ธนิสร์ ศรีกลิ่นดี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ธนิศร์ ศรีกลิ่นดี)
ธนิสร์ ศรีกลิ่นดี
ข้อมูลพื้นฐาน
ชื่อเกิดธนิสร์ ศรีกลิ่นดี
เกิด23 มกราคม พ.ศ. 2493 (74 ปี)
ที่เกิดอำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี
แนวเพลงเพื่อชีวิต
เครื่องดนตรีขลุ่ย, แซกโซโฟน, คีย์บอร์ด
ช่วงปีพ.ศ. 2526 - ปัจจุบัน
คู่สมรสจุฬาลักษณ์ ศรีกลิ่นดี (เสียชีวิต)
เว็บไซต์http://www.thanis.net/

ธนิสร์ ศรีกลิ่นดี เป็นนักดนตรีอดีตสมาชิกวงคาราบาว และได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติจากคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติให้เป็น ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีไทยสากล) ประจำปี พ.ศ. 2559 ปัจจุบันจัดรายการวิทยุประจำที่คลื่นความคิด F.M.96.5 ของอสมท และเป็นวิทยากรประจำรายการคุณพระช่วย ของเวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ ออกอากาศทางช่องเวิร์คพอยท์

ประวัติ[แก้]

ธนิสร์ ศรีกลิ่นดี หรือที่นิยมเรียกและรู้จักกันดีในชื่อ อาจารย์ ดร.ธนิสร์ ศรีกลิ่นดี เกิดเมื่อวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2493 ที่ อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี จบการศึกษาจากวิทยาลัยการศึกษาปทุมวันและมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ[1]

ด้วยความที่เคยเป็นอาจารย์สอนวิชาดนตรีอยู่ที่มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒและวิทยาลัยครูจันทรเกษม[2] จึงถูกเรียกติดปากว่า อาจารย์ธนิสร์ ได้เข้าร่วมวงคาราบาว ในปี พ.ศ. 2526 พร้อมกับ เทียรี่ เมฆวัฒนา และเป้า - อำนาจ ลูกจันทร์ ในการเป็นนักดนตรีแบ๊คอัพในห้องอัดของอโซน่า เมื่อคาราบาว โดยแอ๊ด - ยืนยง โอภากุล ได้มาอัดเสียงที่นี่ และชักชวนเข้าร่วมวง

บทบาทของอ.ธนิสร์ในวงคาราบาวนั้นนับว่าโดดเด่นมาก โดยจะเป็นผู้เล่นในตำแหน่ง คีย์บอร์ด และการประสานเสียง แต่สิ่งที่เป็นเอกลักษณ์และความสามารถเฉพาะก็คือการเป่าขลุ่ย โดยเฉพาะในเพลง เมด อิน ไทยแลนด์ ที่อยู่ในอัลบั้มประวัติศาสตร์ของวงนั้น อ.ธนิสร์ได้เป่าทั้งเพลง รวมทั้งการส่งเสียงแซวในเนื้อเพลงด้วย จนกลายมาเป็นเอกลักษณ์ที่เรียกสีสันประจำตัวเมื่อมักจะแซวสมาชิกในวงคนอื่น ๆ โดยเฉพาะแอ๊ดเมื่อเล่นคอนเสิร์ตเสมอ ๆ ทำให้อ.ธนิสร์เปรียบเสมือนสีสันของวง

หน้าปกอัลบั้ม ขอเดี่ยวด้วยคนนะ

อ.ธนิสร์ได้แยกตัวออกจากวง เมื่อปี พ.ศ. 2531 ภายหลังวงคาราบาวออกอัลบั้มชุดที่ 9 คือ ทับหลัง โดยขัดแย้งในความเห็นกับแอ๊ด นับเป็นสมาชิกคนแรกที่แยกตัวออกไป จากนั้นเทียรี่และเป้าก็แยกออกจากวงคาราบาวตามอ.ธนิสร์ไปด้วย หลังจากนั้นทั้งสามคนได้ร่วมกันออกอัลบั้มชุดแรกของพวกเขาในปี พ.ศ. 2532 ชื่อชุด ขอเดี่ยวด้วยคนนะ มีเพลงที่ได้รับความนิยม ซึ่งร้องโดย อ.ธนิสร์และเทียรี่ คือ วันเกิด และ เงินปากผี

หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2535 อ.ธนิสร์ก็ได้ออกอัลบั้มเดี่ยวชุดแรกของตนเองชื่อชุด ลมไผ่[3] มีเพลงที่เป็นที่จดจำ มีเอกลักษณ์ของตนเอง และมีความไพเราะมาก คือ ทานตะวัน ที่นำเนื้อร้องมาจากบทกวีของ เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ซึ่งแต่งไว้เมื่อได้รับแรงบันดาลใจจากการชมทุ่งทานตะวัน ที่รัฐเท็กซัส ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อครั้งเดินทางไปพร้อมกับวงคาราบาวในการทัวร์คอนเสิร์ตต่างประเทศ ซึ่งเป็นการร้องประสานเสียงพร้อมเสียงขลุ่ย

และนับแต่นั้น อ.ธนิสร์ก็ได้ทำงานที่ชื่นชอบและถนัดของตนเอง มีผลงานออกมาหลายชุด ซึ่งโดยมากเป็นทำนองเพลงพื้นบ้านหรือเพลงไทยประยุกต์ให้เข้ากับดนตรีร่วมสมัย หลายชุดก็เป็นการร่วมงานกับศิลปินเพื่อชีวิตคนอื่น ๆ เช่น สุรชัย จันทิมาธร หรือ วิสา คัญทัพ เป็นต้น และในปี พ.ศ. 2538 ก็ได้กลับมาร่วมงานกับคาราบาวอีกครั้ง ในชุด หากหัวใจยังรักควาย อันเป็นการกลับมาร่วมทำงานด้วยกันของสมาชิกวงในยุคคลาสสิกทั้ง 7 คน

ในปี พ.ศ. 2547 อ.ธนิสร์ได้ร่วมกับ อ.เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ และหมู - พงษ์เทพ กระโดนชำนาญ ออกอัลบั้มร่วมกันในชุด "เพลงแผ่นดิน จาก 3 คีตกานต์กวี" ซึ่งก็ได้นำเพลงทานตะวันมาทำดนตรีและร้องใหม่โดยหมูด้วย

อ.ธนิสร์มีชื่อเล่นว่า เล็ก ซึ่งไปซ้ำกับชื่อของเล็ก - ปรีชา ชนะภัย สมาชิกอีกคนของวง ดังนั้น อ.ธนิสร์เมื่ออยู่ในวงจึงไม่ถูกเรียกชื่อเล่นเหมือนสมาชิกคนอื่น ๆ โดยผลงานสุดท้ายที่ทำร่วมกับคาราบาว คือ การเป่าขลุ่ยในเพลง เดือนแรม ในอัลบั้ม "สาวเบียร์ช้าง" ในปี พ.ศ. 2544 แต่ในการแสดงสดนั้น นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 อ.ธนิสร์ได้ขึ้นคอนเสิร์ตใหญ่ร่วมกับคาราบาวถึง 4 ครั้ง โดยครั้งล่าสุดคือในคอนเสิร์ต 35 ปี คาราบาว เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2559

อ.ธนิสร์ได้รับการยอมรับว่า เป็นนักดนตรีที่มีความสามารถและความชำนาญอย่างมากในการเล่นดนตรีประเภทเครื่องเป่า โดยเฉพาะขลุ่ย จนได้รับฉายาว่า จอมยุทธขลุ่ย นอกจากนี้แล้ว ยังสนใจในแนวดนตรีแจ๊สอีกด้วย โดยนำแนวทางการเล่นแบบแจ๊สมาประยุกต์ใช้ในการเป่าขลุ่ย จนได้รับรางวัล Lifetime Achievement Award จาก Thailand International Jazz 2016 จากวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในปี พ.ศ. 2559[4] ปัจจุบัน จัดรายการวิทยุประจำที่คลื่นความคิด F.M.96.5 ขององค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย และเป็นวิทยากรประจำรายการคุณพระช่วย ของเวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ เดิมออกอากาศทางช่อง 9 ปัจจุบันออกอากาศทางช่องเวิร์คพอยท์

