พรรคไทยรักไทย
พรรคไทยรักไทย | |
---|---|
ผู้ก่อตั้ง | ทักษิณ ชินวัตร |
หัวหน้า | จาตุรนต์ ฉายแสง (รักษาการ) |
รองหัวหน้า | |
เลขาธิการ | วิเชษฐ์ เกษมทองศรี (รักษาการ) |
โฆษก | ศิธา ทิวารี |
นโยบาย | คิดใหม่ ทำใหม่ เพื่อไทยทุกคน (พ.ศ. 2544) ไทยรักไทย หัวใจคือประชาชน (พ.ศ. 2548) |
ก่อตั้ง | 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2541 |
ถูกยุบ | 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 (8 ปี 320 วัน) |
รวมตัวกับ | (หลังการเลือกตั้ง พ.ศ. 2544) พรรคความหวังใหม่ (สมาชิกส่วนใหญ่) พรรคชาติพัฒนา (พ.ศ. 2535) พรรคเสรีธรรม (พ.ศ. 2535) |
แยกจาก | พรรคพลังธรรม |
ถัดไป | พรรคพลังประชาชน (สมาชิกส่วนใหญ่) พรรคมัชฌิมาธิปไตย (กลุ่มมัชฌิมา) พรรคเพื่อแผ่นดิน พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา พรรคเพื่อไทย (บ้านเลขที่ 111) |
ที่ทำการ | เลขที่ 1770 (อาคารไอเอฟซีที) ถนนเพชรบุรี แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร |
อุดมการณ์ | ชาตินิยมใหม่[1] ลัทธิอิงสามัญชน[2][3] ปฏิรูปนิยม[4][5] เสรีนิยมใหม่[6][7][8] |
จุดยืน | ขวากลาง[9][10][11] |
สี | สีน้ำเงิน สีแดง |
เพลง | บทเพลงแห่งนโยบาย (พ.ศ. 2547) |
เว็บไซต์ | |
www.thairakthai.or.th (ปัจจุบันใช้การไม่ได้แล้ว) | |
การเมืองไทย รายชื่อพรรคการเมือง การเลือกตั้ง |
พรรคไทยรักไทย (ย่อ: ทรท. อังกฤษ: Thai Rak Thai Party) เป็นพรรคการเมืองไทยที่ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2541 ในช่วงเวลาสั้น ๆ พรรคไทยรักไทยชนะการเลือกตั้งทั่วไปสามครั้ง 8 เดือนหลังการรัฐประหารทำให้ทักษิณต้องลี้ภัย พรรคถูกยุบเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 โดยคณะตุลาการรัฐธรรมนูญเนื่องจากละเมิดกฎหมายเลือกตั้ง โดยกรรมการบริหารพรรคจำนวน 111 คน ถูกห้ามยุ่งเกี่ยวกับการเมืองเป็นเวลา 5 ปี[12] หลังจากพรรคไทยรักไทยถูกยุบ ทักษิณ ชินวัตร ได้มีบทบาทในการก่อตั้งพรรคพลังประชาชน และต่อมาพรรคพลังประชาชนถูกยุบอีก พรรคเพื่อไทย จึงมีบทบาททางการเมืองแทนพรรคไทยรักไทย
รายชื่อนายกรัฐมนตรี
[แก้]-
ทักษิณ ชินวัตร
(วาระ: 2544–2549)
ประวัติ
[แก้]พรรคไทยรักไทยจดทะเบียนเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2541 โดย ทักษิณ ชินวัตร นักธุรกิจโทรคมนาคม พร้อมผู้ร่วมก่อตั้งอีก 22 คนอาทิ สมคิด จาตุศรีพิทักษ์, ทนง พิทยะ, สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์, ร้อยตำรวจเอกปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์, พลเอกธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา และนายแพทย์พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช
พรรคไทยรักไทยใช้วิธีดึงตัวนักการเมืองหน้าเก่าจากพรรคต่างๆ เข้าร่วม จนทำให้พรรคไทยรักไทยกลายสภาพเป็นพรรคการเมืองขนาดใหญ่ในเวลาเพียงครึ่งปี โดยมี สส. เก่าอยู่แล้วประมาณ 130 คน ซึ่งสามารถแบ่งเป็นกลุ่มการเมืองได้ ไม่ว่าจะเป็น กลุ่มพลังธรรม – พลังไทย, กลุ่มวังน้ำเย็น, กลุ่มพรรคความหวังใหม่, กลุ่มพรรคชาติพัฒนา, กลุ่มพรรคชาติไทย, กลุ่มพรรคกิจสังคม, และกลุ่มพรรคประชาธิปัตย์ เป็นต้น[13]
