ทรงศักดิ์ ประทุมสินธุ์
หน้าตา
ทรงศักดิ์ ประทุมสินธุ์ | |
---|---|
ชื่อเกิด | ทรงศักดิ์ ประทุมสินธุ์ |
เกิด | 3 ธันวาคม พ.ศ. 2498 |
ที่เกิด | จังหวัดร้อยเอ็ด |
แนวเพลง | ดนตรีพื้นบ้าน โหวด |
อาชีพ | นักแสดงพื้นบ้าน |
ศิลปินแห่งชาติ | สาขาศิลปะการแสดง |
ทรงศักดิ์ ประทุมสินธุ์ (เกิด 3 ธันวาคม พ.ศ. 2498) ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีพื้นบ้านอีสาน) ประจำปีพุทธศักราช 2562 นักดนตรีอีสานและนักแต่งเพลง เป็นผู้ที่นำโหวดซึ่งเป็นของเล่นสำหรับเด็กเลี้ยงควาย มาประดิษฐ์ให้เป็นเครื่องดนตรี และใช้เล่นประสมวงกับวงดนตรีพื้นบ้านอีสานอย่างกลมกลืน [1]
ประวัติ
[แก้]ทรงศักดิ์ ประทุมสินธุ์ เกิดที่ บ้านเลขที่ 1 หมู่ 2 ตำบลหนองพอก อำเภอหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นบุตรของ นายใส ประทุมสินธุ์ และ นางกองสี ประทุมสินธุ์ เป็นบุตรคนที่ 2 จากบุตร - ธิดา 8 คน และสมรสกับ นางดุษฏี ประทุมสินธุ์ มีบุตร 2 คน คือ นายชัชวาลย์ ประทุมสินธุ์ และ นายชาญยุทธ ประทุมสินธุ์ [2]
การศึกษา
[แก้]- พ.ศ. 2509 จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านหนองพอก อำเภอหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด
- พ.ศ. 2535 จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด
- พ.ศ. 2548 ปริญญาบัตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาดนตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
การทำงาน
[แก้]- พ.ศ. 2523 – พ.ศ. 2545 ผู้เชี่ยวชาญการสอนดนตรีพื้นบ้าน วิทยาลัยนาฏศิลป์ร้อยเอ็ด
- พ.ศ. 2546 ถึง ปัจจุบัน ผู้เชี่ยวชาญดนตรีพื้นบ้าน(โหวด) มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ผลงานสร้างชื่อในฐานะนักแต่งเพลง
[แก้]- เบอนัวต์ & แดนเซอร์
- คาราวาน
- เสมอ
- คนอะไรไม่รู้
- ถนนมิตรภาพ
- พระเจ้าหัวฟู
- บ้าน
- เจอฮักแท้
- คาราวาน
- คนกับควาย
- ลุกขึ้นสู้
- เปิบข้าว
- คืนรัง
- สีเผือก คนด่านเกวียน
- เสี่ยวอีสาน
- ไอ้หิน
- เซ็ง
- วันทอง
- คนฟั่นเฟือน
- กุหลาบปากชัน
- ตาหรุ่ง
- คาราบาว
- สัจจะ ๑๐ ประการ
- บาปบริสุทธิ์
- นํ้าใสนํ้าใจ
- พงษ์เทพ กระโดนชำนาญ
- คนจนรุ่นใหม่
- ตังเก
- ต้นขับขี่
- โคราชา
- มาให้บ้านเกิด
- จ.รอคอย
- คนที่เรารัก
- ด.ญ.ปรางค์
- ฤทธิพร อินสว่าง & เบอนัวต์ & แดนเซอร์
- สุดแต่ใจเธอ
- หลง ลงลาย
- รอยจูบบนฝ่าเท้า
- จิ๊กโก๋อกหัก
- เหงา
- ชู้
- รอ
- จ่าหลอย เฮนรี่
- น้ำตามดแดง
- หัวชิงไคร
- ปราณี
- ไม้แก่นหล่อน
- แท็กซี่มิเตอร์
- สันต์ หมาป่า
- เสี่ยวมดแดง
- แก้ว ลายทอง