ชีวิตส่วนตัว สมรสกับนางจุฬาลักษณ์ ศรีกลิ่นดี (เสียชีวิตแล้ว) มีบุตรด้วยกันสองคนชื่อ ศศิวรรณ และ สมวุฒิ ศรีกลิ่นดี

ผลงานด้านบทเพลง[แก้]

คาราบาว[แก้]

  1. ท.ทหารอดทน (พ.ศ. 2526; แบ็คอัพ)
  2. เมด อิน ไทยแลนด์ (พ.ศ. 2527)
  3. อเมริโกย (พ.ศ. 2528)
  4. ประชาธิปไตย (พ.ศ. 2529)
  5. เวลคัมทูไทยแลนด์ (พ.ศ. 2530)
  6. ทับหลัง (พ.ศ. 2531)
  7. หากหัวใจยังรักควาย (พ.ศ. 2538)
  8. สาวเบียร์ช้าง (พ.ศ. 2544)

อัลบั้มเดี่ยว[แก้]

  • ลมไผ่ (พ.ศ. 2533)
  • ธนิสร์ กับ ชาวบ้าน / ชุด ก. (พ.ศ. 2534)
  • ลมชีวิต WIND OF LIFE (พ.ศ. 2536)
  • ลมไผ่ 1-3 (กรกฏาคม พ.ศ. 2541)
  • บรรเลงขลุ่ยกับธรรมชาติ (กรกฏาคม พ.ศ. 2541)
  • ธนิสร์ ศรีกลิ่นดี Woodwind quartet (กรกฏาคม พ.ศ. 2541)
  • ความฝันอันสูงสุด
  • เสียงขลุ่ยแห่งความหลัง
  • เสียงขลุ่ยแห่งท้องทุ่ง อัลบั้มพิเศษ
  • เดือนเพ็ญ
  • ไผ่พริ้ว อิ่มอุ่น อัลบั้มพิเศษ
  • ขลุ่ยบรรเลงเพลงพระราชนิพนธ์

ศิลปินรับเชิญในอัลบั้ม[แก้]