พรรคไทยรักไทยมีนโยบายประชานิยม ดึงดูดเกษตรกรที่เป็นหนี้ซึ่งเป็นผลมาจากวิกฤตการณ์การเงินในเอเชีย พ.ศ. 2540 โดยสัญญาว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่ง พรรคยังเข้าถึงหมู่บ้านในชนบทและธุรกิจที่กำลังดิ้นรน นโยบายของพรรคไทยรักไทย ได้แก่ โครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค ขยายเวลาการพักชำระหนี้สำหรับเกษตรกร กองทุนหมู่บ้าน และโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ รวมไปถึงการประกาศสงครามกับสิ่งชั่วร้าย 3 ประการ ได้แก่ สงครามความยากจน สงครามยาเสพติดและสงครามคอร์รัปชั่น
อย่างไรก็ตาม เขาละเลยพื้นที่ชนบทบางแห่งและจังหวัดทางภาคใต้ เนื่องจากทักษิณระบุว่าเขาไม่มีเหตุผลที่จะต้องทำอะไรให้กับพื้นที่ที่ไม่ได้ลงคะแนนเสียงให้เขา
ผู้ร่วมก่อตั้งพรรคไทยรักไทย
[แก้]- การุญ จันทรางศุ
- กิตติ ลิ่มสกุล
- กันตธีร์ ศุภมงคล
- คณิต ณ นคร
- ณรงค์ ปัทมะเสวี
- ทักษิณ ชินวัตร
- พลเอกธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา
- ธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์
- นายแพทย์ประจวบ อึ้งภากรณ์
- ประชา คุณะเกษม
- ประสิทธิ์ มะหะหมัด
- ร้อยตำรวจเอกปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์
- ปภัสรา ตรังคิณีนาถ
- พันศักดิ์ วิญญรัตน์
- พันธ์เลิศ ใบหยก
- ภูวนิดา คุนผลิน
- วิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์
- วีระชัย วีระเมธีกุล
- สมคิด จาตุศรีพิทักษ์
- สารสิน วีระผล
- สิริกร (ลีนุตพงษ์) มณีรินทร์
- คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์
- สุธรรม แสงประทุม
- สุวรรณ วลัยเสถียร
- สำราญ ภูอนันตานนท์
บุคลากรในพรรค
[แก้]หัวหน้าพรรค
[แก้]ลำดับ | รูป | รายนาม | เริ่มวาระ | สิ้นสุดวาระ | ตำแหน่งสำคัญ |
1 | ทักษิณ ชินวัตร (26 กรกฎาคม พ.ศ. 2492 — ปัจจุบัน) |
14 กรกฎาคม พ.ศ. 2541 | 2 ตุลาคม พ.ศ. 2549 |
| |
– | จาตุรนต์ ฉายแสง (รักษาการ) (1 มกราคม พ.ศ. 2499 — ปัจจุบัน) |
2 ตุลาคม พ.ศ. 2549 | 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 |
เลขาธิการพรรค
[แก้]ลำดับ | รูป | รายนาม | เริ่มวาระ | สิ้นสุดวาระ | ตำแหน่งสำคัญ |
1 | ร้อยตำรวจเอก ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ | 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2541 | 27 มกราคม พ.ศ. 2545 | ||
2 | สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ | 27 มกราคม พ.ศ. 2545 | 2 ตุลาคม พ.ศ. 2549 |
| |
– | วิเชษฐ์ เกษมทองศรี (รักษาการ) |
2 ตุลาคม พ.ศ. 2549 | 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 |
กรรมการบริหารพรรค
[แก้]ชุดที่ขอจดทะเบียนพรรคการเมือง
[แก้]อันดับ | ชื่อ | ตำแหน่ง[14] |
---|---|---|
1 | ทักษิณ ชินวัตร | หัวหน้าพรรค |
2 | คณิต ณ นคร | รองหัวหน้าพรรค |
3 | ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ | เลขาธิการพรรค |
4 | พันธุ์เลิศ ใบหยก | รองเลขาธิการพรรค |
5 | สิริกร มณีรินทร์ | เหรัญญิกพรรค |
6 | กันตธีร์ ศุภมงคล | โฆษกพรรค |
7 | สารสิน วีระผล | กรรมการบริหารพรรค |
8 | สุวรรณ วลัยเสถียร | กรรมการบริหารพรรค |
9 | ปภัสรา ตรังคิณีนาถ | กรรมการบริหารพรรค |
ชุดเดิม 119 คน
[แก้]- ทักษิณ ชินวัตร
- คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์
- จาตุรนต์ ฉายแสง
- ไชยยศ สะสมทรัพย์
- พลเอก ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา
- เนวิน ชิดชอบ
- ประชา มาลีนนท์
- ประยุทธ มหากิจศิริ
- ปองพล อดิเรกสาร
- พงศ์เทพ เทพกาญจนา
- พินิจ จารุสมบัติ
- โภคิน พลกุล
- เยาวภา วงศ์สวัสดิ์
- วันมูหะมัดนอร์ มะทา
- สนธยา คุณปลื้ม
- สมคิด จาตุศรีพิทักษ์
- สมชาย สุนทรวัฒน์
- สมศักดิ์ เทพสุทิน
