวัดมหาธาตุ อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา<ref>[https://thainews.prd.go.th/th/news/detail/TCATG201129023354434 วงออเครสตร้าขลุ่ย]</ref>


== เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ==
== เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 08:25, 4 มกราคม 2565

ธนิสร์ ศรีกลิ่นดี
ข้อมูลพื้นฐาน
ชื่อเกิดธนิสร์ ศรีกลิ่นดี
เกิด23 มกราคม พ.ศ. 2494 (73 ปี)
ที่เกิดอำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี
แนวเพลงเพื่อชีวิต
เครื่องดนตรีขลุ่ย, แซกโซโฟน, คีย์บอร์ด
ช่วงปีพ.ศ. 2526 - ปัจจุบัน
คู่สมรสจุฬาลักษณ์ ศรีกลิ่นดี (เสียชีวิต)
เว็บไซต์http://www.thanis.net/

ธนิสร์ ศรีกลิ่นดี เป็นอดีตสมาชิกวงคาราบาว และเป็น ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีไทยสากล) ประจำปี พ.ศ. 2559 ปัจจุบันจัดรายการวิทยุประจำที่คลื่นความคิด F.M.96.5 ของอสมท และเป็นวิทยากรประจำรายการคุณพระช่วย ของเวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ ออกอากาศทางช่องเวิร์คพอยท์

ประวัติ

ธนิสร์ ศรีกลิ่นดี หรือที่นิยมเรียกและรู้จักกันดีในชื่อ อาจารย์ ดร.ธนิสร์ ศรีกลิ่นดี เกิดเมื่อวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2494 ที่ อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี จบการศึกษาจากวิทยาลัยการศึกษาปทุมวันและมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ[1]

ด้วยความที่เคยเป็นอาจารย์สอนวิชาดนตรีอยู่ที่มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒและวิทยาลัยครูจันทรเกษม[2] จึงถูกเรียกติดปากว่า อาจารย์ธนิสร์ ได้เข้าร่วมวงคาราบาว ในปี พ.ศ. 2526 พร้อมกับ เทียรี่ เมฆวัฒนา และเป้า - อำนาจ ลูกจันทร์ ในการเป็นนักดนตรีแบ๊คอัพในห้องอัดของอโซน่า เมื่อคาราบาว โดยแอ๊ด - ยืนยง โอภากุล ได้มาอัดเสียงที่นี่ และชักชวนเข้าร่วมวง

บทบาทของอ.ธนิสร์ในวงคาราบาวนั้นนับว่าโดดเด่นมาก โดยจะเป็นผู้เล่นในตำแหน่ง คีย์บอร์ด และการประสานเสียง แต่สิ่งที่เป็นเอกลักษณ์และความสามารถเฉพาะก็คือการเป่าขลุ่ย โดยเฉพาะในเพลง เมด อิน ไทยแลนด์ ที่อยู่ในอัลบั้มประวัติศาสตร์ของวงนั้น อ.ธนิสร์ได้เป่าทั้งเพลง รวมทั้งการส่งเสียงแซวในเนื้อเพลงด้วย จนกลายมาเป็นเอกลักษณ์ที่เรียกสีสันประจำตัวเมื่อมักจะแซวสมาชิกในวงคนอื่น ๆ โดยเฉพาะแอ๊ดเมื่อเล่นคอนเสิร์ตเสมอ ๆ ทำให้อ.ธนิสร์เปรียบเสมือนสีสันของวง

อ.ธนิสร์ได้แยกตัวออกจากวง เมื่อปี พ.ศ. 2531 ภายหลังวงคาราบาวออกอัลบั้มชุดที่ 9 คือ ทับหลัง โดยขัดแย้งในความเห็นกับแอ๊ด นับเป็นสมาชิกคนแรกที่แยกตัวออกไป จากนั้นเทียรี่และเป้าก็แยกออกจากวงคาราบาวตามอ.ธนิสร์ไปด้วย หลังจากนั้นทั้งสามคนได้ร่วมกันออกอัลบั้มชุดแรกของพวกเขาในปี พ.ศ. 2532 ชื่อชุด ขอเดี่ยวด้วยคนนะ มีเพลงที่ได้รับความนิยม ซึ่งร้องโดย อ.ธนิสร์และเทียรี่ คือ วันเกิด และ เงินปากผี

หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2535 อ.ธนิสร์ก็ได้ออกอัลบั้มเดี่ยวชุดแรกของตนเองชื่อชุด ลมไผ่[3] มีเพลงที่เป็นที่จดจำ มีเอกลักษณ์ของตนเอง และมีความไพเราะมาก คือ ทานตะวัน ที่นำเนื้อร้องมาจากบทกวีของ เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ซึ่งแต่งไว้เมื่อได้รับแรงบันดาลใจจากการชมทุ่งทานตะวัน ที่รัฐเท็กซัส ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อครั้งเดินทางไปพร้อมกับวงคาราบาวในการทัวร์คอนเสิร์ตต่างประเทศ ซึ่งเป็นการร้องประสานเสียงพร้อมเสียงขลุ่ย

และนับแต่นั้น อ.ธนิสร์ก็ได้ทำงานที่ชื่นชอบและถนัดของตนเอง มีผลงานออกมาหลายชุด ซึ่งโดยมากเป็นทำนองเพลงพื้นบ้านหรือเพลงไทยประยุกต์ให้เข้ากับดนตรีร่วมสมัย หลายชุดก็เป็นการร่วมงานกับศิลปินเพื่อชีวิตคนอื่น ๆ เช่น สุรชัย จันทิมาธร หรือ วิสา คัญทัพ เป็นต้น และในปี พ.ศ. 2538 ก็ได้กลับมาร่วมงานกับคาราบาวอีกครั้ง ในชุด หากหัวใจยังรักควาย อันเป็นการกลับมาร่วมทำงานด้วยกันของสมาชิกวงในยุคคลาสสิกทั้ง 7 คน

ในปี พ.ศ. 2547 อ.ธนิสร์ได้ร่วมกับ อ.เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ และหมู - พงษ์เทพ กระโดนชำนาญ ออกอัลบั้มร่วมกันในชุด "เพลงแผ่นดิน จาก 3 คีตกานต์กวี" ซึ่งก็ได้นำเพลงทานตะวันมาทำดนตรีและร้องใหม่โดยหมูด้วย

อ.ธนิสร์มีชื่อเล่นว่า เล็ก ซึ่งไปซ้ำกับชื่อของเล็ก - ปรีชา ชนะภัย สมาชิกอีกคนของวง ดังนั้น อ.ธนิสร์เมื่ออยู่ในวงจึงไม่ถูกเรียกชื่อเล่นเหมือนสมาชิกคนอื่น ๆ โดยผลงานสุดท้ายที่ทำร่วมกับคาราบาว คือ การเป่าขลุ่ยในเพลง เดือนแรม ในอัลบั้ม "สาวเบียร์ช้าง" ในปี พ.ศ. 2544 แต่ในการแสดงสดนั้น นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 อ.ธนิสร์ได้ขึ้นคอนเสิร์ตใหญ่ร่วมกับคาราบาวถึง 4 ครั้ง โดยครั้งล่าสุดคือในคอนเสิร์ต 35 ปี คาราบาว เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2559

อ.ธนิสร์ได้รับการยอมรับว่า เป็นนักดนตรีที่มีความสามารถและความชำนาญอย่างมากในการเล่นดนตรีประเภทเครื่องเป่า โดยเฉพาะขลุ่ย จนได้รับฉายาว่า จอมยุทธขลุ่ย นอกจากนี้แล้ว ยังสนใจในแนวดนตรีแจ๊สอีกด้วย โดยนำแนวทางการเล่นแบบแจ๊สมาประยุกต์ใช้ในการเป่าขลุ่ย จนได้รับรางวัล Lifetime Achievement Award จาก Thailand International Jazz 2016 จากวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในปี พ.ศ. 2559[4] ปัจจุบัน จัดรายการวิทยุประจำที่คลื่นความคิด F.M.96.5 ขององค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย และเป็นวิทยากรประจำรายการคุณพระช่วย ของเวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ เดิมออกอากาศทางช่อง 9 ปัจจุบันออกอากาศทางช่องเวิร์คพอยท์

ชีวิตส่วนตัว สมรสกับนางจุฬาลักษณ์ ศรีกลิ่นดี (เสียชีวิตแล้ว) มีบุตรด้วยกันสองคนชื่อ ศศิวรรณ และ สมวุฒิ ศรีกลิ่นดี

ผลงานด้านบทเพลง

คาราบาว

  1. ท.ทหารอดทน (พ.ศ. 2526; แบ็คอัพ)
  2. เมด อิน ไทยแลนด์ (พ.ศ. 2527)
  3. อเมริโกย (พ.ศ. 2528)
  4. ประชาธิปไตย (พ.ศ. 2529)
  5. เวลคัมทูไทยแลนด์ (พ.ศ. 2530)
  6. ทับหลัง (พ.ศ. 2531)
  7. หากหัวใจยังรักควาย (พ.ศ. 2538)