  • เล่นฟลุ๊ท, แอดคอเดียน, คีย์บอร์ดในอัลบั้ม แลนด์ ออฟ สไมล์ (กำลังใจ) ของ หงา คาราวาน, วิสา คัญทัพ (พ.ศ. 2527)
  • เล่นฟลุ๊ท, ขลุ่ย ในอัลบั้ม เด็กปั้ม ของ คนด่านเกวียน (พ.ศ. 2527)
  • ขลุ่ย, รีคอร์เดอร์, แคลริเน็ต, คองก้า, เพอร์คัสชั่นในอัลบั้มกัมพูชา ของ แอ๊ด คาราบาว (พ.ศ. 2527)
  • โคโปรดิวเซอร์, แซกโซโฟน, คีย์บอร์ด, ฟลุ๊ท, เปียโน, ชินเทอร์ไชเซอร์ในอัลบั้ม เดี่ยว ของ พงษ์เทพ กระโดนชำนาญ (พ.ศ. 2528)
  • เป็นนักร้องประสานเสียงในอัลบั้ม ตุ๊ก ตุ๊ก ของ โฮป (พ.ศ. 2529)
  • ซินเธอร์ไซเซอร์ในอัลบั้มรวมเพลงจากชุด 1, 2, 3, 4 ของ พงษ์เทพ กระโดนชำนาญ (พ.ศ. 2530)
  • โปรดิวเซอร์อัลบั้ม คิดถึงบ้าน ของ ประจัญบาน (พ.ศ. 2531)
  • เล่นแซกโซโฟน, คีย์บอร์ดในอัลบั้ม ลับลมคมใน ของ ยิ่งยง โอภากุล (พ.ศ. 2531)
  • เล่นแซกโซโฟนในเพลง ทนไม่ได้ ในอัลบั้ม กระดี่ได้น้ำ ของ อัสนี-วสันต์ (พ.ศ. 2531)
  • เรดคอร์เดอร์ในอัลบั้ม ดนตรีที่มีวิญญาณ ของ เล็ก คาราบาว (พ.ศ. 2532)
  • เล่นขลุ่ยในอัลบั้ม หัวใจไม่เสริมใยเหล็ก ของ สรพงศ์ ชาตรี (พ.ศ. 2533)
  • เล่นขลุ่ยในอัลบั้ม โครงการ แม่ไม้เพลงไทย ของ นันทิดา แก้วบัวสาย (พ.ศ. 2533)
  • เล่นขลุ่ยในอัลบั้ม เล็ตสะโก ของ สรพงศ์ ชาตรี (พ.ศ. 2533)
  • เล่นขลุ่ยในเพลง ลานข้าว ในอัลบั้ม เขาพระวิหาร ของ อินโดจีน (พ.ศ. 2534)
  • เล่นโซโล่แซกโซโฟน ในเพลง คิดถึงบ้าน ในอัลบั้ม จ.ป.ล. (จีนปนลาว) ของ พงษ์เทพ กระโดนชำนาญ (พ.ศ. 2534)
  • โปรดิวเซอร์อัลบั้ม ฮัลโหลประเทศไทย ไอเลิฟยู ของ สามโทน (พ.ศ. 2536)
  • โปรดิวเซอร์, แซกโซโฟน, คีย์บอร์ดในอัลบั้ม สันติสุข ของ สันติสุข พรหมศิริ (พ.ศ. 2536)
  • เล่นแซกโซโฟนในเพลง รำวงชาวแซ็ก ในอัลบั้ม ลูกลิงในหัวใจ ของ ภูษิต ไล้ทอง (พ.ศ. 2536)
  • เล่นแซกโซโฟนในเพลง นส.ราตรี ในอัลบั้ม ซูเปอร์มาร์เก็ต ของ พงษ์เทพ กระโดนชำนาญ (พ.ศ. 2537)
  • โปรดิวเซอร์, เล่นขลุ่ย, แซกโซโฟน, กีตาร์, คลาริเน็ต, โซปราโน ในอัลบั้ม ดอกไม้เปลี่ยนสี ของ เล็ก อรวี (พ.ศ. 2538)
  • เล่นแซกโซโฟนในอัลบั้ม ขอทานเจ้าสำราญ ของ เล็ก คาราบาว (พ.ศ. 2539)
  • เล่นขลุ่ยในเพลง วอนดีเจ ในอัลบั้ม ลูกทุ่งไทยแลนด์ 2 ของ ก๊อต จักรพันธ์ (พ.ศ. 2541)
  • เล่นขลุ่ยในเพลง ค่าของคน, ลุงไม่ได้อุ้ม ในอัลบั้ม สุดใจฝัน ของ เบอนัวต์ & แดนเซอร์ (พ.ศ. 2541)
  • เล่นแอดคอเดียน, แซกโซโฟน, ขลุ่ยในเพลง สนุกด้วยกันนะครับ, ไอดิน ในอัลบั้ม แช่ม แช่มรัมย์ Vol.1 ของ แช่ม แช่มรัมย์ (พ.ศ. 2542)
  • เล่นขลุ่ย, แซกโซโฟน ในอัลบั้ม มันส์ยกสามนิ้ว ของ ไวพจน์ & ศรเพชร & ยอดรัก (พ.ศ. 2544)
  • เล่นขลุ่ย, แซกโซโฟน ในอัลบั้ม มันส์ยกนิ้ว ของ ไวพจน์ เพชรสุพรรณ (พ.ศ. 2544)
  • เล่นขลุ่ยในเพลง ฉันรู้, จะไม่กลับมาอีกแล้ว ในอัลบั้ม Non Electric Project ของ โบ สุนิตา (พ.ศ. 2544)
  • เล่นฟลุ๊ท ในอัลบั้ม พ่อเราอดทน ของ สุรชัย จันทิมาธร (พ.ศ. 2545)
  • เล่นโซปราโนในเพลง นึกถึงกัน, ขลุ่ยในเพลง ตะวันชิงพลบ ในอัลบั้ม สหาย ของ พงษ์สิทธิ์ คำภีร์, ศุ บุญเลี้ยง, ฤทธิพร อินสว่าง (พ.ศ. 2545)
  • เล่นขลุ่ยในเพลง อวยพรน้องเพ็ญ ในอัลบั้ม 2 ทศวรรษ สลา คุณวุฒิ ชุด 3 เรียงร้อยทำนองชีวิต ของ ครูสลา คุณวุฒิ (พ.ศ. 2546)
  • เล่นขลุ่ยในเพลง ขวานไทยใจหนึ่งเดียว ในชิงเกิ้ล ขวานไทยใจหนึ่งเดียว ของ รวมศิลปิน (พ.ศ. 2547) - จัดทำขึ้นเพื่อปลุกจิตสำนึกให้คนไทยมีความรักสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
  • เล่นขลุ่ยในเพลง ความหวังของพ่อ ในอัลบั้ม วันใหม่ ของ พงษ์สิทธิ์ คำภีร์ (พ.ศ. 2550)
  • เล่นแซกโซโฟนในเพลง Empty ในอัลบั้ม ชีวิตนี้สุขใจ ของ เขียว คาราบาว (พ.ศ. 2552)
  • เล่นขลุ่ยในเพลง เปลี่ยนแปลง,แคน สังคีต,เราจะบรรลุชัย ในอัลบั้ม หนังสือในชื่อเธอ ของ หงา คาราวาน (พ.ศ. 2553)
  • เล่นโซโล่ขลุ่ยในเพลง คิดถึงบ้าน ในอัลบั้ม หนึ่งก้าว ๖๐ เพื่อนพ้องร้องเพลงพงษ์เทพ ของ พงษ์เทพ & เพื่อนศิลปินเพื่อชีวิต (พ.ศ. 2557)

