วินัย พันธุรักษ์
วินัย พันธุรักษ์ | |
---|---|
เกิด | 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 วินัย พันธุรักษ์ |
คู่สมรส | เกษกนก พันธุรักษ์ |
บุตร | 2 คน |
อาชีพ | นักร้อง นักดนตรี |
ปีที่แสดง | พ.ศ. 2509 - ปัจจุบัน |
สังกัด | นิธิทัศน์ โปรโมชั่น แกรมมี่ โกลด์ (2551) |
ศิลปินแห่งชาติ | พ.ศ. 2562 – สาขาศิลปะการแสดง (ขับร้องเพลงไทยสากล) |
ThaiFilmDb |
วินัย พันธุรักษ์ ชื่อเล่น ต๋อย เป็น ศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดง (ขับร้อง-เพลงไทยสากล) ประจำปี พ.ศ. 2562 และหนึ่งในสมาชิกก่อตั้งวง ดิอิมพอสซิเบิล เกิดวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 ที่อำเภอหนองแซง จังหวัดสระบุรี จบการศึกษาจากวิทยาลัยพาณิชยการพระนคร
ประวัติ
[แก้]เริ่มเล่นดนตรีตั้งแต่อายุ 14 ปี โดยเป็นนักร้องเด็กในวงของครูพยงค์ มุกดา ศิลปินแห่งชาติ ขณะเรียนโรงเรียนอำนวยศิลป์ ธนบุรี เคยร่วมวง P.M.Pocket Music วงดนตรีวัยรุ่นโด่งดังในยุคนั้น เริ่มเล่นอาชีพกับวงต่าง ๆ หลายคณะ จนกระทั่งร่วมกับเศรษฐา ศิระฉายา ก่อตั้งวง Holiday J-3 ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นวงดนตรี ดิอิมพอสซิเบิ้ล ที่ถือว่าเป็นประวัติศาสตร์หน้าหนึ่งของวงการดนตรีไทย
หลังจากดิอิมฯ ยุบวง ได้ร่วมกับ เรวัติ พุทธินันทน์ ตั้งวง ดิ โอเรียนทัล ฟังค์ ซึ่งถือว่าเป็นวงดนตรีชั้นนำวงหนึ่งของไทย ปัจจุบันเป็นครูสอนร้องเพลงให้กับสถาบันดนตรีที่มีชื่อเสียง KPN และ สถาบันดนตรีมีฟ้า นอกจากนี้ได้เปิดบริษัทพันธุรักษ์ โปรโมชั่น จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทให้เช่าเครื่องเสียงออกงานต่าง ๆ
ด้านชีวิตส่วนตัวคุณวินัยได้สมรสกับคุณเกษกนก พันธุรักษ์ มีบุตร 2 คน คือ วิตติวัต พันธุรักษ์ (ต็อง) นักร้องและนักแสดง และกาญจน์กันต์ พันธุรักษ์ (ตังค์)
ซิงเกิล
[แก้]- (อย่าทำให้ฉัน)ฝันเก้อ - ต็อง วิตดิวัต พันธุรักษ์ feat. วินัย พันธุรักษ์
ผลงานอัลบั้ม (พอสังเขป)
[แก้]- แผ่นเสียง ชุด เปิดทำนบเจ้าให้ข้าสักหน
- แผ่นเสียง ชุด น้ำตาแม่สาตก
- เพลงดังหาฟังยาก วินัย พันธุรักษ์ (ค่ายโอเชียนมีเดีย)
- รวมฮิต วินัย พันธุรักษ์ แห่งวง ดิอิมพอสซิเบิ้ล (ค่ายเมโทร)
- ต้นฉบับเพลงฮิต วินัย พันธุรักษ์ ชุด ชู้ทางใจ (พ.ศ. 2543) (ค่ายโรสวิดีโอ)
- เพลง ขวานไทยใจหนึ่งเดียว
- เพลง เสียงจากลูกของพ่อ
- คอนเสิร์ต รำลึก 100 ปี ชาตกาล ครูแก้ว อัจฉริยะกุล
- คอนเสิร์ต โก๋ VS กี๋ (หลังวัง)
- คอนเสิร์ต The Impossibles' 50th Anniversary Concert
- คอนเสิร์ต 'สองวัยใจเดียวกัน' ครั้งที่ 2
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2564 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 4 จตุตถดิเรกคุณาภรณ์ (จ.ภ.)[1]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๖๔ เก็บถาวร 2022-06-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๙ ตอนพิเศษ ๒ ข หน้า ๗๕, ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