อัลบั้มเดี่ยว

  • ลมไผ่ (พ.ศ. 2533)[3]
  • ธนิสร์ กับ ชาวบ้าน / ชุด ก. (พ.ศ. 2534)
  • ดอกไม้เปลี่ยนสี ร่วมกับ เล็ก อรวี (พ.ศ. 2538)
  • ลมชีวิต WIND OF LIFE (พ.ศ. 2536)
  • ลมไผ่ 1-3 (พ.ศ. 2541)
  • บรรเลงขลุ่ยกับธรรมชาติ (พ.ศ. 2541)
  • ธนิสร์ ศรีกลิ่นดี Woodwind quartet (พ.ศ. 2541)
  • Non Electric Project ร่วมกับ โบ สุนิตา (พ.ศ. 2544)
  • ความฝันอันสูงสุด
  • เสียงขลุ่ยแห่งความหลัง
  • เสียงขลุ่ยแห่งท้องทุ่ง อัลบั้มพิเศษ
  • เดือนเพ็ญ
  • ไผ่พริ้ว อิ่มอุ่น อัลบั้มพิเศษ
  • ขลุ่ยบรรเลงเพลงพระราชนิพนธ์

อัลบั้มร่วม

คอนเสิร์ต

  • คอนเสิร์ต ทำโดยคนไทย 9 กุมภาพันธ์ 2528
  • คอนเสิร์ต เวลคัม ทู อิสานเขียว 27 ธันวาคม 2530
  • คอนเสิร์ต 10 ปี คาราบาว 25-26 พฤษภาคม 2534
  • คอนเสิร์ต ปิดทองหลังพระ 25 พฤษภาคม 2539
  • คอนเสิร์ต 3 ตำนานเพื่อชีวิต (2541) รับเชิญ
  • คอนเสิร์ตคาราบาว 15 ปี เมดอินไทยแลนด์ 25 ธันวาคม 2542
  • คอนเสิร์ต 15 ปี คำภีร์ เต็มขั้น (2545)
  • คอนเสิร์ต สหาย พงษ์สิทธิ์, ธนิสร์, ศุ, ฤทธิพร (2546)
  • คอนเสิร์ต เก็บตะวัน A Tribute To อิทธิ พลางกูร (2547)
  • คอนเสิร์ต 19 เข้า 20 พงษ์สิทธิ์ คัมภีร์ "เสือออกลาย"(2549)
  • คอนเสิร์ต มหกรรมดนตรี 30 ปี คาราบาว 2554-2555
  • คอนเสิร์ต Do for Dad วันที่ 3 มีนาคม 2555
  • คอนเสิร์ต 40 ปี มิตรภาพบนถนนดนตรี สุรชัย จันทิมาธร วันเสาร์ที่ 13 กรกฎาคม 2556
  • คอนเสิร์ต หนึ่งก้าว 60 พงษ์เทพ กระโดนชำนาญ วันที่ 3 พฤศจิกายน 2556
  • คอนเสิร์ตแคมป์ไฟดนตรี มาลีฮวนน่า ครั้งที่ 6 วันที่ 6 ธันวาคม 2557
  • คอนเสิร์ตแคมป์ไฟดนตรี มาลีฮวนน่า ครั้งที่ 7 วันที่ 6 ธันวาคม 2558
  • คอนเสิร์ต 35 ปี คาราบาว วันที่ 27 สิงหาคม 2559
  • คอนเสิร์ต คิดถึงหว่อง วันที่ 14 กันยายน 2562

ผลงานภาพยนตร์

  • เสียงเพลงแห่งเสรีภาพ (2528)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. ประวัติจากเว็บไซต์ส่วนตัว
  2. ประวัติจากเว็บไซต์ส่วนตัว
  3. 3.0 3.1 "ศรีกลิ่นดี-ลมไผ่". คมชัดลึก. 15 มีนาคม 2555. สืบค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. หน้า 07 จุดประกาย ดนตรี, 'ธนิสร์ ศรีกลิ่นดี ในด้านดนตรีแจ๊ส' . "มิวสิค คอร์เนอร์" โดย ประทักษ์ ใฝ่ศุภการ. กรุงเทพธุรกิจปีที่ 29 ฉบับที่ 9988: วันพุธที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2559

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น