เพลงพิเศษ[แก้]

  • ราชาแห่งราชัน ของ รวมศิลปิน (พ.ศ. 2554) - จัดทำขึ้นเพื่อพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร
  • สายฝน ของ รวมศิลปิน (พ.ศ. 2559) - จัดทำขึ้นเพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
  • คืนความสุขให้ประเทศไทย ของ รวมศิลปิน (พ.ศ. 2560)
  • จะอยู่กับเธอ ของ รวมศิลปิน (พ.ศ. 2564) - จัดทำขึ้นเพื่อสร้างกำลังใจให้คนไทยทุกคน ที่กำลังต่อสู้กับสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ให้ก้าวผ่านในช่วงเวลาที่ยากลำบาก ด้วยเนื้อหาที่พูดถึงช่วงเวลาที่ทุกคนท้อแท้ เหนื่อยล้า ยังคงมีใครคนหนึ่ง ที่พร้อมจะอยู่กับคุณเสมอ

อัลบั้มร่วม[แก้]

  • ขอเดี่ยวด้วยคนนะ (ตุลาคม พ.ศ. 2532; ร่วมกับเทียรี่และเป้า)
  • รัตติกาล (พฤศจิกายน พ.ศ. 2537) ร่วมกับ สุรชัย จันทิมาธร
  • เพื่อชีวิต ใจเกินร้อย ชุด 2 (ธันวาคม พ.ศ. 2544)
  • ธรรมลีลา มหาบุรุษรักแผ่นดิน (พ.ศ. 2546)
  • เพลงแผ่นดิน จาก 3 คีตกานต์กวี (ธันวาคม พ.ศ. 2547; ร่วมกับพงษ์เทพ กระโดนชำนาญและเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์)
  • รวมฮิตหัวกะทิ ชุด 1 (กันยายน พ.ศ. 2548)
  • ซับน้ำตาอันดามัน (มกราคม พ.ศ. 2548) - จัดทำขึ้นเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติคลื่นยักษ์ สึนามิ 6 จังหวัดภาคใต้
  • 9 ศิลปินรวมใจไทยดับไฟใต้ อัลบั้ม ห่วงใต้ (พฤษภาคม พ.ศ. 2550)
  • แสงดาวแห่งศรัทธา (สิงหาคม พ.ศ. 2553) - จัดทำขึ้นเพื่อมูลนิธิ มิตรภาพบำบัด เป็นมูลนิธิที่ทำหน้าที่สืบสานเจตนารมณ์ในการสร้างเครือข่ายจิตอาสา
  • รำลึก 15 สีบสาน 20 ปี วีรชนพฤษภา 35 (พฤษภาคม พ.ศ. 2555) - จัดทำขึ้นเพื่อคารวะวีรชนพฤษภา 35
  • มาลีฮวนน่า ชุด ยรรโฟล์ค (Yann folk) (กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562)

