ลพ บุรีรัตน์
วิเชียร คำเจริญ | |
---|---|
![]() | |
สารนิเทศภูมิหลัง | |
ชื่ออื่น | ลพ บุรีรัตน์ |
เกิด | 12 เมษายน พ.ศ. 2478 (บางแหล่งระบุ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2482) อำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี ประเทศสยาม |
เสียชีวิต | 10 ธันวาคม พ.ศ. 2559 (81, 77 ปี) กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
คู่สมรส | พ้นภัย คำเจริญ |
อาชีพ | นักร้อง,นักแต่งเพลง |
ปีที่แสดง | 2502-2559 |
ศิลปินแห่งชาติ | พ.ศ. 2548 - สาขาศิลปะการแสดง (นักแต่งเพลงลูกทุ่ง) |
วิเชียร คำเจริญ มีอีกชื่อว่า ลพ บุรีรัตน์ (12 เมษายน พ.ศ. 2478 (บางแหล่งระบุ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2482) — 10 ธันวาคม พ.ศ. 2559) เป็นนักแต่งเพลงลูกทุ่ง[1]และอดีตนักร้องวงดนตรีจุฬารัตน์ ผู้สร้างชื่อเสียงให้กับพุ่มพวง ดวงจันทร์[2]จากเพลง "สาวนาสั่งแฟน" "อื้อฮือหล่อจัง" "กระแซะเข้ามาซิ" "ดาวเรืองดาวโรย" "นัดพบหน้าอำเภอ" จนได้รับการยกย่องเป็นศิลปินแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ. 2548[3]
ประวัติ[แก้]
ลพ บุรีรัตน์เกิดที่บ้านบางมะยม ตำบลบางลี่ อำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสิงหฤกษ์ประสิทธิ์ที่อำเภอท่าวุ้ง และจบสายวิชาชีพแผนกช่างตัดผมจากโรงเรียนการช่างลพบุรี ด้วยบุคลิกชื่นชอบการฟังและขับร้องเพลงมาตั้งแต่วัยเยาว์วัยจึงมีความปรารถนาที่จะเป็นนักร้องและนักแต่งเพลงจึงได้เดินทางเข้ากรุงเทพฯเพื่อสมัครเข้าวงดนตรีต่างๆ แต่ด้วยความที่เป็นคนน้ำเสียงไม่ดี รูปร่างไม่หล่อ จึงไม่ประสบความสำเร็จจนต้องกลับมาบ้านอยู่หนึ่งปี จนเมื่อปี พ.ศ. 2502 วงดนตรีกรุงเทพแมมโบของบังเละ วงษ์อาบูมาไปเปิดการแสดงที่ลพบุรีจึงได้มามาฝากตัว ในที่สุดก็มีโอกาสได้พบกับครูไพบูลย์ บุตรขันและสมัครเป็นลูกศิษย์เรียนการเขียนเพลง ภายหลังได้ทดลองแต่งเพลงในแนวเพลงหวานชื่อเพลง "กอดหมอนนอนเพ้อ" (ภายหลังทูล ทองใจเป็นผู้ขับร้องเพลงนี้) ให้ครูไพบูลย์ดู ครูไพบูลย์ชื่นชมในลีลาการแต่งเพลงจึงได้เขียนจดหมายฝากตัวให้ถือไปให้ครูมงคล อมาตยกุล หัวหน้าวงดนตรีจุฬารัตน์ เนื้อความตามลายมือหมึกสีแดงครูไพบูลย์เขียนว่า
"ฝากเข้าประจำในตำแหน่งแต่งเพลง ร้องเพลงพอใช้"