- สรอรรถ กลิ่นประทุม
- สุชาติ ตันเจริญ
- สุรเกียรติ์ เสถียรไทย
- สุวัจน์ ลิปตพัลลภ
- สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ
- นายแพทย์ พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช
- ชานนท์ สุวสิน
- พงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล
- วิเชษฐ์ เกษมทองศรี
- ภูมิธรรม เวชยชัย
- สิริกร มณีรินทร์
- นาวาอากาศตรี ศิธา ทิวารี
- กร ทัพพะรังสี
- กอบกุล นพอมรบดี
- กันตธีร์ ศุภมงคล
- จำลอง ครุฑขุนทด
- ฉัตรชัย เอียสกุล
- พลตำรวจเอก ชิดชัย วรรณสถิตย์
- ชูชีพ หาญสวัสดิ์
- บุญชู ตรีทอง
- ประจวบ ไชยสาส์น
- นายแพทย์ เปรมศักดิ์ เพียยุระ
- เทวัญ ลิปตพัลลภ
- พวงเพ็ชร ชุนละเอียด
- พันธุ์เลิศ ใบหยก
- ระวี หิรัญโชติ
- รุ่งเรือง พิทยศิริ
- ลดาวัลลิ์ วงศ์ศรีวงศ์
- วราเทพ รัตนากร
- วิเศษ จูภิบาล
- วิชิต ปลั่งศรีสกุล
- สฤต สันติเมทนีดล
- สุขวิช รังสิตพล
- สุภรณ์ อัตถาวงศ์
- นายแพทย์ สุชัย เจริญรัตนกุล
- สุนัย เศรษฐบุญสร้าง
- สุรนันทน์ เวชชาชีวะ
- สุริยา ลาภวิสุทธิสิน
- สุวิทย์ คุณกิตติ
- เสนาะ เทียนทอง
- เสริมศักดิ์ พงษ์พานิช
- อดิศร เพียงเกษ
- อดิศัย โพธารามิก
- อนุทิน ชาญวีรกูล
- เอกพร รักความสุข
- เกรียง กัลป์ตินันท์
- เกษม รุ่งธนเกียรติ
- นายแพทย์ จาตุรงค์ เพ็งนรพัฒน์
- ชูชัย มุ่งเจริญพร
- ทศพล สังขทรัพย์
- ทองหล่อ พลโคตร
- ธีระยุทธ วาณิชชัง
- ประชาธิปไตย คำสิงห์นอก
- ประสิทธิ์ จันทาทอง
- ปรีชา เลาหพงศ์ชนะ
- ว่าที่ร้อยตรี ไพโรจน์ สุวรรณฉวี
- นายแพทย์ วิชัย ชัยจิตวณิชกุล
- วิฑูรย์ วงษ์ไกร
- วุฒิชัย สงวนวงศ์ชัย
- ศักดิ์สยาม ชิดชอบ
- สมศักดิ์ คุณเงิน
- สาคร พรหมภักดี
- อรดี สุทธิศรี
- อรรถสิทธิ์ (คันคาย) ทรัพยสิทธิ์
- เอกภาพ พลซื่อ
- ชาญชัย ปทุมารักษ์
- ฐานิสร์ เทียนทอง
- ธานี ยี่สาร
- บุญพันธ์ แขวัฒนะ
- พงษ์ศักดิ์ วรปัญญา
- พิมพา จันทร์ประสงค์
- ยงยศ อดิเรกสาร
- ลิขิต หมู่ดี
- ว่าที่ร้อยโท นายแพทย์ วัลลภ ยังตรง
- สิทธิชัย กิตติธเนศวร
- สุรสิทธิ์ นิธิวุฒิวรรักษ์
- อนุชา นาคาศัย
- อุดม ไกรวัตนุสสรณ์
- นายแพทย์ ทศพร เสรีรักษ์
- ปกรณ์ บูรณุปกรณ์
- ประทวน เขียวฤทธิ์
- พินิจ จันทรสุรินทร์
- ไพโรจน์ โล่ห์สุนทร
- ไพศาล จันทรภักดี
- มยุรา มนะสิการ
- เรืองวิทย์ ลิกค์
- วิสาร เตชะธีราวัฒน์
- วีระกร คำประกอบ
- พันตำรวจโท อดุลย์ บุญเสรฐ
- กฤษ ศรีฟ้า
- ประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์
- ลิขิต ธีรเวคิน
- วัยโรจน์ พิพิธภักดี
- วีระ มุสิกพงศ์
- สุธรรม แสงประทุม
- สุรเชษฐ์ ดวงสอดศรี
- หม่อมราชวงศ์ดำรงดิศ ดิศกุล
- ปวีณา หงสกุล
- พิมล ศรีวิกรม์
- ลลิตา ฤกษ์สำราญ
- ศันสนีย์ นาคพงศ์
ชุดก่อนการยุบพรรค
[แก้]อันดับ | ชื่อ | ตำแหน่ง |
---|---|---|
1 | จาตุรนต์ ฉายแสง | รักษาการหัวหน้าพรรค |
2 | คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ | รองหัวหน้าพรรค |
3 | ไชยยศ สะสมทรัพย์ | รองหัวหน้าพรรค |
4 | พลเอก ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา | รองหัวหน้าพรรค |
5 | เนวิน ชิดชอบ | รองหัวหน้าพรรค |
6 | ประชา มาลีนนท์ | รองหัวหน้าพรรค |
7 | พงศ์เทพ เทพกาญจนา | รองหัวหน้าพรรค |
8 | โภคิน พลกุล | รองหัวหน้าพรรค |
9 | เยาวภา วงศ์สวัสดิ์ | รองหัวหน้าพรรค |
10 | วันมูหะมัดนอร์ มะทา | รองหัวหน้าพรรค |
11 | วิเชษฐ์ เกษมทองศรี | รักษาการเลขาธิการพรรค |
12 | นายแพทย์ พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช | รองเลขาธิการพรรค |
