ทับหลัง (อัลบั้มเพลง)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ทับหลัง
(ภาพบนปก)
รูปปั้นอนุสาวรีย์เทพีเสรีภาพ ตัวแทนสหรัฐอเมริกา
ยืนถือทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์อยู่ข้างลำตัว
สตูดิโออัลบั้มโดย
วางตลาด9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2531
บันทึกเสียงห้องบันทึกเสียงคาราบาว (2531)
แนวเพลงร็อก
เพลงเพื่อชีวิต
ความยาว52:14
ค่ายเพลงแว่วหวาน
โปรดิวเซอร์คาราบาว
ลำดับอัลบั้มของคาราบาว
เวลคัม ทู ไทยแลนด์
(2530)เวลคัม ทู ไทยแลนด์2530
ทับหลัง
(2531)
ห้ามจอดควาย
(2533)ห้ามจอดควาย2533

ทับหลัง เป็นสตูดิโออัลบั้มลำดับที่ 9 ของ คาราบาว ภายใต้สังกัดแว่วหวาน กำหนดเดิมออกจำหน่ายวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2531 แต่เมื่อทางสถาบันศิลปะนครชิคาโก สหรัฐอเมริกา ยินยอมให้นำทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์กลับคืนสู่ปราสาทหินพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์ ภายในวันที่ 10 พฤศจิกายน อัลบั้มก็ได้เลื่อนวันจำหน่ายเป็นวันที่ 9 พฤศจิกายน ซึ่งตรงกับวันเกิดของหัวหน้าวงคาราบาว เนื่องจากเนื้อหาของบทเพลงชื่อเดียวกับอัลบั้มเป็นเพียงการเรียกร้องให้กลับคืนมาซึ่งไม่กำหนดวันที่แน่นอน พอเมื่อสถานการณ์พลิกกลับจึงนำเพลง "แม่สาย" ขึ้นมาเป็นเพลงนำร่องอีกเพลงหนึ่ง [1]

สมาชิกวงในชุดนี้ยังคงเป็นชุดคลาสสิก แต่สิ่งที่เปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาจากชุดที่แล้วก็คือ มีความคืบหน้าทางดนตรีที่เด่นชัดยิ่งขึ้น ด้วยรูปแบบการนำเสนอที่หลากหลาย เช่น มีการเริ่มใช้คอรัสหญิงมาสอดใส่เสียงประสาน มีการใช้เสียงพูดกับดนตรีตลอดเพลง ในภาคการโปรโมทนั้นได้มีการผลิตมิวสิกฟิล์มเป็นครั้งแรกในเพลง "ทับหลัง" และมิวสิกแอนิเมชั่นครั้งแรกในเพลง "แม่สาย" จากฝีมือของกลุ่มอัศเจรีย์ และเพลง "รักทรหด" ที่ได้นำดาวตลกชื่อดังอย่าง อรุณ ภาวิไล และ ปู โลกเบี้ยว มาเล่นมิวสิกวิดีโอให้กับคาราบาวเป็นครั้งแรก ซึ่งเพลงรักทรหดได้มีการถ่ายทอดเรื่องราวต่อเป็นภาคสองในอัลบั้มถัดไป

เพลงดังในอัลบั้มชุดนี้ ได้แก่ "ทับหลัง", "รักทรหด"(ภาค 1) และเพลงสะท้อนสังคมที่มีความหมายลึกซึ้งกินใจอย่าง "แม่สาย" ซึ่งเพลงดังกล่าวยังคงถูกเผยแพร่และมีศิลปินคนอื่นๆ ในแนวเดียวกันและต่างแนวนำขับร้องใหม่จนถึงปัจจุบัน ส่วนเพลงที่ถูกทาง กบว. ห้ามออกอากาศได้แก่เพลง "พระอภัยมุณี" และถือเป็นอัลบั้มชุดสุดท้ายของสมาชิกยุคคลาสสิกเมื่อเกิดข่าวการแยกวง จนมีการออกอัลบั้มในลักษณะเดี่ยวและส่วนหนึ่งของวงในภายหลัง [2]

รายชื่อเพลง[3][แก้]

ลำดับชื่อเพลงประพันธ์ยาว
1."ทับหลัง"คำร้อง/ทำนอง: ยืนยง โอภากุล5.27
2."รักทรหด"คำร้อง/ทำนอง: ยืนยง โอภากุล3.42
3."ลูกบ้างเน้อ"คำร้อง/ทำนอง: ปรีชา ชนะภัย5.11
4."มิสชาวนา"คำร้อง: ยืนยง โอภากุล ทำนอง: ปรีชา ชนะภัย4.45
5."แม่สาย"คำร้อง: ยืนยง โอภากุล ทำนอง: ปรีชา ชนะภัย4.52
6."น้ำท่วม"ไพบูลย์ บุตรขัน (ดัดแปลงเนื้อร้องโดย ยืนยง โอภากุล)3.53
7."ปาณาฯ"คำร้อง/ทำนอง: ยืนยง โอภากุล4.47
8."หนุ่มสุพรรณ (2)"มานพ รัตนพันธากุล (ครูตึ๋ง) & ยืนยง โอภากุล3.49
9."พระอภัยมุณี"คำร้อง/ทำนอง: ยืนยง โอภากุล4.53
10."ถึกควายทุย ภาค 9"คำร้อง: ยืนยง โอภากุล ทำนอง: ปรีชา ชนะภัย2.37
11."นิค"คำร้อง: ยืนยง โอภากุล ทำนอง: ปรีชา ชนะภัย4.12
12."น้า"คำร้อง: ยืนยง โอภากุล, ปรีชา ชนะภัย ทำนอง: ปรีชา ชนะภัย4.06
ความยาวทั้งหมด:52:14

