ควาย

หน้าถูกกึ่งป้องกัน
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ควาย
สถานะการอนุรักษ์
สัตว์เลี้ยงหรือปศุสัตว์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
อาณาจักร: สัตว์
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
ชั้น: สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
อันดับ: สัตว์กีบคู่
วงศ์: วงศ์วัวและควาย
วงศ์ย่อย: วงศ์ย่อยวัวและควาย
สกุล: Bubalus
(Linnaeus, 1758)
สปีชีส์: Bubalus bubalis
ชื่อทวินาม
Bubalus bubalis
(Linnaeus, 1758)
การกระจายพันธุ์ของควายใน ค.ศ. 2004
ชื่อพ้อง

Bos bubalis Linnaeus, 1758

ควาย หรือภาษาทางการว่า กาสร หรือ กระบือ มีอีกชื่อว่า ควายบ้าน หรือ ควายเอเชีย เป็นสัตว์วงศ์วัวและควายขนาดใหญ่ที่มีแหล่งที่อยู่อาศัยดั้งเดิมในอนุทวีปอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปัจจุบัน สามารถพบได้ในทวีปยุโรป ออสเตรเลีย อเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ และประเทศในแอฟริกาบางส่วน[1] โดยมีการแบ่งต้นแบบควายตามสัณฐานวิทยาและพฤติกรรมถึงสองแบบ: ควายแม่น้ำ ที่พบในอนุทวีปอินเดียถึงบอลข่าน, อียิปต์ และอิตาลี และ ควายปลัก ที่พบตั้งแต่รัฐอัสสัมทางตะวันตกผ่านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ถึงจนถึงหุบเขาแยงซีทางตะวันออกของจีน[1][2]

ควายป่า (Bubalus arnee) มีความเป็นไปได้ในการเป็นตัวแทนบรรพบุรุษของควายบ้านมากที่สุด[3] ผลจากงานวิจัยทางวิวัฒนาการชาติพันธุ์แสดงให้เห็นว่า ความแม่น้ำน่าจะมีต้นกำเนิดในอินเดียตะวันตกแล้วถูกปรับเป็นสัตว์เลี้ยงประมาณ 6,300 ปีที่แล้ว ส่วนควายปลักมีต้นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แผ่นดินใหญ่และถูกปรับเป็นสัตว์เลี้ยงประมาณ 3,000 ถึง 7,000 ปีที่แล้ว[4] ควายแม่น้ำกระจัดกระจายไปทางตะวันตกถึงอียิปต์, บอลข่าน และอิตาลี ส่วนควายปลักกระจัดกระจายไปทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และไปทางตอนเหนือถึงหุบเขาแม่น้ำแยงซี[4][5][6]

เมลูฮ์ฮาค้าขายควายจากอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุไปยังเมโสโปเตเมียเมื่อ 2500 ปีก่อนคริสต์ศักราช[7] ตราประทับอาลักษณ์ของกษัตริย์แอกแคดแสดงการเชือดพลีควายด้วย[8] ปัจจุบันมีควายอย่างน้อย 130 ล้านตัวทั่วโลก และผู้คนส่วนมากพึ่งพามันมากกว่าสัตว์เลี้ยงชนิดอื่น ๆ[9]

รายละเอียด

ควายจัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มีสี่ขา เท้าเป็นกีบ ตัวขนาดใกล้เคียงกับวัวโตเต็มวัยเมื่ออายุระหว่าง 5-8 ปี น้ำหนักตัวผู้โตเต็มวัยโดยเฉลี่ย 520-560 กิโลกรัม ตัวเมียเฉลี่ยประมาณ 360-440 กิโลกรัม ตัวผู้จะใหญ่กว่าตัวเมียเล็กน้อย มีผิวสีเทาถึงดำ (บางตัวมีสีชมพู เรียกว่า ควายเผือก) มีเขาเป็นลักษณะเด่นเฉพาะตัว ปลายเขาโค้งเป็นวงคล้ายพระจันทร์เสี้ยว แต่ถ้าเป็นควายตัวผู้ที่มีลักษณะดีก็จะมีคนซื้อไปเป็นพ่อพันธุ์

ควายเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ลูกควายจะกินนมแม่จนอายุประมาณ 1 ปี 6 เดือน ควายจะเจริญเติบโตใช้แรงงานได้ระหว่างอายุ 2.5-3 ปี ช่วงที่ใช้งานได้เต็มที่ คือระหว่างอายุ 6-9 ปี ควายแต่ละตัวจะใช้งานได้จนอายุย่างเข้า 20 ปี อายุควายโดยทั่วไปเฉลี่ยประมาณ 25 ปี

