สุดา ชื่นบาน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สุดา ชื่นบาน
สุดา ชื่นบาน.jpg
สารนิเทศภูมิหลัง
ชื่อเกิดสุดา ชื่นบาน
เกิด24 มิถุนายน พ.ศ. 2488 (77 ปี)
กรุงเทพมหานคร
คู่สมรสสมชาย วัฒนา (หย่า)
ภัสดา บุรณศิริ (หย่า)
บุตรพัชริดา วัฒนา
นภัสสร บุรณศิริ
อาชีพนักร้อง, นักแสดง
ปีที่แสดงพ.ศ. 2509 – ปัจจุบัน
รางวัล
ศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดง (เพลงไทยสากล-ขับร้อง) พ.ศ. 2563
แผ่นเสียงชุดเพลงพื้นเมือง ขับร้องโดย สุดา ชื่นบาน เป็นผลงานของ สง่า อารัมภีร และ อาจินต์ ปัญจพรรค์ ที่ได้รับความนิยมในปี พ.ศ. 2510-2511

สุดา ชื่นบาน (เกิด 24 มิถุนายน พ.ศ. 2488) ชื่อเล่น เม้า เป็นนักร้องและนักแสดงหญิงชาวไทย มีผลงานยาวนานหลายสิบปีทั้งในประเทศจนถึงเวทีนานาชาติ ตลอดจนการแสดงทางจอแก้วและจอเงิน เธอมีชื่อเสียงจากการร้องเพลงประกอบภาพยนตร์ อาทิเพลง "ชีวิตบัดซบ" และอีกหลายเพลงของ เสกสรร สอนอิ่มสาตร์ สุดา ชื่นบาน ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติจากคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติให้เป็น ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีไทยสากล - ขับร้อง) ประจำปี พ.ศ. 2563

สุดา ชื่นบาน ได้บันทึกแผ่นเสียงเพลงแรกคือเพลง "ตัวต่อตัว" เพลงประกอบภาพยนตร์ไทยเรื่อง ตัวต่อตัว พ.ศ. 2509 หลังจากนั้นได้บันทึกแผ่นเสียงในเพลงพื้นเมืองแก้กับ หม่อมราชวงศ์ถนัดศรี สวัสดิวัตน์ จากการชักจูงของ สง่า อารัมภีร จนเป็นอัลบั้มแรกที่ฮิตติดอันดับทุกสถานีวิทยุ ด้วยความสามารถเธอเป็นนักร้องพิเศษที่ตีโจทย์แตกในการร้องเพลงที่ได้อารมย์อย่างเช่น "เพลงสุดท้าย" ที่ได้รับความนิยมสูงสุดมาจนถึงปัจจุบัน

ประวัติ[แก้]

เริ่มแววทางการแสดงตั้งแต่วัยเยาว์ ได้ฝึกนาฏศิลป์และเข้าประกวดรำไทย ในรายการ "แมวมอง" ทางสถานีวิทยุ ท.ท.ท. จัดโดย สะอาด เปี่ยมพงศ์สานต์[1] พ.ศ. 2498 ได้แสดงละครรำเป็นประจำทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 4 บางขุนพรหม ยุคแรกเริ่ม [2] จบการศึกษาจากโรงเรียนสตรีสันติราษฎร์บำรุง รุ่น พ.ศ. 2505 เป็นนักร้องของวงดนตรีช้างแดง ประชันคู่กับวงดนตรีพยงค์ มุกดา บนเวทีโรงภาพยนตร์รอบปฐมทัศน์[3] มีทายาทเป็นบุตรสาวด้วยกันสองคนคือ พัชริดา วัฒนา อดีตนักร้องวัยรุ่นวงสาว สาว สาว และ นภัสสร บุรณศิริ เป็นนักร้อง และ นักจัดรายการวิทยุ

ผลงานเด่น[แก้]

โทรทัศน์[แก้]

  • ได้รับคัดเลือกให้แสดงรำละคร เดือนละครั้งทางไทยทีวีช่อง 4 ยุคบุกเบิก
  • นักร้องรายการเพลงทางโทรทัศน์ ตั้งแต่ยุคทีวีขาวดำ
  • เพลงไตเติ้ลหนังทีวีดังชุด หุ่นไล่กา ของรัชฟิล์มทีวี ทาง ททบ.ช่อง 7 (ททบ.5) พ.ศ. 2512 ออกอากาศนานถึง 14 ปี
  • พิธีกร คู่กับ มีศักดิ์ นาครัตน์ รายการ มิวสิคสแควร์ ทางไทยทีวีสีช่อง 3 พ.ศ. 2520

แผ่นเสียง[แก้]

  • เพลงลูกกรุงทำนองพื้นเมืองอีสานร้องแก้ กับ ม.ร.ว.ถนัดศรี สวัสดิวัฒน์ ในอัลบั้มลองเพลย์ชุด แคนลำโขง กับเพลงอื่นทำนองไทยเดิมและตะลุงของห้างกมลสุโกศล ทศวรรษ 2500-2510
  • เพลงไทยสากล ร่วมกับ ฉันทนา กิติยพันธ์ ในอัลบั้มลองเพลย์และเทปตลับ ของค่ายรถไฟดนตรี ทศวรรษ 2520-2530

ฯลฯ

ภาพยนตร์[แก้]

ละครโทรทัศน์[แก้]

ละครชุด[แก้]

ซิทคอม[แก้]

ละครเวที[แก้]

ปี พ.ศ. เรื่อง สถานที่จัดการแสดง บทบาท หมายเหตุ
Still on My Mind The Musical เมืองไทยรัชดาลัยเธียร์เตอร์

พิธีกร[แก้]

ปี พ.ศ. รายการ ช่อง
2563 The Wall Song ร้องข้ามกำแพง ช่องเวิร์คพอยท์

คอนเสิร์ต[แก้]

ฯลฯ

ปัจจุบันมีงานแสดงรับเชิญต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ทั่วทุกภาคของเมืองไทย

อ้างอิง[แก้]

  1. อารีย์ นักดนตรี ,โลกมายาของอารีย์ ,กายมารุต 2546 ISBN 974-91018-4-7 หน้า 171
  2. อารีย์ นักดนตรี ,หน้า 101
  3. รายการแซทแอนด์ซัน ,วพท.เอฟเอ็ม 90.5 ,23 กันยายน 2555