ครูมงคลจึงรับเข้าวงวงดนตรีจุฬารัตน์โดยใช้ชื่อในวงว่า กนก เกตุกาญจน์ แต่ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ขายหนังสือที่ระลึก และยืนคุมประตูเก็บค่าเข้าชม ภายหลังครูไพบูลย์จึงได้แต่งเพลง "ลิเกสมัครเล่น" ให้ร้องเมื่อปี พ.ศ. 2506 ก่อนจะตั้งชื่อให้ใหม่เป็น "ลพ บุรีรัตน์" เมื่อ พ.ศ. 2514 จนเมื่อครูมงคลได้ยุบวงดนตรีจุฬารัตน์ในปี พ.ศ. 2516 ครูลพ บุรีรัตน์จึงได้หันมาแต่งเพลงเองอัดเสียงเองในแนวเพลงตลกอย่าง "โนราห์หาย" "เดี๋ยวหม่ำเสียหรอก" อยู่ระยะหนึ่ง ก่อนที่จะหันไปเอาดีด้านแต่งเพลงเพียงอย่างเดียวในเวลาต่อมา
ผลงาน[แก้]
ลพ บุรีรัตน์มีผลงานแต่งเพลงลูกทุ่งที่สร้างชื่อให้กับนักร้องจำนวนมาก เช่น สายัณห์ สัญญา ยอดรัก สลักใจ ศรเพชร ศรสุพรรณ ก้องเพชร แก่นนคร สดใส รุ่งโพธิ์ทอง สันติ ดวงสว่าง เสรี รุ่งสว่าง แต่ที่มีชื่อเสียงที่สุดคือพุ่มพวง ดวงจันทร์ ในช่วง พ.ศ. 2525 - 2530 ครูลพเปลี่ยนแนวการร้องให้หันมาร้องเพลงสนุก และได้การความชื่นชม และการตอบรับเป็นอย่างอย่างดี จนได้รับฉายา "ราชินีลูกทุ่ง"
รายชื่อผลงานเพลงที่ได้แต่งให้กับ พุ่มพวง ดวงจันทร์
- สาวนาสั่งแฟน ขับร้องโดย พุ่มพวง ดวงจันทร์
- อื้อฮือหล่อจัง ขับร้องโดย พุ่มพวง ดวงจันทร์
- กระแซะเข้ามาซิ ขับร้องโดย พุ่มพวง ดวงจันทร์
- ดาวเรืองดาวโรย ขับร้องโดย พุ่มพวง ดวงจันทร์
- นัดพบหน้าอำเภอ ขับร้องโดย พุ่มพวง ดวงจันทร์
- ขอให้รวย ขับร้องโดย พุ่มพวง ดวงจันทร์
ผลงานแสดงภาพยนตร์[แก้]
- วิวาห์ลูกทุ่ง (2515)
- แก้วกลางนา (2516)
- กองพันทหารเกณฑ์ (2527)
- มนต์เพลงลูกทุ่ง เอฟ.เอ็ม. (2545)
การเสียชีวิต[แก้]
วันที่ 11 ธ.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายวิเชียร คำเจริญ หรือ "ลพ บุรีรัตน์" บรมครูนักแต่งเพลงชื่อดังที่ล้มป่วยด้วยอาการปอดอักเสบและเนื้องอกในตับ ตั้งแตช่วงเดือน พ.ย.ที่ผ่านมา ได้เสียชีวิตลงอย่างสงบในวัย 81 ปี (77 ปี) ที่ห้องไอซียู โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ
ครูลพ บุรีรัตน์ ถูกตรวจพบว่ามีเชื้อราในปอด และพบก้อนเนื้อที่ตับขนาดใหญ่ หลังเข้าตรวจรักษาที่ รพ.บางโพ เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2559 ที่ผ่านมา แพทย์ตรวจเลือดพบสารบ่งชี้มะเร็ง หลังจากนั้นได้ล้มป่วย จนล่าสุดเข้ารักษาตัวที่ รพ.จุฬาภรณ์ และสิ้นใจจากไปอย่างสงบ ในช่วงสองทุ่มคืนวันที่ 10 ธันวาคม 2559 ในวัย 81 ปี (77 ปี) [4]