สายพันธุ์

แยกได้เป็นสองกลุ่มคือควายป่า และควายบ้าน และควายบ้านนั้นก็แบ่งได้เป็น 2 ชนิดคือ ควายปลัก (Swamp buffalo) ควายแม่น้ำ (River buffalo) ทั้งสองชนิดจัดอยู่ในวงศ์ สกุล และชนิดเดียวกันคือ Bubalus bubalis แต่ก็มีความแตกต่างกันทางสรีระวิทยา รูปร่าง อย่างเห็นได้ชัดเจน จากการศึกษาทางด้านชีวภาพโมเลกุลพบว่า ควายปลักมีจำนวนโครโมโซม 24 คู่ ส่วนควายแม่น้ำจะจำนวนโครโมโซม 25 คู่ และสามารถผสมข้ามพันธุ์ระหว่างทั้งสองชนิดนี้ได้ [10]

ควายปลัก

เลี้ยงกันในประเทศไทย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม พม่า กัมพูชา และลาว เลี้ยงเพื่อใช้แรงงานในไร่นา เพื่อปลูกข้าวและทำไร่ และเมื่อกระบืออายุมากขึ้นก็จะส่งเข้าโรงฆ่าเพื่อใช้เนื้อเป็นอาหาร ชอบนอนแช่ปลัก มีรูปร่างล่ำสัน ผิวหนังมีสีเทาเข้มเกือบดำอาจมีสีขาวเผือก มีขนเล็กน้อย ลำตัวหนาลึก ท้องใหญ่ หัวยาวแคบ เขามีลักษณะแบบโค้งไปข้างหลัง หน้าสั้น หน้าผากแบบราบ ตานูนเด่นชัด ช่วงระหว่างรูจมูกทั้งสองข้างกว้าง ขาทั้ง 4 สีขาวแก่หรือสีเทาคล้ายใส่ถุงเท้าสีขาว คอยาวและบริเวณใต้คอจะมีขนขาวเป็นรูปตัววี (chevlon) หัวไหล่และอกนูนเห็นชัดเจน

ควายแม่น้ำ

พบในประเทศอินเดีย ปากีสถาน อียิปต์ ประเทศในยุโรปตอนใต้และยุโรปตะวันออก ให้นมมากและเลี้ยงไว้เพื่อรีดนม ไม่ชอบลงแช่โคลน แต่จะชอบน้ำสะอาด มีหลายสายพันธุ์ เช่น พันธุ์มูร่าห์ นิลิ ราวี เมซานี เซอติ และเมดิเตอร์เรเนียน เป็นต้น กระบือประเภทนี้จะมีขนาดใหญ่ รูปร่างแข็งแรง ลักษณะทั่วไปจะมีผิวหนังสีดำ หัวสั้น หน้าผากนูน เขาสั้น และบิดม้วนงอ ส่วนลำตัวจะลึกมาก มีขนาดเต้านมใหญ่

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 Cockrill, W. R. (1977). The water buffalo (PDF). Rome: Animal Production and Health Series No. 4. Food and Agriculture Organization of the United Nations. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-06-16. สืบค้นเมื่อ 2022-06-04.
  2. Cockrill, W. R., บ.ก. (1974). The husbandry and health of the domestic buffalo. Rome: Food and Agriculture Organization of the United Nations.
  3. Lau, C. H.; Drinkwater, R. D.; Yusoff, K.; Tan, S. G.; Hetzel, D. J. S.; Barker, J. S. F. (1998). "Genetic diversity of Asian water buffalo (Bubalus bubalis): mitochondrial DNA D-loop and cytochrome b sequence variation" (PDF). Animal Genetics. 29 (4): 253–264. doi:10.1046/j.1365-2052.1998.00309.x. PMID 9745663.
  4. 4.0 4.1 Zhang, Y.; Colli, L. & Barker, J. S. F. (2020). "Asian water buffalo: domestication, history and genetics". Animal Genetics. 51 (2): 177–191. doi:10.1111/age.12911. PMID 31967365.
  5. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Liu2004
  6. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ yang
  7. McIntosh, J. (2008). The Ancient Indus Valley: New Perspectives. Santa Barabara: ABC-CLIO. ISBN 9781576079072.
  8. Khan, G., Church, S. K., Harding, R., Lunde, P., McIntosh, J., Stone, C. (2011). The First Civilizations in Contact: Mesopotamia and the Indus เก็บถาวร 2019-04-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. The Civilizations in Contact Project, Faculty of Asian and Middle Eastern Studies, University of Cambridge.
  9. Scherf, B. D. (2000). World watch list for domestic animal diversity. Third edition. Food and Agriculture Organization of the United Nations, Rome.
  10. พันธุ์กระบือ เก็บถาวร 2007-11-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน กรมปศุสัตว์

แหล่งข้อมูลอื่น

แม่แบบ:AmCyc Poster