ข้ามไปเนื้อหา

ชูชาติ พิทักษากร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ชูชาติ พิทักษากร
เกิด19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2477 (90 ปี)
รางวัลศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดงด้านดนตรีสากล[1]

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พันเอก(พิเศษ) ชูชาติ พิทักษากร (19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2477 – ) เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดงด้านดนตรีสากล[2][3] โดยเป็นผู้มีชื่อเสียงในระดับนานาชาติ และเป็นผู้ถ่ายทอดวิชาดนตรีให้แก่ รองศาสตราจารย์ ดร.โกวิทย์ ขันธศิริ[ต้องการอ้างอิง], ศาสตราจารย์ ดร. ณัชชา พันธุ์เจริญ, ศาสตราจารย์ ดร. ณรงค์ฤทธิ์ ธรรมบุตร, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นรอรรถ จันทร์กล่ำ, อาจารย์สิทธิชัย เพ็งเจริญ, อาจารย์ทัศนา นาควัชระ, อาจารย์ศิริพงษ์ ทิพย์ธัญ[4] และอาจารย์พิศุทธิ์ สายโอบเอื้อ[5]

นอกจากนี้ เขายังเป็นผู้เรียนวิชามวยไทยเลิศฤทธิ์ กับอาจารย์วิสิทธิ์ เลิศฤทธิ์ เป็นเวลาหลายปี เมื่อครั้งรับราชการทหารบก[2]

ประวัติ

[แก้]

ชูชาติ พิทักษากร ศึกษาวิชาดนตรีที่ประเทศอังกฤษ ก่อนที่จะหาประสบการณ์ในประเทศเยอรมนีและโปรตุเกสกับอาจารย์มักซิม ยาคอบเซน เป็นระยะเวลา 3 ปี[4] เมื่อกลับมาที่ประเทศไทย เขาได้รับราชการที่กองดุริยางค์ทหารบก ก่อนที่จะเป็นอาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และอาจารย์พิเศษคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[4]

ทั้งนี้ เขายังเคยเป็นนักจัดรายการโทรทัศน์ ดนตรีวิจารณ์ โดยออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก[4]

ผลงานเพลง

[แก้]
  • พ.ศ. 2511 : เป็นผู้เรียบเรียงทำนองเพลงประกอบภาพยนตร์ ท่าจีน[6]

เกียรติประวัติ

[แก้]
  • พ.ศ. 2553 : รับพระราชทานเหรียญเชิดชูเกียรติ เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดงด้านดนตรีสากล[2][3][7]
  • พ.ศ. 2550 : รับรางวัลสุกรี เจริญสุข เชิดชูผู้ทำความดีเพื่อสังคม สาขาการส่งเสริมดนตรี[8]
  • พ.ศ. 2524 : รับพระราชทานรางวัลแผ่นเสียงทองคำ ในฐานะผู้เรียบเรียงเสียงประสานยอดเยี่ยม[2][7]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "พิศมัย-หงา-สุประวัติ-ส.พลายน้อย" คว้าศิลปินแห่งชาติปี 53 เชิดชู"ชวน"ผู้มีคุณูปการ
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 Mix Magazine : ผศ.พ.อ.ชูชาติ พิทักษากร
  3. 3.0 3.1 ๙ ศิลปินแห่งชาติ ปีพุทธศักราช ๒๕๕๓[ลิงก์เสีย]
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 ชูชาติพิทักษากร - narongrit.com
  5. พิศุทธิ์ สายโอบเอื้อ วัฒนธรรมเป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนาประเทศ
  6. สิ้น "ภูษิต อภิมัน อดีตพระเอกละครโทรทัศน์-ภาพยนตร์ชื่อดัง[ลิงก์เสีย]
  7. 7.0 7.1 7.2 "อาจารย์จุฬาฯ ได้รับการยกย่องเป็นศิลปินแห่งชาติ ปี ๒๕๕๓". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-11-21. สืบค้นเมื่อ 2016-03-31.
  8. อาศรมมิวสิก : อาจารย์อัญชลี เมฆวิบูลย์ รับรางวัลเชิดชูผู้ทำความดีเพื่อสังคม สาขาการส่งเสริมดนตรี มูลนิธิตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย : โดย สุกรี เจริญสุข
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนกนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา ประจำปี ๒๕๕๕ เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๐, ตอน ๑๐ ข, ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๖, หน้า ๓๑

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]