ข้ามไปเนื้อหา

ไพรัช สังวริบุตร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไพรัช สังวริบุตร
เกิด27 กันยายน พ.ศ. 2474 (93 ปี)
ไพรัช สังวริบุตร
คู่สมรสผุสดี สังวริบุตร (ยมาภัย)
อาชีพผู้กำกับละครโทรทัศน์, ผู้จัด
ตากล้องภาพยนตร์
ปีที่แสดง2493–ปัจจุบัน
ศิลปินแห่งชาติพ.ศ. 2547 - สาขาศิลปะการแสดง (ภาพยนตร์และละคร)
พระสุรัสวดีรางวัลถ่ายภาพ 16 มม. ยอดเยี่ยม
พ.ศ. 2503 - แสงสูรย์
โทรทัศน์ทองคำผู้กำกับละครดีเด่น
พ.ศ. 2533 - คู่กรรม
เมขลาผู้กำกับละครดีเด่น
พ.ศ. 2531 - แผลเก่า
พ.ศ. 2533 - คู่กรรม
ThaiFilmDb

ไพรัช สังวริบุตร (เกิด 27 กันยายน พ.ศ. 2474) ชื่อเล่น หรั่ง เป็นผู้กำกับและผู้จัดละครโทรทัศน์ชาวไทย ได้รับเชิดชูเกียรติเป็น ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง ในปี พ.ศ. 2547

ประวัติ

[แก้]

ไพรัช สังวริบุตร เป็นบุตรของนายคุ้ม และนางจำรัส สังวริบุตร จบการศึกษาจากโรงเรียนเซนต์คาเบรียล เริ่มทำงานในวงการบันเทิงโดยได้รับการหล่อหลอมความเป็นศิลปินจากบิดา ซึ่งเป็นเจ้าของค่ายกรุงเทพภาพยนตร์ โดยเริ่มช่วยงานภาพยนตร์ ต่อมาเป็นผู้ถ่ายทำภาพยนตร์ โดยเริ่มด้วยเรื่อง รอยไถ[1] จนได้รับรางวัลตุ๊กตาทอง ในฐานะผู้ถ่ายทำภาพยนตร์ 16 มม.ยอดเยี่ยม จากเรื่อง แสงสูรย์ จากนั้นได้ร่วมลงทุนกับมิตร ชัยบัญชา ตั้งบริษัท วชิรนทร์ภาพยนตร์ ในฐานะผู้อำนวยการสร้าง โดยเป็นผู้กำกับการแสดง และผู้กำกับภาพอีกด้วย

เข้าสู่วงการโทรทัศน์ในปี พ.ศ. 2510 โดยก่อตั้งบริษัท ดาราฟิล์ม ผลิตภาพยนตร์โทรทัศน์เรื่อง "ปลาบู่ทอง" ทางช่อง 7 สี ซึ่งสร้างมาจากนิทานพื้นบ้าน ต่อมาจึงผลิตผลงานประเภทนิทานพื้นบ้านและ "จักรๆ วงศ์ๆ" เรื่อยมาถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ยังผลิตผลงานประเภทวรรณกรรมสมัยใหม่ มีผลงานเด่น เช่น ดาวพระศุกร์, ดอกโศก จนเปลี่ยนมาถ่ายทำด้วยระบบวิดีโอเทป และใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการถ่ายทำและตัดต่อ โดยใช้ชื่อบริษัท ดาราวิดีโอ ผลิตละครโทรทัศน์ให้กับ ช่อง 7 สี มาตลอด มีผลงานเด่นในระยะต่อมา เช่น คู่กรรม, สายโลหิต, ฟ้าใหม่, แผลเก่า, สี่ยอดกุมาร, สิงหไกรภพ, ขวานฟ้าหน้าดำ เป็นต้น

ปัจจุบันเป็นประธานบริษัท ดาราวิดีโอ, สามเศียร, ดีด้า วิดีโอ โปรดักชั่น และ จ๊ะ ทิง จา ทีวี ด้านชีวิตส่วนตัว สมรสกับผุสดี ยมาภัย มีบุตรชายที่ทำงานในสายเดียวกันคือ สยาม สังวริบุตร และ สยม สังวริบุตร [2]

ไพรัช สังวริบุตร ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ภาพยนตร์และละคร) ประจำปี พ.ศ. 2547 [3]โดยผลงานที่ผ่านมาได้รับการตอบรับจากผู้ชมอย่างมาก และมีความมุ่งมั่นในการอนุรักษ์และสืบทอดวัฒนธรรมไทยอย่างสร้างสรรค์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "คารม สังวริบุตร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-12-02. สืบค้นเมื่อ 2010-11-01.
  2. "ประวัติ ไพรัช สังวริบุตร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2010-11-01.
  3. "ไพรัช สังวริบุตร ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ภาพยนตร์และละคร)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2010-11-01.
  4. ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๔๘ (ศิลปินแห่งชาติ) เล่ม ๑๒๒ ตอน ๒๒ ข ๓ ธันวาคม ๒๕๔๘ หน้า ๑๐๙.