ช้างไห้

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ช้างไห้
สตูดิโออัลบั้มโดย
วางตลาดกันยายน พ.ศ. 2536
บันทึกเสียงห้องบันทึกเสียงเซ็นเตอร์สเตจ (2536)
แนวเพลงเพลงเพื่อชีวิต, ร็อก
ความยาว51:12
ค่ายเพลงดี-เดย์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ (2536)
โปรดิวเซอร์แอ๊ด คาราบาว
ลำดับอัลบั้มของคาราบาว
สัจจะ ๑๐ ประการ
(2535)สัจจะ ๑๐ ประการ2535
ช้างไห้
(2536)
รุ่นคนสร้างชาติ
(2537)รุ่นคนสร้างชาติ2537

ช้างไห้ เป็นสตูดิโออัลบั้มลำดับที่ 13 ของวงคาราบาว ออกวางจำหน่ายในปี พ.ศ. 2536 ในรูปแบบซีดี แผ่นเสียง และเทปคาสเซ็ท โดยออกในนามบริษัท ดี-เดย์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์

ประวัติ[แก้]

ช้างไห้ เป็นผลงานชุดที่ 13 ของคาราบาว ที่ทำขึ้นภายใต้ความแปรเปลี่ยนของสังคม แม้กระทั่งทางวงเองได้เปลี่ยนตัวสมาชิกในตำแหน่งลีดกีตาร์ จากเล็ก - ปรีชา ชนะภัย เป็นหมี - ขจรศักดิ์ หุตะวัฒนะ ทำให้สมาชิกยุคคลาสสิกของวงเหลือเพียง แอ๊ด - ยืนยง โอภากุล และ อ๊อด - อนุพงษ์ ประถมปัทมะ[1] ผู้ร้องนำในชุดนี้จึงเป็นหน้าที่ของแอ๊ด - ยืนยง โอภากุล ซึ่งเป็นสมาชิกในยุคแรกสุดทั้งหมด

อัลบั้มชุดนี้มีบทเพลงที่ได้รับความนิยมอย่างมากคือเพลง ยายสำอาง ซึ่งได้นำรูปแบบเพลงขอทานของยายสำอาง มาดัดแปลงให้เข้ากับการนำเสนอของวง โดยทำเป็นแนว 3 ช่า เหมือนกับที่เคยทำไว้ในเพลง วณิพก และเพลง แร้งคอย ซึ่งมีการทำดนตรีเป็นลำดับ โดยอินโทรเป็นเปียโนของดุก - ลือชัย งามสม ก่อนที่จะมีกีต้าร์ของแอ๊ด - ยืนยง โอภากุล และหมี - ขจรศักดิ์ หุตะวัฒนะ เบสของอ๊อด - อนุพงษ์ ประถมปัทมะ และกลองชุดของโก้ - ชูชาติ หนูด้วง ตามมา และจบด้วยเสียงเป่าปาก

นอกจากนี้ยังมีเพลง สาละวิน ประกอบภาพยนตร์เรื่อง มือปืน 2 สาละวิน ของ หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล และเพลง ยังไม่สาย ซึ่งแต่งโดย ทิวา สารจูฑะ มารวมไว้ในอัลบั้ม

รายชื่อเพลง[แก้]

ลำดับชื่อเพลงประพันธ์ยาว
1."ช้างไห้"ยืนยง โอภากุล5:32
2."ปกากะญอ"ยืนยง โอภากุล6:13
3."ทายาทตระกูลหยี"ยืนยง โอภากุล3:59
4."ยายสำอาง"ยืนยง โอภากุล, ดัดแปลงจากเพลงขอทาน5:57
5."ครู 'เล"ยืนยง โอภากุล4:30
6."แร้งคอย"ยืนยง โอภากุล5:54
7."เสียงอีสาน"ยืนยง โอภากุล4:37
8."กำลังใจแรงงาน"ยืนยง โอภากุล2:07
9."สาละวิน"พิเศษ สังข์สุวรรณ9:42
10."ยังไม่สาย"ทิวา สารจูฑะ4:41 [2]
ความยาวทั้งหมด:51:12

สมาชิกภายในวง[แก้]

  1. ยืนยง โอภากุล (แอ๊ด) :กีตาร์, แมนโดลิน, ร้องนำ, ร้องประสาน
  2. อนุพงษ์ ประถมปัทมะ (อ๊อด):กีตาร์เบส
  3. ลือชัย งามสม (ดุก) :คีย์บอร์ด, เพอร์คัสชั่น, ร้องประสาน
  4. ชูชาติ หนูด้วง (โก้):กลอง, เพอร์คัสชั่น
  5. ขจรศักดิ์ หุตะวัฒนะ (หมี):กีตาร์, แมนโดลิน

นักดนตรีอื่นที่ร่วมงาน[แก้]

  1. สุกานดา บุณยธรรมิก :ร้องประสาน
  2. เชอรี่ :ร้องประสาน, เพอร์คัสชั่น
  3. คำภีร์ นอสูงเนิน :ทรัมเป็ต เพลง เสียงอีสาน
  4. นาวี คชเสนีย์ :อัลโต แซ็กโซโฟน เพลง เสียงอีสาน
  5. สมบัติ พรหมมา :เทเนอร์ แซ็กโซโฟน เพลง เสียงอีสาน, คลาริเน็ต
  6. รัศมี เทพกิจ :ทรอมโบน เพลง เสียงอีสาน
  7. สายัณ ธารีเทียร :ไวโอลิน เพลง ยังไม่สาย
  8. ขนิษฐา ธารีเทียร:ไวโอลิน เพลง ยังไม่สาย
  9. ไพโรจน์ องคสิงห์ :ไวโอลิน เพลง ยังไม่สาย
  10. สุวรรณ มโนสร:ไวโอลิน เพลง ยังไม่สาย
  11. สุทัศน์ ปล้องมาก:ไวโอลิน เพลง ยังไม่สาย
  12. วราทิตย์ วรินทรเวช:ไวโอลิน เพลง ยังไม่สาย
  13. สมเกียรติ ศรีดำ :ไวโอลิน เพลง ยังไม่สาย
  14. สุปราณี มกรพงษ์:ไวโอลิน เพลง ยังไม่สาย
  15. วาสนา ศรีตระกูล :เซลโล เพลง ยังไม่สาย
  16. ชนินทร์วดี ชมภูทิพย์:เซลโล เพลง ยังไม่สาย

การจัดจำหน่าย[แก้]

ปี ค่าย รูปแบบ
พ.ศ. 2536 ดี - เดย์ เอนเตอร์เทนเม้นท์ แผ่นเสียง
เทปคาสเซตต์
แผ่นซีดี
พ.ศ. 2554 วอร์นเนอร์ มิวสิก ไทยแลนด์ แผ่นซีดี (ปกครบรอบ 30 ปี คาราบาว)
พ.ศ. 2556 แผ่นซีดี (Remaster)

อ้างอิง[แก้]

  1. "History พ.ศ. 2536 ใน คาราบาว 30 ปี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-02-23. สืบค้นเมื่อ 2011-02-09.
  2. Thai Country Music คาราบาว ชุดที่ 13 ช้างไห้

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]