ข้ามไปเนื้อหา

อังกู๊

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ขนมอังกู๊)
ขนมอังกู๊
紅龜粿
ขนมอังกู๊ในจาการ์ตา
ชื่ออื่นอ่าง-, อัง-, อั่ง-, อั้ง-,
-กู, -กู้, -กู๊,
+ก้วย ("ก้วย" แปลว่าขนม)
ขนมเต่า (ภาษาไทย)
มื้ออาหารว่าง: ขนม
แหล่งกำเนิดประเทศจีน
ภูมิภาคฮกเกี้ยน
อุณหภูมิเสิร์ฟร้อน
ส่วนผสมหลักแป้งข้าวเหนียว:ถั่วเขียว

ขนมอังกู๊ หรือ ขนมเต่า หรือ อังกู๊ก้วย (มีการสะกดหลายแบบ; จีนตัวย่อ: 红龟粿; จีนตัวเต็ม: 紅龜粿; เป่อ่วยยี: Âng-Ku-Kóe; ขนมเต่าแดง) เป็นขนมของคนเชื้อสายจีน ได้รับความนิยมไปจนถึงอินโดนีเซีย โดยเรียกว่า กูเวกู (kue ku) [1] มีไส้ประกอบด้วยถั่วทอง น้ำตาล นิยมนำมาเป็นเครื่องบวงสรวงในพิธีต่าง ๆ หรือในงานรับขวัญเด็กเกิดใหม่ บางคนเชื่อว่าควรทำพิธีกรรมนี้ก่อนเด็กอายุครบเดือน เพื่อให้เด็กว่านอนสอนง่าย ไม่ดื้อ โดยจะนำขนมที่ถือว่าเป็นสิริมงคลไปไหว้พระด้วยคือขนมเต่า ซึ่งมีความหมายว่า ให้มีอายุมั่นขวัญยืนนั่นเอง

สีพื้นของขนมอังกู๊มีแค่สองสีคือ สีแดงใช้ในงานมงคล และสีขาวใช้ในงานอวมงคล แต่ก็อาจดัดแปลงเป็นสีอื่นได้เช่น สีน้ำตาล สีเหลือง สีส้ม สีเขียว ฯลฯ

การทำขนมอังกู๊

[แก้]

นำแป้งข้าวเหนียว นวดกับน้ำ น้ำมันพืช น้ำตาล สีผสมอาหารโดยเฉพาะสีแดง นวดให้เข้ากันและนิ่ม ส่วนผสมไส้ นำถั่วทองที่หุงสุกแล้วไปกวนกับน้ำตาลจนแห้ง แล้วจึงนำมาห่อกับแป้งข้าวเหนียว นำไปกดลงในพิมพ์ แล้วนำไปนึ่ง นอกจากสีแดงแล้วสามารถทำได้อีกหลากสีตามความต้องการของผู้ทำ แต่ถ้าเป็นการทำในการอวมงคลไม่ต้องใส่สีให้เป็นสีขาว

ชนิดของอังกู๊

[แก้]

อังกู๊แป้งข้าวเหนียว

[แก้]

ข้างในเป็นใส่ถั่วเขียวกวน มี 4 ชนิดหลัก

  • อังกู๊ (紅龜) คือ การปั้นแล้วนำไปกดลงพิมพ์รูปเต่า
  • อังอี๋ (紅丸) คือ อังกู๊แต่ไม่ต้องกดลงพิมพ์ ปั้นเป็นก้อนกลม อังอี๋ แบ่งเป็นขนมอีกหลายชนิด
    • ตาเป๋าอาโก้ย คือ อั๋งอี๋ที่ไม่ใส่สีแดง
    • ขนมหัวล้าน คือ อังอี๋แต่เป็นอั้งอี๋สีเขียวทำแบบเดียวกับมอจี๋แต่ไม่คลุกแป้ง
  • อังข่าน คือ อังกู๊แต่นำลงไปกดลงพิมพ์ยาวเป็นรูปเหรียญจีน
  • อังโถ่ (紅桃) คืออังกู๊แต่นำลงไปกดลงพิมพ์ที่ทำเป็นรูปผลไม้มงคล

อังกู๊แป้งสาลี (ตั๋วกู๊)

[แก้]

ใช้ในพิธีวันเทศกาลพ้อต่อ เพื่อสักการะพระกวนอิมไต่สือ ทำจากแป้งสาลี แล้วนำไปอบในเตาไฟ แล้วออกมาท่าสีแดง ตามขนาดของผู้ที่สั้ง เพราะเชื่อว่าเต่าเป็นสัตว์อายุยืน เวลาทำป่ายปั๋วเสร็จ เจ้าของเต่าจะต้องเลือกว่าจะปล่อย หรือ จะนำกลับ ปล่อยคือบริจาคเต่าตัวนั้นให้ศาลเจ้า หากจะให้อร่อยให้นำไปชุบไข่ทอด[2]

อ้างอิง

[แก้]
  1. หน้า 24 การศึกษา, ขนมอินโดนีเซีย ตอนที่ ๑. "องค์ความรู้ ภาษา-วัฒนธรรม" โดย ส่าหรี สุฮาร์โย. เดลินิวส์ฉบับที่ 24,672: วันจันทร์ที่ 1 พฤๅภาคม พ.ศ. 2560 ขึ้น 6 ค่ำ เดือน 6 ปีระกา
  2. http://mztasty.blogspot.com/2010/04/glutinous-rice-with-mung-beansang-ku.html

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]