Bao Young Blood ดนตรีสร้างคุณค่าชีวิต
Bao Young Blood ดนตรีสร้างคุณค่าชีวิต | |
---|---|
ประเภท | ประกวดวงดนตรี |
สร้างโดย | เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ |
เค้าโครงจาก | โครงการดนตรีสร้างคุณค่าชีวิต |
พัฒนาโดย | เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ |
เสนอโดย | ปิยะวัฒน์ เข็มเพชร (ซีซั่น 1) กันต์ กันตถาวร (ซีซั่น 2-3)[1] เกตุเสพย์สวัสดิ์ ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา (ซีซั่น 4) |
กรรมการ | กีรติ พรหมสาขา ณ สกลนคร จิรศักดิ์ ปานพุ่ม(ซีซั่น 1-3) พลพล พลกองเส็ง (ซีซั่น 1) มณีนุช เสมรสุต (ซีซั่น 2-4) จักรวาล เสาธงยุติธรรม (ซีซั่น 3-4) จิรากร สมพิทักษ์ (ซีซั่น 4) |
บรรยายโดย | ปิยะวัฒน์ เข็มเพชร (ซีซั่น 1) กันต์ กันตถาวร (ซีซั่น 2-3) เกตุเสพย์สวัสดิ์ ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา (ซีซั่น 4) |
ผู้ประพันธ์เพลงธีม | ยืนยง โอภากุล |
ธีมเปิด | Bao Young Blood ดนตรีสร้างคุณค่าชีวิต ของคาราบาว |
ธีมปิด | Bao Young Blood ดนตรีสร้างคุณค่าชีวิต ของคาราบาว |
ผู้ประพันธ์ | ยืนยง โอภากุล |
ประเทศแหล่งกำเนิด | ![]() |
ภาษาต้นฉบับ | ภาษาไทย |
จำนวนฤดูกาล | 4 |
จำนวนตอน | 52 |
การผลิต | |
ผู้อำนวยการผลิต | ปัญญา นิรันดร์กุล ประภาส ชลศรานนท์ |
ผู้อำนวยการสร้าง | พาณิชย์ สดสี ชลากรณ์ ปัญญาโฉม วิชนี ศรีสวัสดิ์ |
สถานที่ถ่ายทำ | เวิร์คพอยท์สตูดิโอ |
กล้อง | Multi-Camera |
ความยาวตอน | 1 ชั่วโมง |
ออกอากาศ | |
เครือข่าย | เวิร์คพอยท์ทีวี |
ออกอากาศครั้งแรก | 7 กุมภาพันธ์ 2558 (ซีซั่น 1) |
ออกอากาศ | 7 กุมภาพันธ์ 2558 (ซีซั่น 1) – 5 พฤษภาคม 2561 (ซีซั่น 4) |
Bao Young Blood ดนตรีสร้างคุณค่าชีวิต เป็นรายการประกวดวงดนตรีระดับเยาวชนที่ใช้เฉพาะเพลงของวงคาราบาวเท่านั้นในการประกวด และนำมาเรียบเรียงใหม่ตามรูปแบบของแต่ละวง เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ตามเจตนารมณ์เดิมของโครงการดนตรีสร้างคุณค่าชีวิต โดย มูลนิธิคาราบาว ร่วมกับเครื่องดื่ม คาราบาวแดง ซึ่งเวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ ได้นำมาผลิตเป็นรายการโทรทัศน์ออกอากาศทางช่องเวิร์คพอยท์ จำนวน 4 ซีซั่น ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 - พ.ศ. 2561
กติกา[2][แก้]
รอบ Audition ระดับจังหวัด[แก้]