ผลงานการแต่งเพลง[แก้]
- สายัณห์ สัญญา
- คนอกหักพักบ้านนี้
- เกลียดห้องเบอร์ห้า
- เปิดผนึกบันทึกช้ำ
- ยอดรัก สลักใจ
- เด็กมันยั่ว
- 30 ยังแจ๋ว
- หนุ่มนาคอยแฟน
- จำใจดู
- รางวัลนักรบ
- แบ่งกันคนละครึ่ง
- ศรเพชร ศรสุพรรณ
- ใจจะขาด
- เข้าเวรรอ
- เสียใจด้วย
- ขายเรือนหอ
- มอเตอร์ไซด์ทำหล่น
- สดใส รุ่งโพธิ์ทอง
- โรครักกำเริบ
- รักสาวหล่มสัก
- สันติ ดวงสว่าง
- พระรองร้องไห้
- ฝากรักฝากรูป
- โรคเวียนหัว
- คนถูกแย่งรัก
- ทหารผ่านศึก
- เสรี รุ่งสว่าง
- หยาดฟ้ามาดิน
รางวัลเกียรติยศ[แก้]
ครูลพ บุรีรัตน์ ได้รับรางวัลแผ่นเสียงทองคำพระราชทาน จากเพลง "ข้าคือไทย" (ก้องเพชร แก่นนคร) ในปี พ.ศ. 2520 "รางวัลนักรบ" (ยอดรัก สลักใจ) ในปี พ.ศ. 2522 "ทำดีซักทีเถอะน่า" ในปี พ.ศ. 2525 รางวัลพระราชทานกึ่งศตวรรษลูกทุ่งไทย จากเพลง "สาวนาสั่งแฟน" (พุ่มพวง ดวงจันทร์) และ "เข้าเวรรอ" (ศรเพชร ศรสุพรรณ) ในปี พ.ศ. 2532 และ "สยามเมืองยิ้ม" (พุ่มพวง ดวงจันทร์) ในปี พ.ศ. 2534
ในปี พ.ศ. 2525 ได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติ ในฐานะนักประพันธ์เพลงตัวอย่าง และได้รับการยกย่องเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (นักแต่งเพลงลูกทุ่ง) ประจำปี พ.ศ. 2548[3][5]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ สกู๊ปพิเศษ – ลพ บุรีรัตน์ : ขุนพลเพลงสนุก โดนใจคนไทย
- ↑ สิ้นบรมครูเพลง ลพ บุรีรัตน์ วัย 78 ปี ผู้ทำให้ ‘พุ่มพวง’ โด่งดังสุดขีด
- ↑ 3.0 3.1 สิ้นตำนานครูเพลงลูกทุ่ง "ครูลพ บุรีรัตน์" ศิลปินแห่งชาติ
- ↑ ครอบครัวยังทำใจไม่ได้ สิ้น ครูลพ บุรีรัตน์ คนลูกทุ่งใจหาย เตรียมจัดงานรำลึกช่วยเหลือ
- ↑ ศิลปินแห่งชาติ :: National Artist – กรมส่งเสริมวัฒนธรรม[ลิงก์เสีย]
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์เล่ม ๑๒๓ ตอนที่ ๒๔ ข ๒๕ ธันวาคม ๒๕๔๙ หน้า ๑๔๓
- เจนภพ จบกระบวนวรรณ. เพลงลูกทุ่ง, TK Park Music Library ชุดดนตรีไทย. กรุงเทพ : สำนักงานอุทยานการเรียนรู้, พ.ศ. 2550. 176 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 978-974-8218-83-0
- วัฒน์ วรรลยางกูร. คีตกวีลูกทุ่ง ไพบูลย์ บุตรขัน. กรุงเทพมหานคร : ฟรีฟอร์มสำนักพิมพ์ บริษัทลมดี จำกัด, พ.ศ. 2555. 496 หน้า. ISBN 978-616-7147-83-3