เตือน พาทยกุล
บทความชีวประวัตินี้เขียนเหมือนประวัติสมัครงาน |
นายเตือน พาทยกุล ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีไทย) พ.ศ. 2535
การศึกษา[แก้]
- ประถมศึกษาปีที่๔ โรงเรียนวัดโพธาราม
- วิชาสามัญ โรงเรียนอัสสัมชัญสามเสน (ปัจจุบันคือโรงเรียน เซนต์คาเบรียล)
เป็นอาจารย์สอน[แก้]
- โรงเรียนวิสุทธิกษัตริย์
- โรงเรียนราชประชาสมาศัย
- โรงเรียนอัสสัมชัญ บางรัก
- โรงเรียนศรีอยุธยา
- สถาบันโทคโนโลยี และอาชีวศึกษา
ประวัติ[แก้]
ครูเตือน พาทยกุล เป็นชาวเพชรบุรีที่เกิดมาในตระกูลนักดนตรีที่มีทั้งปู่และบิดา เป็นนักดนตรีที่ให้พื้นฐานทางดนตรีแก่ครูเตือน พาทยกุลในเยาว์วัย และด้วยใจนักจึงเลือกเรียนทางดนตรีอย่างจริงจัง บิดาได้ส่งเข้าเมืองหลวงสู่สำนักดนตรีที่มีชื่อเสียงทางฝั่งธนบุรี ร่ำเรียนวิชาความรู้กับท่านครูจางวางทั่ว พาทยโกศล เป็นเวลานานถึง 10 ปีเต็ม และยังได้ศึกษากับครูที่มีชื่อเสียง มีความรู้ความสามารถอีกหลายท่าน ด้วยความที่เป็นผู้มุ่งมั่นและมีความมานะอุตสาหะอย่างแท้จริง จึงยึดการประกอบอาชีพทางการดนตรีมาโดยตลอด จากประสบการณ์ที่ได้สร้างสมมาเป็นเวลาหลายปี ทำให้ครูเตือนเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถ และมีความเชี่ยวชาญทางการดนตรีหลายด้าน ครูเตือนเป็นทั้งนักดนตรีไทย ครูดนตรีไทย นักประพันธ์เพลงไทย ช่างผู้ประดิษฐ์เครื่องดนตรีไทย จนเป็นที่ยอมรับทั้งคนในวงการและนอกวงการ และได้รับยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง(ดนตรีไทย) ปี พ.ศ. 2535ผู้ยังรักและยึดมั่นในวิชาชีพ มีความกตัญญู ต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และพระบรมวงศานุวงศ์ สมควรที่จะได้รับการเผยแพร่ประวัติและผลงานของครูเตือน พาทยกุล ให้เป็นที่รู้จักแก่คนทั่วไป
เกียรติประวัติ[แก้]
- รางวัล ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีไทย) เมื่อ พ.ศ. 2534 โดย สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2536 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 4 จัตุรถาภรณ์มงกุฎไทย (จ.ม.)[1]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๑ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๖๕, ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๗