13 | ชานนท์ สุวสิน | รองเลขาธิการพรรค |
14 | พงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล | รองเลขาธิการพรรค |
15 | นาวาอากาศตรี ศิธา ทิวารี | โฆษกพรรค |
16 | กันตธีร์ ศุภมงคล | กรรมการบริหารพรรค |
17 | จำลอง ครุฑขุนทด | กรรมการบริหารพรรค |
18 | ประจวบ ไชยสาส์น | กรรมการบริหารพรรค |
19 | พวงเพ็ชร ชุนละเอียด | กรรมการบริหารพรรค |
20 | ลดาวัลลิ์ วงศ์ศรีวงศ์ | กรรมการบริหารพรรค |
21 | วิชิต ปลั่งศรีสกุล | กรรมการบริหารพรรค |
22 | สุชัย เจริญรัตนกุล | กรรมการบริหารพรรค |
23 | เสริมศักดิ์ พงษ์พานิช | กรรมการบริหารพรรค |
24 | อดิศร เพียงเกษ | กรรมการบริหารพรรค |
25 | อดิศัย โพธารามิก | กรรมการบริหารพรรค |
26 | อนุทิน ชาญวีรกูล | กรรมการบริหารพรรค |
27 | เอกพร รักความสุข | กรรมการบริหารพรรค |
28 | เกรียง กัลป์ตินันท์ | กรรมการบริหารพรรค |
29 | ประชาธิปไตย คำสิงห์นอก | กรรมการบริหารพรรค |
30 | ว่าที่ร้อยตรี ไพโรจน์ สุวรรณฉวี | กรรมการบริหารพรรค |
31 | วิชัย ชัยจิตวณิชกุล | กรรมการบริหารพรรค |
32 | ศักดิ์สยาม ชิดชอบ | กรรมการบริหารพรรค |
33 | อรรถสิทธิ์ (คันคาย) ทรัพยสิทธิ์ | กรรมการบริหารพรรค |
34 | ชาญชัย ปทุมารักษ์ | กรรมการบริหารพรรค |
35 | พงษ์ศักดิ์ วรปัญญา | กรรมการบริหารพรรค |
36 | พิมพา จันทร์ประสงค์ | กรรมการบริหารพรรค |
37 | ลิขิต หมู่ดี | กรรมการบริหารพรรค |
38 | ว่าที่ร้อยโท นายแพทย์ วัลลภ ยังตรง | กรรมการบริหารพรรค |
39 | พรชัย เตชะไพบูลย์ | กรรมการบริหารพรรค |
40 | อุดม ไกรวัตนุสสรณ์ | กรรมการบริหารพรรค |
41 | ทศพล สังขทรัพย์ | กรรมการบริหารพรรค |
42 | ปกรณ์ บูรณุปกรณ์ | กรรมการบริหารพรรค |
43 | ไพโรจน์ โล่ห์สุนทร | กรรมการบริหารพรรค |
44 | มยุรา มนะสิการ | กรรมการบริหารพรรค |
45 | วิสาร เตชะธีราวัฒน์ | กรรมการบริหารพรรค |
46 | วีระกร คำประกอบ | กรรมการบริหารพรรค |
47 | กฤษ ศรีฟ้า | กรรมการบริหารพรรค |
48 | วีระ มุสิกพงศ์ | กรรมการบริหารพรรค |
49 | สุธรรม แสงประทุม | กรรมการบริหารพรรค |
50 | สุรเชษฐ์ ดวงสอดศรี | กรรมการบริหารพรรค |
51 | หม่อมราชวงศ์ดำรงดิศ ดิศกุล | กรรมการบริหารพรรค |
52 | ศันสนีย์ นาคพงศ์ | กรรมการบริหารพรรค |
กลุ่มย่อยในพรรค
[แก้]- กลุ่มจันทร์ส่องหล้า นำโดย พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร
- กลุ่มชลบุรี นำโดย สนธยา คุณปลื้ม (ต่อมาเป็นพรรคพลังชล)
- กลุ่มบ้านริมน้ำ นำโดย สุชาติ ตันเจริญ
- กลุ่มพลังไทย นำโดย คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์[15]
- กลุ่มราชบุรี นำโดย สรอรรถ กลิ่นประทุม
- กลุ่มลำตะคอง นำโดย สุวัจน์ ลิปตพัลลภ (เดิมมาจากพรรคชาติพัฒนา)
- กลุ่มวังน้ำยม นำโดย สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ
- กลุ่มวังน้ำเย็น นำโดย เสนาะ เทียนทอง (ต่อมาเป็นพรรคประชาราช)
- กลุ่มวังบัวบาน นำโดย เยาวภา วงศ์สวัสดิ์[16]
- กลุ่มวังพญานาค นำโดย พินิจ จารุสมบัติ (เดิมมาจากพรรคเสรีธรรม)
- กลุ่มวาดะห์ นำโดย วันมูหะมัดนอร์ มะทา (ต่อมาเป็นพรรคประชาชาติ)
บทบาททางการเมือง
[แก้]พรรคไทยรักไทยมีบทบาททางการเมืองครั้งแรก เริ่มจากการเลือกตั้งซ่อมสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ชุดที่ 8 ภายหลังที่ วิชาญ มีนชัยนันท์, วิไล สมพันธุ์, และ ณัฏฐพล กรรณสูต ลาออกจากตำแหน่งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ซึ่งผู้สมัครจากพรรคไทยรักไทยได้รับเลือกตั้งทั้งหมด (วิรัตน์ มีนชัยนันท์, พลภูมิ วิภัติภูมิประเทศ, และ ศิริพงษ์ ลิมปิชัย)[17]