คอนเสิร์ต[แก้]

  • คอนเสิร์ต ทำโดยคนไทย 9 กุมภาพันธ์ 2528
  • คอนเสิร์ต เวลคัม ทู อิสานเขียว 27 ธันวาคม 2530
  • คอนเสิร์ต 10 ปี ฅนคาราบาว 25-26 พฤษภาคม 2534
  • คอนเสิร์ต ปิดทองหลังพระ 25 พฤษภาคม 2539
  • คอนเสิร์ต 3 ตำนานเพื่อชีวิต 26 กันยายน 2541 รับเชิญ
  • คอนเสิร์ต คาราบาว 15 ปี เมด อิน ไทยแลนด์ 25 ธันวาคม 2542
  • คอนเสิร์ต ให้พ่อและเพื่อน 2 พฤศจิกายน 2545
  • คอนเสิร์ต 15 ปี คำภีร์ เต็มขั้น วันที่ 18 มิถุนายน 2545
  • คอนเสิร์ต สหาย วันที่ 24 มกราคม 2546
  • คอนเสิร์ต เก็บตะวัน A Tribute To อิทธิ พลางกูร 30 ตุลาคม 2547
  • คอนเสิร์ต สานใจไทย สู่ใจใต้ 1 ธันวาคม 2547
  • คอนเสิร์ต Love in Red & White 19 กุมภาพันธ์ 2548
  • คอนเสิร์ต 19 เข้า 20 พงษ์สิทธิ์ คำภีร์ "เสือออกลาย" 22 กรกฎาคม 2549
  • คอนเสิร์ต สายน้ำ สามัญชน 30 กันยายน 2549
  • คอนเสิร์ต เพื่อนช่วยเพื่อน แด่โฆษกคนยาก วันที่ 8 กรกฎาคม 2550
  • คอนเสิร์ต ป้า คนดนตรี คืนชีวิตสู่ธรรมชาติ วันที่ 13-14 กันยายน 2550
  • คอนเสิร์ต ตำนานเพลง 3 ทศวรรษอโซน่า วันที่ 15 มิถุนายน 2551
  • คอนเสิร์ต พันธุ์เล วันที่ 12 สิงหาคม 2552
  • คอนเสิร์ต คุณพระช่วยสำแดงสด วันที่ 22 - 23 สิงหาคม 2552
  • คอนเสิร์ต วันซ์ อิน อะ ไลฟ์ ไทม์ คอนเสิร์ต โพรดิวซ์ บาย ภูษิต ไล้ทอง วันที่ 20 - 21 มีนาคม 2553
  • คอนเสิร์ต จุดประกายครั้งที่ 40 ฅนนอกคอก วันที่ 15 สิงหาคม 2553
  • คอนเสิร์ต แสงดาวแห่งศรัทธา วันที่ 25 กันยายน 2553
  • คอนเสิร์ต มหกรรมดนตรี 30 ปี คาราบาว 2554-2555
  • คอนเสิร์ต มหกรรมดนตรีเพื่อธรรมชาติและชีวิต ครั้งที่ 15 วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2554
  • คอนเสิร์ต Do for Dad วันที่ 3 มีนาคม 2555
  • คอนเสิร์ต jazz & blue folks of folk วันที่ 7 ตุลาคม 2555
  • คอนเสิร์ต รำลึก แดง อินโดจีน วันที่ 24 มกราคม 2556
  • คอนเสิร์ต Thailand International Jazz Conference วันที่ 1-3 กุมภาพันธ์ 2556
  • คอนเสิร์ต อัศจรรย์เพลงพิณ เส้นสายลายศิลป์ กับ มงคล อุทก วันที่ 16 มีนาคม 2556
  • คอนเสิร์ต เพื่อเพื่อน For Friends วันที่ 20 มีนาคม 2556
  • คอนเสิร์ต รำลึก สุดใจ คำภีร์ วันที่ 18 มิถุนายน 2556
  • คอนเสิร์ต 40 ปี มิตรภาพบนถนนดนตรี สุรชัย จันทิมาธร วันเสาร์ที่ 13 กรกฎาคม 2556
  • คอนเสิร์ต หนึ่งก้าว 60 พงษ์เทพ กระโดนชำนาญ วันที่ 3 พฤศจิกายน 2556
  • คอนเสิร์ต Over The Rainbow สายรุ้งส่งศรัทธา คีตาบันดาลธรรม วันที่ 1 ธันวาคม 2556
  • คอนเสิร์ต แคมป์ไฟดนตรี มาลีฮวนน่า ครั้งที่ 5 วันที่ 7 ธันวาคม 2556
  • คอนเสิร์ต Pattaya Music Festival 2014 วันที่ 23 มีนาคม 2557
  • คอนเสิร์ต ร่วมใจสร้างบ้าน สรส ครั้งที่ 2 วันที่ 5 กรกฎาคม 2557
  • คอนเสิร์ต จีวันแบนด์ สู่จิตเกษม วันที่ 17 สิงหาคม 2557
  • คอนเสิร์ต The Happiness Music Festival วันที่ 31 ตุลาคม - 1 พฤศจิกายน 2557
  • คอนเสิร์ต แคมป์ไฟดนตรี มาลีฮวนน่า ครั้งที่ 6 วันที่ 6 ธันวาคม 2557
  • คอนเสิร์ต คนไทย ตั้งใจทำอะไร ไม่แพ้ชาติใดในโลก วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2558
