ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระยาฤทธิอัคเนย์ (สละ เอมะศิริ)"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 8: บรรทัด 8:
หลังจากนั้นแล้ว พระยาฤทธิอัคเนย์ ได้ถูกแต่งตั้งเป็น[[รายนามรัฐมนตรีของไทยที่ไม่ได้ประจำกระทรวง|คณะกรรมการราษฎร]] ซึ่งถือได้ว่าเป็นคณะรัฐมนตรีคณะแรกของประเทศไทย โดยมี [[พระยามโนปกรณ์นิติธาดา]] เป็น[[นายกรัฐมนตรีไทย|นายกรัฐมนตรี]]
หลังจากนั้นแล้ว พระยาฤทธิอัคเนย์ ได้ถูกแต่งตั้งเป็น[[รายนามรัฐมนตรีของไทยที่ไม่ได้ประจำกระทรวง|คณะกรรมการราษฎร]] ซึ่งถือได้ว่าเป็นคณะรัฐมนตรีคณะแรกของประเทศไทย โดยมี [[พระยามโนปกรณ์นิติธาดา]] เป็น[[นายกรัฐมนตรีไทย|นายกรัฐมนตรี]]


ในวันที่ [[1 เมษายน]] [[พ.ศ. 2476]] ได้[[รัฐประหารในประเทศไทย เมษายน พ.ศ. 2476|เกิดความขัดแย้งกันเองในหมู่คณะราษฎร]] โดยที่ พระยามโนปกรณ์นิติธาดา ใช้อำนาจนายกรัฐมนตรีปิด[[รัฐสภาไทย|รัฐสภา]] และงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา พระยาทรงสุรเดช 1 ใน 4 ทหารเสือที่มีบทบาทสูงสุดในการปฏิวัติ มีความขัดแย้งกับคณะราษฎรฝ่ายทหารคนอื่น ๆ จึงชักชวนให้พระยาฤทธิอัคเนย์ และพระประศาสน์พิทยายุทธ ลาออกจากตำแหน่ง ซึ่งความขัดแย้งนี้ ต่อมาได้เป็นปฐมเหตุของการ[[รัฐประหารในประเทศไทย มิถุนายน พ.ศ. 2476|รัฐประหารในวันที่ 20 มิถุนายน]] ปีเดียวกัน<ref>[http://www.dailyworldtoday.com/newsblank.php?news_id=7830 จากรัฐประหาร20มิถุนายน2476สู่ความร้าวฉานในคณะราษฎร จาก[[โลกวันนี้]]]</ref>
ในวันที่ [[1 เมษายน]] [[พ.ศ. 2476]] ได้[[รัฐประหารในประเทศไทย เมษายน พ.ศ. 2476|เกิดความขัดแย้งกันเองในหมู่คณะราษฎร]] โดยที่ พระยามโนปกรณ์นิติธาดา ใช้อำนาจนายกรัฐมนตรีปิด[[รัฐสภาไทย|รัฐสภา]] และงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา พระยาทรงสุรเดช 1 ใน 4 ทหารเสือที่มีบทบาทสูงสุดในการปฏิวัติ มีความขัดแย้งกับคณะราษฎรฝ่ายทหารคนอื่น ๆ จึงชักชวนให้พระยาฤทธิอัคเนย์ และพระประศาสน์พิทยายุทธ ลาออกจากตำแหน่ง ซึ่งความขัดแย้งนี้ ต่อมาได้เป็นปฐมเหตุของการ[[รัฐประหารในประเทศไทย มิถุนายน พ.ศ. 2476|รัฐประหารในวันที่ 20 มิถุนายน]] ปีเดียวกัน<ref>[http://www.dailyworldtoday.com/newsblank.php?news_id=7830 จากรัฐประหาร20มิถุนายน2476สู่ความร้าวฉานในคณะราษฎร จาก[[โลกวันนี้]]]</ref>

ในรัฐบาลที่มี พระยาพหลพลพยุหเสนา เป็นนายกรัฐมนตรี พระยาฤทธิอัคเนย์ ได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการ[[กระทรวงเกษตราธิการ]] ถึง 2 สมัย