มิวสิกวิดีโอ[แก้]

  1. ทับหลัง
  2. แม่สาย
  3. รักทรหด
  4. หนุ่มสุพรรณ 2
ทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์

ผู้ร่วมงาน[แก้]

  1. แอ๊ด : ร้องนำ, กีตาร์โซโล่, กีตาร์คอร์ด, กีตาร์โปร่ง , คำร้อง, ทำนอง, ควบคุมการผลิต, คุมเสียง
  2. เล็ก : ร้องนำ เพลง ลูกบ้างเน้อ, กีตาร์โซโล่, กีตาร์โปร่ง, กีตาร์คอร์ด, คีย์บอร์ด, กลองไฟฟ้า, ประสานเสียง, คำร้อง, ทำนอง, ควบคุมการผลิต
  3. เทียรี่ : ร้องนำ เพลง แม่สาย, กีตาร์โซโล่, กีตาร์โปร่ง, กีตาร์คอร์ด, ประสานเสียง
  4. อ๊อด : เบส, คุมเสียง
  5. อ.ธนิสร์ : คีย์บอร์ด, เปียโน, แซ็กโซโฟน เพลง รักทรหด, ขลุ่ย และร้องนำ เพลง พระอภัยฯ
  6. เขียว : ประสานเสียง, คุมโปรแกรม, คุมเสียง
  7. เป้า : กลองไฟฟ้า, คุมเสียง
  8. ปุ้ม ตาวัน : เปียโน-คีย์บอร์ด
  9. นิ่ม, ส้ม : ประสานเสียง
  10. ครูตึ๋ง : ช่วยแต่งเนื้อเพลง หนุ่มสุพรรณ (2)
  11. เอก, จอม : คุมเสียง

คอนเสิร์ต[แก้]

  • รายการ โลกดนตรี วันที่ 27 พ.ย. 2531
  • รายการ เอ็ม 88 ซูเปอร์แจม วีคเอนด์คอนเสิร์ต วันที่ 2 ธ.ค. 2531 (รายได้มอบให้ผู้ประสบอุทกภัยภาคใต้)
  • แสดงสดฉลองทับหลังนารายณบรรทมสินธุ์ ที่ปราสาทพนมรุ้ง จ.บุรีรัมย์ วันที่ 4 ธ.ค. 2531
  • คอนเสิร์ต เมืองหลวงห่วงเมืองใต้ ร่วมกับ กองทัพบก และ กรุงเทพมหานคร ที่ท้องสนามหลวง วันที่ 9 ธ.ค. 2531
  • รายการ 7 สีคอนเสิร์ต วันที่ 17 ธ.ค. 2531

การจัดจำหน่าย[แก้]

ปี ค่าย รูปแบบ
พ.ศ. 2531 อามีโก้ แผ่นเสียง
เทปคาสเซตต์
พ.ศ. 2540 กระบือ แอนด์ โค แผ่นซีดี
เทปคาสเซตต์
พ.ศ. 2546 วอร์นเนอร์ มิวสิก ไทยแลนด์ แผ่นซีดี
(ปกครบรอบ 20 ปี คาราบาว)
พ.ศ. 2554 แผ่นซีดี
(ปกครบรอบ 30 ปี คาราบาว)
พ.ศ. 2555 แผ่นเสียง (Remaster)
พ.ศ. 2556 แผ่นซีดี (Remaster)

รางวัล[แก้]

  • ได้รับรางวัล
    • รางวัลโทรทัศน์ทองคำ มิวสิกวิดีโอรองดีเด่น ปี 2531 (เพลงทับหลัง)
    • รางวัล BAD AWARDS 1988 มิวสิกวิดีโอยอดเยี่ยม/ รางวัลด้านตัดต่อภาพ/ รางวัลด้านกำกับศิลป์ จากเพลง "แม่สาย"
      และ รางวัลด้านถ่ายภาพจากเพลง "ทับหลัง"
  • ได้เข้าชิง
    • รางวัลสีสัน อะวอร์ดส์ ครั้งที่ 1 ปี 2531 สาขาศิลปินกลุ่มยอดเยี่ยม
  • ติดอันดับ
    • รายการดาวเทียมทองคำ โค้ก มิวสิกอะวอร์ด
      เพลง ทับหลัง ติดอันดับเดือนธันวาคม 2531 - กุมภาพันธ์ 2532


"การปกปักรักษาของคู่บ้านคู่เมืองเป็นภารกิจของคนไทยทุกคน

คุณควรจะรู้ว่า..กว่าจะได้กลับคืนมามันยากเย็นแสนเข็ญขนาดไหน"

อ้างอิง[แก้]

  1. จากหนังสือพิมพ์และนิตยสารเก่าๆ หลายฉบับที่เสนอเกี่ยวกับอัลบั้มทับหลังและข่าวทับหลังกลับบ้าน
  2. http://www.carabao2524.com/board/show.php?ques_no=1284[ลิงก์เสีย]
  3. ปกเทปคาราบาวชุดทับหลัง

ดูเพิ่ม[แก้]