ใน การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2543 พรรคไทยรักไทยได้ส่ง สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ลงสมัครรับเลือกตั้งตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร[18] โดยสุดารัตน์ได้คะแนนรวมทั้งสิ้น 521,184 คะแนน ซึ่งเป็นลำดับที่สอง พ่ายแพ้ให้กับ สมัคร สุนทรเวช ซึ่งมีคะแนนเสียงมากกว่าเกือบสองเท่า (1,016,096 คะแนน)
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 พรรคไทยรักไทยชนะเหนือพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งนำโดยชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นอย่างถล่มทลาย ส.ส.ที่ได้รับการเลือกตั้งทั้งสิ้น 248 คน คิดเป็นร้อยละ 49.6 หลังรับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ทักษิณประกาศคำมั่นสัญญาไว้ว่า “ผมจะไม่ยอมทำหน้าที่เป็นเพียงผู้นำตามกฎหมายเท่านั้น ผมจะขอเป็นผู้นำที่นำการเปลี่ยนแปลงมาสู่ประเทศไทย เพื่อประเทศไทยที่ดีขึ้น พี่น้องที่เคารพครับ ผมจะขอทำหน้าที่เป็นรัฐบาลที่ไม่รู้จักคำว่าเหน็ดเหนื่อย เป็นรัฐบาลที่จะทุ่มเททำงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต”[19]
โดยความสำเร็จของการชนะเลือกตั้งในครั้งนั้น สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี ได้อธิบายไว้ว่า เกิดจากมีปัจจัย 3 ประการที่ทำให้พรรคไทยรักไทยชนะ กล่าวคือ[20]
- รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 สร้างระบบ ส.ส.บัญชีรายชื่อ 100 คนขึ้นมา เพื่อส่งเสริมความเข้มแข็งของระบบพรรคเป็นครั้งแรก และยังแบ่งเขตเลือกตั้งแบบเขตเดียวเบอร์เดียว เขตที่เล็กลง ทำให้ผู้สมัคร สส. หาเสียงแบบเข้าถึงประชาชนได้ทั่วถึงมากขึ้น ทุกพรรคการเมืองใช้เพียงเบอร์เดียวในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งทั้งประเทศ ทำให้ง่ายต่อการจดจำของประชาชนผู้มาเลือกตั้ง และการเกิดขึ้นของคณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นครั้งแรก เป็นอีกหนึ่งนวัตกรรมของรัฐธรรมนูญฉบับนี้
- พรรคไทยรักไทยใช้การบริหารจัดการองค์กรสมัยใหม่ในการวางแผนเลือกตั้ง และส่งเสริมให้คนรุ่นใหม่อายุ 30-40 ปีเข้ามาทำงานการเมือง โดยมีชื่อเล่นว่า “นกแล” ซึ่งเดินหาเสียงอย่างไม่รู้เหน็ดเหนื่อย
- สส.ที่พรรคไทยรักไทยได้รับเลือกตั้งมาจำนวน 248 คน พบว่า เป็น สส.เก่าจาก การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 เพียง 93 คนเท่านั้น ที่เหลืออีก 155 คน บางคนเป็นอดีต สส.ที่ไม่ได้รับเลือกตั้งในปีนั้น แต่ส่วนใหญ่คือ “นกแล” ที่มีพลังสร้างสรรค์
ภายหลังจัดตั้งรัฐบาลสำเร็จ พรรคไทยรักไทยสามารถเจรจารวม พรรคความหวังใหม่ ของพลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ, ตามด้วย พรรคเสรีธรรม, และ พรรคชาติพัฒนา เข้ากับพรรคไทยรักไทย และเป็นพันธมิตรกับ พรรคชาติไทย[21]
และในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 พรรคไทยรักไทยก็ยังคงครองตำแหน่งพรรคอันดับหนึ่ง และเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ประเทศไทยที่สามารถจัดตั้งรัฐบาลพรรคเดียวได้ ด้วยคะแนนเสียงมากถึง 377 เสียง
การเลือกตั้ง
[แก้]ผลการเลือกตั้งทั่วไป
[แก้]การเลือกตั้ง | จำนวนที่นั่ง | คะแนนเสียงทั้งหมด | สัดส่วนคะแนนเสียง | ผลการเลือกตั้ง | สถานภาพพรรค | ผู้นำเลือกตั้ง |
