ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สุเทพ เทือกสุบรรณ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Octahedron80 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 2: บรรทัด 2:
| name = สุเทพ เทือกสุบรรณ
| name = สุเทพ เทือกสุบรรณ
| image = Suthep Thaugsuban.jpg
| image = Suthep Thaugsuban.jpg
| order = [[รายนามรองนายกรัฐมนตรีของไทย|รองนายกรัฐมนตรี]] ด้านความมั่นคง <br> และผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการ <br> แก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.)
| order = [[รายนามรองนายกรัฐมนตรีของไทย|รองนายกรัฐมนตรี]] ด้านความมั่นคง <br> และผู้กำกับการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน
| primeminister = [[อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ|นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ]]
| primeminister = [[อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ|นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ]]
| term_start = [[20 ธันวาคม]] [[พ.ศ. 2551]]
| term_start = [[20 ธันวาคม]] [[พ.ศ. 2551]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 07:27, 17 เมษายน 2553

สุเทพ เทือกสุบรรณ
รองนายกรัฐมนตรี ด้านความมั่นคง
และผู้กำกับการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน
เริ่มดำรงตำแหน่ง
20 ธันวาคม พ.ศ. 2551
นายกรัฐมนตรีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ก่อนหน้าสมพงษ์ อมรวิวัฒน์
ชวรัตน์ ชาญวีรกูล
สนั่น ขจรประศาสน์
โอฬาร ไชยประวัติ
ถัดไป-
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
ดำรงตำแหน่ง
14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 – 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543
นายกรัฐมนตรีนายชวน หลีกภัย
ก่อนหน้าสุวัจน์ ลิปตพัลลภ
ถัดไปสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด7 กรกฎาคม พ.ศ. 2492 (74 ปี)
สุราษฎร์ธานี ประเทศไทย
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองพรรคประชาธิปัตย์
คู่สมรสนางศรีสกุล พร้อมพันธุ์

นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ และ ส.ส.สุราษฎร์ธานี หลายสมัย เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และรัฐมนตรีช่วยว่าการหลายกระทรวง

ในวัยหนุ่มนายสุเทพเคยดำรงตำแหน่ง กำนันตำบลท่าสะท้อน อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ด้วยวุฒิการศึกษา ระดับปริญญาโท จากสหรัฐอเมริกา ขณะที่ประเทศไทยในสมัยนั้น รัฐมนตรีบางกระทรวงยังจบแค่ชั้น ป. 4 ทำให้จนถึงขณะนี้ บางครั้งยังมีคนเรียกนายสุเทพว่า "กำนันสุเทพ"

นายสุเทพ เทือกสุบรรณ มีชื่อเรียกเล่นๆ จากสื่อมวลชนโดยทั่วไปว่า "เทพเทือก" ซึ่งเกิดจากการย่อ ชื่อและนามสกุล "สุเทพ เทือกสุบรรณ" รวมเข้าด้วยกันนั่นเอง

รศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ แกนนำพรรครวมใจไทยชาติพัฒนา อดีตรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เคยกล่าวถึง นายสุเทพ ไว้ในหนังสือ พิศการเมือง ความว่า

"คุณสุเทพเป็นคนที่มีความคิดก้าวหน้าที่สุดคนหนึ่ง เพียงแต่คนภายนอกอาจจะสัมผัสถึงได้ยาก กว่าคนภายใน ความจริงถ้า เสธ. และคุณสุเทพ สามารถจับมือกันได้ พรรคประชาธิปัตย์จะเข้มแข็ง จนเปลี่ยนแปลงการเมืองไปสู่มิติใหม่ๆ ได้อีกมาก"

ต่อมาในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 พรรคประชาธิปัตย์ประกาศจัดตั้ง คณะรัฐมนตรีเงา หรือ ครม.เงา ขึ้น นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ได้รับเลือกจากที่ประชุมพรรค ให้ทำหน้าที่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเงา

ปลายปี พ.ศ. 2552 ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยให้ยุบพรรคพรรคพลังประชาชน ส่งผลให้รัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ สิ้นสุดลง นายสุเทพ มีบทบาทสำคัญในการประสานงานให้เกิดการเปลี่ยนขั้วทางการเมือง ทำให้อดีตพรรคร่วมรัฐบาลสมชาย รวมถึง สส.กลุ่มเพื่อนเนวิน เปลี่ยนขั้วมาสนับสนุนนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และนายสุเทพได้ดำรงตำแหน่ง รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง

ประวัติทั่วไป

"นายสุเทพ เทือกสุบรรณ" เกิดวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2492 เป็นบุตรนายจรัส เทือกสุบรรณกำนันตำบลท่าสะท้อน อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี และนางละม้าย เทือกสุบรรณ มีพี่น้องท้องเดียวกัน 7 คนคือ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ นางศิริรัตน์กับนางรัชนี (เป็นคู่แฝด) นายเชน เทือกสุบรรณ นางจิราภรณ์ เทือกสุบรรณ นายธานี เทือกสุบรรณ และนางกิ่งกาญจน์ เทือกสุบรรณ

นายสุเทพสำเร็จการศึกษา ระดับปริญญาตรี ศิลปศาสตรบัณฑิต (รัฐศาสตร์) จาก มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ. 2515 และสำเร็จการศึกษา ระดับปริญญาโท M.A. Political Sciences จาก Middle Tennesse State University ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อปี พ.ศ. 2518 หลังจากสำเร็จการศึกษา ระดับปริญญาโทกลับมา นายสุเทพได้ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น กำนันตำบลท่าสะท้อน ต่อจากกำนันจรัส ผู้เป็นบิดา และชนะเลือกตั้ง ทำให้ได้เป็นกำนัน ขณะมีอายุเพียงประมาณ 26 ปี โดยมีวุฒิการศึกษาระดับ ปริญญาโทจากเมืองนอก ขณะที่ประเทศไทยในช่วงนั้น รัฐมนตรีบางกระทรวง ยังจบการศึกษา แค่ประถมศึกษาปีที่ 4[ต้องการอ้างอิง]

ต่อมานายสุเทพตัดสินใจลงเล่นการเมืองระดับประเทศ โดยลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ทำให้ตำแหน่งกำนันตำบลท่าสะท้อนว่างลง และมีน้าชายของนายสุเทพมาดำรงตำแหน่งต่อ และตามด้วย นายธานี เทือกสุบรรณ ผู้เป็นน้องชายของนายสุเทพ มาดำรงตำแหน่งต่ออีก 10 ปี จนลาออก เพื่อลงเล่นการเมืองระดับจังหวัด ในที่สุดกำนันจรัส บิดาของนายสุเทพ ได้กลับเข้าดำรงตำแหน่ง กำนันตำบลท่าสะท้อน อีกครั้งหนึ่งด้วยวัย 76 ปี โดยได้รับเลือกตั้งอย่างไร้คู่แข่งขัน กลายเป็นเจ้าของสถิติ กำนันผู้มีอายุสูงที่สุดในประเทศไทย[ต้องการอ้างอิง]

ปัจจุบันนายสุเทพ เทือกสุบรรณ สมรสกับ นางศรีสกุล พร้อมพันธุ์ ซึ่งเป็นน้องสาวของนายนิพนธ์ พร้อมพันธ์ และอดีตภรรยาของนายพรเทพ เตชะไพบูลย์ มีบุตรชาย 1 คน บุตรสาว 2 คน คือ นายแทน เทือกสุบรรณ, น.ส.น้ำตาล เทือกสุบรรณ และ น.ส.น้ำทิพย์ เทือกสุบรรณ [1]

