ข้ามไปเนื้อหา

สัจจะ ๑๐ ประการ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สัจจะ ๑๐ ประการ
สตูดิโออัลบั้มโดย
วางตลาดธันวาคม พ.ศ. 2535
บันทึกเสียงเซ็นเตอร์ สเตจ
แนวเพลงร็อก,เพลงเพื่อชีวิต
ความยาว40:51
ค่ายเพลงดีเดย์,วอร์เนอร์ มิวสิก
โปรดิวเซอร์คาราบาว
ลำดับอัลบั้มของคาราบาว
วิชาแพะ
(2534)วิชาแพะ2534
สัจจะ ๑๐ ประการ
(2535)
ช้างไห้
(2536)ช้างไห้2536
ซิงเกิลจากสัจจะ ๑๐ ประการ
  1. "สัจจะ ๑๐ ประการ"
  2. "ชนะภัย"
  3. "ช้าก่อน"
  4. "สามช่าจงเจริญ"
  5. "ชวนป๋วย"
  6. "ตามดูผู้แทน"

สัจจะ ๑๐ ประการเป็นอัลบั้มชุดที่ 12 ของวงคาราบาว วางจำหน่ายในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2535 จัดจำหน่ายโดย Musica และโปรโมตโดย ดี-เดย์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ (ปัจจุบันคือ วอร์นเนอร์ มิวสิก ไทยแลนด์) โดยมีเพลงในอัลบั้มนี้ทั้งหมด 10 เพลง และมีเพลงฮิตคือ สัจจะ ๑๐ ประการ , ชนะภัย , ช้าก่อน และ "สามช่าจงเจริญ"

ประวัติ

[แก้]

อัลบั้มนี้ทำขึ้นหลังจากผ่านพ้นเหตุการณ์พฤษภาทมิฬและได้นายกรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้ง คือ ชวน หลีกภัย วงคาราบาวจึงได้ทำเพลงที่เกี่ยวข้องกับประชาธิปไตย เช่น เพลงมีเนื้อหาเสียดสีนายกรัฐมนตรีท่านนี้ในเพลง ชวนป๋วย ซึ่งในที่สุดก็ถูก คณะกรรมการบริหารวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ (กบว.) สั่งห้ามออกอากาศ ถือเป็นเพลงสุดท้ายของคาราบาวที่ถูก กบว. สั่งห้ามออกอากาศ ก่อนที่ กบว. จะยกเลิกการตรวจพิจารณาเนื้อหารายการ โดยให้ผู้บริหารสถานีโทรทัศน์ตรวจพิจารณากันเอง และแปรรูปเป็นคณะกรรมการกิจการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์แห่งชาติ (กกช.) หรือเพลงที่มีเนื้อหาส่งเสริมการปกครองระบอบประชาธิปไตยและกล่าวถึงเหตุการณ์ดังกล่าวเช่น ชนะภัย, ตามดูผู้แทน, สัจจะ ๑๐ ประการ โดยนำเสนอในรูปแบบเพลงร็อกเป็นส่วนมากและมีสีสันของดนตรีพื้นบ้านอยู่บ้าง เช่น การนำดนตรี 3 ช่ามาทำให้ร่วมสมัยในเพลง ธนาคารโลก และ สามช่าจงเจริญ อัลบั้มนี้จึงได้รับความนิยมและติดหูคนฟังอย่างสูง ภายหลังอัลบั้มนี้ถูกนำมาจัดจำหน่ายอีกครั้งโดยวอร์เนอร์ มิวสิก ไทยแลนด์

รายชื่อเพลง

[แก้]
ลำดับชื่อเพลงยาว
1."สัจจะ 10 ประการ"4:10
2."ชนะภัย"4:58
3."ธนาคารโลก"4:18
4."น้ำ"3:26
5."ช้าก่อน"5:20
6."สามช่าจงเจริญ"4:24
7."หนูเล็ก"4:38
8."ป๋าตี๋"5:16
9."ชวนป๋วย"3:43
10."ตามดูผู้แทน"4:04
ความยาวทั้งหมด:40:51

หมายเหตุ

[แก้]
  1. เพลงในอัลบั้มนี้แต่งและเล่นโดยสมาชิกภายในวง ยกเว้นเพลง ตามดูผู้แทน แต่งโดย ศักดิ์สิทธิ์ เชื้อกลาง
  2. เพลง ชวนป๋วย ถูกแบนมิให้ออกอากาศ เนื่องจากมีเนื้อหาเสียดสีและกระทบกระทั่งนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น (ชวน หลีกภัย) อย่างโจ่งแจ้ง
  3. ในช่วงบันทึกเสียง แอ๊ด - ยืนยง โอภากุล ทำหน้าที่เล่นกีตาร์โปร่ง และเล็ก - ปรีชา ชนะภัย ทำหน้าที่เล่น กีตาร์ไฟฟ้า โดยเล่นทั้งริทึ่มและโซโล่

สมาชิกในวง

[แก้]
  1. ยืนยง โอภากุล (กีตาร์, ร้องนำ, ร้องประสาน)
  2. ปรีชา ชนะภัย (กีตาร์, ร้องนำเพลง หนูเล็ก และ ตามดูผู้แทน ,ร้องประสาน)
  3. อนุพงษ์ ประถมปัทมะ (กีตาร์เบส)
  4. ลือชัย งามสม (คีย์บอร์ด, ร้องประสาน)
  5. ชูชาติ หนูด้วง (กลอง)

การจัดจำหน่าย

[แก้]
ปี ค่าย รูปแบบ
พ.ศ. 2535 ดี - เดย์ เอนเตอร์เทนเม้นท์ แผ่นเสียง
เทปคาสเซตต์
แผ่นซีดี
พ.ศ. 2554 วอร์นเนอร์ มิวสิก ไทยแลนด์ แผ่นซีดี (ปกครบรอบ 30 ปี คาราบาว)
พ.ศ. 2556 แผ่นซีดี (Remaster)