---|---|---|---|---|---|---|
2544 | 248 / 500
|
11,634,495 | 49.6% | 248 ที่นั่ง | แกนนำจัดตั้งรัฐบาล | ทักษิณ ชินวัตร |
2548 | 377 / 500
|
18,993,073 | 61.17% | 122 ที่นั่ง | ||
2549 | 460 / 500
|
16,420,755 | 56.45% | 83 ที่นั่ง | การเลือกตั้งเป็นโมฆะ |
การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
[แก้]การเลือกตั้ง | ผู้สมัคร | คะแนนเสียงทั้งหมด | สัดส่วนคะแนนเสียง | ผลการเลือกตั้ง |
---|---|---|---|---|
2543 | สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ | 521,184 | 23.52% | พ่ายแพ้ |
2547 | ไม่ส่งผู้สมัคร (ให้การสนับสนุน ปวีณา หงสกุล ที่ลงสมัครในฐานะนักการเมืองอิสระ) |
ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
[แก้]การเลือกตั้ง | จำนวนที่นั่ง | คะแนนเสียงทั้งหมด | สัดส่วนคะแนนเสียง | ที่นั่งเปลี่ยน | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|---|
2545[22] | 23 / 61
|
23 ที่นั่ง | |||
2549[23] | 19 / 57
|
4 ที่นั่ง |
ยุบพรรค
[แก้]ในการเลือกตั้งทั่วไป เมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2549 พรรคไทยรักไทย ได้คะแนนในระบบบัญชีรายชื่อถึง 18,993,073 เสียง แต่ถูกกล่าวหาว่าจ้างพรรคการเมืองขนาดเล็กลงเลือกตั้ง โดยอ้างว่าพรรคต้องการหลีกเลี่ยงกฎร้อยละ 20 คณะกรรมการการเลือกตั้งจึงตั้งอนุกรรมการมาสอบ ซึ่งผลปรากฏว่ามีมูลทำให้พรรคไทยรักไทยอาจถูกยุบพรรคได้ และกำลังอยู่ในระหว่างการส่งศาลรัฐธรรมนูญตัดสินยุบพรรค
หลังการรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 ไม่นาน ดร.ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งขณะนั้นพำนักอยู่ที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ได้ตัดสินใจลาออกจากหัวหน้าพรรค โดยส่งจดหมายซึ่งเขียนด้วยลายมือ โดยได้ชี้แจงสาเหตุถึงการลาออก และขอบคุณสมาชิกพรรคและผู้ให้การสนับสนุน[24]
หลังจากที่หัวหน้าพรรคลาออกไม่นาน ความเคลื่อนไหวของสมาชิกพรรค โดยเฉพาะผู้บริหารพรรค ต่างก็ตัดสินใจลาออกจากกรรมการบริหารพรรคและสมาชิกพรรคทันที มีการฟ้องร้องยุบพรรคไทยรักไทย มีการตรวจสอบเรื่องการทุจริต ซึ่งอาจมีผลทำให้กรรมการบริหารพรรคต้องเว้นวรรคทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี
ในวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 ตุลาการรัฐธรรมนูญตัดสินให้ยุบพรรคไทยรักไทย พร้อมเพิกถอนสิทธิการเมืองกรรมการบริหารพรรคจำนวน 111 คน เป็นจำนวน 5 ปี เหตุที่เพิกถอนสิทธิเพียง 111 คนใน 119 คน เนื่องจากใน 8 คนที่เหลือมีการลาออกหรือสิ้นสภาพกรรมการฯ ก่อนการกระทำผิด ได้แก่ เปรมศักดิ์ เพียยุระ, นายเสนาะ เทียนทอง, นายฐานิสร์ เทียนทอง, นายลิขิต ธีรเวคิน, นายสฤต สันติเมทนีดล, นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์, นายกร ทัพพะรังสี และนางกอบกุล นพอมรบดี อดีต ส.ส.ราชบุรี ที่ถูกยิงเสียชีวิต[25][26]
ภายหลังการยุบพรรค สมาชิกพรรคที่เหลือรวมตัวกันเป็นกลุ่มไทยรักไทย โดยมีแกนนำอย่าง สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี[27] และ ปองพล อดิเรกสาร[28] เป็นต้น
28 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 ที่ประชุมกลุ่มไทยรักไทย มีมติให้สมาชิกย้ายไปสังกัดอยู่กับพรรคพลังประชาชน ซึ่งเป็นพรรคการเมืองขนาดเล็ก เนื่องจากเกรงว่ารัฐบาลจะหยิบยก รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาใช้ หากร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ไม่ผ่านการลงประชามติ ซึ่งจะส่งผลกระทบกับกลุ่มไทยรักไทยให้ไม่สามารถส่งผู้สมัครลงเลือกตั้งได้ จากข้อกำหนดที่ให้ผู้สมัครต้องสังกัดพรรคการเมืองครบ 90 วัน[29]
