พรรคไทรวมพลัง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พรรคไทรวมพลัง
ผู้ก่อตั้งจิตรวรรณ หวังศุภกิจโกศล
หัวหน้าวสวรรธน์ พวงพรศรี
รองหัวหน้าสิทธิชัย กอแก้ว
ต่วนเซะ มือฆะ
เลขาธิการวรเชษฐ เชิดชู
รองเลขาธิการเหมชาติ เชื้อโชติ
เหรัญญิกทิพย์วรรณ บุญชม
นายทะเบียนสมาชิกวรางคณา สำราญสุข
โฆษกธนากร ประพฤทธิพงษ์
ที่ปรึกษาพรรคจิตรวรรณ หวังศุภกิจโกศล
กรรมการบริหารมาลี บุญเรือง
อุไล บัวแก้ว
คำขวัญพรรคคนบ้านเฮา
ก่อตั้ง25 ตุลาคม พ.ศ. 2564
ที่ทำการ
จำนวนสมาชิก  (ปี 2566)7,579 คน[1]
สภาผู้แทนราษฎร
2 / 500
การเมืองไทย
รายชื่อพรรคการเมือง
การเลือกตั้ง

พรรคไทรวมพลัง (อังกฤษ: THAI RUAMPHALANG) เดิมชื่อ "พรรคเพื่อไทรวมพลัง"[2] เป็นพรรคการเมืองในประเทศไทย เริ่มมีบทบาททางการเมืองในปี 2566 เมื่อชนะการเลือกตั้งอย่างเหนือความคาดหมายในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี 2 เขตเลือกตั้ง[3] โดยพรรคไทรวมพลัง ถูกกล่าวเชื่อมโยงกับตระกูลหวังศุภกิจโกศล (จิตรวรรณ หวังศุภกิจโกศล) และตระกูลจิตรพิทักษ์เลิศ

ประวัติ[แก้]

พรรคไทรวมพลัง หรือพรรคเพื่อไทรวมพลัง เป็นพรรคการเมืองไทยที่จดทะเบียนเป็นลำดับที่ 14/2564 เมื่อวันจันทร์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2564 พร้อมกับพรรคไทยสร้างสรรค์[4] มีนาย วสวรรธน์ พวงพรศรี และว่าที่ร้อยตรี วิชัย จิตรพิทักษ์เลิศ เป็นหัวหน้าพรรคและเลขาธิการพรรคคนแรก[5] โดยมีที่ทำการพรรคแห่งแรกอยู่ที่ 122/91 หมู่ 6 ตำบลสุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่[6]

ต่อมาในวันอาทิตย์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 นายวสวรรธน์ได้ยื่นหนังสือลาออกจากตำแหน่งทำให้คณะกรรมการบริหารพรรคที่เหลือต้องพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะ และในวันเดียวกันทางพรรคเพื่อไทรวมพลังได้จัดประชุมใหญ่เพื่อเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ ซึ่งที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์เลือกนายวสวรรธน์ให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคต่อไป ส่วนตำแหน่งเลขาธิการพรรคเป็นของนายวรเชษฐ เชิดชู[7] พร้อมกันนี้ยังได้ทำการเปลี่ยนแปลงสำนักงานใหญ่ของพรรคเป็น 608 หมู่ 12 ตำบลไร่น้อย อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งเป็นที่ทำการพรรคในปัจจุบัน

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566​ พรรคเพื่อไทรวมพลังส่งผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อ 19 คน ไม่มีชื่อแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี และแบบแบ่งเขต 2 เขต[8] คือ จังหวัดอุบลราชธานี เขต 3 และเขต 10 โดยผู้สมัครแบบแบ่งเขตชนะการเลือกตั้งทั้ง 2 เขต ส่วนผู้สมัครบัญชีรายชื่อของพรรคไม่ได้รับการเลือกตั้ง

บุคลากร[แก้]