ต่อมาเมื่อ จอมพล [[ป.พิบูลสงคราม]] ขึ้นสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และในปี [[พ.ศ. 2482]] เกิดกรณี[[กบฏพระยาทรงสุรเดช]] ได้มีการกำจัดนักการเมืองและทหารฝ่ายที่อยู่ตรงข้าม จอมพล ป. พระยาฤทธิอัคเนย์ ได้ถูกแต่งตั้งให้เป็นกรรมการในคณะศาลพิเศษที่ถูกตั้งขึ้นมาพิจารณาในกรณีนี้ และได้ถูกแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอธิบดี[[กรมราชทัณฑ์]]ด้วย แต่ต่อมา ก็ต้องลี้ภัยการเมืองไปพำนักอยู่ยังเมือง[[ปีนัง]] [[ประเทศมาเลเซีย]] ด้วยมีรางวัลนำจับจากทางรัฐบาลเป็นจำนวนเงิน 10,000 บาท ซึ่งพระยาฤทธิอัคเนย์ก็ได้หลบภัยการเมืองจนสิ้นสุด[[สงครามโลกครั้งที่ 2]]
ต่อมาเมื่อ จอมพล [[ป.พิบูลสงคราม]] ขึ้นสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และในปี [[พ.ศ. 2482]] เกิดกรณี[[กบฏพระยาทรงสุรเดช]] ได้มีการกำจัดนักการเมืองและทหารฝ่ายที่อยู่ตรงข้าม จอมพล ป. พระยาฤทธิอัคเนย์ ได้ถูกแต่งตั้งให้เป็นกรรมการในคณะศาลพิเศษที่ถูกตั้งขึ้นมาพิจารณาในกรณีนี้ และได้ถูกแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอธิบดี[[กรมราชทัณฑ์]]ด้วย แต่ต่อมา ก็ต้องลี้ภัยการเมืองไปพำนักอยู่ยังเมือง[[ปีนัง]] [[ประเทศมาเลเซีย]] ด้วยมีรางวัลนำจับจากทางรัฐบาลเป็นจำนวนเงิน 10,000 บาท ซึ่งพระยาฤทธิอัคเนย์ก็ได้หลบภัยการเมืองจนสิ้นสุด[[สงครามโลกครั้งที่ 2]]
บรรทัด 25: บรรทัด 27:
{{คณะรัฐมนตรีคณะที่ 2 ของไทย}}
{{คณะรัฐมนตรีคณะที่ 2 ของไทย}}
{{รัฐมนตรีของไทยที่ไม่ได้ประจำกระทรวง}}
{{รัฐมนตรีของไทยที่ไม่ได้ประจำกระทรวง}}
{{รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์}}

{{เรียงลำดับ|สละ เอมะศิริ}}
{{เรียงลำดับ|สละ เอมะศิริ}}
{{เกิดปี|2432}}{{ตายปี|2509}}
{{เกิดปี|2432}}{{ตายปี|2509}}
บรรทัด 32: บรรทัด 34:
[[หมวดหมู่:ทหารบกชาวไทย]]
[[หมวดหมู่:ทหารบกชาวไทย]]
[[หมวดหมู่:บรรดาศักดิ์ชั้นพระยา|ฤทธิ์อัคเนย์]]
[[หมวดหมู่:บรรดาศักดิ์ชั้นพระยา|ฤทธิ์อัคเนย์]]
[[หมวดหมู่:รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ไทย]]
[[หมวดหมู่:บุคคลจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า]]
[[หมวดหมู่:บุคคลจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า]]
[[หมวดหมู่:สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ม.]]
[[หมวดหมู่:สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ม.]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 07:59, 1 สิงหาคม 2555

ไฟล์:Phraya Litakaney.jpg
พระยาฤทธิอัคเนย์

พันเอก พระยาฤทธิอัคเนย์ สมาชิกคณะราษฎรผู้ทำการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อ พ.ศ. 2475 จัดเป็น 1 ใน "4 ทหารเสือ" คือ ทหารบกชั้นผู้ใหญ่ เป็นระดับผู้บังคับบัญชาและคุมกำลังพล ซึ่งประกอบด้วย พระยาพหลพลพยุหเสนา, พระยาทรงสุรเดช, พระยาฤทธิอัคเนย์ และพระประศาสน์พิทยายุทธ

พระยาฤทธิอัคเนย์ มีชื่อเดิมว่า สละ เอมะศิริ เกิดเมื่อวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2432 เป็นบุตรชายของพระยามนูสารศาสตรบัญชา (ศิริ เอมะศิริ) และ คุณหญิงเหลือบ เอมะศิริ