การแยกไปตั้งพรรค
[แก้]พรรคไทยรักไทยเคยมีสมาชิกพรรคที่ลาออกไปตั้งพรรคการเมืองใหม่ หรือย้ายไปเป็นกรรมการบริหารพรรค ทั้งช่วงก่อนการยุบพรรคและหลังการยุบพรรค[30] โดยมีดังนี้
พรรคที่จัดตั้งก่อนการยุบพรรค
[แก้]- พรรคประชาราช นำโดย เสนาะ เทียนทอง (ย้ายไปตั้งพรรคก่อนการถูกยุบพรรค ต่อมาแกนนำพรรคย้ายกลับเข้าพรรคเพื่อไทย / สิ้นสภาพความเป็นพรรคการเมืองเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2561)
- พรรคสันติภาพไทย นำโดย พิเชษฐ สถิรชวาล (สิ้นสภาพความเป็นพรรคการเมืองเมื่อวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2550)
พรรคที่จัดตั้งหลังการยุบพรรค
[แก้]- พรรคพลังประชาชน นำโดย นายแพทย์สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี[31] แกนนำกลุ่มไทยรักไทย และสมาชิกพรรคไทยรักไทยส่วนมากที่ยังเหลืออยู่ (ถูกยุบพรรคในวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551)
- พรรคมัชฌิมาธิปไตย นำโดย สมศักดิ์ เทพสุทิน (ถูกยุบพรรคในวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551)
- พรรคเพื่อแผ่นดิน นำโดย สุวิทย์ คุณกิตติ (สิ้นสภาพความเป็นพรรคการเมืองเมื่อวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2566)
- พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา นำโดย สุวัจน์ ลิปตพัลลภ (เดิมเป็นพรรคชาติพัฒนา ก่อนจะยุบรวมกับไทยรักไทยในปี พ.ศ. 2548)
- พรรคเพื่อไทย นำโดย ศาสตราจารย์ ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช (ภายหลังก่อนพรรคพลังประชาชนยุบในปี พ.ศ. 2551)
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ Atchara Pantranuwong (2008). "มายาคติและอุดมการณ์ในโฆษณาหาเสียงเลือกตั้งของพรรคไทยรักไทยในการเลือกตั้งทั่วไปวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 : การวิเคราะห์ด้วยวิธีสัญวิทยา" [Myths and ideology in Thai Rak Thai Party's February 6, 2005 general election advertisements: a semiotic analysis]. Thammasat University.
- ↑ Markou, Grigoris; Lasote, Phanuwat (June 26, 2015). "Populism in Asia: The case of Thaksin in Thailand" – โดยทาง ResearchGate.
- ↑ Forum, East Asia (September 12, 2011). "Thailand's populism has come close to its limit". Thailand Business News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-09-29. สืบค้นเมื่อ 2021-12-11.
- ↑ Hicken, Allen (December 12, 2006). "Party Fabrication: Constitutional Reform and the Rise of Thai Rak Thai". Journal of East Asian Studies. 6 (3): 381–407. doi:10.1017/S159824080000463X. ISSN 1598-2408. S2CID 9030903.
- ↑ Monaghan, Dermot (November 12, 2019). "Democracy in Thailand under Thai Rak Thai government" – โดยทาง ResearchGate.
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help) - ↑ Phongpaichit, Pasuk; Baker, Chris (2009). Thaksin (Second ed.). Silkworm Books. pp. 115–123.
- ↑ Jayasuriya, Kanishka; Hewison, Kevin (2004). "The Antipolitics of Good Governance From Global Social Policy to a Global Populism?" (PDF). Critical Asian Studies. 36 (4): 575.