หัวหน้าพรรค[แก้]

ลำดับ ชื่อ เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ
1 วสวรรธน์ พวงพรศรี 25 ตุลาคม พ.ศ. 2564 ปัจจุบัน

เลขาธิการพรรค[แก้]

ลำดับ ชื่อ เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ
1 ว่าที่ร้อยตรี วิชัย จิตรพิทักษ์เลิศ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2564 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2565
2 วรเชษฐ เชิดชู 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 ปัจจุบัน

กรรมการบริหารพรรค[แก้]


การเลือกตั้ง[แก้]

ผลการเลือกตั้งทั่วไป[แก้]

การเลือกตั้ง จำนวนที่นั่ง คะแนนเสียงทั้งหมด สัดส่วนคะแนนเสียง ที่นั่งเปลี่ยน ผลการเลือกตั้ง ผู้นำเลือกตั้ง
2566
2 / 500
66,476 0.17% เพิ่มขึ้น 2 ร่วมรัฐบาล วสวรรธน์ พวงพรศรี

ข้อวิจารณ์[แก้]

คำร้องคัดค้านการเป็น สส.[แก้]

15 มิถุนายน พ.ศ. 2566 มีเอกสารที่นำเสนอต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ประกาศผลการเลือกตั้งแบบแบ่งเขต ครั้งที่ 1 ปรากฎว่ามี ว่าที่ ส.ส. ที่ประกาศผลรับรอง 329 คน ขณะที่มี 71 เขต ที่มีเรื่องร้องคัดค้าน มีรายงานว่า เอกสารดังกล่าวอาจเป็นเอกสารสรุปของฝ่ายปฏิบัติการ แจ้งเรื่องร้องคัดค้านการเลือกตั้ง ที่ยังไม่ได้นำเสนอต่อที่ประชุม กกต.[9] โดยพรรคเพื่อไทรวมพลังถูกร้องคัดค้านทั้งสิ้น 1 คน ดังนี้

ลำดับ รายชื่อ สส. เขตที่ลงเลือกตั้ง
1 สมศักดิ์ บุญประชม อุบลราชธานี เขต 10

แต่ถึงกระนั้น กกต. ก็ประกาศรับรอง สส. ทั้ง 500 คนก่อน โดยได้ชี้แจงว่าจะดำเนินการพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปี นับตั้งแต่วันเลือกตั้ง

อ้างอิง[แก้]

  1. ข้อมูลพรรคการเมืองที่ยังดำเนินการอยู่ ณ วันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2566
  2. เปลี่ยนชื่อใหม่ "ไทรวมพลัง"-"กังฟู วสวรรธน์" นั่งหัวหน้าพรรคตามเดิม
  3. ‘เพื่อไทรวมพลัง’ พรรคม้ามืด ล้ม ‘เพื่อไทย’ 2 เขต ที่ อุบลฯ
  4. 'เพื่อไทรวมพลัง-ไทยสร้างสรรค์' 2 พรรคการเมืองน้องใหม่
  5. เปิดตัวหลานเมีย "วีรศักดิ์ หวังศุภกิจโกศล" นำพรรคใหม่ นอมินีสีน้ำเงิน
  6. "พรรคเพื่อไทรวมพลัง”วิชัย จิตรพิทักษ์เลิศ” พี่เมีย รมช.พาณิชย์ นั่งเลขาฯ
  7. พรรคเพื่อไทรวมพลัง(พทล.)เลือกกรรมการบริหารชุดใหม่
  8. ‘เพื่อไทรวมพลัง’ คือใคร ม้ามืดส่ง 2 ส.ส. ‘ส.จ.หน่อย-เสี่ยเชียง’ ล้มช้างคว้าเก้าอี้อุบลฯ
  9. "เปิดชื่อ 71 ว่าที่ ส.ส. กกต.จ่อแขวน เหตุร้องคัดค้าน". Thai PBS.