วงดนตรีที่ผ่านการคัดเลือกเดโมทั้งหมด 150 วง จะเข้าสู่เวทีการประกวดเพื่อแสดงความสามารถทางด้านดนตรีในรอบ Audition ระดับจังหวัดจำนวน 10 เวที เวทีละ 15 วง กระจายทั่วภูมิภาค โดยมีกรรมการภาคสนาม 3 ท่าน ซึ่งจะสลับสับเปลี่ยนกันไปในทุกซีซั่นเป็นผู้ให้คะแนน เพื่อคัดเลือกให้เหลือ 60 วงทั่วประเทศที่จะเข้าสู่รอบ Audition ระดับภาค ที่เวิร์คพอยท์สตูดิโอ
รอบ Audition อย่างเป็นทางการ[แก้]
วงดนตรีที่ผ่านเข้ารอบ Audition ระดับจังหวัดทั้ง 60 วงทั่วประเทศ แบ่งเป็นภาค ภาคละ 12 วง รวม 5 ภาค จะได้เข้าประกวดวงดนตรี พร้อมร่วมถ่ายทำรายการ Bao Young Blood ดนตรีสร้างคุณค่าชีวิต ที่เวิร์คพอยท์สตูดิโอ โดยมีศิลปินในวงการเพลง 3 ท่าน เป็นกรรมการประจำรายการเพื่อตัดสินและให้คะแนน กรรมการแต่ละท่านสามารถให้คะแนนสูงสุดท่านละ 4 คะแนน (ซีซั่น 3 มีท่านละ 3 คะแนน) รวม 12 คะแนน วงที่ได้คะแนน 9 คะแนนขึ้นไปจะผ่านเข้าสู่รอบคัดเลือก เพื่อให้กรรมการตัดสินอีกครั้งว่าวงใดจะผ่านเข้าสู่รอบ Semi - Final ซึ่งจะมีเพียง 20 วง อนึ่ง จะมีกติกาพิเศษ คือ วงที่ได้ 12 คะแนนเต็ม หรือ Perfect Score จะผ่านเข้าสู่รอบ Semi-Final ทันที
แต่ในซีซั่น 4 มีการปรับเปลี่ยนกติกาใหม่ทั้งหมด โดยจะไม่มีปุ่มคะแนนซึ่งเป็นหลอดสีเขียว แต่จะเป็นปุ่มเลื่อนเพื่อสั่งให้หยุดการแสดง ซึ่งมี 3 ปุ่ม สำหรับคณะกรรมการ 3 คน ซึ่งเมื่อเลื่อนแล้ว วงดนตรีนั้นจะต้องหยุดการแสดงทันที และฟังความคิดเห็นพร้อมกับผลการตัดสิน ซึ่งถ้าได้ 2 ใน 3 ขึ้นไป จะผ่านเข้าสู่รอบคัดเลือก เพื่อให้กรรมการตัดสินอีกครั้งเหมื่อนเช่น 3 ซีซั่นที่ผ่านมา แต่หากมีวงดนตรีที่ถูกใจกรรมการเป็นพิเศษ กรรมการสามารถลุกออกจากเก้าอี้ของตนเองไปยังปุ่ม เพื่อกดปุ่ม Perfect Band ซึ่งปุ่มนี้ กรรมการมีสิทธิ์ใช้ได้เพียงคนละ 1 ครั้งเท่านั้น และวงใดที่ได้รับการกดปุ่ม Perfect Band วงนั้นจะผ่านเข้าสู่รอบ Semi-Final ทันที และในรอบคัดเลือกครั้งที่ 2 จะคัดจนได้วงดนตรีที่ผ่านเข้าสู่รอบ Semi-Final เพียง 16 วงเท่านั้น
Workshop[แก้]
ตามเจตนารมณ์ของมูลนิธิคาราบาว ในการถ่ายถอดความรู้บทเพลงเพื่อชีวิตสู่คนรุ่นใหม่ 20 วงดนตรีที่ผ่านเข้ารอบสู่รอบ Semi - Final จะได้สัมผัสประสบการณ์ทางด้านดนตรี ในการ Workshop สุด Exclusive อย่างใกล้ชิดโดยวงคาราบาว ในการเรียนรู้ทักษะ เทคนิคต่าง ๆ ทางดนตรี ตลอดจนคำแนะนำ การนำเสนอเพลงที่ใช้เข้าประกวดแข่งขันในรอบ Semi - Final
รอบ Semi-Final[แก้]
