สันติ ลุนเผ่
สันติ ลุนเผ่ | |
---|---|
ชื่อเกิด | ไพศาล ลุนเผ่ |
เกิด | 22 มิถุนายน พ.ศ. 2479[1] จังหวัดลำปาง ประเทศไทย |
อาชีพ | นักร้อง นักดนตรี ทหารเรือ |
ผลงานเด่น | นักร้องเทเนอร์ |
ศิลปินแห่งชาติ | พ.ศ. 2558 - สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีสากล) |
เรือตรี สันติ ลุนเผ่ (นามเดิม ไพศาล ลุนเผ่ ; 22 มิถุนายน พ.ศ. 2479 — ) เป็นข้าราชการทหารชาวไทย และศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีสากล) ประจำปี พ.ศ. 2558 มีชื่อเสียงในฐานะที่เป็นนักร้องประจำคณะดุริยางค์แห่งกองทัพไทย และมีน้ำเสียงเป็นเอกลักษณ์ เขามีผลงานเด่นในด้านเพลงปลุกใจและเพลงคลาสสิก โดยเฉพาะ เพลง "หนักแผ่นดิน", "ความฝันอันสูงสุด", "ทหารพระนเรศวร", "ดุจบิดามารดร", "เกิดเป็นไทยตายเพื่อไทย", "แด่ทหารหาญในสมรภูมิ" และ "มาร์ชทหารไทย"
ประวัติ[แก้]
สันติเกิดที่บ้านในย่านวัดราชบพิธ กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรของหม่องลุนเผ่ ซึ่งเป็นนักร้องละครชาวพม่า ที่อพยพมาอยู่ ณ จังหวัดลำปาง แล้วนำชื่อ ลุนเผ่ มาใช้เป็นชื่อสกุล ก่อนย้ายรกรากมายังกรุงเทพมหานคร[2] ไพศาลได้เข้าศึกษาที่โรงเรียนอัสสัมชัญ (อสช 15713) จนสำเร็จชั้นมัธยมศึกษาในปี พ.ศ. 2496[3][4] และศึกษาต่อที่คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์[5]
สันติชื่นชอบดนตรีคลาสสิกมาตั้งแต่เด็ก บิดาซึ่งชอบฟังคารูโซเป็นผู้สอนร้องเพลงให้ นอกจากนี้ ขณะเรียนที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ไพศาลซึ่งเป็นลูกศิษย์ครู สังข์ อสัตถวาสี ครูดนตรีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ร่วมวงดนตรีวายุบุตร ของ เชาว์ แคล่วคล่อง และสอบชิงทุนยูธ ลีดเดอร์ชิป (Youth Leadership) ไปศึกษาด้านการเรียบเรียงเสียงประสานที่ประเทศอิสราเอลเป็นผลสำเร็จ จากนั้น จึงกลับมาร่วมวงดนตรีวายุบุตรในตำแหน่งนักกีตาร์ โดยเล่นประจำที่โรงแรมเอราวัณ[2]
วงการเพลง[แก้]
สันติได้รับการฝึกฝนดนตรีคลาสสิกจากการร้องเพลงในโบสถ์คริสต์ ฝึกสอนโดยแมรี คลิฟฟอร์ด เจฟฟรีย์ มิชชันนารีชาวอเมริกัน จากการฝากฝังโดยหม่อมดุษฎี บริพัตร ณ อยุธยา และได้ร่วมเป็นนักร้องเสียงเทเนอร์ใน วงดนตรี The Bangkok Combined Choir (BBC) เป็นคนไทยเพียงคนเดียวในวง[2]
ช่วงสงครามเวียดนาม สันติได้สอบหลักสูตร ทรีนิตี้ คอรัส ออฟ ลอนดอน ซึ่งเปิดสอบที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จบเกรด 8 เทียบเท่าอนุปริญญา ต่อมาได้ร่วมวงดนตรีโดมิงโกกับนักดนตรีชาวฟิลิปปินส์ ตระเวนเล่นดนตรีตามค่ายทหารอเมริกัน[2] ต่อมาได้ตั้งวงดนตรีร่วมกับพันจ่าเอกธวัช ไพโรจน์ ประจำที่ภัตตาคารสวนกุหลาบ ซอยอารีย์สัมพันธ์[6]
สันติ มีโอกาสได้ขับร้องเพลงคารูโซต่อหน้าพระพักตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในงานเลี้ยงพระราชทานเหล่ากาชาดนานาชาติ ร่วมกับวงดุริยางค์กองทัพเรือ โปรดเกล้าฯ ให้ไพศาลเข้าเฝ้า และรับสั่งให้ร่วมขับร้องเพลงบันทึกแผ่นเสียงเพลงพระราชนิพนธ์ เพลงรักชาติ[7] (สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ โปรดให้เรียกเพลงปลุกใจ ว่า "เพลงรักชาติ" เนื่องจากคำว่า "เพลงปลุกใจ" สื่อความหมายไปในด้านความรุนแรง)[ต้องการอ้างอิง] ในครั้งนั้น รับสั่งเรียกชื่อ ไพศาล ลุนเผ่ ว่า "สันติ" เขาจึงใช้ชื่อ "สันติ ลุนเผ่" มาตั้งแต่นั้น[2]
