สาวเบียร์ช้าง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คาราบาว : สาวเบียร์ช้าง
สตูดิโออัลบั้มโดย
วางตลาดธันวาคม พ.ศ. 2544
บันทึกเสียงเซ็นเตอร์ สเตจ
แนวเพลงเพลงเพื่อชีวิต
ความยาว42:50
ค่ายเพลงมองโกล
โปรดิวเซอร์คาราบาว
ลำดับอัลบั้มของคาราบาว
เซียมหล่อตือ หมูสยาม
(2543)เซียมหล่อตือ หมูสยาม2543
สาวเบียร์ช้าง
(2544)
นักสู้ผู้ยิ่งใหญ่
(2545)นักสู้ผู้ยิ่งใหญ่2545

สาวเบียร์ช้าง เป็นสตูดิโออัลบั้มลำดับที่ 22 ของวงคาราบาว ออกจำหน่ายเดือนธันวาคม พ.ศ. 2544 ซึ่งอยู่ในช่วงที่ทางวงมีอายุ 20 ปี และเป็นช่วงที่รัฐบาลสมัย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีนโยบายให้ปิดสถานบริการกลางคืนตามเวลากำหนด ทำให้คนทำงานกลางคืนเดือดร้อนกันถ้วนหน้า ด้วยเหตุนี้ทางวงจึงได้แต่งเพลง "ปุระชัยเคอร์ฟิว" ขึ้นมา นอกจากนี้ยังมีเพลงที่ไว้อาลัยเหตุการณ์ตึกถล่มที่เวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ สหรัฐอเมริกา ในเพลง "เดือน 9 เช้า 11" [1] และเพลงที่แต่งขึ้นเพื่อสดุดีผู้กล้าหาญของชาติไทย คือ "ดาวแห่งโดม" และ "นางสาวสยาม"

อัลบั้มชุดนี้เป็นอัลบั้มภาคปกติชุดเดียวของวงที่ผลิตโดย บริษัท "มองโกล" หลังการแยกตัวจาก กระบือ แอนด์ โค และออกมาก่อนที่ ยืนยง โอภากุล จะทำธุรกิจเครื่องดื่มคาราบาวแดง และทางวงจะกลับไปผลิตผลงานในอัลบั้มถัดไปกับ "วอร์เนอร์ มิวสิก (ประเทศไทย)" โดยเป็นอัลบั้มเพียงชุดเดียวที่ใช้ชื่อยี่ห้อสินค้าสนับสนุนของคาราบาวมาเป็นส่วนหนึ่งของชื่ออัลบั้ม

รายชื่อเพลง[แก้]

ลำดับชื่อเพลงยาว
1."สาวเบียร์ช้าง"4:05
2."เดือน 9 เช้า 11"3:58
3."ปุระชัยเคอร์ฟิว"4:27
4."น้ำตานกเค้าแมว"3:57
5."อดติ๊บอดตาย"3:46
6."ไก่คู่บ้าน ช้างคู่เมือง"3:45
7."ดาวแห่งโดม (ปรีดี พนมยงค์)"5:50
8."เดือนแรม"3:55
9."ชู้"5:07
10."นางสาวสยาม"4:00
ความยาวทั้งหมด:42:50

สมาชิกในวง[แก้]

  1. ยืนยง โอภากุล
  2. ปรีชา ชนะภัย
  3. เทียรี่ เมฆวัฒนา
  4. อนุพงษ์ ประถมปัทมะ
  5. ลือชัย งามสม
  6. ขจรศักดิ์ หุตะวัฒนะ
  7. ชูชาติ หนูด้วง
  8. ศยาพร สิงห์ทอง
  9. เทพผจญ พันธุ์พงษ์ไทย

อื่นๆ[แก้]

  1. อัลบั้มชุดนี้ยังได้สมาชิกคาราบาวในยุคคลาสสิกไลน์อัพมาร่วมงานด้วย คือ อ.ธนิสร์ ศรีกลิ่นดี โดยเป่าขลุ่ยในเพลง เดือนแรม ซึ่งร้องโดย เทียรี่ เมฆวัฒนา
  2. คาราบาวแต่งคำร้องและทำนองทั้งหมด ยกเว้นคำร้องเพลงชื่อเดียวกับอัลบั้มซึ่งแต่งโดย ณรงค์ ยืนยงภูมิเสรี
  3. เป็นอีกหนึ่งอัลบั้มที่มีการใช้ทีมคอรัสหญิงมาร่วมร้องประสานเสียง
  4. ภายในปกอัลบั้ม ไม่มีเครดิตการเล่นเบสขณะบันทึกเสียงของอ๊อด - อนุพงษ์ ประถมปัทมะ แต่คนที่เล่นเบสแทนคือ เทียรี่ เมฆวัฒนา และ หมี - ขจรศักดิ์ หุตะวัฒนะ อีกทั้งยังได้นักดนตรีนอกวงอย่าง สุเทพ ปานอำพัน (เอ็ดดี้ จากวง ซูซู) และ ROY BONES มาร่วมด้วย ถึงแม้จะไม่ได้ร่วมบันทึกเสียงในชุดนี้ แต่อ๊อดก็ยังคงร่วมทัวร์คอนเสิร์ตกับวงในขณะที่กำลังโปรโมทอัลบั้ม
  5. ก่อนจะเป็นอัลบั้มสาวเบียร์ช้าง ได้มีการผลิตซิงเกิลอัลบั้มจำนวน 3 เพลงออกวางตลาดก่อน ซึ่งมีเพลง ปุระชัยเคอร์ฟิว , น้ำตานกเค้าแมว และ อดติ๊บอดตาย โดยใช้ชื่อบนปกว่า ปุระชัยเคอร์ฟิว เนื่องในโอกาสครบรอบ 20 ปี ของวงคาราบาว

อ้างอิง[แก้]

  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-28. สืบค้นเมื่อ 2009-12-21.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]

ส่วนเกี่ยวข้อง[แก้]