  • คอนเสิร์ต ASEAN One Multicultural Festival 2015 วันที่ 10 - 11 กรกฎาคม 2558
  • คอนเสิร์ต ลูกทุ่งเพื่อแผ่นดิน วันที่ 6 กันยายน 2558
  • คอนเสิร์ต แคมป์ไฟดนตรี มาลีฮวนน่า ครั้งที่ 7 วันที่ 6 ธันวาคม 2558
  • คอนเสิร์ต เมืองไทยประกันชีวิต Present 40 ปี อุมาพร คอนเสิร์ต วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2559
  • คอนเสิร์ต หัตถาธรรม ปันน้ำใจ สานรอยยิ้ม วันที่ 15 พฤษภาคม 2559
  • คอนเสิร์ต 35 ปี คาราบาว วันที่ 27 สิงหาคม 2559
  • คอนเสิร์ต The Producer คอนเสิร์ตหนึ่งจักรวาลและล้านดวงดาว วันทึ่ 17 กันยายน 2559
  • คอนเสิร์ต 76 ล้านดวงใจ อาลัยพ่อ วันทึ่ 19 พฤศจิกายน 2559
  • คอนเสิร์ต พอดีงาม ภาพและเพลงโดย มงคล อุทก และ เพื่อน วันทึ่ 10 ธันวาคม 2559
  • คอนเสิร์ต Sing for Help 9 Sing for the King วันทึ่ 24 ธันวาคม 2559
  • คอนเสิร์ต ร้อยดวงใจ ร้องบรรเลง เพลงของพ่อ วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2560
  • คอนเสิร์ต BLACK VALENTINE Charity Concert ตอน เพราะรักแท้คือ การให้...ไม่สิ้นสุด วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2560
  • คอนเสิร์ต ชมวัง ฟังเพลง บรรเลงแจ๊ส วันที่ 4 - 5 มีนาคม 2560
  • คอนเสิร์ต รวมน้ำใจ เพื่อพี่ใหญ่ วงปะการัง วันที่ 27 เมษายน 2560
  • คอนเสิร์ต 8 ปี ตำนานแห่งสายน้ำ ครูชลธี ธารทอง วันที่ 2 พฤษภาคม 2560
  • คอนเสิร์ต Jazz for King 2 วันที่ 20 พฤษภาคม 2560
  • คอนเสิร์ต มาลีฮวนน่า Exclusive กอดดินถิ่นพ่อ วันที่ 9 กรกฎาคม 2560
  • คอนเสิร์ต Thailand's Smile Jazz Festival วันที่ 12-13 สิงหาคม 2560
  • คอนเสิร์ต สุเทพโชว์ The Unforgettable วันที่ 19 สิงหาคม 2560
  • คอนเสิร์ต Still On My Mind The Acoustic Night (Tribute To The Great King) วันที่ 14 ตุลาคม 2560
  • คอนเสิร์ต 'This is a moment' by นนทิยา จิวบางป่า วันที่ 26 พฤศจิกายน 2560
  • คอนเสิร์ต การกุศล แสงเทียนบันดาลใจ วันที่ 14 ธันวาคม 2560
  • คอนเสิร์ต เพื่อเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าไว้ให้ลูกหลาน วันที่ 11 มกราคม 2561
  • คอนเสิร์ต รำลึก มงคล อุทก วันที่ 16 - 22 กันยายน 2561
  • คอนเสิร์ต Master of Voices 3 ตำนานเพลงรักแห่งสยาม วันที่ 13 - 14 ธันวาคม 2561
  • คอนเสิร์ต รำลึก พ่อดม ชวนชื่น วันที่ 27 ธันวาคม 2561
  • คอนเสิร์ต หนึ่งปีที่จากไป SAM SEAL วันที่ 24 มิถุนายน 2562
  • คอนเสิร์ต น้อมคารวะศิลปินแห่งชาติ วันที่ 11 สิงหาคม 2562
  • คอนเสิร์ต รักเพลง รักแผ่นดิน 12 วันที่ 20 สิงหาคม 2562
  • คอนเสิร์ต คิดถึงหว่อง วันที่ 14 กันยายน 2562
  • คอนเสิร์ต HBD 54th มันส์หรอย เพื่อชีวิต...ต่อชีวิต วันที่ 28 มีนาคม 2563
  • คอนเสิร์ต เพื่อครู ชาลี อินทรวิจิตร & สุรพล โทณะวณิก สองศิลปินแห่งชาติ วันที่ 9 สิงหาคม 2563
  • คอนเสิร์ต 70 ปีที่โลกไม่ลืม วันที่ 10 - 11 ตุลาคม 2563
  • คอนเสิร์ต 99 ปี ชาลี อินทรวิจิตร วันที่ 14 มีนาคม 2564
  • คอนเสิร์ต 40 ปี คาราบาว วันที่ 11 กันยายน 2564
  • คอนเสิร์ต รำลึก แดง คาราวาน วันที่ 22 ธันวาคม 2564