- ต่างเป็นหนี่ง
- นักฝันข้างถนน
- กินไม่ดีอยู่ดี
- ประทีป ขจัดพาล
- สาวชัยภูมิ
- นางหลายใจ
- พ่อศรม้า
- ทางสายกลาง
- ลืมทุ่ง
ศิลปินรับเชิญ
[แก้]- เล่นโหวด, พิณ, แคนในอัลบั้ม สาวตีข้าว ของ ครูสลา คุณวุฒิ (2533)
- เล่นพิณ, แคน, โหวดในเพลง สาวตะเกียง, โขงหนาว, น้ำตาที่เปียกรวง ในอัลบั้ม สาวตะเกียง ของ ครูสลา คุณวุฒิ (2534)
- เล่นโหวดในเพลง นกหลงป่า, คอยเคียว, แคน-พิณ-โหวดในเพลง แจ่วฮ้อน ในอัลบั้ม ในนามของความรัก ของ ครูสลา คุณวุฒิ (2535)
- เล่นโหวดในอัลบั้ม ตามหากุดจี่ ของ ครูสลา คุณวุฒิ (2541)
- เล่นพิณ, แคนในอัลบั้ม ยาใจคนจน ของ ไมค์ ภิรมย์พร (2541)
- เล่นโหวด, พิณ, โปงลางในอัลบั้ม ทางเบี่ยงอย่าเสี่ยงเดิน ของ ไมค์ ภิรมย์พร (2542)
- เล่นโหวด, โปงลางในอัลบั้ม เหนื่อยไหมคนดี ของ ไมค์ ภิรมย์พร (2543)
- เล่นโปงลาง, โหวดในอัลบั้มเพลงประกอบละคร นายฮ้อยทมิฬ ของ รวมศิลปิน (2544)
- เล่นแคน, โหวดในอัลบั้มพิเศษ รวมเพลงดัง สองฝั่งโขง ชุดพิเศษ ของ ของ ไมค์ ภิรมย์พร (2544)
- เล่นโหวดในอัลบั้ม นักสู้ ม.3 ของ ไมค์ ภิรมย์พร (2544)
- เล่นโหวดในอัลบั้ม ปลอบใจคนช้ำ ของ สิทธิพร สุนทรพจน์ (2548)
ผลงาน/เกียรติประวัติ
[แก้]- พ.ศ. 2554 รางวัลผู้ทำคุณประโยชน์ด้านนันทนาการ ปี 2554 โดย กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา[3]
- พ.ศ. 2555 เข็มเชิดชูเกียรติ บุคคลทำคุณประโยชน์กระทรวงวัฒนธรรม ประจำปี พ.ศ. 2555 จากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี[4]
- พ.ศ. 2562 ได้รับยกย่องเชิดชูเกียรติขึ้นเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีพื้นบ้านอีสาน) จากกระทรวงวัฒนธรรม
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2564 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 4 จตุตถดิเรกคุณาภรณ์ (จ.ภ.)[5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ศูนย์ข้อมูลทางวัฒนธรรม นายทรงศักดิ์ ประทุมสินธุ์สืบค้นข้อมูลเมื่อ 27 กันยายน 2556
- ↑ เสนอเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง[ลิงก์เสีย]สืบค้นข้อมูลเมื่อ 27 กันยายน 2556
- ↑ 11นักนันทนาการรับโล่ห์ดีเด่นประจำปี 2554สืบค้นข้อมูลเมื่อ 27 กันยายน 2556
- ↑ อ.ทรงศักดิ์ ประทุมสินธุ์ เข้ารับพระราชทานเข็มเชิดชูเกียรติสืบค้นข้อมูลเมื่อ 27 กันยายน 2556
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๖๔ เก็บถาวร 2022-06-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๙ ตอนพิเศษ ๒ ข หน้า ๗๕, ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