การทำงานการเมืองระดับประเทศ

นายสุเทพ เข้าสู่วงการเมืองระดับประเทศ ได้เป็น ส.ส.จังหวัดสุราษฎร์ธานี สมัยแรกเมื่อปี พ.ศ. 2522 และหลังจากนั้นสามารถชนะเลือกตั้ง ได้เป็น ส.ส. อย่างต่อเนื่องถึง 10 สมัย และดำรงตำแหน่งสำคัญระดับรัฐมนตรี คือ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 2 สมัย และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม

สมัยเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายสุเทพถูกพรรคฝ่ายค้านคือ พรรคชาติไทย ที่มีนายบรรหาร ศิลปอาชาเป็นหัวหน้าพรรค เปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ กรณีเกิดการทุจริตในการแจกที่ดินทำกินแก่เกษตรกร หรือที่เรียกกันว่า สปก.4-01 โดยในครั้งนั้นพรรคชาติไทยมี นายเนวิน ชิดชอบ เป็นกำลังสำคัญนำอภิปรายใน สภาผู้แทนราษฎร ซึ่งส่งผลให้ นายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรีต้องตัดสินใจ ยุบสภา ก่อนที่จะมีการลงมติ และจัดให้มีการ เลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2538 ซึ่งผลการเลือกตั้ง พรรคชาติไทย ได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล โดย นายบรรหาร ศิลปอาชา ได้ขึ้นดำรงตำแหน่งเป็น นายกรัฐมนตรี คนที่ 21 ของประเทศไทย ส่วนนายเนวินได้ขึ้นดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรี เป็นครั้งแรกในชีวิต ด้วยตำแหน่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง

แม้ว่านับตั้งแต่ถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจในปี พ.ศ. 2538 นายสุเทพ ไม่เคยถูกฟ้องร้องดำเนินคดีในชั้นศาลเกี่ยวกับกรณี สปก.4-01 แต่อย่างใด (แต่ศาลฎีกาพิพากษาสั่งให้ ทศพร เทพบุตร ออกจากที่ดินหลวงที่ยึดครองเป็นสมบัติส่วนตัวนานถึง 12 ปี) แต่ยังคงมีการนำกรณีดังกล่าว มาอ้างอิงเพื่อโจมตีทางการเมืองต่อนายสุเทพ และพรรคประชาธิปัตย์มาโดยตลอด

นายสุเทพ เคยดำรงตำแหน่งเป็น รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ระหว่างปี พ.ศ. 2542-2546 ดำรงตำแหน่ง กรรมการสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ ระหว่างปี พ.ศ. 2546-2548 และดำรงตำแหน่ง เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 จนถึงปัจจุบัน

หลัง การเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2548 พรรคประชาธิปัตย์ ได้เปลี่ยนแปลงโครงสร้างผู้บริหารพรรคครั้งใหญ่ นายสุเทพได้รับเลือกเป็น เลขาธิการพรรค และพอดีกับมีบทบาทอย่างมากใน คดียุบพรรค โดยเป็นผู้รวบรวมพยานหลักฐานยื่นฟ้อง พรรคไทยรักไทย และต่อมาพรรคไทยรักไทยถูกวินิจฉัยให้ยุบพรรค โดยกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย 111 คนถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี

ประวัติการดำรงตำแหน่งทางการเมือง

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แหล่งข้อมูลอื่น

อ้างอิง

  1. http://www.prachathai.com/webboard/topic.php?id=682189
ก่อนหน้า สุเทพ เทือกสุบรรณ ถัดไป


สมพงษ์ อมรวิวัฒน์
ชวรัตน์ ชาญวีรกูล
สนั่น ขจรประศาสน์
โอฬาร ไชยประวัติ
ไฟล์:Seal Prime Minister of Thailand.png
รองนายกรัฐมนตรี (ครม. 59)
(20 ธันวาคม พ.ศ. 2551 – ปัจจุบัน)

แม่แบบ:คณะรัฐมนตรีเงาคณะที่ 1 ของไทย