หลังจาก Workshop กับวงคาราบาวเสร็จแล้ว วงที่ผ่านเข้ารอบทั้ง 20 วง จะประกวดเป็นภาค ภาคละ 4 วง โดยมีกรรมการชุดเดียวกันกับรอบ Audition อย่างเป็นทางการเป็นผู้ให้คะแนน เพื่อคัดเลือกให้เหลือตัวแทนภาคเพียงภาคละ 1 วง รวม 5 วงสุดท้ายที่จะเข้าประกวดในรอบ Final แต่ในซีซั่นที่ 4 วงที่ผ่านเข้ารอบทั้ง 16 วง จะประกวดเป็นกลุ่ม ซึ่งมีทั้งหมด 4 กลุ่ม กลุ่มละ 4 วง เพื่อคัดเลือกให้เหลือเพียงกลุ่มละ 1 วง รวม 4 วงสุดท้ายที่จะได้เข้าแข่งขันในรอบ Final
รอบ Final[แก้]
วงที่ผ่านเข้ารอบ 5 วงสุดท้าย (ซีซั่นที่ 4 เหลือ 4 วง) ที่เป็นตัวแทนของแต่ละภาคหรือกลุ่ม จะได้เข้าร่วม Workshop กับวงคาราบาวอีกครั้ง ก่อนแข่งขันรอบ Final และร่วมเล่นคอนเสิร์ตกับวงคาราบาว พร้อมถ่ายทำรายการ Bao Young Blood ดนตรีสร้างคุณค่าชีวิต ที่เวิร์คพอยท์สตูดิโอ โดยการตัดสินจะมาจากคะแนนของกรรมการชุดเดิม รวมกับวงคาราบาว (ยกเว้น ซีซั่นที่ 2 ที่ใช้คะแนนดังกล่าว 60% และนับรวมคะแนนจากการโหวตของคนทั่วประเทศด้วย คิดเป็น 40% โดยการออกอากาศแบบถ่ายทอดสด) ซึ่งวงที่ได้คะแนนมากที่สุดจะได้เป็นแชมป์ประจำฤดูกาลนั้นทันที ได้รับเงินรางวัล และถ้วยรางวัลเกียรติยศซึ่งวงคาราบาวออกแบบไป
เงินรางวัลสำหรับผู้ชนะเลิศ[แก้]
- รางวัลเงินสดมูลค่า 1,000,000 บาท (สำหรับซีซั่น 1 และ 4)
- รางวัลเงินสดมูลค่า 100,000 บาท (สำหรับซีซั่น 2 และ 3)
พิธีกร[แก้]
พิธีกร | ซีซั่น | ||||
---|---|---|---|---|---|
1 | 2 | 3 | 4 | ||
ปิยะวัฒน์ เข็มเพชร | |||||
กันต์ กันตถาวร | |||||
เกตุเสพย์สวัสดิ์ ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา |
กรรมการ[แก้]
กรรมการ | ซีซั่น | |||
---|---|---|---|---|
1 | 2 | 3 | 4 | |
กีรติ พรหมสาขา ณ สกลนคร | ||||
จิรศักดิ์ ปานพุ่ม | ||||
พลพล พลกองเส็ง | ||||
มณีนุช เสมรสุต | ||||
จักรวาร เสาธงยุติธรรม | ||||
จิรากร สมพิทักษ์ |
ฤดูกาล[แก้]
- ฤดูกาลที่ 1 (2558) - Bao Young Blood ดนตรีสร้างคุณค่าชีวิต ซีซั่น 1
- ฤดูกาลที 2 (2559) - Bao Young Blood ดนตรีสร้างคุณค่าชีวิต ซีซั่น 2
- ฤดูกาลที่ 3 (2560) - Bao Young Blood ดนตรีสร้างคุณค่าชีวิต ซีซั่น 3
- ฤดูกาลที่ 4 (2561) - Bao Young Blood ดนตรีสร้างคุณค่าชีวิต ซีซั่น 4 (17 กุมภาพันธ์ 2561 เป็นต้นไป)
ทำเนียบแชมป์[แก้]
ปี | ซีซั่น | ชนะเลิศ | รองฯ อันดับ 1 | รองฯ อันดับ 2 |
---|---|---|---|---|
2558 | 1 | แอสซิสต์ | บรรเจิดพาราไดซ์ | เหลนบาว |
2559 | 2 | เดอะวอริเออร์ | เดอะแบล็คชิพ | ฟูล ฟิล สกา |
2560 | 3 | เอเวอร์เรสต์ | เซลซิลีอา | อะตอมิค บอย |
2561 | 4 | อิสรภาพ | ZeroX | Cipper |