พระยาฤทธิอัคเนย์เป็นนายทหารปืนใหญ่ ในช่วงการเปลี่ยนแปลงการปกครอง มีตำแหน่งเป็น ผู้บังคับการกรมทหารปืนใหญ่ที่ 1 รักษาพระองค์ (ป. 1 รอ.) และถือเป็นผู้เดียวที่มีกองกำลังพลในบังคับบัญชา [1] ในเช้าตรู่ของวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ที่เป็นวันเปลี่ยนแปลงการปกครองนั้น พระยาฤทธิอัคเนย์ได้ออกคำสั่งให้ทหารปืนใหญ่ในบังคับบัญชาตนเองรวมพลกับทหารม้าจากกรมทหารม้าที่ 1 รักษาพระองค์ (ม. 1 รอ.) และต้อนขึ้นรถบรรทุกเพื่อไปยังลานพระบรมรูปทรงม้าเพื่อลวงเอากำลังมาเปลี่ยนแปลงการปกครอง ตามแผนของพระยาทรงสุรเดช จึงทำให้แผนการปฏิวัติสำเร็จลุล่วงด้วยดี

หลังจากนั้นแล้ว พระยาฤทธิอัคเนย์ ได้ถูกแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการราษฎร ซึ่งถือได้ว่าเป็นคณะรัฐมนตรีคณะแรกของประเทศไทย โดยมี พระยามโนปกรณ์นิติธาดา เป็นนายกรัฐมนตรี

ในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2476 ได้เกิดความขัดแย้งกันเองในหมู่คณะราษฎร โดยที่ พระยามโนปกรณ์นิติธาดา ใช้อำนาจนายกรัฐมนตรีปิดรัฐสภา และงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา พระยาทรงสุรเดช 1 ใน 4 ทหารเสือที่มีบทบาทสูงสุดในการปฏิวัติ มีความขัดแย้งกับคณะราษฎรฝ่ายทหารคนอื่น ๆ จึงชักชวนให้พระยาฤทธิอัคเนย์ และพระประศาสน์พิทยายุทธ ลาออกจากตำแหน่ง ซึ่งความขัดแย้งนี้ ต่อมาได้เป็นปฐมเหตุของการรัฐประหารในวันที่ 20 มิถุนายน ปีเดียวกัน[2]

ในรัฐบาลที่มี พระยาพหลพลพยุหเสนา เป็นนายกรัฐมนตรี พระยาฤทธิอัคเนย์ ได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ ถึง 2 สมัย

ต่อมาเมื่อ จอมพล ป.พิบูลสงคราม ขึ้นสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และในปี พ.ศ. 2482 เกิดกรณีกบฏพระยาทรงสุรเดช ได้มีการกำจัดนักการเมืองและทหารฝ่ายที่อยู่ตรงข้าม จอมพล ป. พระยาฤทธิอัคเนย์ ได้ถูกแต่งตั้งให้เป็นกรรมการในคณะศาลพิเศษที่ถูกตั้งขึ้นมาพิจารณาในกรณีนี้ และได้ถูกแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมราชทัณฑ์ด้วย แต่ต่อมา ก็ต้องลี้ภัยการเมืองไปพำนักอยู่ยังเมืองปีนัง ประเทศมาเลเซีย ด้วยมีรางวัลนำจับจากทางรัฐบาลเป็นจำนวนเงิน 10,000 บาท ซึ่งพระยาฤทธิอัคเนย์ก็ได้หลบภัยการเมืองจนสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2

เมื่อ นายควง อภัยวงศ์ ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีต่อจากจอมพล ป. หลังสงคราม นายควงได้ออกพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมนักโทษการเมือง เมื่อปี พ.ศ. 2489 พระยาฤทธิอัคเนย์จึงได้เดินทางกลับสู่ประเทศไทย โดยปลีกตัวไปปฏิบัติธรรม ศึกษาพุทธศาสนา ที่วัดบางปิ้ง จังหวัดสมุทรปราการ โดยไม่ยุ่งเกี่ยวกับเรื่องราวทางโลกและการเมืองใด ๆ อีก จนกระทั่งถึงแก่อนิจกรรมด้วยโรคมะเร็งปอด เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2509 เวลา 02.55 น. ณ โรงพยาบาลศิริราช สิริอายุได้ 74 ปี

ด้านชีวิตครอบครัว พระยาฤทธิอัคเนย์สมรสกับคุณหญิงอิน ฤทธิอัคเนย์ เมื่อ พ.ศ. 2455 มีบุตรธิดารวมทั้งสิ้น 7 คน

พิธีพระราชทานเพลิงศพพระยาฤทธิอัคเนย์ มีขึ้น ณ เมรุหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2510[3]

อ้างอิง

  1. นักเรียนนายร้อยไทยในเยอรมัน ยุค ไกเซอร์ โดย สรศัลย์ แพ่งสภา
  2. จากรัฐประหาร20มิถุนายน2476สู่ความร้าวฉานในคณะราษฎร จากโลกวันนี้
  3. หนังสือ อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พันเอก พระยาฤทธิอัคเนย์ ป.ม. ณ เมรุหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส 25 พฤษภาคม 2510