สันติ มีชื่อเสียงจากการขับร้องเพลงพระราชนิพนธ์ และเพลงรักชาติ เป็นจำนวนมากเช่น ความฝันอันสูงสุด ทหารพระนเรศวร ดุจบิดามารดร เกิดเป็นไทยตายเพื่อไทย แด่ทหารหาญในสมรภูมิ มาร์ชทหารไทย หนักแผ่นดิน ถามคนไทย ได้เข้ารับราชการทหารเรือ ประจำวงดุริยางค์ทหารเรือ มีหน้าที่สอนขับร้อง และเรียบเรียงเสียงประสาน จนกระทั่งนาวาเอกสำเร็จ นิยมเดช อดีตผู้บังคับกองดุริยางค์ทหารเรือ[8] เสียชีวิต จึงลาออกจากราชการ
ปัจจุบัน สันติ ประกอบอาชีพร้องเพลง สอนขับร้องดนตรีคลาสสิก และเป็นที่ปรึกษาคณบดี วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล[1]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2560 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 4 จตุตถดิเรกคุณาภรณ์ (จ.ภ.)[9]
- พ.ศ. ไม่ปรากฎ –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 5 เบญจมาภรณ์มงกุฎไทย (บ.ม.)
- พ.ศ. ไม่ปรากฎ –
เหรียญกาชาดสรรเสริญ
ผลงาน[แก้]
ละครโทรทัศน์[แก้]
ปี พ.ศ. | เรื่อง | ออกอากาศ | รับบทเป็น | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|
2560 | เงาอาถรรพ์ | ช่อง 8 | on Air รับเชิญ | |
ช่อง |
ผลงานละครชุด[แก้]
ปี พ.ศ. | เรื่อง | ออกอากาศ | บทบาท | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|
25 | ช่อง | รับเชิญ | ||
25 | ช่อง |
ซิทคอม[แก้]
ปี พ.ศ. | เรื่อง | ออกอากาศ | บทบาท | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|
25 | ช่อง | รับเชิญ | ||
25 | ช่อง | รับเชิญ |
ภาพยนตร์[แก้]
ภาพยนตร์ | |||
---|---|---|---|
พ.ศ. | เรื่อง | รับบทเป็น | หมายเหตุ |
พ.ศ. 2559 | ขุนพันธ์ | หลวงอดุลย์ (อดุลย์ อดุลเดชจรัส) | รับเชิญ |
อ้างอิง[แก้]
- ↑ 1.0 1.1 ต้นฉบับเพลงรักชาติ 'สันติ ลุนเผ่' กรุงเทพธุรกิจ 28 เมษายน 2550
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 สันติ ลุนเผ่ เพลงถามคนไทย[ลิงก์เสีย] ไทยโพสต์ แทบลอยด์, 7-13 กันยายน 2551
- ↑ จัดเลี้ยงสังสรรค์ 'อัสสัมชัญรวมรุ่นสมานมิตร 2558' ย้อนวันวาน..., แนวหน้า .วันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2558
- ↑ งานเลี้ยงอัสสัมชัญรวมรุ่นประสานมิตร, สมาคมอัสสัมชัญ .วันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
- ↑ นักศึกษาการบริหาร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์[ลิงก์เสีย]
- ↑ ห้องอาหารสวนกุหลาบ
- ↑ เพลงปลุกใจของสมเด็จพระเทพฯ
- ↑ ผู้บังคับบัญชา กองดุริยางค์ทหารเรือ กองทัพเรือกรุงเทพ
- ↑ ราชกิจจานุเบกษาเล่ม 134 ตอนที่ 48 ข วันที่ 28 กันยายน 2560 หน้า 148
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
- บทความที่มีลิงก์เสียตั้งแต่ตุลาคม 2021
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2479
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- ศิลปินแห่งชาติ
- บุคคลจากจังหวัดลำปาง
- ชาวไทยเชื้อสายพม่า
- บุคคลจากโรงเรียนอัสสัมชัญ
- นักร้องชายชาวไทย
- ทหารเรือชาวไทย
- บุคคลที่เกี่ยวข้องกับเพลงพระราชนิพนธ์
- บุคคลจากคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จ.ภ.
- บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์