ทัศนีย์ ขุนทอง
ไปยังการนำทาง
ไปยังการค้นหา
![]() | บทความนี้อาจต้องการพิสูจน์อักษร ในด้านไวยากรณ์ รูปแบบการเขียน การเรียบเรียง คุณภาพ หรือการสะกด คุณสามารถช่วยพัฒนาบทความได้ |
ทัศนีย์ ขุนทอง ได้รับเกียรติยกย่องให้เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีไทย-คีตศิลป์) พุทธศักราช ๒๕๕๕ ในด้านการเขียนตำราวิชาการ เช่น เรื่องเสภา หุ่นกระบอก เพลงกล่อมเด็ก หลักการขับร้องเพลงไทย เป็นต้น
กว่า 60 ปีที่อุทิศชีวิตให้กับวงการคีตศิลป์ไทย เริ่มต้นในตำแหน่งศิลปินสำรองด้วยวัยเพียง 14 ปี และต้องนั่งพับเพียบตลอดเวลาที่ขับร้อง ส่งผลต่อกระดูกขาในระยะยาว หากครูยังไม่ท้อกับปัญหาสุขภาพ ทุกวันยังคงทำหน้าที่สอนศิษย์ที่สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ และวิทยาลัยนาฏศิลป์ กรมศิลปากร[1]
ประวัติผลงาน[แก้]
มีผลงานการบันทึกเสียงเด่น ๆ เช่น
- แผ่นเสียงกรมศิลปากร
- แผ่นเสียงห้าง ต.เง็กชวน
- แถบบันทึกเสียงประสิทธิ์ ถาวร
- บันทึกเพลงระบำทุกเพลงของครูมนตรี ตราโมท
- งานบันทึกวีดิทัศน์ของกรมศิลปากร เกณฑ์มาตรฐานดนตรีไทยของทบวงมหาวิทยาลัย เป็นต้น
ยังได้คิดสร้างสรรค์ผลงานไว้หลายชิ้น เช่น
- ประพันธ์บทร้องและทำนองทางร้องเพลงโยสลัมเถา ทางร้องเพลงตุ๊กตา เถา
- ทางร้องเพลงระบำชุดไทยพระราชนิยม เพลงชุดวันสงกรานต์
- เป็นผู้บรรจุเพลงและอำนวยการฝึกซ้อมการขับร้องประกอบการแสดงโขนพระราชทานสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
- เป็นผู้คิดให้มีการร้องต้นบทลูกคู่ชายเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์คีตศิลป์ไทย
- ได้ฟื้นฟูเพลงขับร้องโบราณต่าง ๆ ที่กำลังจะสูญหายให้มีบทบาทในการขับร้องขึ้นอีกครั้ง เช่น เพลงโครมเวียนทางหม่อมมาลัยตำรับวังสวนกุหลาบ เพลงเขาวง ลมหวน ทุกขตะ ฝรั่งแดง เป็นต้น