ผลงานภาพยนตร์[แก้]

  • เสียงเพลงแห่งเสรีภาพ (2528) รับบท ธนิสร์
  • ยังบาว (2556) รับบท ธนิสร์

ละคร[แก้]

  • ห้าแยกลำปางหนา (2558)

รางวัล[แก้]

  • สีสันอะวอร์ดส์ ครั้งที่ 2 ประจำปี พ.ศ. 2532 ศิลปินกลุ่มยอดเยี่ยม ร่วมกับ เทียรี่ เมฆวัฒนา, อำนาจ ลูกจันทร์ จากอัลบั้ม "ขอเดี่ยวด้วยคนนะ"
  • สีสันอะวอร์ดส์ ครั้งที่ 6 ประจำปี พ.ศ. 2536 เพลงบรรเลงยอดเยี่ยม จากเพลง ท้องฟ้า

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "ประวัติจากเว็บไซต์ส่วนตัว". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-09-12. สืบค้นเมื่อ 2011-04-13.
  2. "ประวัติจากเว็บไซต์ส่วนตัว". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-09-12. สืบค้นเมื่อ 2011-04-13.
  3. "ศรีกลิ่นดี-ลมไผ่". คมชัดลึก. 15 Mar 2012. สืบค้นเมื่อ 25 Oct 2016.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  4. หน้า 07 จุดประกาย ดนตรี, 'ธนิสร์ ศรีกลิ่นดี ในด้านดนตรีแจ๊ส' . "มิวสิค คอร์เนอร์" โดย ประทักษ์ ใฝ่ศุภการ. กรุงเทพธุรกิจปีที่ 29 ฉบับที่ 9988: วันพุธที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2559
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๖๐ เก็บถาวร 2022-12-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๔๘ ข หน้า ๑๔๘, ๒๘ กันยายน ๒๕๖๐

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]