- ↑ Ockey, James (July–August 2003). "Change and Continuity in the Thai Political Party System". Asian Survey. 43 (4): 673.
{{cite journal}}
: CS1 maint: date format (ลิงก์) - ↑ Hassarungsee, Ranee; Tulaphan, Poonsap S.; Kardkarnklai, Yuwadee. "Unsound government policies, successful grassroots solutions". Social Watch. สืบค้นเมื่อ July 29, 2021.
- ↑ Chaloemtiarana, Thak (2007). "Distinctions with a Difference: The Despotic Paternalism of Sarit Thanarat and the Demagogic Authoritarianism of Thaksin Shinawatra". Crossroads: An Interdisciplinary Journal of Southeast Asian Studies. 19: 82–83.
- ↑ Hawkins, Kirk; Selway, Joel (2017). "Thaksin the Populist?". Chinese Political Science Review. 2: 387–390.
- ↑ "The Constitutional Tribunal disbands Thai Rak Thai". The Nation (Thailand). พฤษภาคม 30, 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ มีนาคม 3, 2016. สืบค้นเมื่อ พฤษภาคม 21, 2016.
- ↑ "9 ปีบนเส้นทางการเมืองของ 'ไทยรักไทย'". mgronline.com. 2007-05-29.
- ↑ ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง รับจดแจ้งการจัดตั้งพรรคการเมือง พรรคไทยรักไทย
- ↑ "หญิงหน่อย ย้อนรำลึก 25 ปีแห่งชัยชนะเลือกตั้งท้องถิ่น 'พลังไทย' ก่อนก้าวสู่ 'ไทยรักไทย'". matichon.co.th.
- ↑ "ย้อนดู 'กลุ่มวังบัวบาน' อดีตผู้ยิ่งใหญ่ในไทยรักไทย". matichon.co.th.
- ↑ "สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ชุดที่ ๘ (๒๖ เมษายน ๒๕๔๑ - ๒๕ เมษายน ๒๕๔๕)". BMC.
- ↑ "ย้อนรอยเลือกตั้ง "มหา 5 ขัน" เขย่ากรุง "สมัคร" ฝ่าด่านทะลุล้านเสียง". www.thairath.co.th. 2022-05-22.
- ↑ "9 กุมภาพันธ์ 2544 - ทักษิณ ชินวัตร ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีสมัยแรก". THE STANDARD. 2022-02-09.
- ↑ "ปรากฏการณ์ "รัฐบาลพรรคเดียว" ไทยรักไทย ทำไมชนะถล่มทลาย14 ปีก่อน". www.thairath.co.th. 2019-03-14.
- ↑ Crampton, Thomas (2001-01-09). "Markets and Currency Rise on Strong Showing by New Party: Election Results Lift Thai Spirits". The New York Times. ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 2016-05-21.
- ↑ "สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ชุดที่ ๙ (๑๖ มิถุนายน ๒๕๔๕ – ๑๕ มิถุนายน ๒๕๔๙)". bmc.go.th.
- ↑ "สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ชุดที่ ๑๐ (๒๓ กรกฎาคม ๒๕๔๙ – ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๕๓)". bmc.go.th.
- ↑ "สาส์นจากลอนดอน "ทักษิณ"ประกาศลาออกจากหัวหน้าพรรคทรท". prachatai.com.
- ↑ ทรท.ตายยกเข่ง! สั่งยุบพรรค-ตัดสิทธิ กก.บห.5 ปี 111 คน เก็บถาวร 2007-07-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 30 พฤษภาคม 2550
- ↑ สั่งยุบพรรคไทยรักไทย ตัดสิทธิ์ กก.บริหารพรรค 111 คน เก็บถาวร 2007-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 30 พฤษภาคม 2550
- ↑ "หมอเลี้ยบรับทาบ"จิ๋ว-สมัคร"เป็นหน.พรรคพลังประชาชน". ryt9.com.
- ↑ ""ปองพล"สงสัยมีคนปล่อยข่าว"บุญคลี"เป็นหัวหน้าพรรคใหม่หวังให้ตกเป็นเป้า". ryt9.com.
- ↑ "ปชป.แนะจับตาทรท.ย้ายซบพลังประชาชน แค่เอาตัวรอดไม่มุ่งประโยชน์ประชาชน". ryt9.com.
- ↑ "การเมือง การมุ้ง ย้อนรอยมุ้งใหญ่ "ไทยรักไทย" หรือจะมีงานรียูเนียน?". workpointTODAY.
- ↑ ""นพดล" ย้ายเข้าสังกัดพรรคพลังประชาชน แย้มอาจลงสมัคร". ryt9.com.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ พรรคไทยรักไทย ถนนเพชรบุรีตัดใหม่
- ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
- แผนที่จากลองดูแมป หรือเฮียวีโก
- ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์